วันพุธที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2555

คำถามพระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510


คำถามเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้พระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510 ติดตามรายละเอียดได้ที่ https://www.facebook.com/groups/pharjuris/ 













































วันพุธที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2555

แพทย์กับคลินิกความงาม

เข้าคลินิกความงาม ถามหาแพทย์ประจำคลินิกทุกครั้ง และมีสิทธิรู้ มีสิทธิถามถึงชื่อยาหรือเครื่องสำอางหรืออื่น ๆ ที่ตนจะได้รับ เพื่อประโยชน์ในการดูแลตัวเอง และประสิทธิภาพการรักษาให้ดียิ่งขึ้น







- การเสริมความงามเป็นการประกอบวิชาชีพเวชกรรม ตามนิยามวิชาชีพเวชกรรม ใน พ.ร.บ.วิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2525 ผู้รับผิดชอบ คือ แพทย์
- คลินิกความงาม เป็นสถานประกอบการของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม เป็นสถานพยาบาล ตาม พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ.2541
- หากไม่มีแพทย์ประจำคลินิกความงาม เป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ.2541 และผิดจริยธรรมวิชาชีพเวชกรรม


ติดตามประเด็นนี้ได้ที่ https://www.facebook.com/photo.php?fbid=236813936444597&l=c694784404

วันจันทร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2555

สถานพยาบาลเอกชนหน่วงเหนี่ยวศพหรือกักศพผู้ป่วยทำได้หรือไม่

ปรุฬห์ รุจนธำรงค์

สถานพยาบาลเอกชนกักศพ ไม่ให้ญาติรับศพผู้เสียชีวิตไป ถือว่าไม่ปฏิบัติตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2544 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการศพในสถานพยาบาล ข้อ 6 กล่าวคือ เมื่อมีการแสดงความจำนงขอรับศพผู้ตาย ให้ผู้แสดงตนเป็นบุคคล คือ สามี ภริยา ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน ผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้อนุบาล หรือญาติของผู้ตายอย่างน้อยหนึ่งคน แสดงเอกสารและลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐานและสามารถรับศพของผู้ตายไปจากสถานพยาบาลได้ทันที




ประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับนี้ อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ.2541 มาตรา 6 และมาตรา 15 หากผู้รับอนุญาตหรือผู้ดำเนินการฝ่าฝืน ถือว่าไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานการบริการของสถานพยาบาล ตามมาตรา 15 ซึ่งผู้รับอนุญาตและผู้ดำเนินการมีหน้าที่ควบคุมและดูแลการประกอบกิจการสถาน พยาบาลให้เป็นไปตามมาตรฐานการบริการที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด (มาตรา 35(4))

ผู้ฝ่าฝืนมาตรา 35 ต้องระวางโทษตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ.2541 มาตรา 65 กล่าวคือ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

วันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2555

สถานะทางกฎหมายของดอมเพอริโดน (domperidone)

 ภก.ปรุฬห์ รุจนธำรงค์

ดอมเพอริโดน (domperidone) ซึ่งเป็น D2 dopamine receptor antagonist ถูกถอนออกจากตลาดในสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ปี ค.ศ.1998 เนื่องจากมีผลข้างเคียงร้ายแรง เช่น การทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะหรือหัวใจหยุดเต้น หรือเกิดการตายอย่างเฉียบพลัน หากมารดากินยานี้เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำนมแล้วให้นมทารก มีโอกาสทำให้ทารกได้รับอันตรายจากยานี้ไปด้วย ทางการสหรัฐไม่ได้มีข้อบ่งใช้ในเรื่องการเพิ่มปริมาณน้ำนมนี้ด้วย





สหรัฐอเมริกาให้ใช้ยานี้เฉพาะในม้าเท่านั้น

แม้ว่ายาตัวนี้จะได้รับการรับรองในหลายประเทศนอกสหรัฐอเมริกาในเรื่องการใช้ในการรักษา gastric disorder แต่ก็ไม่ได้รับรองเรื่องการใช้เพิ่มปริมาณน้ำนม

กรณีของประเทศไทย ยานี้อยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ.2555 บัญชี ก (รูปแบบยาเม็ด, ยาน้ำแขวนตะกอน) และมีสถานะควบคุมการขายตาม พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 คือ เป็นยาอันตราย




ตัวอย่างชื่อการค้าในประเทศไทย เช่น Motilium

ข้อมูลและภาพจาก
http://www.fda.gov/NewsEvents/Newsroom/PressAnnouncements/ucm322492.htm
http://www.fda.gov/Safety/MedWatch/SafetyInformation/SafetyAlertsforHumanMedicalProducts/ucm154914.htm (June19, 2009) 
http://www.fda.gov/downloads/Drugs/GuidanceComplianceRegulatoryInformation/EnforcementActivitiesbyFDA/WarningLettersandNoticeofViolationLetterstoPharmaceuticalCompanies/ucm054623.pdf
http://www.fda.gov/Drugs/DrugSafety/InformationbyDrugClass/ucm173886.htm (June 7, 2004)
http://dailymed.nlm.nih.gov/dailymed/lookup.cfm?setid=e55d075e-2fe2-4405-b57a-59b85067e0c0
http://dailymed.nlm.nih.gov/dailymed/lookup.cfm?setid=bed61e35-01c1-4171-87b9-2b66388673ad

__________

คราวนี้มาดูมุมมองทางฝั่งสหราชอาณาจักรบ้าง โดยหน่วยงาน Medicines and Healthcare products Regulatory Agency มีการแจ้งเตือนเกี่ยวกับความปลอดภัยด้านยาในจดหมายข่าวเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2555 สรุปได้ว่า

บางการศึกษาพบว่าดอมเพอริโดน (domperidone) มีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดหัวใจห้องล่างเต้นผิดจังหวะรุนแรงและเกิดการตายอย่างเฉียบพลันเพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่ความเสี่ยงเหล่านี้จะเพิ่มมากขึ้นในผู้ป่วยอายุมากกว่า 60 ปี และผู้ป่วยที่ได้รับยามากกว่า 30 มิลลิกรัมต่อวัน





นอกจากนี้มีคำแนะนำ เช่น
- ดอมเพอริโดน (domperidone) ควรใช้ในขนาดยาที่ต่ำที่สุดที่จะใช้รักษาได้
- ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยอายุมากกว่า 60 ปี และระวังการใช้ยามากกว่า 30 มิลลิกรัมต่อวัน
- ผู้ป่วยที่มีโรคหัวใจไม่แนะนำให้ใช้ยานี้ และต้องอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์

รายละเอียดศึกษาได้ที่ http://www.mhra.gov.uk/home/groups/dsu/documents/publication/con152742.pdf 

ล่าสุด อังกฤษให้ยกระดับยานี้ขึ้นเป็นยาที่ต้องใช้ใบสั่งแพทย์แล้ว มีผลตั้งแต่วันที่ 4 กันยายน 2557 เป็นต้นไป
ดูรายละเอียดได้ที่ http://www.mhra.gov.uk/NewsCentre/Whatsnew/CON452545, http://www.mhra.gov.uk/NewsCentre/Pressreleases/CON452546,