วันศุกร์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2556

Serratiopeptidase

ปรุฬห์ รุจนธำรงค์
Serratiopeptidase รู้สึกว่าจะเป็นยายอดฮิตในแถบเอเชีย จากการสำรวจทะเบียนตำรับยาเบื้องต้นพบว่ามีการขึ้นทะเบียน Serratiopeptidase (เอนไซม์ที่อ้างว่าลดอาการบวมได้ ตัวอย่างชื่อการค้าในเมืองไทย เช่น Danzen) ในประเทศต่าง ๆ เช่น ลาว (5 ทะเบียน) มาเลเซีย (10 ทะเบียน, ใน MIMS แสดงเพียง 4 ทะเบียน) ไทย (33 ทะเบียน ใน MIMS แสดงเพียง 20 ทะเบียน) สิงคโปร์ (ไม่ต่อทะเบียนแล้ว) เวียดนาม (ข้อมูล ปี ค.ศ.2010 มี 33 ทะเบียน, ใน MIMS พบ 54 ทะเบียน) เกาหลีใต้ (ยังไม่ได้สำรวจ แต่ยาในมาเลเซียและลาว มียาที่ผลิตในเกาหลีใต้) 

ญี่ปุ่นซึ่งเป็นต้นตำรับของ Danzen มีข่าวว่า เรียกคืนยาของตัวเองในท้องตลาดญี่ปุ่นแล้ว เนื่องจากผลการทดลองไม่ต่างจากยาหลอก ปัจจุบันบริษัทผู้ผลิตที่ญี่ปุ่นยุติการขายในประเทศญี่ปุ่นเมื่อ 21 กพ. 2011 (http://www.takeda.com/press/article_40162.html) ส่วนสิงคโปร์ประกาศยุติการต่ออายุทะเบียนยา serratiopeptidase ทุกชนิด เมื่อ 29 พฤศจิกายน 2011 (http://www.hsa.gov.sg/publish/hsaportal/en/news_events/hsa_updates/2011/hsa_updates_on_the0. html?CFC_cK=1322548580121) ถ้าใบอนุญาตหมดอายุทะเบียนเมื่อไร ก็ไม่มีขายอีกต่อไป (คาดว่าภายในพฤศจิกายน ค.ศ.2012) ปัจจุบัน 5 เมษายน ค.ศ.2013 ไม่พบทะเบียนแล้ว

ส่วน ประเทศไทย ในประเด็นพระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510 มาตรา 86 หากภายหลังปรากฏว่ายานั้นไม่มีสรรพคุณตามที่ขึ้นทะเบียนไว้ ก็สามารถสั่งเพิกถอนทะเบียนตำรับยาได้ เหตุใดจึงยังมีการเพิกเฉยในเรื่องดังกล่าวอยู่??