ปรุฬห์ รุจนธำรงค์
สถานะทางกฎหมายของบารากู่ (baraku) บารากู่ไฟฟ้า หรือบุหรี่ไฟฟ้าในประเทศไทย ในขณะนี้
คือ ห้ามนำเข้าประเทศ ห้ามขาย ห้ามให้บริการ
เมื่อวันที่ 26
ธันวาคม พ.ศ.2557 มีประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง
กำหนดให้บารากู่และบารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้าเป็นสินค้าที่ต้องห้ามในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร
พ.ศ. 2557 ซึ่งอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติการส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า
พ.ศ. 2522
ห้ามบารากู่และบารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้าเป็นสินค้าห้ามนําเข้ามาในราชอาณาจักร
และห้ามให้สาร สารสกัด หรือสิ่งอื่นใด ที่ใช้เป็นแหล่งกําเนิดควันหรือละอองไอน้ำ
เพื่อการสูบแบบบารากู่และบารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้า
ซึ่งนําเข้ามาพร้อมสินค้าตามวรรคหนึ่งเพื่อใช้ร่วมกัน เข้ามาในราชอาณาจักร
มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ.2557 เป็นต้นไป
ผู้ฝ่าฝืน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี
หรือปรับเป็นเงิน 5 เท่าของสินค้าที่ส่งออกหรือนำเข้า
หรือทั้งจำทั้งปรับ กับให้ริบสินค้ารวมทั้งสิ่งที่ใช้บรรจุและพาหนะใด ๆ
ที่ใช้ในการบรรทุกสินค้าซึ่งเกี่ยวเนื่องกับความผิดรวมทั้งพาหนะที่ใช้ลากจูงพาหนะบรรทุกสินค้านั้นเสีย
(มีรางวัลให้ผู้นำจับหรือผู้จับด้วย)
![]() |
นอกจากนี้ยังมี
คำสั่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ที่ 9/2558 เรื่อง
ห้ามขายหรือห้ามให้บริการสินค้า “บารากู่ บารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้า
หรือตัวยาบารากู่ น้ำยาสำหรับเติมบารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้า” มีผลใช้บังคับตั้งแต่ 19
กุมภาพันธ์ พ.ศ.2558 เป็นต้นไป ซึ่งมีข้อห้ามดังนี้
- ห้ามขายสินค้าบารากู่ บารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้า
หรือตัวยาบารากู่ น้ำยาสำหรับเติมบารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้า ทั้งนี้
ให้รวมถึงการให้เช่า ให้เช่าซื้อ หรือจัดหาให้ไม่ว่าด้วยประการใด
ๆโดยเรียกค่าตอบแทนเป็นเงินหรือผลประโยชน์อย่างอื่น
ตลอดจนการเสนอหรือการชักชวนเพื่อการดังกล่าว
- ห้ามให้บริการสินค้าบารากู่
บารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้า หรือตัวยาบารากู่
น้ำยาสำหรับเติมบารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้า ทั้งนี้ ให้รวมถึงการรับจัดทำการงาน
การให้สิทธิใด ๆ หรือการให้ใช้หรือให้ประโยชน์ในทรัพย์สินหรือกิจการใด ๆ
โดยเรียกค่าตอบแทนเป็นเงินหรือผลประโยชน์อื่น
ผู้ฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี
หรือปรับไม่เกิน 5 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนผู้ที่ผลิตเพื่อขาย
นำเข้าจากต่างประเทศเพื่อขายจะได้รับโทษเพิ่มอีก 1 เท่า คือ
มีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ขณะนี้เหลือเพียงมาตรการห้ามครอบครอง
และการควบคุมเรื่องการโฆษณา โดยเฉพาะเรื่องการห้ามโฆษณา
คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ.2557
ให้สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคไปกำหนดมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการโฆษณาสินค้าบารากู่และบารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้าภายในประเทศด้วย
นิยามบารากู่ บารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้า
ประกาศกระทรวงพาณิชย์
เรื่อง
กำหนดให้บารากู่และบารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้าเป็นสินค้าที่ต้องห้ามในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร
พ.ศ. 2557
|
คำสั่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
ที่ 9/2558 เรื่อง ห้ามขายหรือห้ามให้บริการสินค้า “บารากู่
บารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้า หรือตัวยาบารากู่
น้ำยาสำหรับเติมบารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้า”
|
บารากู่
|
|
หม้อสูบยาสูบแบบอาหรับหรือลักษณะอื่นที่คล้ายคลึงกัน
|
หม้อสูบยาสูบแบบอาหรับหรือลักษณะอื่นที่คล้ายคลึงกัน
|
อุปกรณ์หรือส่วนประกอบไม่ว่าจะกระทำขึ้นด้วยวัตถุใดที่ใช้เป็นอุปกรณ์สำหรับสูบควันผ่านน้ำซึ่งเกิดจากการเผาไหม้หรือการใช้ความร้อนผ่านพืช
ผลไม้ พืชหมัก ผลไม้หมัก สาร สารสกัด หรือสิ่งอื่นใด ไม่ว่าจะมียาสูบเป็นส่วนประกอบหรือไม่ก็ตาม
ตามพิกัดอัตราศุลกากรประเภทย่อย ๙๖๑๔.๐๐.๙๐
|
อุปกรณ์
หรือส่วนประกอบไม่ว่าจะกระทำขึ้นด้วยวัตถุใด
ที่ใช้เป็นอุปกรณ์สำหรับสูบควันผ่านน้ำหรือสิ่งอื่นใดที่ใช้เป็นแหล่งกำเนิดควัน
ละอองไอน้ำ หรือไอระเหย ซึ่งเกิดจากการเผาไหม้หรือการใช้ความร้อนผ่านพืช
ผลไม้ พืชหมัก ผลไม้หมัก สาร สารสกัด หรือสิ่งอื่นใด ไม่ว่าจะมีใบยาสูบเป็นส่วนประกอบหรือไม่ก็ตาม
|
หมายความรวมถึง พืช
ผลไม้ พืชหมัก ผลไม้หมัก สาร สารสกัด หรือสิ่งอื่นใด
ที่ใช้เป็นแหล่งกำเนิดควันสำหรับอุปกรณ์ดังกล่าว
ซึ่งมีส่วนผสมของยาสูบตามรายการในพิกัดอัตราศุลกากรประเภทย่อย ๒๔๐๓.๑๑.๐๐
|
|
บารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้า
|
|
“บารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้า” หมายความว่า อุปกรณ์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าที่ทำให้เกิดละอองไอน้ำในลักษณะคล้ายควันบุหรี่ไม่ว่าจะกระทำขึ้นด้วยวัตถุใด
ซึ่งใช้สำหรับสูบในลักษณะเดียวกับการสูบบุหรี่ตามพิกัดอัตราศุลกากรประเภทย่อย
๘๕๔๓.๗๐.๙๐
|
“บารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้า”
หมายความว่า อุปกรณ์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้า ที่ทำให้เกิดแหล่งกำเนิดควัน
ละอองไอน้ำ หรือไอระเหยในลักษณะคล้ายควันบุหรี่
ไม่ว่าจะกระทำขึ้นด้วยวัตถุใดซึ่งใช้สำหรับสูบในลักษณะเดียวกับการสูบบุหรี่
|
__________
ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
-
ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง
กำหนดให้บารากู่และบารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้าเป็นสินค้าที่ต้องห้ามในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร
พ.ศ. 2557
-
คำสั่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ที่ 9/2558
เรื่อง ห้ามขายหรือห้ามให้บริการสินค้า “บารากู่ บารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้า
หรือตัวยาบารากู่ น้ำยาสำหรับเติมบารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้า”
มติคณะรัฐมนตรีวันที่
14
ตุลาคม พ.ศ.2557
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้
1.
อนุมัติในหลักการร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง
กำหนดให้บารากู่และบารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้าเป็นสินค้าที่ต้องห้ามในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญคือ กำหนดให้บารากู่และบารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้า รวมถึง
พืช ผลไม้ พืชหมัก ผลไม้หมัก สาร สารสกัด หรือสิ่งอื่นใด
ที่ใช้เป็นแหล่งกำเนิดควันหรือละอองไอน้ำ
ซึ่งนำเข้ามาพร้อมกันเพื่อใช้กับอุปกรณ์ดังกล่าว
เป็นสินค้าที่ต้องห้ามในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ
และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา
โดยให้รับข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเกี่ยวกับบทอาศัยอำนาจ ควรระบุเป็น
“บทอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 วรรคหนึ่ง (1) และมาตรา 25
แห่งพระราชบัญญัติการส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า พ.ศ. 2522”เพื่อให้การระบุบทอาศัยอำนาจเป็นไปโดยชัดเจนและครบถ้วน
รวมทั้งพิจารณาความเหมาะสมในการกำหนดให้ “บารากู่” รวมถึงยาสูบ
ตามพิกัดอัตราศุลกากรประเภทย่อย 2403.11.00
ซึ่งเป็นพิกัดของยาสูบที่สามารถนำเข้ามาในราชอาณาจักรไทยได้หากได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติยาสูบ
พ.ศ. 2509 อีกครั้งหนึ่ง
และควรกำหนดมาตรการทางกฎหมายเพื่อแก้ไขปัญหาในกรณีที่มีการจำหน่ายและโฆษณาบารากู่
บารากู่ไฟฟ้า และบุหรี่ไฟฟ้าภายในประเทศ ไปประกอบการพิจารณาด้วย
แล้วดำเนินการต่อไปได้
ร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์
เรื่อง
กำหนดให้บารากู่และบารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้าเป็นสินค้าที่ต้องห้ามในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร
พ.ศ. ….
สาระสำคัญของเรื่อง
พณ.
รายงานว่า
1.
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
ได้ขอให้กรมการค้าต่างประเทศพิจารณากำหนดมาตรการควบคุมการนำเข้าโดยกำหนดให้บารากู่ไฟฟ้าและบุหรี่ไฟฟ้าเป็นสินค้าที่ต้องห้ามในการนำเข้ามาในราชอาณาจักรตามพระราชบัญญัติการส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า
พ.ศ. 2522
เนื่องจากได้รับเรื่องร้องเรียนว่า
มีการนำบารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้าเข้ามาในประเทศไทย
และมีการเผยแพร่จำหน่ายผ่านทางอินเทอร์เน็ตและตลาดนัดอย่างแพร่หลาย
ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีรูปแบบการใช้ที่แปลกใหม่
ง่ายต่อการเชิญชวนให้เยาวชนทดลองใช้ อีกทั้งมีรูปลักษณ์ กลิ่นสีที่ดึงดูดใจ
ประกอบกับตรวจพบว่า มีสารพิษชนิด Organic Compounds (กลุ่มของสารประกอบอินทรีย์)
เช่น Propylene Glycol, Menthol, Cycloherand และมีสารพิษชนิด
Metals (กลุ่มโลหะหนัก) ได้แก่ Chromium, Manganese,
Copper ซึ่งเป็นสารอันตรายต่อสุขภาพและต้องใช้ความระมัดระวังในการใช้งานเป็นอย่างมาก
2.
เพื่อป้องกันปัญหาด้านสุขภาพของประชาชนที่เกิดจากการสูบบารากู่
บารากู่ไฟฟ้าและบุหรี่ไฟฟ้าซึ่งนำเข้ามาจากต่างประเทศ
ซึ่งเป็นสินค้าที่ไม่ได้อยู่ในกำกับของพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2535
และปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายใดควบคุมการนำเข้าสินค้าดังกล่าว
สาระสำคัญของร่างประกาศ
กำหนดให้บารากู่และบารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้า
รวมถึง พืช ผลไม้ พืชหมัก ผลไม้หมักสาร
สารสกัด หรือสิ่งอื่นใด ที่ใช้เป็นแหล่งกำเนิดควันหรือละอองไอน้ำ
ซึ่งนำเข้ามาพร้อมกันเพื่อใช้กับอุปกรณ์ดังกล่าว เป็นสินค้าที่ต้องห้ามในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร
2. ให้รองนายกรัฐมนตรี
(พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) รับไปกำกับ ดูแล
ติดตามและตรวจสอบการดำเนินการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ในการกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันมิให้มีการนำบารากู่และบารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้าไปใช้ในทางที่ไม่เหมาะสมอันจะก่อให้เกิดปัญหาทางสุขภาพ
อนามัย สังคม และความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนต่อไปด้วย
3.
ให้สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภครับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปดำเนินการกำหนดมาตรการทางกฎหมายเพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาในกรณีที่มีการจำหน่ายและโฆษณาเกี่ยวกับสินค้าบารากู่และบารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้าภายในประเทศด้วย