การขายยาสูตรผสมโคเดอีน (codeine)
ภก.ปรุฬห์ รุจนธำรงค์
(1) โคเดอีน (codeine) ตัวเดี่ยวเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 2
แต่ถ้าสูตรผสมเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 3 (ตัวอย่างเช่น ยาแก้ไอที่มีโคเดอีน ยาเม็ดแก้ปวดที่มีโคเดอีน)
(2) การมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 ที่มีโคเดอีนเป็นส่วนผสมเกินจำนวน 250 มิลลิลิตร หรือ 30 เม็ด หรือ 30 แคปซูล ให้สันนิษฐานว่ามีไว้ครอบครองเพื่อจำหน่าย (ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 181) พ.ศ. 2545 เรื่อง กำหนดจำนวนยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 ตำรับที่มีโคเดอีนเป็นส่วนผสมที่ให้สันนิษฐานว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย)
(3) ผู้รับอนุญาตผลิต นำเข้า จำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 ตำรับที่มีโคเดอีนเป็นส่วนผสม ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(3.1) การจำหน่ายให้จำหน่ายได้เฉพาะแก่สถานพยาบาลประเภทที่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืนตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลและสถานพยาบาลของรัฐ
(3.2) ในการขนส่งไปนอกสถานที่ที่ระบุไว้ในใบอนุญาตผลิต นำเข้า จำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย แล้วแต่กรณี และเป็นการขนส่งเพื่อการจำหน่ายตาม (3.1) ให้ผู้รับอนุญาตจัดให้มีสำเนาเอกสารกำกับการขนส่งยาเสพติดให้โทษนั้น เพื่อการตรวจสอบระหว่างการขนส่ง โดยเอกสารดังกล่าวอย่างน้อยต้องแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับจำนวนยาเสพติดให้โทษ วันเดือนปี การเป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์และระบุผู้รับปลายทางที่ชัดเจน (กฎกระทรวงควบคุมการจำหน่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 ตำรับที่มีโคเดอีนเป็นส่วนผสม พ.ศ. 2546)
(2) การมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 ที่มีโคเดอีนเป็นส่วนผสมเกินจำนวน 250 มิลลิลิตร หรือ 30 เม็ด หรือ 30 แคปซูล ให้สันนิษฐานว่ามีไว้ครอบครองเพื่อจำหน่าย (ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 181) พ.ศ. 2545 เรื่อง กำหนดจำนวนยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 ตำรับที่มีโคเดอีนเป็นส่วนผสมที่ให้สันนิษฐานว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย)
(3) ผู้รับอนุญาตผลิต นำเข้า จำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 ตำรับที่มีโคเดอีนเป็นส่วนผสม ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(3.1) การจำหน่ายให้จำหน่ายได้เฉพาะแก่สถานพยาบาลประเภทที่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืนตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลและสถานพยาบาลของรัฐ
(3.2) ในการขนส่งไปนอกสถานที่ที่ระบุไว้ในใบอนุญาตผลิต นำเข้า จำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย แล้วแต่กรณี และเป็นการขนส่งเพื่อการจำหน่ายตาม (3.1) ให้ผู้รับอนุญาตจัดให้มีสำเนาเอกสารกำกับการขนส่งยาเสพติดให้โทษนั้น เพื่อการตรวจสอบระหว่างการขนส่ง โดยเอกสารดังกล่าวอย่างน้อยต้องแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับจำนวนยาเสพติดให้โทษ วันเดือนปี การเป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์และระบุผู้รับปลายทางที่ชัดเจน (กฎกระทรวงควบคุมการจำหน่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 ตำรับที่มีโคเดอีนเป็นส่วนผสม พ.ศ. 2546)
ดังนั้นร้านยาและสถานพยาบาลเอกชนที่ไม่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน (คลินิก) จึงไม่สามารถขายได้
แม้ว่าจะมีใบอนุญาตขายยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 หรือไม่ก็ตาม
หากมีการขายถือเป็นการจำหน่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 โดยไม่ได้รับอนุญาต
ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545 มาตรา 20 วรรคแรก ถ้าพบในร้านแม้จะอ้างว่าไม่ได้ขายก็เป็นการครอบครองเพื่อจำหน่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท
3 โดยไม่ได้รับอนุญาต ตามมาตรา 20 วรรคแรก
(ต้องรับโทษตามมาตรา 76 วรรคแรก กล่าวคือ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ) หากพบครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 ที่มีโคเดอีนเป็นส่วนผสมเกินจำนวน 250
มิลลิลิตร หรือ 30 เม็ด หรือ 30 แคปซูล ให้สันนิษฐานว่ามีไว้ครอบครองเพื่อจำหน่าย ตามมาตรา 20 วรรคสี่
(ต้องระวางโทษหนักขึ้นตามมาตรา 76 วรรคสอง กล่าวคือ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี
และปรับไม่เกินสองแสนบาท)