แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ กัญชา แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ กัญชา แสดงบทความทั้งหมด

วันอังคารที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

มติคณะรัฐมนตรี 7 พฤษภาคม พ.ศ.2556 เรื่อง ความคืบหน้าเกี่ยวกับกรอบแนวทางการพิจารณาเพื่อการควบคุมและส่งเสริมการปลูกพืชกัญชง (เฮมพ์) เป็นพืชเศรษฐกิจ



                   คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบความคืบหน้าเกี่ยวกับกรอบแนวทางการพิจารณาเพื่อการควบคุมและส่งเสริมการปลูกพืชกัญชง (เฮมพ์)  เป็นพืชเศรษฐกิจ ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ 

สาระสำคัญของเรื่อง

สธ. รายงานว่า

1. ปัจจุบันพืชกัญชงจัดเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135   (พ.ศ. 2539) ซึ่งประกาศฯ กำหนดให้กัญชา (Cannabis) ซึ่งหมายความรวมถึงทุกส่วนของพืชกัญชา (Cannabis sativa L. และ Cannabis indica Auth) และวัตถุหรือสารต่างๆ ที่มีอยู่ในพืชกัญชา เช่น ใบ  ดอก   ยอด ผล ยาง และลำต้น เป็นต้น เป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ดังนั้น พืชกัญชง ซึ่งมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Cannabis sativa L. ssp. sativa จึงจัดเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ด้วย

2. ตามมาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 กำหนดให้การขอรับใบอนุญาตผลิต จำหน่าย นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 จะต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษเป็นรายๆ ไป

3. ในการประชุมคณะกรรมการประสานงานและสนับสนุนงานโครงการหลวง (กปส.) ครั้งที่ 1/2556 เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2556 ซึ่งมีนายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ คณะกรรมการฯ มีความเห็นให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาดำเนินการปรับแก้กฎหมายเพื่อควบคุมและส่งเสริมการปลูกพืชกัญชง (เฮมพ์) เป็นพืชเศรษฐกิจ และรายงานความคืบหน้าต่อคณะรัฐมนตรี

4.   คณะอนุกรรมการพิจารณาหลักเกณฑ์และควบคุมการปลูกกัญชง ในการประชุมครั้งที่ 2/2556 เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2556 และคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษ ในการประชุมครั้งที่ 333-3/2556 เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2556 ได้พิจารณาและมีมติเห็นชอบให้แก้ไขประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135 (พ.ศ. 2539) และจัดทำร่างกฎกระทรวงเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์การอนุญาตและควบคุมการปลูกพืชกัญชง (เฮมพ์) เพื่อส่งเสริมการปลูกพืชกัญชงเป็นพืชเศรษฐกิจ

5. สธ. ได้พิจารณากรอบระยะเวลาการดำเนินงานการออกประกาศฯ และจัดทำร่างกฎกระทรวงฯ ดังนี้
- การแก้ไขประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135 (พ.ศ.2539) ให้แล้วเสร็จภายในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2556
- การจัดทำร่างกฎกระทรวงเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์การอนุญาตและควบคุมการปลูกพืชกัญชง (เฮมพ์) ให้แล้วเสร็จและเสนอคณะรัฐมนตรีภายในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2556

วันพุธที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

รายชื่อยาเสพติดให้โทษ รอบปี พ.ศ.2556


          รอบปี พ.ศ.2556 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 6 และมาตรา 8 (1) แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ประกาศรายชื่อยาเสพติดให้โทษเพิ่มเติม ดังนี้ 

ยาเสพติดให้โทษในประเภท
Mephedrone (เมฟีโดรน) หรือชื่อทางเคมี 2-(methylamino)-1-ptolylpropan-1-one ยาเสพติดให้โทษในประเภท (ประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง ระบุชื่อและประเภทยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 11), ราชกิจจานุเบกษา 29 เมษายน พ.ศ.2556)
meta-Chlorophenylpiperazine (เมทา - คลอโรฟีนิลพิเพอราซีน หรือ mCPP) ยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 (ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อและประเภทยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 15), ราชกิจจานุเบกษา 4 ธันวาคม พ.ศ.2556)
Methylenedioxypyrovalerone (เมทิลีนไดออกซิไพโรวาเลโรน หรือ MDPV) หรือชื่อทางเคมี 1-(benzo[d][1,3]dioxol-5-yl)-2-(pyrrolidin-1-yl)pentan-1-one ยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 (ประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง ระบุชื่อและประเภทยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 11), ราชกิจจานุเบกษา 29 เมษายน พ.ศ.2556)
Methylone (เมทิโลน) หรือชื่อทางเคมี 1-(benzo[d][1,3]dioxol-5-yl)-2-(methylamino)propan-1-one ยาเสพติดให้โทษในประเภท (ประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง ระบุชื่อและประเภทยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 11), ราชกิจจานุเบกษา 29 เมษายน พ.ศ.2556)
Paramethoxymethamphetamine (พาราเมทอกซีเมทแอมเฟตามีน หรือ PMMA) หรือชื่อทางเคมี 1-(4-methoxyphenyl)-Nmethylpropan-2-amine ยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 (ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อและประเภทยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 13), ราชกิจจานุเบกษา 4 พฤศจิกายน พ.ศ.2556)


ยาเสพติดให้โทษในประเภท 2
Tapentadol (ทาเพนทาดอล) หรือชื่อทางเคมี 3-[(2R,3R)-1-(dimethylamino)-2-methylpentan-3-yl]phenol (ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อและประเภทยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 14) , ราชกิจจานุเบกษา 4 พฤศจิกายน พ.ศ.2556)

ยาเสพติดให้โทษในประเภท 5
กัญชา (Cannabis) ซึ่งหมายความรวมถึงทุกส่วนของพืชกัญชา (Cannabis sativa L.
และ Cannabis indica Auth) และวัตถุหรือสารต่าง ๆ ที่มีอยู่ในพืชกัญชา
ยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ยกเว้นเปลือกแห้ง แกนลำต้นแห้ง เส้นใยแห้ง และผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากเปลือกแห้ง แกนลำต้นแห้งเส้นใยแห้ง (ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อและประเภทยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 12), ราชกิจจานุเบกษา 31 กรกฎาคม พ.ศ.2556) 

มีข้อสังเกตว่า ประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับนี้ เกิดขึ้นเนื่องจากมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ.2556 ต้องการไม่ให้เส้นใยกัญชง (เฮมพ์) ซึ่งสามารถนำมาใช้ผลิตเป็นอุตสาหกรรมสิ่งทอ เป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ตามกัญชาไปด้วย อย่างไรก็ตามตัวต้นกัญชงนั้น ซึ่งเป็นซับสปีชีส์ของกัญชา ยังคงเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 อยู่ การปลูกต้นกัญชงจึงต้องมีกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการปลูกอีกครั้งหนึ่ง (ดูมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องได้ที่ http://rparun.blogspot.com/2013/05/cabinetresolution25560507cannabis.html)