แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ bromhexine แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ bromhexine แสดงบทความทั้งหมด

วันอังคารที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2557

สถานะทางกฎหมายของยาแก้ไอ

ปรุฬห์ รุจนธำรงค์

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ยาอันตราย กำหนดให้ยาจำพวกแก้ไอ (antitussive drugs) ยกเว้นที่ใช้ขับเสมหะ เป็นยาอันตราย ลำดับที่ 8 



ยารับประทานบรรเทาอาการไอสำหรับผู้ที่มีเสมหะที่มีตัวยา เช่น แอมบรอกซอล (ambroxol) บรอมเฮกซีน (bromhexine) อะเซติลซิสเอีน (acetylcysteine) คาร์โบซิสเตอีน (carbosysteine) เป็นยา จึงได้รับการยกเว้นไม่เป็นยาอันตราย ตามการอนุโลมในอดีต (ดู ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ยาอันตราย ลำดับที่ 8 ยาตัวอย่างที่เห็นในภาพนี้จึงมีสถานะเป็น “ยาแผนปัจจุบันบรรจุเสร็จที่ไม่ใช่ยาอันตรายหรือยาควบคุมพิเศษ” (รวมถึงยาแผนโบราณทีมีสรรพคุณบรรเทาอาการไอ ขับเสมหะ ที่ไม่ได้ประกาศเป็นยาสามัญประจำบ้านด้วย)


ยากลุ่มนี้ขายเฉพาะในร้านขายยาแผนปัจจุบัน (สถานที่ที่ได้รับใบอนุญาตขายยาแผนปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นประเภท ข.ย.1 หรือ ข.ย.2) ห้ามขายในร้านชำหรือร้านสะดวกซื้อ เนื่องจากไม่ใช่ยาสามัญประจำบ้าน

นอกจากนี้ยังสามารถโฆษณาโดยตรงต่อประชาชนทั่วไปได้ แต่ต้องได้รับอนุญาตก่อน โดยโฆษณาที่ได้รับอนุญาตแล้วนั้น จะเห็นอักษร “ฆท” ปรากฏในสื่อโฆษณานั้น


ส่วนตัวยา dextromethorphan ไม่ได้มีฤทธิ์ขับเสมหะ จึงไม่เข้าข้อยกเว้นไม่เป็นยาอันตราย ดังนั้น dextromethorphan จึงมีสถานะตามกฎหมาย เป็น “ยาอันตราย”  ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ยาอันตราย ลำดับที่ 8


กรณีการจัดประเภทของ MIMS ไม่ว่าจะเป็นหนังสือหรือทางออนไลน์ หากจัดประเภทยารับประทานขับเสมหะที่มีตัวยา เช่น แอมบรอกซอล (ambroxol) บรอมเฮกซีน (bromhexine) อะเซติลซิสเตอีน (acetylcysteine) คาร์โบซิสเตอีน (carbosysteine) ให้เป็น “ยาอันตราย” เป็นการจัดประเภทไม่ถูกต้อง เพราะยาเหล่านี้ต้องมีสถานะเพียง “ยาแผนปัจจุบันบรรจุเสร็จที่ไม่ใช่ยาอันตรายหรือยาควบคุมพิเศษ” เท่านั้น