คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบความคืบหน้าเกี่ยวกับกรอบแนวทางการพิจารณาเพื่อการควบคุมและส่งเสริมการปลูกพืชกัญชง
(เฮมพ์) เป็นพืชเศรษฐกิจ
ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
สธ.
รายงานว่า
1. ปัจจุบันพืชกัญชงจัดเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท
5 ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135
(พ.ศ. 2539) ซึ่งประกาศฯ กำหนดให้กัญชา (Cannabis) ซึ่งหมายความรวมถึงทุกส่วนของพืชกัญชา
(Cannabis sativa L. และ Cannabis indica
Auth) และวัตถุหรือสารต่างๆ ที่มีอยู่ในพืชกัญชา เช่น ใบ ดอก ยอด ผล ยาง และลำต้น เป็นต้น
เป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ดังนั้น พืชกัญชง ซึ่งมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Cannabis
sativa L. ssp. sativa จึงจัดเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท
5 ด้วย
2. ตามมาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ
พ.ศ. 2522 กำหนดให้การขอรับใบอนุญาตผลิต จำหน่าย นำเข้า ส่งออก
หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 5
จะต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษเป็นรายๆ
ไป
3. ในการประชุมคณะกรรมการประสานงานและสนับสนุนงานโครงการหลวง
(กปส.) ครั้งที่ 1/2556 เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2556 ซึ่งมีนายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ
คณะกรรมการฯ
มีความเห็นให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาดำเนินการปรับแก้กฎหมายเพื่อควบคุมและส่งเสริมการปลูกพืชกัญชง
(เฮมพ์) เป็นพืชเศรษฐกิจ
และรายงานความคืบหน้าต่อคณะรัฐมนตรี
4.
คณะอนุกรรมการพิจารณาหลักเกณฑ์และควบคุมการปลูกกัญชง ในการประชุมครั้งที่
2/2556 เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2556 และคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษ
ในการประชุมครั้งที่ 333-3/2556 เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2556 ได้พิจารณาและมีมติเห็นชอบให้แก้ไขประกาศกระทรวงสาธารณสุข
ฉบับที่ 135 (พ.ศ. 2539)
และจัดทำร่างกฎกระทรวงเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์การอนุญาตและควบคุมการปลูกพืชกัญชง
(เฮมพ์) เพื่อส่งเสริมการปลูกพืชกัญชงเป็นพืชเศรษฐกิจ
5.
สธ. ได้พิจารณากรอบระยะเวลาการดำเนินงานการออกประกาศฯ
และจัดทำร่างกฎกระทรวงฯ ดังนี้
- การแก้ไขประกาศกระทรวงสาธารณสุข
ฉบับที่ 135 (พ.ศ.2539) ให้แล้วเสร็จภายในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2556
- การจัดทำร่างกฎกระทรวงเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์การอนุญาตและควบคุมการปลูกพืชกัญชง
(เฮมพ์) ให้แล้วเสร็จและเสนอคณะรัฐมนตรีภายในเดือนพฤศจิกายน
พ.ศ. 2556