วันอาทิตย์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

เภสัชกรประจำร้านขายยาแผนปัจจุบัน ประเภท ขย.1

ปรุฬห์ รุจนธำรงค์

เขียนเมื่อ 1 พฤษภาคม 2554



ผู้เกี่ยวข้องเมื่อเริ่มเปิดขออนุญาตเปิดร้านขายยาตามกฎหมายว่าด้วยยา

     ในที่นี้จะขอพูดถึงแต่ร้านยาแผนปัจจุบันที่เป็นประเภท ขย. 1 เท่านั้น (ร้านยาที่สามารถขายยาอันตรายและยาควบคุมพิเศษได้) เมื่อต้องการขออนุญาตเปิดร้านยา ตาม พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม มีบุคคลที่เกี่ยวข้อง 3 ฝ่าย คือ

     1. ผู้อนุญาต คือ ผู้ที่มีอำนาจอนุญาตให้เปิดร้านยาได้ ซึ่งหมายถึงเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (หรือผู้ซึ่งเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยามอบหมาย ในที่นี้จะขอเรียกว่า อย.) กรณีร้านยาที่จะขออนุญาตเปิดอยู่ในกรุงเทพมหานคร หรือผู้ว่าราชการจังหวัดกรณีร้านยาที่จะขออนุญาตเปิดอยู่ต่างจังหวัด

     2. ผู้รับอนุญาต คือ ผู้ที่จะขอเปิดร้านยา หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือเจ้าของร้านยา (เจ้าของทุน) คนนี้จะเป็นเภสัชกรหรือไม่ก็ได้ แต่ถ้าไม่ใช่เภสัชกรก็ต้องหาผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการในร้านยาให้ได้

     3. ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการ เนื่องจากในที่นี้พูดถึงแต่ร้านขายยาแผนปัจจุบันประเภท ขย. 1 จึงหมายถึง เภสัชกรเท่านั้น ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการหมายถึงเภสัชกรที่จะมาประจำร้านยาที่จะขออนุญาต หากเป็นเภสัชกรเป็นผู้รับอนุญาตหรือขอเปิดร้านเอง ก็สามารถใส่ชื่อตนเองเป็นเภสัชกรผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการเองได้ หรือจะหาเภสัชกรคนอื่นมาเป็นผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการได้ หรือจะใส่ชื่อทั้งตัวเอง หรือคนอื่นมาเป็นผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการได้ ถ้าผู้รับอนุญาต (เจ้าของร้านยาหรือเจ้าของทุน) ไม่ใช่เภสัชกร ก็จะต้องหาเภสัชกรมาประจำร้านให้ได้ ร้านยาที่จะเปิดแห่งหนึ่งสามารถมีรายชื่อเภสัชกรมาประจำกี่คนก็ได้ กฎหมายไม่ได้ห้าม แต่เมื่อเปิดร้านทุกช่วงเวลาจะต้องมีเภสัชกรมาประจำอยู่ แต่ต้องไม่ลืมว่าหากมีเภสัชกรประจำร้านยิ่งมาก นั่นหมายความว่าร้านนั้นต้องเสียค่าใช้จ่ายมากขึ้นตามไปด้วย ส่วนใหญ่จึงพบเห็นร้านยาส่วนใหญ่มีชื่อเภสัชกรเพียงคนเดียว


เวลาเปิดทำการ คืออะไร

     “เวลาที่เปิดทำการ” แม้ว่าพระราชบัญญัติยาจะไม่ได้นิยามคำนี้ไว้ แต่เป็นที่เข้าใจว่าคือเวลาที่สถานที่ขายยา (ร้านขายยา) ให้บริการแก่ประชาชน (เหมือนกับคำว่าเวลาสถานที่ที่ราชการเปิดทำการ ก็คือเวลาที่สถานที่ราชการให้บริการแก่ประชาชน)


ร้านยาต้องมีผู้ที่จะปฏิบัติการประจำอยู่ ณ สถานที่ขายยาแผนปัจจุบันตลอดเวลาที่เปิดทำการ หมายความว่าอย่างไร

     กรณีร้านขายยาแผนปัจจุบัน พ.ร.บ.ยาฯ กำหนดให้ต้องมีผู้ที่จะปฏิบัติการประจำอยู่ ณ สถานที่ขายยาแผนปัจจุบันตลอดเวลาที่เปิดทำการ นั่นหมายความว่า ถ้าร้านยาเปิดเวลาใด เมื่อเข้าไปในร้านจะต้องพบเภสัชกรอยู่ตลอด จะไม่มีเภสัชกรอยู่ประจำร้านแค่ 3 ชั่วโมง จากเวลาเปิดร้านทั้งหมด เพราะกฎหมายยกเลิกทุกกรณีที่อนุโลมไว้โดยสมบูรณ์ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2529 แล้ว

     สมมติว่า ร้านยาแห่งหนึ่งต้องการเปิดร้านขายยาเป็นเวลา 18 ชั่วโมงต่อวัน โดยเปิดช่วง 6.00 – 24.00 น.



     หากร้านยานี้ต้องการทำถูกต้องตามกฎหมายทุกประการ ก็ควรจะต้องหาเภสัชกรมาประจำร้านให้ได้ 18 ชั่วโมงต่อวันทุกวัน ในความเป็นจริงเภสัชกรที่ไม่ใช่ตัวเจ้าของร้านยาเอง หรือไม่ใช่ญาติเจ้าของร้านยา ไม่สามารถอยู่ได้ถึงติดต่อกันถึง 18 ชั่วโมงต่อวัน และขัดกับกฎหมายแรงงานในปัจจุบัน แต่บางครั้งก็พบว่าผู้อนุญาต (อย. หรือผู้ว่าราชการจังหวัด) กลับไม่เฉลียวใจว่าเภสัชกรจะอยู่ปฏิบัติการได้จริงหรือไม่ ซึ่งทำให้เปิดปัญหาแขวนป้าย (มีชื่อเภสัชกรอยู่ประจำร้านแต่ไม่พบตัวเภสัชกรชื่อนั้น) อยู่บ่อยครั้ง เราทราบแล้วว่า ร้านยาแห่งหนึ่งจะมีเภสัชกรกี่คนก็ได้ เช่น กำหนดให้มีเภสัชกร 2 คน คนหนึ่งอาจปฏิบัติหน้าที่ช่วง 6.00 – 15.00 น. ส่วนอีกคนปฏิบัติหน้าที่ช่วง 15.00 – 21.00 น. ซึ่งไม่ขัดกับกฎหมายแรงงานด้วย

     หากร้านยานี้เริ่มทำสิ่งที่ไม่ถูกกฎหมายในเรื่องช่วงเวลาเปิดร้าน เช่น ขอเปิดร้านในช่วง 12.00 – 24.00 น. แต่ขายยาจริง ตั้งแต่ 6.00 – 24.00 น. ช่วงเวลา 6.00 – 12.00 น. คือการเปิดร้านโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นความผิดของผู้รับอนุญาตเท่านั้น พนักงานเจ้าหน้าที่อาจมองว่าเป็นการขายยาโดยไม่ได้รับอนุญาต (ไม่ได้รับอนุญาตในช่วง 6.00 – 12.00 น.) ต้องระวางโทษตามมาตรา 101 คือ ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือถ้าเบาหน่อยอาจตีความว่าไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขในกฎกระทรวงว่าด้วยการขายยา ซึ่งรับเพียงโทษปรับเท่านั้น

     ถ้าช่วงเวลาที่ขออนุญาตเปิดร้าน ระหว่าง 12.00 – 24.00 น. ต้องหาเภสัชกรมาประจำให้ได้ตลอดช่วงเวลา 12 ชั่วโมงนี้ สมมติว่าเภสัชกรคนหนึ่งตกลงกับผู้รับอนุญาต (เจ้าของร้านยา) ว่าสามารถมาปฏิบัติงานได้ในช่วงเวลา 18.00 – 21.00 น. ผู้รับอนุญาต (เจ้าของร้านยา) จะต้องหาเภสัชกรมาประจำร้านในช่วง 12.00 – 18.00 น. และช่วงเวลา 21.00 – 24.00 น. ให้ได้ ถ้า 2 ช่วงเวลานี้ ไม่มีเภสัชกรประจำ เป็นความผิดของผู้รับอนุญาต (เจ้าของร้านยา) ที่ไม่สามารถหาเภสัชกรที่จะมาประจำร้านยาได้ ซึ่งจะมีผลต่อการขายยาด้วย ตามกฎหมายโดยเคร่งครัดแล้ว ช่วงที่ไม่มีเภสัชกรอยู่จะสามารถขายได้เพียง “ยาสามัญประจำบ้าน” และ “ยาสมุนไพร” (“ยาสมุนไพร” ไม่ใช่ “ยาแผนโบราณ”) แต่คงจะทำได้ยาก เพราะเพียงแค่มีคนมาขอซื้อลูกอมฆ่าเชื้อก็มีความผิดฐานขายยาอันตรายในระหว่างเภสัชกรไม่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ (พ.ร.บ.ยาฯ มาตรา 32) ทางปฏิบัติเจ้าหน้าที่ของรัฐก็อนุโลมและผ่อนผัน เคร่งครัดเฉพาะยาฆ่าเชื้อนับเม็ด ยาฆ่าเชื้อแบบแผง หรือยาสำหรับโรคเรื้อรัง นอกจากนี้การปล่อยให้มีช่วงเวลาที่ไม่มีเภสัชกรอยู่ประจำร้านควรให้เป็นความผิดของผู้อนุญาต (อย.หรือผู้ว่าราชการจังหวัด) ที่ไม่ตรวจสอบ

     ถ้าช่วงเวลาที่ขออนุญาตเปิดร้าน ระหว่าง 12.00 – 24.00 น. มีเภสัชกรผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการซึ่งตกลงกับผู้รับอนุญาต (เจ้าของร้านยา) แล้วไปแจ้งต่อผู้อนุญาตว่า เภสัชกรสามารถอยู่ปฏิบัติการช่วง 18.00 – 21.00 น. ได้ หากมีพนักงานเจ้าหน้าที่ไปตรวจในช่วงเวลา 18.00 – 21.00 น. แล้วไม่พบเภสัชกรอยู่ เภสัชกรมีความผิดฐานไม่อยู่ปฏิบัติการ ตาม พ.ร.บ.ยาฯ มาตรา 39 (หรือที่ในวงการเภสัชกรรมเรียกว่า “แขวนป้าย”) ต้องระวางโทษตามมาตรา 109 คือ ระวางโทษปรับตั้งแต่ 1,000 – 5,000 บาท และพนักงานเจ้าหน้าที่จะส่งเรื่องไปยังสภาเภสัชกรรมเพื่อพิจารณาคดีจรรยาบรรณวิชาชีพเภสัชกรรมต่อไป ส่วนผู้รับอนุญาต (เจ้าของร้าน) มีความผิดที่ไม่สามารถหาเภสัชกรที่จะมาประจำร้านยาในช่วงที่เภสัชกรไม่อยู่ได้ และห้ามผู้รับอนุญาตขายยาอันตรายหรือยาควบคุมพิเศษในระหว่างที่เภสัชกรไม่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา 32 หากมีการขายยาอันตรายหรือยาควบคุมพิเศษในระหว่างที่เภสัชกรไม่อยู่ต้องระวางโทษตามมาตรา 107 คือ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 1,000 – 5,000 บาท

     ถ้าช่วงเวลา 18.00 – 21.00 น. ซึ่งเป็นช่วงเวลาปฏิบัติหน้าที่ของเภสัชกรผู้มีหน้าที่ปฏิบัติงาน เกิดเหตุจำเป็นที่ทำให้เภสัชกรไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ เภสัชกรได้มีเจตนาหลีกเลี่ยง หรือเภสัชกรได้แจ้งผู้รับอนุญาต (เจ้าของร้านยา) ว่าไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ในช่วงเวลานั้น แม้พนักงานเจ้าหน้าที่มาตรวจร้านยานั้นแล้วไม่พบเภสัชกรดังกล่าว เภสัชกรคนนั้นก็ไม่ควรต้องรับผิดฐานไม่อยู่ปฏิบัติการ ตาม พ.ร.บ.ยาฯ มาตรา 39 และไม่ควรจะต้องคดีจรรยาบรรณวิชาชีพเภสัชกรรม อย่างไรก็ตาม มีข้อสังเกตที่พึงฝากให้ระลึกถึงว่า กรณีความสัมพันธ์ระหว่างผู้รับอนุญาต (เจ้าของร้านยา) กับเภสัชกร เป็นแบบสัญญาจ้างแรงงาน เภสัชกรอาจรับผิดแทนเจ้าของผู้รับอนุญาต (เจ้าของร้านยา) โดยอ้างว่าไม่ได้แจ้งไว้ทั้งที่อาจแจ้งไปแล้วก็ได้


เภสัชกรไม่อยู่ร้านในช่วงเวลาที่ระบุควรทำอย่างไร

     หากเภสัชกรผู้มีชื่อเป็นผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ในช่วงเวลาที่แจ้งไว้ สามารถแก้ปัญหาได้ดังนี้

     1. ปิดร้านขายยาชั่วคราว จนกว่าจะมีเภสัชกรมาทำหน้าที่

     2. หากต้องการเปิดร้าน (ซึ่งตามหลักการแล้ว ควรหลีกเลี่ยง) ควรมีป้ายแสดงให้เห็นในทำนองว่าขณะนี้เภสัชกรไม่อยู่ ปิดบังพื้นที่ขายยาและห้ามขายยาที่ต้องดำเนินการโดยเภสัชกร เช่น การขายยาอันตราย หรือการขายยาควบคุมพิเศษ หรือยาเสพติดให้โทษ (กรณีร้านยามีใบอนุญาต) หรือขายวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท (กรณีร้านยามีใบอนุญาต) ต้องเก็บหรือปิดตู้หรือล็อคให้เรียบร้อย

     3. สามารถขายได้เฉพาะยาสามัญประจำบ้าน และยาสมุนไพร ส่วนการขายยาแผนปัจจุบันบรรจุเสร็จที่ไม่ใช่ยาอันตรายหรือยาควบคุมพิเศษในร้านขายยาแผนปัจจุบันในขณะเภสัชกรไม่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ เป็นช่องว่างของกฎหมายที่ไม่ได้กำหนดไว้และไม่มีบทลงโทษ ผู้รับอนุญาต (เจ้าของร้าน) จึงยังคงขายได้

     4. จัดหาเภสัชกรอื่นมาประจำร้านแทนในช่วงเวลาปฏิบัติการของเภสัชกรที่มีชื่อเป็นผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการ (เภสัชกรห้วงเวลา, part time) กรณีเภสัชกรในร้านยาไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ในร้านยาชั่วคราวไม่เกิน 60 วัน ผู้รับอนุญาต (เจ้าของร้านยา) จะต้องจัดหาเภสัชกรที่มีคุณสมบัติเดียวกัน และแจ้งเป็นหนังสือไปยังผู้อนุญาต (อย. หรือผู้ว่าราชการจังหวัด) ก่อน เภสัชกรอื่นจึงจะปฏิบัติหน้าที่แทนได้ (มาตรา 33 ทวิ) ผู้รับอนุญาต (เจ้าของร้านยา) การฝ่าฝืนโดยการไม่จัดหาเภสัชกรมาปฏิบัติหน้าที่ ต้องระวางโทษตามมาตรา 107 ทวิ คือ ปรับไม่เกิน 500 บาท แต่มีข้อสังเกตว่าหากผู้รับอนุญาต (เจ้าของร้านยา) ไม่ได้แจ้งชื่อไปยังผู้อนุญาต เภสัชกรอื่นมาประจำร้านแทนอาจถือเป็นผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการในสถานที่ขายยาโดยตนมิได้มีชื่อเป็นผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการในสถานที่นั้น ตามมาตรา 45 ซึ่งจะทำให้ต้องระวางโทษตามมาตรา 110 คือ ปรับตั้งแต่ 1,000 – 5,000 บาท ซึ่งไม่เป็นธรรมกับเภสัชกรที่มาปฏิบัติหน้าที่แทน อย่างไรก็ตาม หากมีการฝ่าฝืนขายยาอันตรายหรือยาควบคุมพิเศษในระหว่างที่เภสัชกรไม่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ เป็นการฝ่าฝืนมาตรา 32 ต้องระวางโทษตามมาตรา 107 คือ ผู้อนุญาต (เจ้าของร้านยา ถูกปรับตั้งแต่ 1,000 – 5,000 บาท


ผู้รับอนุญาตใช้ชื่อเภสัชกรคนหนึ่งเป็นผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการ แต่ในทางปฏิบัติมีเภสัชกรคนอื่นทำหน้าที่ปฏิบัติงานจริง

     บางกรณีผู้รับอนุญาต (เจ้าของร้านยา) เมื่อครั้งขออนุญาตเปิดร้านขายยา ใช้ชื่อเภสัชกรคนหนึ่งเป็นผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการ แต่ในความเป็นจริงมีเภสัชกรอีกคนทำหน้าที่เภสัชกรประจำร้านยานั้นแทน กรณีนี้สามารถแยกได้ดังนี้

     1. เภสัชกรซึ่งมีชื่อเป็นผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการในร้านยานั้น ปกติได้ปฏิบัติหน้าที่ในร้านยานั้นด้วย แต่มีเหตุไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ชั่วคราวเป็นระยะเวลาไม่เกิน 60 วัน กรณีจะเข้ามาตรา 33 ทวิ ผู้รับอนุญาต (เจ้าของร้านยา) จะต้องหาเภสัชกรอื่นมาปฏิบัติหน้าที่แทน หากฝ่าฝืนต้องระวางโทษตามมาตรา 107 ทวิ คือ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท

     2. เภสัชกรซึ่งมีชื่อเป็นผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการในร้านยานั้น เคยปฏิบัติงานในร้านยานั้น แต่ต่อมาเหตุการณ์ที่ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ เช่น มีการยกเลิกสัญญาจ้างเภสัชกร ปกติเภสัชกรต้องแจ้งไปยังผู้อนุญาต (อย. หรือ ผู้ว่าราชการจังหวัด) ภายใน 7 วันนับแต่วันที่พ้นหน้าที่ ตามมาตรา 34 หากเภสัชกรฝ่าฝืนต้องระวางโทษตามมาตรา 108 คือ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท ผู้รับอนุญาต (เจ้าของร้านยา) ต้องแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้อนุญาตทราบว่าไม่มีเภสัชกรผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการภายใน 7 วัน ตามมาตรา 33 วรรคสอง หากฝ่าฝืนต้องระวางโทษตามมาตรา 106 คือ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท

     เภสัชกรผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการประจำสถานที่ขายยา ถือเป็นสิ่งที่ผู้ขออนุญาตเปิดร้านยาจะต้องมีคุณสมบัติตามมาตรา 14(9) ถ้าไม่มีเภสัชกรผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการ ผู้อนุญาตโดยคำแนะนำของคณะกรรมการยามีอำนาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาตตามมาตรา 96 ได้ ส่งผลให้ร้านยานั้นถูกปิดได้ หากร้านยานั้นไม่สามารถหาเภสัชกรผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการได้ทันในทางปฏิบัติอาจจะมีการร้องขอเภสัชกรนั้น ขอใช้ชื่อเภสัชกรนั้นเป็นผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการไปก่อน และจะหาเภสัชกรอื่นมาปฏิบัติหน้าที่แทนจนกว่าจะได้เภสัชกรที่มาปฏิบัติหน้าที่ประจำร้านนั้น หากผู้รับอนุญาต (เจ้าของร้านยา) นั้นมีความซื่อสัตย์ก็จะจัดหาเภสัชกรอื่นมาปฏิบัติหน้าที่ไปพลางก่อน และแจ้งต่อผู้อนุญาตว่ามีเภสัชกรอื่นมาปฏิบัติหน้าที่แทน ตามมาตรา 33 ทวิ กรณีนี้ก็อาจมองว่าเป็นแขวนป้ายหรือไม่ เพราะมีชื่อเภสัชกรอยู่ประจำร้านแต่ไม่พบตัวเภสัชกรชื่อนั้นแต่กลับพบเภสัชกรอื่นแทน หากร้านยาสามารถหาเภสัชกรมาแทนที่เภสัชกรคนเดิมได้ จะต้องแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้อนุญาตทราบ ตามมาตรา 33 วรรคแรก เมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงจะสามารถเปลี่ยนตัวได้

     3. เภสัชกรซึ่งมีชื่อเป็นผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการในร้านยานั้น แต่ไม่เคยปฏิบัติงานในร้านยานั้นเลย กรณีเภสัชกรมีความผิดฐานไม่อยู่ปฏิบัติการ ตาม พ.ร.บ.ยาฯ มาตรา 39 (หรือที่ในวงการเภสัชกรรมเรียกว่า “แขวนป้าย”) ต้องระวางโทษตามมาตรา 109 คือ ระวางโทษปรับตั้งแต่ 1,000 – 5,000 บาท และพนักงานเจ้าหน้าที่จะส่งเรื่องไปยังสภาเภสัชกรรมเพื่อพิจารณาคดีจรรยาบรรณวิชาชีพต่อไป

     เภสัชกรผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนยังต้องมีหน้าที่เช่นเดียวกันกับเภสัชกรผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการประจำร้าน ในช่วงเวลาที่ตนมาทำหน้าที่แทน ในขณะเดียวกันตราบใดที่เภสัชกรยังมีชื่อของตนเป็นผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการประจำร้านใด ก็ยังคงมีหน้าที่รับผิดชอบตามมาตรา 39 ต่อร้านนั้น แม้ว่าร้านนั้นจะหาเภสัชกรอื่นมาอยู่แทนก็ตาม


หน้าที่ของเภสัชกรประจำร้านขายยาแผนปัจจุบัน

1. อยู่ประจำ ณ สถานที่ขายยาแผนปัจจุบันตลอดเวลาที่เปิดทำการ (ช่วงเวลาที่ตนมีชื่อเป็นผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการ)

2. ควบคุมการแยกเก็บยาสำหรับสัตว์เป็นส่วนสัดจากยาอื่น การแยกเก็บยาอันตราย ยาควบคุมพิเศษ และยาอื่น ๆ ให้เป็นส่วนสัด

3. ควบคุมการปฏิบัติเกี่ยวกับฉลากยา จัดให้ฉลากตามที่ขึ้นทะเบียนตำรับยาที่ภาชนะและหีบห่อบรรจุยาตามที่กำหนด ครบถ้วน คือ
     (ก) ชื่อยา
     (ข) เลขที่หรือรหัสใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับยา
     (ค) ปริมาณของยาที่บรรจุ
     (ง) ชื่อและปริมาณหรือความแรงของสารออกฤทธิ์อันเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของยาซึ่งจะต้องตรงตามที่ขึ้นทะเบียนตำรับยา
     (จ) เลขที่หรืออักษรแสดงครั้งที่ผลิตหรือวิเคราะห์ยา
     (ฉ) ชื่อผู้ผลิตยาและจังหวัดที่ตั้งสถานที่ผลิตยา
     (ช) วัน เดือน ปี ที่ผลิตยา
     (ซ) คำว่า “ยาอันตราย” “ยาควบคุมพิเศษ” “ยาใช้ภายนอก” หรือ “ยาใช้เฉพาะที่” แล้วแต่กรณี ด้วยอักษรสีแดงเห็นได้ชัดในกรณีเป็นยาอันตราย ยาควบคุมพิเศษ ยาใช้ภายนอก หรือยาใช้เฉพาะที่
     (ฌ) คำว่า “ยาสามัญประจำบ้าน” ในกรณีที่เป็นยาสามัญประจำบ้าน
     (ญ) คำว่า “ยาสำหรับสัตว์” ในกรณีที่เป็นยาสำหรับสัตว์
     (ฎ) คำว่า “ยาสิ้นอายุ” และแสดงวัน เดือน ปี ที่ยาสิ้นอายุ ในกรณีเป็นยาที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศยาที่ต้องแจ้งกำหนดสิ้นอายุไว้ในฉลาก หรืออายุของการใช้งานของยาบางชนิด

4. ควบคุมการขายยาให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ เช่น ห้ามขายยาปลอม ยาผิดมาตรฐาน ยาเสื่อมคุณภาพ ยาที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา ยาที่ทะเบียนตำรับยาถูกยกเลิก ยาที่ถูกเพิกถอนทะเบียนตำรับยา การควบคุมดูแลเรื่องการโฆษณาขายยา

5. ปรุงยาในที่ที่ผู้รับอนุญาตขายยาได้จัดไว้เป็นส่วนสัดสำหรับปรุงยาตามใบสั่งยาของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบัน หรือผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์และสำหรับเก็บยาที่ใช้ในการนั้นด้วย

6. จัดให้มีฉลากที่ภาชนะและหีบห่อบรรจุยาที่ปรุงตามใบสั่งยาของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบัน หรือผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง

7. ควบคุมการส่งมอบยาอันตราย ยาควบคุมพิเศษ หรือยาตามใบสั่งยาของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบัน หรือผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์

8. ควบคุมการทำบัญชียาที่ซื้อและขายตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

9. การอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง เช่น การขายยาควบคุมพิเศษจะต้องมีใบสั่งแพทย์


__________
เรื่องอื่นที่เกี่ยวข้อง
เวลาเปิดทำการตาม พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม



4 ความคิดเห็น:

  1. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  2. Wholedrug.com ขายส่งยา ยี่ปั๊วร้านขายยา
    เชคราคายา สมัครสมาชิกฟรี จัดส่งทั่วประเทศ


    www.wholedrug.com

    โทร. 092 8811 857
    Line ID : wholedrug
    Email : info@wholedrug.com
    Facebook : www.facebook.com/wholedrug

    เราได้รวบรวมสินค้าสำหรับร้านยา คลีนิค และ โรงพยาบาล มากกว่า 2,000 รายการ อยู่ในหมวดสินค้า

    - ระบบประสาท ขยายหลอดเลือด
    - ยาลดไข้ แก้ปวดอักเสบ
    - ยาแก้ไอ ขับเสมหะ ละลายเสมหะ
    - ยาปฏิชีวนะ Antibiotic
    - ยาระบบทางเดินหายใจ Respiratory Tract
    - ยาระบบทางเดินอาหาร Gastrointestinal tract
    - ยากลุ่มโรคเรื้อรัง Chronic disease
    - ยาตา หู คอ จมูก
    - ยาคุมเม็ดฮอร์โมน Hormones
    - เทสตั้งครรภ์ ถุงยาง ฯลฯ
    - ยาใช้ภายนอก ยาครีม Topical Use
    - ยาทาแก้ปวด พลาสเตอร์แก้ปวด
    - ยาฉีด
    - ยาดม
    - ยาอม
    - วิตามิน อาหารเสริม Supplementary
    - ยาสมุนไพร
    - เวชภัณฑ์ ยา อุปกรณ์ตกแต่งแผล First Aid Support
    - อุปกรณ์การแพทย์ Medical Device
    - ครีมบำรุง ดูแลผิว เวชสำอาง
    - อื่นๆ

    ** ขายส่งเฉพาะบุคคากรทางการแพทย์ **

    ตอบลบ
  3. เราเสนอสินเชื่อจาก€ 100,000.00 ถึง 200,000,00 €ในอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสมและไม่มีการตรวจสอบเครดิตเราเสนอสินเชื่อส่วนบุคคลสินเชื่อรวมหนี้เงินร่วมทุนสินเชื่อธุรกิจสินเชื่อเพื่อการศึกษา ? เรามีอัตราดอกเบี้ยคงที่ 3% !!!
    อีเมล: guaranteeloanoffer@outlook.com หรือติดต่อ WhatsApp @ +38972751056

    ตอบลบ
  4. สวัสดี คุณกำลังมองหาสินเชื่อรวมหนี้, สินเชื่อไม่มีหลักประกัน, สินเชื่อธุรกิจ, สินเชื่อจำนอง, สินเชื่อรถยนต์, สินเชื่อนักศึกษา, สินเชื่อส่วนบุคคล, เงินร่วมลงทุน ฯลฯ ! ฉันเป็นผู้ให้กู้เอกชน ฉันให้สินเชื่อแก่บริษัทและบุคคลทั่วไปด้วยอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำและสมเหตุสมผลที่ 2% ส่งอีเมล์ไปที่: christywalton355@gmail.com

    ตอบลบ