วันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2554

ข้อบังคับสภาเภสัชกรรมว่าด้วยจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ. ๒๕๓๘

ข้อบังคับสภาเภสัชกรรม
ว่าด้วยจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพเภสัชกรรม พ.. ๒๕๓๘

_____________________



อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๓() () แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพเภสัชกรรม พ.. ๒๕๓๗ คณะกรรมการสภาเภสัชกรรม โดยความเห็นของสภานายกพิเศษ จึงออกข้อบังคับว่าด้วยจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพเภสัชกรรมไว้ดังต่อไปนี้


หมวด ๑
หลักการทั่วไป

ข้อ ๑   ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมย่อมดำรงตนให้สมควรในสังคมโดยธรรมและเคารพต่อกฎหมายของบ้านเมือง

ข้อ ๒  ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมย่อมไม่ประพฤติหรือกระทำการใด ๆ อันเป็นเหตุให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ

ข้อ ๓  ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมย่อมประกอบวิชาชีพด้วยเจตนาดี โดยไม่คำนึงถึงฐานะ เชื้อชาติ ศาสนา สังคม หรือลัทธิการเมือง

ข้อ ๔ ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม พึงสร้างทัศนคติและความเข้าใจต่อเพื่อนมนุษย์ และสังคม นำความรู้ด้านสังคมศาสตร์ พฤติกรรมศาสตร์ มาประยุกต์ในการประกอบอาชีพ

ข้อ ๕ ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม พึงพยายามแสวงหาความรู้ ความก้าวหน้าทางวิชาการต่าง ๆ เพื่อการพัฒนาองค์กร และวิชาชีพให้ทันต่อยุคสมัย



หมวด ๒
การประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม

ข้อ ๖   ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมต้องรักษามาตรฐานของการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมในระดับที่ดีที่สุด

ข้อ ๗ ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมต้องไม่จูงใจหรือชักชวนให้มารับบริการทางวิชาชีพเภสัชกรรมเพื่อผลประโยชน์ของตน

ข้อ ๘  ผุ้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมต้องปฏิบัติต่อผู้มารับบริการโดยสุภาพและปราศจากการบังคับขู่เข็ญ

ข้อ ๙  ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมต้องไม่หลอกลวงหรือให้คำรับรออันเป็นเท็จหรือให้ความเห็นโดยไม่สุจริตในเรื่องใด ๆ ภายใต้อำนาจหน้าที่แก่สาธารณชน หรือผู้มารับบริการให้หลงเข้าใจผิด เพื่อประโยชน์ของตน

ข้อ ๑๐ ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมต้องประกอบวิชาชีพ โดยคำนึงถึงความปลอดภัยและเศรษฐานะของผู้ป่วยหรือผู้มารับบริการ

ข้อ ๑๑ ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมต้องไม่ใช้หรือสนับสนุนการใช้ยาตำรับลับ

ข้อ ๑๒ ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมต้องไม่เปิดเผยความลับของผู้มารับบริการซึ่งตนทราบมาเนื่องจากการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม เว้นแต่ความยินยอมของผู้มารับบริการหรือเมื่อต้องปฏิบัติตามกฎหมายหรือตามหน้าที่

ข้อ ๑๓ ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมต้องไม่ใช้หรือสนับสนุนให้มีการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมหรือการประกอบโรคศิลปะ โดยผิดกฎหมาย

ข้อ ๑๔ ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมต้องปฏิบัติตามข้อจำกัดและเงื่อนไขการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม ที่คณะกรรมการสภาเภสัชกรรมกำหนดโดยเคร่งครัด



หมวด ๓

การโฆษณาการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม

ข้อ ๑๕ ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมต้องไม่โฆษณา ใช้ จ้าง หรือยินยอมให้ผู้อื่นโฆษณาการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม ความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมของตน หรือของผู้อื่น เว้นแต่
(๑) การแสดงผลงานทางวิชาการ
(๒) การแสดงผลงานในหน้าที่ หรือในการบำเพ็ญประโยชน์สาธารณะ
(๓) การประกาศเกียรติคุณเป็นทางการโดยสถาบันวิชาการ สมาคม หรือมูลนิธิ
ทั้งนี้ ต้องละเวันการแสวงหาประโยชน์ที่จะเกิดต่อการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมส่วนบุคคล

ข้อ ๑๖ ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมอาจแสดงข้อความเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมของตนที่สถานประกอบวิชาชีพได้เพียงข้อความเฉพาะเรื่องต่อไปนี้
(๑) ชื่อ นามสกุล และอาจมีคำประกอบชื่อได้เพียงคำว่าเภสัชกร เภสัชกรหญิง หรืออักษรย่อของคำดังกล่าว ตำแหน่งทางวิชาการ ฐานันดรศักดิ์ ยศ และบรรดาศักดิ์
(๒) ชื่อปริญญา วุฒิบัตร หรือหนังสืออนุมัติ หรือหนังสือแสดงคุณวุฒิอย่างอื่น ซึ่งตนได้รับจากสภาเภสัชกรรม หรือสถาบันนั้น ๆ
(๓) สาขาของวิชาชีพเภสัชกรรม
(๔) เวลาทำการ

ข้อ ๑๗ ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมอาจแจ้งความการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมเฉพาะการแสดงที่อยู่ ที่ตั้งสถานประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม หมายเลขโทรศัพท์ หรือเครื่องมือสื่อสารอื่น และหรือข้อความที่อนุญาตตามข้อ ๑๖

ข้อ ๑๘ ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมผู้ทำการเผยแพร่หรือตอบปัญหาทางสื่อมวลชน ถ้าแสดงตนว่าเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม ต้องไม่แจ้งสถานประกอบวิชาชีพส่วนตัวเป็นทำนองการโฆษณา และต้องไม่มีการแจ้งความตามข้อ ๑๗ ในที่เดียวกันหรือขณะเดียวกันนั้นด้วย

ข้อ ๑๙ ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมต้องระมัดระวัง มิให้การประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมของตนแพร่ออกไปในสื่อ มวลชนเป็นทำนองโฆษณาความรู้ความสามารถ

หมวด ๔
การปฏิบัติต่อผู้ร่วมวิชาชีพ

ข้อ ๒๐ ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมต้องยกย่องให้เกียรติเคารพในศักดิ์ศรีซึ่งกันและกัน

ข้อ ๒๑ ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมต้องไม่ทับถมให้ร้ายหรือกลั่นแกล้งกัน

ข้อ ๒๒ ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมต้องไม่ชักจูงผู้มารับบริการของผู้อื่นมาเป็นของตน

หมวด ๕
การปฏิบัติต่อผู้ร่วมงาน

ข้อ ๒๓ ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมพึงยกย่องให้เกียรติและเคารพในศักดิ์ศรีของผู้ร่วมงาน

ข้อ ๒๔ ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมต้องไม่ทับถมให้ร้าย หรือกลั่นแกล้งผู้ร่วมงาน

ข้อ ๒๕ ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมพึงส่งเสริมและสนับสนุนการประกอบวิชาชีพของผู้ร่วมงาน


หมวด ๖
การปฏิบัติในการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม

ข้อ ๒๖ ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม ต้องไม่โฆษณาหรือยินยอมให้ผู้อื่นโฆษณาในลักษณะว่ามีผู้ประกอบวิชาชีพอยู่ปฏิบัติการในสถานปฏิบัติการหรือสถานพยาบาลนั้น โดยไม่เป็นความจริง

ข้อ ๒๗ ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม จะโฆษณาหรือยินยอมให้ผู้อื่นโฆษณาว่ามีเภสัชกรประจำ หรือ ขายยาโดยเภสัชกร หรือแจ้งชื่อว่าเป็นเภสัชกรประจำ หรือข้อความอื่นที่ก่อให้เกิดความเข้าใจในลักษณะดังกล่าวได้ เฉพาะกรณีที่ผู้ประกอบวิชาชีพดังกล่าวได้อยู่ปฏิบัติการจริงเป็นการประจำหรือได้อยู่ปฏิบัติการตลอดเวลาที่เปิดทำการเท่านั้น

ข้อ ๒๘ กรณีผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมไม่อยู่ปฏิบัติการจริงเป็นการประจำหรือไม่ได้อยู่ปฏิบัติการตลอดเวลาที่เปิดทำการ จะสามารถโฆษณาหรือยินยอมให้ผู้อื่นโฆษณาว่ามีเภสัชกรได้ โดยต้องระบุ วัน เวลา ที่อยู่ปฏิบัติการจริงประกอบชื่อของตนหรือประกอบคำว่า เภสัชกรประจำ ขายยาโดยเภสัชกร หรือ ข้อความอื่นในลักษณะดังกล่าว ให้ชัดเจน

ข้อ ๒๙ ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมผู้ใดที่มีชื่อเป็นผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการหรือเป็นเภสัชกรประจำ ถ้ามิได้อยู่ปฏิบัติงานประจำหรือไปปฏิบัติงานไม่เป็นเวลาที่แน่นนอน ไม่มีสิทธิที่จะโฆษณาหรือยินยอมให้โฆษณาหรือแจ้งว่า มีเภสัชกรประจำ หรือ ขายยาโดยเภสัชกร หรือแจ้งชื่อว่าเป็นเภสัชกรประจำ หรือ ข้อความอื่นที่ก่อให้เกิดความเข้าใจในลักษณะดังกล่าวได้

ข้อ ๓๐ ผู้ประกอบวิชาชีพที่เป็นผู้ให้ความรู้เรื่องยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ ในลักษณะต่าง ๆ และโดยสื่อต่าง ๆ ต้องพึงระวังมิให้การกระทำดังกล่าวของตน หรือให้ผู้อื่นนำการกระทำดังกล่าวไปทำให้เข้าใจว่า ส่งเสริมหรือสนับสนุน ผลิตภัณฑ์ใดผลิตภัณฑ์หนึ่งที่เกี่ยวกับเรื่องที่ให้ความรู้นั้น

ข้อ ๓๑ ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมผู้ใดรับจ้างหรือรับทุนสนับสนุนจากบริษัทเอกชนในการกระทำใด ๆ หรือจัดทำผลงานใด ๆ จะต้องเปิดเผยข้อมูลให้ทราบว่าผู้ใดเป็นผู้จ้างหรือให้ทุนสนับสนุนควบคู่ไปด้วยทุกครั้งเมื่อมีการแสดง อ้างอิงผลงาน หรือเผยแพร่ผลการกระทำหรือผลงานที่จัดทำขึ้น



ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป



ประกาศ   วันที่  ๑๐ สิงหาคม  ..  ๒๕๓๘



นายบุญอรรถ  สายศร

นายกสภาเภสัชกรรม



หมายเหตุ

๑. หมวด ๑ หมวด ๕ (ข้อ ๑-๒๕) แห่งข้อบังคับสภาเภสัชกรรมว่าด้วยจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ. ๒๕๓๘ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒ ตอน ๑๐๒ ง วันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๓๘ หน้า ๖๓ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

๒. หมวด ๖  (ข้อ ๒๖ ๓๑) เพิ่มเติมโดยข้อบังคับสภาเภสัชกรรม ว่าด้วยจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพเภสัชกรรม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐ ตอนพิเศษ ๑๒๖ ง วันที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๔๖ หน้า ๖๘ และให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป  


วันศุกร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2554

ยาอันตราย รอบปี พ.ศ.2554

ยากลุ่มที่มีกรดอะมิโนเป็นส่วนประกอบ ที่ใช้รักษาภาวะผิดปกติเนื่องจากโรคตับ ลำดับที่ 75 (ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ยาอันตราย ฉบับที่ 23, ราชกิจจานุเบกษา 9 กันยายน 2554)

ยากลุ่มรักษาโรคนิ่วในไต ยาอันตราย ลำดับที่ 76 (ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ยาอันตราย ฉบับที่ 23, ราชกิจจานุเบกษา 9 กันยายน 2554)

สรุปข้อพึงระวังจรรยาบรรณวิชาชีพของเภสัชกร กรณีโฆษณาผลิตภัณฑ์ให้ธุรกิจเอกชน

ภก.ปรุฬห์ รุจนธำรงค์

1. ปฏิบัติตามหลักทั่วไปของจรรยาบรรณวิชาชีพ เช่น เคารพกฎหมายบ้านเมือง (ปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น พ.ร.บ.ยาฯ,พ.ร.บ.อาหารฯ หรืออื่น ๆ ) ไม่ประพฤติให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์วิชาชีพ ไม่เลือกปฏิบัติ มีทัศนคติและเจตคติที่ดี หมั่นแสวงหาความรู้ทางวิชาการ
2. ไม่หลอกลวงหรือให้คำรับรองอันเป็นเท็จ หรือให้ความเห็นโดยไม่สุจริต ให้หลงเข้าใจผิด (หรือโฆษณาเกินจริง)เพื่อประโยชน์ของตน
3. ไม่โฆษณา ใช้ จ้าง วาน หรือให้ผู้อื่นโฆษณาการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม หรือโฆษณาความรู้ ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมของตน (ไม่ระบุว่าตัวเองเป็นเภสัชกร)
4. พึงระวังมิให้ผู้อื่นเข้าใจว่า ส่งเสริมหรือสนับสนุนผลิตภัณฑ์ที่ให้ความรู้
5. หากมีการแสดง มีการกระทำ มีการจัดทำผลงาน หรือมีการเผยแพร่ผลงาน ถ้าได้รับจ้างหรือรับทุนสนับสนุนจากบริษัทเอกชน ต้องเปิดเผยให้ทราบว่าใครเป็นผู้จ้างหรือให้ทุนสนับสนุนด้วย
6. ถ้าผลิตภัณฑ์นั้นเป็นยา เครื่องมือแพทย์ หากโฆษณาต่อประชาชนทั่วไป ห้ามรับรองหรือยกย่องสรรพคุณยา หรือรับรองคุณประโยชน์ของเครื่องมือแพทย์โดยบุคคลอื่น (พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 มาตรา88(7), โดยบุคคลใด ตามพ.ร.บ.เครื่องมือแพทย์ พ.ศ.2551 มาตรา59(2))
7. ผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องสำอาง ต้องไม่แสดงว่ารักษา บำบัด บรรเทาโรคได้
8. ไม่จับสลากรางวัล ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ยา เครื่องมือแพทย์






ข้อ 1-5 สรุปจากข้อบังคับสภาเภสัชกรรมว่าด้วยจรรยาบรรณวิชาชีพเภสัชกรรมฯ ข้อ 1-5, 9, 15, 30, 31

----------
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
เภสัชกรต้องโฆษณาสินค้าอย่างไรให้ถูกพักใช้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ 
ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพโฆษณาความรู้ความสามารถของตน สถานที่ประกอบธุรกิจของตนหรือสถานที่ตนปฏิบัติงาน ทำได้หรือไม่  

จัดกิจกรรมการโฆษณาและการส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์สุขภาพอย่างไร หลีกเลี่ยงการผิดกฎหมาย
 

วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2554

สรุปย่อประเด็นวิชาชีพด้านสุขภาพกับการเปิดร้านขายยา ตามร่าง พ.ร.บ.ยา ฉบับใหม่

  ภก.ปรุฬห์ รุจนธำรงค์
6 กันยายน 2554

1. ข้อตกลงเบื้องต้น
          1.1 ขอให้ศึกษาข้อมูลเบื้องต้นจาก http://rparun.blogspot.com/2011/09/draftdrugact01.html
          1.2 วิชาชีพที่เกี่ยวข้อง เช่น แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร พยาบาล กายภาพบำบัด แพทย์แผนไทย แพทย์แผนทางเลือก สัตวแพทย์ (ดูรายละเอียดในข้อ 1.1)
          1.3 กฎหมายยาปัจจุบัน คือ พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม และร่างกฎหมายใหม่ คือ ร่าง พ.ร.บ.ยา ฉบับคณะกรรมการกฤษฎีกา และฉบับประชาชน
          1.4 กฎหมายวิชาชีพ คือ พระราชบัญญัติวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง กฎหมายสถานพยาบาล คือ พระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ.2541
          1.5 ศัพท์และสำนวนที่ใช้ในครั้งนี้อาจจะไม่เป็นทางการมากนัก


2. ตอบคำถามประเด็นยอดนิยม

            2.1 การเปิดร้านขายยา
          ใครมีเงิน มีคุณสมบัติครบถ้วน ก็เปิดร้านขายยา เปิดสถานบริการเภสัชกรรมก็ได้ แต่ต้องหาเภสัชกรมาประจำให้ได้ตามร่างกฎหมายใหม่ (ดูหน้าที่เภสัชกรที่ http://rparun.blogspot.com/2011/04/blog-post_06.html)
         

          2.2 ผู้ที่ออกใบสั่งยาได้
          ผู้ที่ออกใบสั่งยาได้ คือ คนที่ใช้ชื่อว่าหมอ หรือแพทย์เท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นแพทย์ (หมอคน) ทันตแพทย์ (หมอฟัน) สัตวแพทย์(หมอสัตว์) แพทย์แผนไทย หรือแผนต่าง ๆ และเป็นไปตามกฎหมายวิชาชีพนั้น ๆ ส่วนพยาบาล กายภาพบำบัด เภสัชกร ออกใบสั่งยาไม่ได้ เพราะกฎหมายวิชาชีพไม่อนุญาต
 

            2.3 การจ่ายยา
          (1) จ่ายสำหรับคนไข้เฉพาะตน จ่ายในการประกอบวิชาชีพตามกฎหมายวิชาชีพนั้น ๆ จ่ายในคลินิกวิชาชีพ ไม่ถือว่าทำเพื่อประโยชน์ทางการค้า จึงไม่ถือเป็นการขาย ไม่ว่าจะเป็นการขายตามนิยามกฎหมายใด ๆ ก็ตาม
          (2) จ่ายยาสำหรับคนไข้โดยไม่มีการตรวจโรค ถือเป็นการขาย เพราะมีลักษณะเป็นการทำเพื่อประโยชน์ด้านการค้า ซึ่งต้องระวังคลินิกวิชาชีพทั้งหลายอาจจ่ายยาโดยไม่ตรวจโรคหรืออาการก่อนได้
          (3) การจ่ายยาของเภสัชกร ต้องใช้ความรู้ในวิชาชีพ ไม่ได้มุ่งเน้นการค้าเป็นหลัก ร่างฉบับประชาชนเห็นความสำคัญ จึงคิดคำใหม่ให้ คือ "การบริการเภสัชกรรม" แต่ร่างคณะกรรมการกฤษฎีกาไม่ได้คำนึงถึง

                  

           2.4 คลินิกวิชาชีพ
            (1) ผู้ประกอบวิชาชีพจ่ายยาสำหรับคนไข้เฉพาะรายหรือสัตว์ที่ตนรักษา (ส่วนนี้เป็นเรื่องของกฎหมายยา) ปกติจะผูกกับคลินิกวิชาชีพ (ส่วนนี้เป็นเรื่องกฎหมายสถานพยาบาลกับกฎหมายวิชาชีพ) ให้ไปดูว่ากฎหมายวิชาชีพหรือกฎหมายสถานพยาบาลนั้นให้ทำอะไรได้บ้าง กฎหมายยาจะอนุโลมตามกฎหมายวิชาชีพหรือกฎหมายสถานพยาบาล
            (2) กฎหมายยาฉบับปัจจุบัน (ดูข้อยกเว้นมาตรา 13, 47 ให้ดี) ไม่ก้าวล่วงไปยังคลินิกวิชาชีพ (โดยเฉพาะคลินิกแพทย์) ยังมียาได้ครอบจักรวาล ตราบที่กฎหมายยาไม่ห้าม ถ้ายังไม่ได้ทำเพื่อประโยชน์ทางการค้า (คือรักษาตามปกติ) ส่วนคลินิกพยาบาล แม้กฎหมายยาปัจจุบันไม่กล่าวถึง ก็สามารถอ้างเรื่องการมียาในครอบครองตามกฎหมายสถานพยาบาลได้ แต่ถ้าทำเพื่อประโยชน์ทางการค้า (เช่น จ่ายยาโดยไม่ตรวจโรค ไม่ตรวจอาการ ไม่มีการวินิจฉัย) ถือเป็นการขาย คลินิกวิชาชีพจะถูกข้อหาขายยาโดยไม่ได้รับอนุญาตทันที ลองพิจารณาจากกฎกระทรวงว่าด้วยชนิดและจำนวนเครื่องมือ เครื่องใช้ ยาและเวชภัณฑ์ หรือยานพาหนะที่จำเป็นประจำสถานพยาบาล พ.ศ. 2545 ซึ่งออกตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541 http://app-thca.krisdika.go.th/Naturesig/CheckSig?whichLaw=law2&folderName=%CA53&lawPath=%CA53-2b-2545-a005)  ซึ่งรายการยา ชนิด จำนวน ไม่มีความชัดเจนแต่อย่างใด
            (3) ร่างกฎหมายใหม่ พยายามเข้าไปจัดการเรื่องการใช้ยาของคลินิกวิชาชีพ แต่มีความชัดเจนเรื่องการจัดการต่างกัน ร่างฉบับคณะกรรมการกฤษฎีกามองผู้ประกอบวิชาชีพเป็นตัวตั้งว่าปกติจ่ายอะไร แล้วค่อยใส่สถานประกอบการเข้าไป ส่วนร่างฉบับประชาชน มองสถานประกอบการเป็นตัวตั้งว่าจะให้สถานประกอบการนั้นมียาอะไร แล้วค่อยนำผู้ประกอบวิชาชีพใส่ลงไป

          สิ่งที่เราต้องทำกันต่อไป คือ คลินิกวิชาชีพควรจะให้มียาอะไรได้บ้าง ซึ่งวิชาชีพนั้นเขาต้องมาต่อสู้ประเด็นนี้แน่นอน เช่น คลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ยาสำหรับหญิงตั้งครรภ์ควรมีอะไรบ้าง ยาฆ่าเชื้อควรให้ใช้อะไรบ้าดูตัวอย่างกฎกระทรวงตามกฎหมายสถานพยาบาลที่ยอมให้คลินิกวิชาชีพมียาได้ แต่ไม่มีความชัดเจนในเรื่องรายการและจำนวน
 

อย่างไรก็ตาม เรื่องการขอรายชื่อภาคประชาชน ยังคงต้องการต่อไป เพื่อเสนอกฎหมายภาคประชาชน ให้ท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภาได้เห็นความแตกต่างของกฎหมายทั้งสองฉบับ และมีภาคประชาชน ภาควิชาชีพโดยเฉพาะเภสัชกรเข้าไปปกป้องดูแลความปลอดภัยเรื่องการใช้ยา

การแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติวิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ.๒๕๓๗

 
ภก.ปรุฬห์ รุจนธำรงค์



ประวัติการเสนอร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพเภสัชกรรม (ฉบับที่ ...) พ.ศ. ...

๑. ร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพเภสัชกรรม (ฉบับที่ ...) พ.ศ. ... ฉบับคณะรัฐมนตรี

            ๑.๑ มติคณะรัฐมนตรี ๑ สิงหาคม ๒๕๔๙

                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพเภสัชกรรม (ฉบับที่ ... ) พ.ศ. ... โดยมีสาระสำคัญ คือ การกำหนดให้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมมีอายุห้าปี นับแต่วันที่ออกอายุใบอนุญาต และกำหนดให้ใบอนุญาตที่ออกตามพระราชบัญญัติวิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ. ๒๕๓๗ ที่ยังมีผลอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับมีอายุต่อไปอีกห้าปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วนำเสนอคณะรัฐมนตรีชุดใหม่อีกครั้งหนึ่ง
 

            ๑.๒ มติคณะรัฐมนตรี ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๐

                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพเภสัชกรรม (ฉบับที่ ...) พ.ศ. ... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว มีสาระสำคัญ คือ แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติวิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ.๒๕๓๗ ในส่วนของบทนิยามคำว่า “วิชาชีพเภสัชกรรม” และอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการสภาเภสัชกรรมในการออกข้อบังคับสภาเภสัชกรรม เรื่อง การต่อายุใบอนุญาต และการออกใบแทนใบอนุญาต รวมทั้งกำหนดอายุใบอนุญาตและการต่ออายุใบอนุญาต และเพิ่มอัตราค่าธรรมเนียมการต่ออายุใบอนุญาต และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาต่อไป
 

            ๑.๓ มติคณะรัฐมนตรี ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๐

                   คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติเสนอสรุปผลการกระชุมคณะกรรมการประสานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ครั้งที่ ๑๙/๒๕๕๐ วันจันทร์ที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ ซึ่งที่ประชุมมีมติให้เสนอร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพเภสัชกรรม (ฉบับที่ ...) พ.ศ. ... ต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพื่อพิจารณา
 

            ๑.๔ มติคณะรัฐมนตรี ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๒

                   คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพเภสัชกรรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว  ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ  และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานด้านนิติบัญญัติพิจารณา  ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป 

                   สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ

                   แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติวิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ. ๒๕๓๗ ดังต่อไปนี้ 

                   . แก้ไขเพิ่มเติมบทนิยามคำว่า วิชาชีพเภสัชกรรมให้มีความหมายครอบคลุมถึงการปรุงและจ่ายยาตามใบสั่งยาของผู้ประกอบวิชาชีพด้านการแพทย์และสาธารณสุขอื่นฯ (ร่างมาตรา ๓)
                   . แก้ไขเพิ่มเติมอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการสภาเภสัชกรรมในการออกข้อบังคับสภาเภสัชกรรม  เรื่องการต่ออายุใบอนุญาต  และการออกใบแทนใบอนุญาต (ร่างมาตรา ๔)
                   . แก้ไขเพิ่มเติมให้มีการต่ออายุใบอนุญาต  โดยกำหนดให้ใบอนุญาตมีอายุ ๕ ปี  นับแต่วันที่ออกใบอนุญาต (ร่างมาตรา ๕)
                   . เพิ่มเติมอัตราค่าธรรมเนียมการต่ออายุใบอนุญาต (ร่างมาตรา ๖)
                   . กำหนดบทเฉพาะกาล  เพื่อรองรับสิทธิประโยชน์ที่มีตามกฎหมายเดิม โดยกำหนดให้ใบอนุญาตที่มีอยู่เดิมใช้บังคับต่อไปได้อีก ๕ ปี  นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ (ร่างมาตรา ๗)
           

            ๑.๕ มติคณะรัฐมนตรี ๒๐ เมษายน ๒๕๕๔

                   คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการประชุมคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร วันพุธที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๕๔ ซึ่งให้เสนอร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพเภสัชกรรม (ฉบับที่ ...) พ.ศ. ... ต่อสภาผู้แทนราษฎร เพื่อบรรจุระเบียบวาระเป็นเรื่องเร่งด่วน ตามที่สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรเสนอ

             ๑.๖ มติคณะรัฐมนตรี ๘ ตุลาคม ๒๕๕๖

                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพเภสัชกรรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ  และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา  ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป  
                   ทั้งนี้ สธ. เสนอว่า พระราชบัญญัติวิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ. 2537 มาตรา 4 ได้บัญญัติบทนิยามคำว่า “ วิชาชีพเภสัชกรรม” หมายความว่า วิชาชีพที่เกี่ยวกับการกระทำในการเตรียมยา การผลิตยา การประดิษฐ์ยา การเลือกสรรยา การวิเคราะห์ยา การควบคุมและการประกันคุณภาพยา การปรุงและจ่ายยาตามใบสั่งยาของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมหรือผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม หรือผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์ รวมทั้งดำเนินการปรุงยาและการขายยาตามกฎหมายว่าด้วยยา นั้น ไม่สอดคล้องกับภารกิจที่เภสัชกรปฏิบัติ นอกจากนั้นพระราชบัญญัติดังกล่าวยังไม่ได้มีการกำหนดเรื่องอายุใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมไว้ด้วย ดังนั้น เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการที่ได้มาตรฐานและมีประสิทธิภาพ และเพื่อให้สภาเภสัชกรรมมีเครื่องมือเพื่อสร้างความมั่นใจว่าผู้ประกอบวิชาชีพ เภสัชกรรมมีความรู้ความสามารถที่เหมาะสมในการให้บริการด้านวิชาชีพแก่ประชาชนและเป็นกลไกสำคัญที่จะทำให้สภาเภสัชกรรมปรับปรุงข้อมูลของสมาชิกให้เป็นปัจจุบัน จึงสมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทนิยามคำว่า “วิชาชีพเภสัชกรรม” และเพิ่มเติมการกำหนดอายุของใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม รวมทั้งแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติอื่น ๆ ให้สอดคล้องกัน

                   สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ


                   . แก้ไขเพิ่มเติมบทนิยามคำว่า วิชาชีพเภสัชกรรมให้มีความหมายครอบคลุมถึงการปรุงและจ่ายยาตามใบสั่งยาของผู้ประกอบวิชาชีพด้านการแพทย์และสาธารณสุขอื่นๆ 
                   . แก้ไขเพิ่มเติมอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการสภาเภสัชกรรมในการออกข้อบังคับสภาเภสัชกรรม  เรื่องการต่ออายุใบอนุญาต  และการออกใบแทนใบอนุญาต 
                   . แก้ไขเพิ่มเติมให้มีการต่ออายุใบอนุญาต  โดยกำหนดให้ใบอนุญาตมีอายุ ๕ ปี  นับแต่วันที่ออกใบอนุญาต
                   . เพิ่มเติมอัตราค่าธรรมเนียมการต่ออายุใบอนุญาต 
                   . กำหนดบทเฉพาะกาล  เพื่อรองรับสิทธิประโยชน์ที่มีตามกฎหมายเดิม โดยกำหนดให้ใบอนุญาตที่มีอยู่เดิมใช้บังคับต่อไปได้อีก ๕ ปี  นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
                    ข้อสังเกต: ข้อความของมติคณะรัฐมนตรีครั้งนี้ มีลักษณะเช่นเดียวกับมติคณะรัฐมนตรีวันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๒
                   



๒. การบรรจุร่างพระราชบัญญัติในระเบียบวาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎร

          ร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพเภสัชกรรม (ฉบับที่ ...) พ.ศ. ... ถูกบรรจุในระเบียบวาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๓ ปีที่ ๔ วันพุธที่ ๔ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๔ (รายละเอียดติดตามได้จาก http://library2.parliament.go.th/giventake/content_hr/hr23/050454.pdf) จำนวน ๓ ฉบับ คือ

          ๑. ฉบับนายวิชาญ มีนชัยนันท์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคพลังประชาชน และคณะ รวม ๒๒ คน (หนังสือลงวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๕๑ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ประทับเลขรับ ๑๕/๒๕๕๑ วันที่ ๑๔ มีนาคม ๒๕๕๑ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีให้การรับรอง ๒๒ เมษายน ๒๕๕๔) เป็นเรื่องที่เสนอใหม่ ลำดับที่ ๖.๑๗   

          ๒. ฉบับนางพัฒนา สังขทรัพย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคภูมิใจไทย และคณะ รวม ๒๐ คน (หนังสือลงวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ประทับเลขรับ ๒๔/๒๕๕๓ วันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีให้การรับรอง ๒๒ เมษายน ๒๕๕๔) เป็นเรื่องที่เสนอใหม่ ลำดับที่ ๖.๑๘ 

          ๓. ฉบับคณะรัฐมนตรี (หนังสือเลขที่ นร ๐๕๐๓/๒๕๗๔ ลงวันที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๔ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ประทับเลขรับ ๑๓/๒๕๕๔ วันที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๔) เป็นเรื่องด่วนลำดับที่ ๖๕


          ข้อสังเกต: เดิมได้บรรจุอยู่ในระเบียบวาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎรเรียบร้อยแล้ว แต่ได้มีการยุบสภาแล้วมีการเลือกตั้งใหม่ คณะรัฐมนตรีของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ซึ่งเป็นรัฐบาลภายหลังจากการเลือกตั้ง ไม่ได้มีการรับรองร่างพระราชบัญญัติที่ไม่ใช่ร่างพระราชบัญญัติของภาคประชาชน จึงจำเป็นต้องเสนอร่างพระราชบัญญัติเข้าไปใหม่ ล่าสุดคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัตินี้ วันที่ ๘ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๖


๓. สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพเภสัชกรรม (ฉบับที่ ...) พ.ศ. ... แต่ละฉบับ

          ร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๓ ฉบับ มีข้อความที่เหมือนกันทุกประการ



ร่าง

พระราชบัญญัติ

วิชาชีพเภสัชกรรม (ฉบับที่ ...)

พ.ศ. ...

___________________



.........................................................

.........................................................

.........................................................



          ............................................................................................................................................................................



          โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพเภสัชกรรม

          พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการที่เกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย

    ......................................................................................................................................................................................



          มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้ เรียกว่า “พระราชบัญญัติวิชีพเภสัชกรรม (ฉบับที่ ...) พ.ศ. ...”



          มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

          มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในบทนิยามคำว่า “วิชาชีพเภสัชกรรม” ในมาตรา ๔ แห่งพระราบัญญัติวิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ.๒๕๓๗ และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน

          ““วิชาชีพเภสัชกรรม” หมยความว่า วิชาชีพที่เกี่ยวกับการกระทำในการเตรียมยา การผลิตยา การประดิษฐ์ยา การเลือกสรรยา การวิเคราะห์ยา การควบคุมและการประกันคุณภาพยา การปรุงและการจ่ายยาตามใบสั่งยาของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ และผู้ประกอบวิชาชีพด้านการแพทย์และสาธารณสุขตามที่กฎหมายว่าด้วยวิชาชีพนั้น ๆ กำหนด และการดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยยา กฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกทธิ์ต่อจิตและประสาท และกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ รวมทั้งการร่วมกับผู้ประกอบวิชาชีพด้านการแพทย์และสาธารณสุขในการค้นหา ป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับการใช้ยา”

          มาตรา ๔ ให้ยกเลิกความใน (ฌ) ของ (๔) ในมาตรา ๒๓ แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ.๒๕๓๗ และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน

          “(ฌ) หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการขึ้นทะเบียน การออกใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต การออกใบแทนใบอนุญาต แบบและประเภทใบอนุญาต”
 

          มาตรา ๕ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๓๑ แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ.๒๕๓๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

          “มาตรา ๓๑ การขึ้นทะเบียน การออกใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต การออกหนังสืออนุมัติหรือวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญการในการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมสาขาต่าง ๆ และหนังสือแสดงวุฒิอื่นในวิชาชีพเภสัชกรรม ให้เป็นไปตามข้อบังคับสภาเภสัชกรรม

          ใบอนุญาตให้มีอายุห้าปีนับแต่วันที่ออกอายุใบอนุญาต

          มาตรา ๖ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (๑/๑) ของอัตราค่าธรรมเนียมท้ายพระราชบัญญัติวิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ.๒๕๓๗

          “(๑/๑) ค่าต่ออายุใบอนุญาต                ฉบับละ ๒,๕๐๐ บาท

          มาตรา ๗ ให้ใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบัน สาขาเภสัชกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการประกอบโรคศิลปะ และใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพเภสัชกรรม ที่ยังมีผลอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มีอายุต่อไปอีกห้าปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ

          มาตรา ๘ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้



ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
 

...................................
  นายกรัฐมนตรี


บันทึกวิเคราะห์สรุป

สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพเภสัชกรรม (ฉบับที่ ...) พ.ศ. ...

_________________________



                   คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้เสนอร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพเภสัชกรรม (ฉบับที่ ...) พ.ศ. ... ต่อสภาผู้แทนราษฎร และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้จัดทำบันทึกวิเคราะห์ สรุปสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติตามมาตรา ๑๔๒ วรรคห้า ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ดังต่อไปนี้

๑. เหตุผลและความจำเป็นในการเสนอร่างพระราชบัญญัติ

                   โดยที่ปัจจุบันบทนิยามคำว่า “วิชาชีพเภสัชกรรม” ยังไม่สอดคล้องกับภารกิจที่เภสัชกรปฏิบัติ และเพื่อให้ประชาชนได้รับบริการที่มีมาตรฐานและมีประสิทธิภาพ สมควรแก้ไขเพิ่มเติมบบทนิยามคำว่า “วิชาชีพเภสัชกรรม” และกำหนดอายุใบอนุญาตและการต่ออายุใบอนุญาต รวมทั้งแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติอื่นที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าว

๒. สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ

                   ๒.๑ แก้ไขเพิ่มเติมนิยามคำว่า “วิชาชีพเภสัชกรรม” โดยกำหนดให้มีความหมายครอบคลุมถึงการปรุงและการจ่ายยาตามใบสั่งยาของผู้ประกอบวิชาชีพด้านการแพทย์และสาธารณสุขอื่น เพื่อรองรับกรณีที่กฎหมายว่าด้วยวิชาชีพนั้น ๆ กำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพมีอำนาจในการออกใบสั่งยาได้ และเพิ่มเติมให้ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท และกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ เพื่อให้สอดคล้องกับการกำหนดหน้าที่ของเภสัชกรตามกฎหมายดังกล่าว รวมทั้งเพิ่มเติมให้ครอบคลุมภารกิจที่รับผิดชอบในปัจจุบันเกี่ยวกับการร่วมกับผู้ประกอบวิชาชีพด้านการแพทย์และสาธารณสุขในการค้นหา ป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับการใช้ยา (ร่างมาตรา ๓)

                   ๒.๒ แก้ไขเพิ่มเติมอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการเภสัชกรรม โดยกำหนดให้มีอำนาจในการออกข้อบังคับเกี่ยวกับการต่ออายุใบอนุญาต และการออกใบแทนใบอนุญาต เพื่อให้สอดคล้องกับการแก้ไขเพิ่มเติมเรื่องการต่ออายุใบอนุญาตตามร่างพระราชบัญญัตินี้ และสอดคล้องกับอัตราค่าธรรมเนียมท้ายพระราชบัญญัติที่กำหนดค่าใบแทน (ร่างมาตรา ๔)

                   ๒.๓ แก้ไขเพิ่มเติมให้มีการต่ออายุใบอนุญาต โดยกำหนดให้ใบอนุญาตมีอายุห้าปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการที่ได้มาตรฐานและมีประสิทธิภาพ เนื่องจากการต่ออายุใบอนุญาตเป็นวิธีการที่ทำให้ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมได้มีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง (ร่างมาตรา ๕)

                   ๒.๔ เพิ่มอัตราค่าธรรมเนียมการต่ออายุใบอนุญาต เพื่อให้สอดคล้องกับการแก้ไขเพิ่มเติมเรื่องการต่ออายุใบอนุญาตตามร่างพระราชบัญญัตินี้ (ร่างมาตรา ๖)

                   ๒.๕ กำหนดบทเฉพาะกาล เพื่อรองรับสิทธิประโยชน์ที่มีตามกฎหมายเดิม โดยกำหนดให้ใบอนุญาตที่มีอยู่เดิมใช้บังคับต่อไปได้อีกห้าปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ (ร่างมาตรา ๗)

                   ๒.๖ กำหนดผู้รักษาการตามกฎหมาย เพื่อรองรับการดำเนินการตามบทเฉพาะกาล (ร่างมาตรา ๘)



ตารางเปรียบเทียบระหว่างร่างพระราชบัญญัติ






ขณะนี้ พระราชบัญญัติวิชาชีพเภสัชกรรม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2558 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ.2558 แล้ว มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 27 มีนาคม 2557 เป็นต้นไป
สาระสำคัญของกฎหมายที่แก้ไขใหม่ 
1. แก้ไขนิยามวิชาชีพเภสัชกรรม

“วิชาชีพเภสัชกรรม” หมายความว่า วิชาชีพที่เกี่ยวกับการกระทําในการเตรียมยา การผลิตยา การประดิษฐ์ยา การเลือกสรรยา การวิเคราะห์ยา การควบคุมและการประกันคุณภาพยา การปรุงและการจ่ายยาตามใบสั่งยาของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ การปรุงยา การจ่ายยา การขายยา และการดําเนินการตามกฎหมายว่าด้วยยาและกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับยา การให้คําแนะนําปรึกษาและการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยา รวมทั้งการดำเนินการหรือร่วมกับผู้ประกอบวิชาชีพด้านการแพทย์และสาธารณสุขในการค้นหา ป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับการใช้ยา
2. รองรับเรื่องการต่ออายุใบอนุญาต
3. สำหรับผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมที่ได้รับใบอนุญาตตั้งแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ (ตั้งแต่ 27 มีนาคม 2558) ใบอนุญาตให้มีอายุ 5 ปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต และต้องเสียค่าต่ออายุใบอนุญาตทุก 5 ปี ไม่เกินอัตราท้ายพระราชบัญญัติหรือเป็นไปตามที่กฎกระทรวงกำหนด โดยต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการต่ออายุใบอนุญาต ตามที่สภาเภสัชกรรมกำหนด
4. สำหรับผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมที่ได้รับใบอนุญาตก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ (ก่อน 27 มีนาคม 2558) ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม ใบอนุญาตยังคงใช้ได้ตลอดไป ไม่ต้องเสียค่าต่ออายุใบอนุญาตทุก 5 ปี อย่างไรก็ตามต้องมีการศึกษาต่อเนื่องตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขตามข้อบังคับสภาเภสัชกรรม
ศึกษารายละเอียดได้ที่http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/A/021/69.PDF

ประวัติการแก้ไขล่าสุด
- ๘ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๖ เวลา ๑๗.๔๕ น.
- ๒๗ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๘ เวลา ๗.๐๙ น.