วันเสาร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2553

High dose of ascorbic acid induces cell death in mesothelioma cells.

Biochem Biophys Res Commun. 2010 Apr 2;394(2):249-53. Epub 2010 Feb 19.

High dose of ascorbic acid induces cell death in mesothelioma cells.
Takemura Y, Satoh M, Satoh K, Hamada H, Sekido Y, Kubota S.

Department of Life Sciences, Graduate School of Arts and Sciences, The University of Tokyo, 3-8-1 Komaba, Meguro-ku, Tokyo 153-8902, Japan.

Abstract
Malignant mesothelioma is an asbestos-related fatal disease with no effective cure. Recently, high dose of ascorbate in cancer treatment has been reexamined. We studied whether high dose of ascorbic acid induced cell death of four human mesothelioma cell lines. High dose of ascorbic acid induced cell death of all mesothelioma cell lines in a dose-dependent manner. We further clarified the cell killing mechanism that ascorbic acid induced reactive oxygen species and impaired mitochondrial membrane potential. In vivo experiment, intravenous administration of ascorbic acid significantly decreased the growth rate of mesothelioma tumor inoculated in mice. These data suggest that ascorbic acid may have benefits for patients with mesothelioma. 2010 Elsevier Inc. All rights reserved.



PMID: 20171954 [PubMed - indexed for MEDLINE]
http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/20171954

วันเสาร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2553

กระทู้ถามรัฐบาลด้านสาธารณสุข

กระทู้ถามที่ ๑๔๐ /ร. เรื่อง ขอให้โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้าเร่งทำการผลิตพยาบาลและผู้ช่วยพยาบาลเพราะปัจจุบันขาดแคลนพยาบาลและผู้ช่วยพยาบาลเป็นจำนวนมาก ของ นายนิยม วรปัญญา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร, ราชกิจจานุเบกษา ๑๑ มกราคม ๒๕๕๓
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2553/E/003/99.PDF

กระทู้ถามของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กระทู้ถามที่ ๑๕๕/ร. เรื่อง การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุทั้งบาดเจ็บและเสียชีวิต, ราชกิจจานุเบกษา ๑๑ มกราคม ๒๕๕๓
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2553/E/014/121.PDF

กระทู้ถามที่ ๖๒๗ ร . เรื่อง ขอให้ขยายโรงพยาบาลชัยบาดาลให้เป็นโรงพยาบาลศูนย์กลางในการให้บริการทางการแพทย์ในอำเภอชัยบาดาลและพื้นที่ใกล้เคียง ของ นายนิยม วรปัญญา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร, ราชกิจจานุเบกษา ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2553/E/019/62.PDF


กระทู้ถามที่ ๙๒๕ ร. เรื่อง การจ่ายเงินค่าตอบแทนให้แก่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในจังหวัดนครพนม [ของ นายภูมิพัฒน์ พชรทรัพย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร], ราชกิจจานุเบกษา ๒ กรกฎาคม ๒๕๕๓
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2553/E/082/93.PDF


กระทู้ถามที่ ๒๓๑/ร. เรื่อง นโยบายด้านสาธารณสุขของรัฐบาล [ของ นายสมบูรณ์ อุทัยเวียนกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร], ราชกิจจานุเบกษา ๖ สิงหาคม ๒๕๕๓
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2553/E/095/79.PDF

กระทู้ถามที่ ๒๘๗/ร. เรื่อง การบริหารจัดการงบประมาณในกระทรวงสาธารณสุข [ของ นายประสิทธิ์ ชัยวิรัตนะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร], ราชกิจจานุเบกษา ๖ สิงหาคม ๒๕๕๓
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2553/E/095/96.PDF



หมวดการจัดซื้อยาและยาจากองค์การเภสัชกรรม

กระทู้ถามที่ ๓๐๕/ร. เรื่อง การจัดซื้อยาของโรงพยาบาลต่าง ๆ ทั่วประเทศ [ของ ร้อยตำรวจโท เชาวริน ลัทธศักดิ์ศิริ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร], ราชกิจจานุเบกษา ๖ สิงหาคม ๒๕๕๓
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2553/E/095/100.PDF

วันศุกร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2553

หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

เบื้องต้นขอรวบรวมเฉพาะกระทู้ถามรัฐบาลเกี่ยวกับหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ



กระทู้ถามที่ ๖๘๗ ร. เรื่อง ให้ครูโรงเรียนเอกชนและครอบครัวใช้บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า ของ นายสุวิทย์ เสงี่ยมกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ราชกิจจานุเบกษา ๓๐ สิงหาคม ๒๕๔๕)
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/00099895.PDF

กระทู้ถามที่ ๖๒๓ ร. เรื่อง การประเมินผลโครงการระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าของกระทรวงสาธารณสุข ของ นายนพดล อินนา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ราชกิจจานุเบกษา ๑๑ กันยายน ๒๕๔๕)
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/00099902.PDF

กระทู้ถามที่ ๗๘๓ ร. เรื่อง ผลการดำเนินการด้านหลักประกันสุขภาพ ของ นายวัชระ เพชรทอง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ราชกิจจานุเบกษา ๒๑ มิถุนายน ๒๕๕๓)
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2553/E/077/100.PDF

วันพฤหัสบดีที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ยาใช้เฉพาะที่

พ.ร.บ.ยา พ.ศ. ๒๕๑๐ แฉบับแก้ไขเพิ่มเติมให้นิยามคำว่า "ยาใช้เฉพาะที่" ดังนี้

“ยาใช้เฉพาะที่" หมายความว่า ยาแผนปัจจุบันหรือยาแผนโบราณที่มุ่งหมายใช้เฉพาะที่กับหู ตา จมูก ปาก ทวารหนัก ช่องคลอด หรือท่อปัสสาวะ

ดังนั้น เราก็พอเห็นว่ายาใช้เฉพาะที่ มีลักษณะดังนี้
๑. เป็นยาที่ขึ้นทะเบียนตำรับยาเป็นยาแผนปัจจุบันหรือยาแผนโบราณก็ได้
๒. มีจุดมุ่งหมายใช้เฉพาะที่
๓. บริเวณที่ใช้ยานี้ จำกัดบริเวณที่หู ตา จมูก ปาก ทวารหนัก ช่องคลอด หรือท่อปัสสาวะ เท่านั้น



ยาที่พบเห็นในชีวิตประจำวัน
๑. ใช้บริเวณที่หู เช่น ยาหยอดหู ยาละลายขี้หู
๒. ใช้บริเวณที่ตา เช่น ยาหยอดยา น้ำตาเทียม ยาป้ายตา
๓. จมูก เช่น ยาหยอดจมูกสำหรับลดอาการคัดจมูก หรือยาพ่นจมูก (ส่วนยาดม เป็นยาใช้ภายนอก)
๔. ปาก เช่น ยาป้ายปาก ยาพ่นปาก
๕. ทวารหนัก เช่น ยาที่สอดเพื่อระบาย ยาสอดเพื่อฆ่าเชื้อ ยาสอดรักษาริดสีดวง
๖. ช่องคลอด เช่น ยาสอดเพื่อฆ่าเชื้อ ยาสอดเพื่อปรับฮอร์โมน
๗. ท่อปัสสาวะ (คล้ายข้อ ๖.)

ตัวอย่างที่ยกมานี้เป็นตัวอย่างเล็กน้อยมาก ๆ จากนั้นก็หาชื่อยาสามัญทางยา ชื่อการค้าแล้วตรวจสอบกับเว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
http://wwwapp1.fda.moph.go.th/consumer/conframe.asp

แนวคิดการจัดตั้งจังหวัดพระนารายณ์

กระทู้ถามที่ 1178 ร. เรื่อง ขอให้ตั้งจังหวัดพระนารายณ์ ของ นายนิยม วรปัญญา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ราชกิจจานุเบกษา 9 มีนาคม 2547)
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/0A/00131178.PDF

กระทู้ถามที่ 802 ร. เรื่อง ขอให้จัดตั้งจังหวัดพระนารายณ์ ของ นายนิยม วรปัญญา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ราชกิจจานุเบกษา 31 พฤษภาคม 2553)
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2553/E/068/42.PDF

ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. ....

คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาก่อนนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป

ข้อเท็จจริง

1. การขอจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬเป็นความต้องการของประชาชนในพื้นที่ เนื่องจากจังหวัดหนองคาย ประสบปัญหาการบริหารราชการและการแก้ไขปัญหาด้านชายแดนแก่ประชาชนไม่สะดวกทั่วถึง เนื่องจากมีระยะทางไกลประมาณ 350 กิโลเมตร หากมีการจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬจะทำให้ส่วนราชการสามารถลงไปแก้ไขปัญหาให้แก่ประชาชนใน พื้นที่ได้สะดวก รวมทั้งปัญหาการลักลอบค้ายาเสพติด การลักลอบค้าของเถื่อน การโจรกรรมทรัพย์สินตามแนวชายแดน และปัญหาแรงงานต่างด้าว จะได้รับการแก้ไขอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งนี้ ได้มีการจัดทำประชาพิจารณ์รับฟังความคิดเห็นจากประชาชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หัวหน้าส่วนราชการระดับอำเภอและระดับจังหวัด ทั้งจังหวัดหนองคายแล้ว โดยเห็นด้วยกับการจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ

2. การบริหารราชการแผ่นดิน โดยเฉพาะกระทรวงมหาดไทยจำเป็นต้องมีหน่วยงานและเจ้าหน้าที่ใกล้ชิดกับประชาชน การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ไม่สามารถแก้ไขปัญหาความทุกข์ร้อนของประชาชนได้อย่างยั่งยืนและทั่วถึงอย่างแท้จริง

3. งบประมาณในการจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬด้านการจัดตั้งส่วนราชการนั้น สามารถปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ไปดำเนินการได้ และเสนอขอตั้งงบประมาณในปีต่อ ๆ ไป สำหรับด้านบุคลากรที่จะไปปฏิบัติงาน จำนวน 439 อัตรา สามารถใช้วิธีการเกลี่ยอัตรากำลังภายในส่วนราชการหรือระหว่างส่วนราชการได้ ซึ่งไม่เป็นภาระต่องบประมาณของประเทศมากนัก

4. การจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬมีความพร้อมของส่วนราชการที่มีอยู่แล้วในพื้นที่ เช่น ศาลจังหวัดบึงกาฬ อัยการจังหวัด ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ ไปรษณีย์ ฯลฯ และได้สงวนที่ดินสำหรับสร้างศูนย์ราชการจังหวัดบึงกาฬไว้ประมาณ 870 ไร่ บริเวณที่สาธารณประโยชน์กุดทิง ตำบลโนนสมบูรณ์ อำเภอบึงกาฬ โดยมิต้องใช้จ่ายงบประมาณจำนวนมาก

(มติคณะรัฐมนตรี 3 สิงหาคม 2553)


แม้ว่าคณะรัฐมนตรีจะอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2553 ที่ผ่านมา ให้จัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ ได้ แต่การตั้ง ยุบ และเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัด ให้ตราเป็นพระราชบัญญัติ ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 มาตรา 52 วรรคสอง

นั่นหมายความว่าร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. .... จะต้องให้ผ่านความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาให้เป็นพระราชบัญญัติเสียก่อน เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วจึงจะมีผลใช้บังคับได้

ถ้าสภาผู้แทนราษฎรล่ม เพราะไม่เข้าร่วมประชุม หรือมีการยุบสภาผู้แทนราษฏร หรือสภาผู้แทนราษฏรถึงคราวสิ้นสุดลง การพิจารณาร่างพระราชบัญญัตินี้ก็ต้องขยายเวลาออกไปอีก นั่นหมายความว่าจังหวัดใหม่ที่หลายคนรอครอยว่าจะเกิดขึ้นเมื่อใดนั้นต้องเลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนดที่ชัดเจน


แนวคิดการจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬในอดีต

กระทู้ถามที่ 176 ร. เรื่อง ขอให้จัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ ของ นายสุเมธ พรมพันห่าว สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ราชกิจจานุเบกษา 15 มิถุนายน 2537)
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2537/A/024/58.PDF

ภาษีมูลค่าเพิ่ม

(แก้ไขล่าสุด 3 สิงหาคม 2553)


ที่มาของภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 10 มาจากประมวลรัษฎากร มาตรา 80





(มาตรา 80 อยู่ใน หมวด 4 ภาษีมูลค่าเพิ่ม แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 ซึ่งยกเลิกหมวด 4 ภาษีการค้า (เดิม) และยังคงข้อความนี้ตั้งแต่ปี พ.ศ.2534 มาจนถึงปัจจุบัน และเริ่มใช้บังคับตั้งแต่ 1 มกราคม 2535 ตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 มาตรา 2(2))


ประมวลรัษฎากร มาตรา 80

มาตรา 80 ให้ใช้อัตราภาษีร้อยละ 10.0 ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการประกอบกิจการดังต่อไปนี้ ทั้งนี้ เว้นแต่กรณีที่กำหนดไว้ในมาตรา 80/2
(1) การขายสินค้า
(2) การให้บริการ
(3) การนำเข้า
อัตราภาษีตามวรรคหนึ่ง ให้ลดลงได้โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา แต่ต้องกำหนดอัตราภาษีให้เป็นอัตราเดียวกันสำหรับการขายสินค้า การให้บริการและการนำเข้าทุกกรณี

หากว่ากันตามประมวลรัษฎากรแล้ว อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 80 จะอยู่ที่ร้อยละ 10 หากจะลดอัตราภาษีนี้ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ปัจจุบัน (12 กรกฎาคม 2553) ยังอยู่ในช่วงที่พระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 479) พ.ศ.2551 ซึ่งใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2551 ถึง 30 กันยายน 2553 ให้ลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 80 แห่งประมวลรัษฎากร และคงจัดเก็บในอัตราดังต่อไปนี้
(1) ร้อยละ 6.3 สำหรับการขายสินค้า การให้บริการ หรือการนำเข้าทุกกรณีซึ่งความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2551 - 30 กันยายน 2553
(2) ร้อยละ 9 สำหรับการขายสินค้า การให้บริการ หรือการนำเข้าทุกกรณีซึ่งความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2553 เป็นต้นไป

สรุป
1 ตุลาคม 2551 - 30 กันยายน 2553 เสียภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 6.3 + ภาษีท้องถิ่นร้อยละ 0.7 (มาจาก 1/9 * 6.3)เป็นร้อยละ 7
ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2553 เป็นต้นไป เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ร้อยละ 9 + ภาษีท้องถิ่นร้อยละ 1 (มาจาก 1/9 * 9) เป็นร้อยละ 10


ทั้งนี้ขึ้นกับว่ารัฐบาลจะมีการขยายระยะเวลาลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยแก้ไขหรือยกเลิกพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 479) พ.ศ.2551 หรือไม่ (แต่คิดว่าน่าจะทำอยู่แล้วเพื่อฐานเสียงของรัฐบาล)

เอกสารอ้างอิง
พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 479) พ.ศ. 2551
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2551/A/096/7.PDF
---------------------------------------------------------

ในที่สุดรัฐบาลก็ใจดี ลดภาษีมูลค่าเพิ่มต่อไปอีก 2 ปี


9. เรื่อง มาตรการขยายเวลาการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบมาตรการขยายเวลาการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม และอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วดำเนินการต่อไปได้

ข้อเท็จจริง
กระทรวงการคลังเสนอว่า
1. เดิมจากปัญหาเศรษฐกิจที่อยู่ในภาวะซบเซา มีผลให้กำลังซื้อของประชาชนโดยรวมไม่สามารถขยายตัวได้เท่าที่ควร และเนื่องจากการขยายตัวด้านการใช้จ่ายของภาคเอกชนมีส่วนสำคัญต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก กระทรวงการคลังจึงได้มีการปรับลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มจากอัตราร้อยละ 10 (รวมภาษีท้องถิ่น) ให้คงเหลือจัดเก็บในอัตราร้อยละ 7 (รวมภาษีท้องถิ่น) โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2542 ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2551 และต่อมาได้มีการขยายเวลาการลดอัตราภาษีไปจนถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2553 ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 479) พ.ศ. 2551

2. ภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันยังอยู่ในระยะของการฟื้นตัวจึงยังมีความจำเป็นที่จะต้องสนับสนุนให้มีการขยายตัวในด้านการบริโภค การใช้จ่ายและการลงทุนของภาคเอกชนต่อไปอีก ทั้งนี้ เพื่อให้เศรษฐกิจโดยรวมมีการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องและมั่นคง จึงเห็นสมควรขยายเวลาการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อให้การจัดเก็บในอัตราร้อยละ 7 (รวมภาษีท้องถิ่น) ต่อไปอีกเป็นระยะเวลา 2 ปี จนถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2555

สาระสำคัญของร่างกฎหมาย
1. ลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มจากอัตราร้อยละ 10 เป็นร้อยละ 6.3 เป็นการชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553 ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2555
2. ลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มจากอัตราร้อยละ 10 เป็นร้อยละ 9 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป

(มติคณะรัฐมนตรี 3 สิงหาคม 2553)


******รอเพียงพระราชกฤษฎีกาเท่านั้น******

เพิกถอนทะเบียนตำรับยา รอบปี พ.ศ.2552 – 2553

ปรุฬห์ รุจนธำรงค์
เขียนเมื่อ 25 มิถุนายน 2553
แก้ไข 6 เมษายน 2554

การเพิกถอนทะเบียนตำรับยา



     การเพิกถอนทะเบียนตำรับยา คือ กระบวนการที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขโดยคำแนะนำของคณะกรรมการยาตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510 สั่งให้เพิกถอนทะเบียนตำรับยา โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อปรากฏว่ายาใดที่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยาไว้แล้ว ไม่มีสรรพคุณตามที่ขึ้นทะเบียนไว้ หรืออาจไม่ปลอดภัยแก่ผู้ใช้ หรือเป็นยาปลอมตามมาตรา 72 (1) หรือยานั้นได้เปลี่ยนไปเป็นวัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้เป็นอาหารหรือเครื่องสำอาง โดยได้รับใบอนุญาตผลิตเพื่อจำหน่ายซึ่งอาหารที่ควบคุมเฉพาะหรือได้รับใบสำคัญการขึ้นทะเบียนเครื่องสำอางตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น



รอบปี พ.ศ.2552

Anabolic steroid + vitamin ± cyproheptadine เพิกถอนทะเบียนตำรับยา และมีผลเป็นการยกเลิกยาควบคุมพิเศษ ลำดับที่ 41 เนื่องจากยาสูตรผสมของยามีแธนดีโนน (Methandienone) กับ ยาไซโปรเฮปตาดีน (Cyproheptadine) เนื่องจากเป็นสูตรยาที่ไม่เหมาะสม อาจมีการนำไปใช้ในเด็กจนก่อให้เกิดอันตรายต่อเด็ก (คำสั่งกระทรวงสาธารณสุข ที่ 736/2552 เรื่อง เพิกถอนทะเบียนตำรับยา, ราชกิจจานุเบกษา 31 สิงหาคม 2552) เดิมยาที่มีส่วนผสมของ anabolic steroids กับ vitamins หรือ anabolic steroids กับ cyproheptadine หรือ anabolic steroids กับ vitamins และ cyproheptadine เป็นยาควบคุมพิเศษ ลำดับที่ 41 ตัวอย่างชื่อการค้าของยาที่ถูกเพิกถอนทะเบียนตำรับยา ได้แก่ Anapromine, Azolol plus และ Cetabon

Carisoprodol เพิกถอนทะเบียนตำรับยา เนื่องจากเป็นยาในกลุ่มคาร์บาเมทออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลางไม่มีฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อโดยตรง มีฤทธิ์สงบประสาทเป็นยานอนหลับและเสพติดได้ อีกทั้งมีความเสี่ยงในการนำไปใช้ในทางที่ผิด อาจเกิดความไม่ปลอดภัยต่อผู้ใช้ยา (คำสั่งกระทรวงสาธารณสุข ที่ 547/2552 เรื่อง เพิกถอนทะเบียนตำรับยา, ราชกิจจานุเบกษา 19 มิถุนายน 2552) นอกจากนี้ carisoprodol ยังเป็นวัตถุที่ห้ามใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องสำอาง ลำดับที่ 235

Cascara sagrada เพิกถอนทะเบียนตำรับยา ซึ่งเพิกถอนทะเบียนตำรับยาที่มีคาสคารา ซากราดา (Cascara sagrada) เป็นส่วนประกอบในข้อบ่งใช้ทางระบบทางเดินอาหาร เนื่องจากอาจได้รับความเสี่ยงจาก genotoxicity และ carcinogenicity ของสารที่เป็นส่วนประกอบในยาดังกล่าว (คำสั่งกระทรวงสาธารณสุข ที่ 859/2552 เรื่อง เพิกถอนทะเบียนตำรับยา, ราชกิจจานุเบกษา 28 สิงหาคม 2552)

Methocarbamol and Indomethacin เพิกถอนทะเบียนตำรับยา ซึ่งเป็นยาสูตรผสมระหว่าง Methocarbamol และ Indomethacin ชนิดรับประทาน เนื่องจากยาไม่มีสรรพคุณในโรคข้ออักเสบตามที่ขึ้นทะเบียนไว้และอาจไม่ปลอดภัยต่อผู้ใช้ (คำสั่งกระทรวงสาธารณสุข ที่ 848/2552 เรื่อง เพิกถอนทะเบียนตำรับยา, ราชกิจจานุเบกษา 24 สิงหาคม 2552)



รอบปี พ.ศ.2553

Chlorzoxazone ถูกเพิกถอนทะเบียนตำรับยาที่มีตัวยานี้เป็นส่วนประกอบ เนื่องจากไม่มีประสิทธิผลในการคลายกล้ามเนื้อตามที่ขึ้นทะเบียนไว้ และได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีความเป็นพิษต่อตับ จึงอาจเกิดความไม่ปลอดภัยต่อผู้ใช้ยา (คำสั่งกระทรวงสาธารณสุข ที่ 1115/2552 เรื่อง เพิกถอนทะเบียนตำรับยา, ราชกิจจานุเบกษา 26 มีนาคม 2553)

Fenoverine เพิกถอนทะเบียนตำรับยา เนื่องจากทำให้เกิดอาการข้างเคียงที่ร้ายแรง คือ rhapdomyolysis ซึ่งอาจเป็นอันตรายแก่ชีวิตได้ (คำสั่งกระทรวงสาธารณสุขที่ 1421/2552 เรื่อง เพิกถอนทะเบียนตำรับยา, ราชกิจจานุเบกษา 21 กรกฎาคม 2553)

Phenolphthalein and Santonin เพิกถอนทะเบียนตำรับยาระบายที่มีฟีนอล์ฟธาลีนเป็นส่วนประกอบ และทะเบียนตำรับยาที่มีฟีนอล์ฟธาลีนและแซนโตนิน เนื่องจากฟีนอล์ฟธาลีนเป็นสารก่อมะเร็งในสัตว์ทดลอง จึงอาจทำให้เกิดมะเร็งในคนจากการใช้ยาในระยะยาว ซึ่งเมื่อยาเข้าสู่ร่างกายจะถูกขจัดออกอย่างช้า ๆ จึงเพิ่มความเสี่ยงจากการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ เช่น ปฏิกิริยาที่ผิวหนัง และระดับโปแตสเซียมต่ำ เป็นต้น แซนโตนิน มีฤทธิ์เพิ่มพิษต่อระบบประสาท (neurotoxic) และมีรายงานการเกิดอาการข้างเคียงที่รุนแรงแม้ใช้ในขนาดต่ำ (คำสั่งกระทรวงสาธารณสุข ที่ 985/2553 เรื่อง เพิกถอนทะเบียนตำรับยา, ราชกิจจานุเบกษา 23 มิถุนายน 2553) นอกจากนี้ยังได้มีคำสั่งกระทรวงสาธารณสุข ที่ 986/2553 เรื่อง แก้ไขทะเบียนตำรับยาสูตรผสมนิโคลซาไมด์ (Niclosamide) และฟีนอล์ฟธาลีน (Phenolphthalein) ให้ตัด Phenolphthalein ออกจากสูตรยาภายใน 180 วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา (ราชกิจจานุเบกษา 23 มิถุนายน 2553)

Phenolphthalein เพิกถอนทะเบียนตำรับยาสูตรผสมที่มีฟีนอล์ฟธาลีน (Phenolphthalein) เป็นส่วนประกอบ ซึ่งมีข้อบ่งใช้เป็นยาระบาย เนื่องจากฟีนอล์ฟธาลีนเป็นสารก่อมะเร็งในสัตว์ทดลอง จึงอาจทำให้เกิดมะเร็งในคนจากการใช้ยาในระยะยาว ซึ่งเมื่อยาเข้าสู่ร่างกายจะถูกขจัดออกอย่างช้า ๆ จึงเพิ่มความเสี่ยงจากการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ อาจทำให้เป็นอันตรายต่อผู้ใช้ยา (คำสั่งกระทรวงสาธารณสุข ที่ 1923/2553 เรื่อง เพิกถอนทะเบียนตำรับยา, ราชกิจจานุเบกษา 30 พฤศจิกายน 2553)




ยาควบคุมพิเศษ รอบปี พ.ศ.2553

Acepromazine ยาควบคุมพิเศษ ลำดับที่ 71 (ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ยาควบคุมพิเศษ ฉบับที่ 36, ราชกิจจานุเบกษา 2 เมษายน 2553)

Moxidectin ยาควบคุมพิเศษ ลำดับที่ 72 (ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ยาควบคุมพิเศษ ฉบับที่ 37, ราชกิจจานุเบกษา 2 เมษายน 2553)

ยากลุ่มรักษาความดันโลหิตสูงในหลอดเลือดแดงปอด ยาควบคุมพิเศษ ลำดับที่ 73 (ประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องยาควบคุมพิเศษ ฉบับที่ 38, ราชกิจจานุเบกษา 14 มิถุนายน 2553) ตัวอย่างยาในกลุ่มนี้ เช่น sildenafil (ด้วยเหตุนี้ sildenafil อยู่ใน 2 สถานะ คือ เป็นยากลุ่ม phosphodiesterase-5 Inhibitors ซึ่งเป็นยาควบคุมพิเศษ ลำดับที่ 54 ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ยาควบคุมพิเศษ ฉบับที่ 35 และยากลุ่มรักษาความดันโลหิตสูงในหลอดเลือดแดงปอด ซึ่งเป็นยาควบคุมพิเศษ ลำดับที่ 73 )

ยากลุ่มขับเหล็กที่มีข้อบ่งใช้ในการรักษาภาวะธาตุเหล็กเกิน ยาควบคุมพิเศษ ลำดับที่ 74 (ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ยาควบคุมพิเศษ ฉบับที่ 38, ราชกิจจานุเบกษา 14 มิถุนายน 2553)

วิชาชีพในประเทศไทย

ใช้เกณฑ์ การมีพระราชบัญญัติวิชาชีพหรือการมีสภาวิชาชีพรองรับ จะได้วิชาชีพต่าง ๆ ในประเทศไทย ดังนี้

- ทนายความ: พระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528
- นักกายภาพบำบัด: พระราชบัญญัติวิชาชีพกายภาพบำบัด พ.ศ. 2547
- พยาบาล: พระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ. 2528 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม
- สัตวแพทย์: พระราชบัญญัติวิชาชีพการสัตวแพทย์ พ.ศ. 2545
- ทันตแพทย์: พระราชบัญญัติวิชาชีพทันตกรรม พ.ศ. 2537
- เทคนิคการแพทย์: พระราชบัญญัติวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ พ.ศ. 2547
- นักบัญชี: พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547
- เภสัชกร: พระราชบัญญัติวิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ. 2537
- แพทย์: พระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2525
- วิศวกร: พระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ. 2542
- นักวิทยาศาสตร์: พระราชบัญญัติส่งเสริมวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทศโนโลยี พ.ศ. 2551
- สถาปนิก: พระราชบัญญัติสถาปนิก พ.ศ. 2543
- ครูและบุคลากรทางการศึกษา: พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546


พนักงานอัยการและผู้พิพากษาไม่มีสภาวิชาชีพ แต่พนักงานอัยการอัยการจะต้องแต่งตั้งจากบุคคลที่เป็นสมาชิกแห่งเนติบัณฑิตยสภา




ไม่มีสภาวิชาชีพ(จะถือว่าเป็นวิชาชีพได้หรือไม่???)
- ผู้ต้องมีใบประกอบโรคศิลปะ ตาม พ.ร.บ.การประกอบโรคศิลปะ พ.ศ.2542 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม
- ช่างรังวัดเอกชน ตามพระราชบัญญัติช่างรังวัดเอกชน พ.ศ. 2535
- ผู้รับงานก่อสร้างควบคุม ตามพระราชบัญญัติการประกอบอาชีพงานก่อสร้าง พ.ศ. 2522

สถานะทางกฎหมายของสเปรย์พริกไทยในประเทศไทย

สาเหตุที่ประเทศไทยใช้สเปรย์พริกไทยไม่ได้ เพราะท่านคณะกรรมการวัตถุอันตรายจัดให้สเปรย์ป้องกันตัวเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ตาม พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ.2535 (ไม่แน่ใจว่าใครเป็นเจ้าของความคิดให้สเปรย์ป้องกันตัว เป็นวัตถุอันตราย ชนิดที่ 4) ห้ามผู้ใดผลิต นำเข้า หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 เว้นแต่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากหน่วยงานผู้รับผิดชอบเฉพาะกรณีเพื่อใช้เป็นสารมาตรฐานในการวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ การขออนุญาต การอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่รัฐมนตรีผู้รับผิดชอบกำหนดโดยความเห็นของคณะกรรมการโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาตามมาตรา 43 วรรคแรก ผู้ฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าเป็นการกระทำโดยประมาทของผู้นำเข้า ผู้ส่งออก หรือผู้มีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตรายดังกล่าว ผู้กระทำต้องระวางโทษปรับไม่เกินแปดแสนบาท (มาตรา 74)


แต่ในอนาคต (ซึ่งก็ไม่แน่ใจว่าอีกนานเท่าใด) คงจะมีการปรับให้เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ซึ่งทำให้สามารถครอบครองได้

มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมทางเภสัชกรรม

มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

เอทานอลใช้ทางเภสัชกรรม
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ ๔๒๐๘ (พ.ศ. ๒๕๕๓), ราชกิจจานุเบกษา ๔ สิงหาคม ๒๕๕๓
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2553/E/094/13.PDF


น้ำสำหรับใช้ทางเภสัชกรรม
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ ๓๑๕๓ (พ.ศ. ๒๕๔๖), ราชกิจจานุเบกษา ๙ ตุลาคม ๒๕๔๖

http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/00130131.PDF

แบเรียมซัลเฟตใช้ทางเภสัชกรรม
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ ๑๖๔๓ (พ.ศ. ๒๕๓๓), ราชกิจจานุเบกษา ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๓๓
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2533/D/129/5983.PDF
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ ๓๓๔๖ (พ.ศ. ๒๕๔๘) , ราชกิจจานุเบกษา ๒๒กรกฎาคม ๒๕๔๘ (แก้ไขครั้งที่ ๑)
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2548/00171384.PDF