วันเสาร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

หนังสือเภสัชเพื่อชุมชน ของชมรมเภสัชเพื่อชุมชน คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ ปี 2518




วันนี้ (6 พฤษภาคม 2554) ผมพบหนังสือเล่มหนึ่ง มีชื่อว่า "เภสัชเพื่อชุมชน" ของชมรมเภสัชเพื่อชุมชน คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดพิมพ์ขึ้นเมื่อปี 2518

สิ่งที่แปลกใจมากก็คือ หนังสือเล่มนี้ไม่ได้อยู่ที่ห้องสมุดคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ไม่มีเสียด้วยซ้ำ) แต่อยู่ที่ห้องสมุดคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย   ความหนา (รวมหน้าโฆษณาและผู้สนับสนุน 113 หน้า ) เลขที่ชั้นวางหนังสือ RM31 จ249ภ 2518  จำนวน 1 เล่ม และระบบสืบค้นข้อมูลหนังสือพบว่าพบที่คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอีก 1 เล่ม

ผมหยิบและเปิดหนังสือเล่มนี้ด้วยความระมัดระวังอย่างมาก เพราะกระดาษหนังสือเป็นสีเหลืองไปแล้ว และค่อนข้างจะกรอบง่าย อีกทั้งต้องเปิดเบา ๆ เพราะเกรงว่าจะมีสปอร์ของเชื้อราปลิวเข้าจมูกได้

สิ่งที่น่าประทับใจ คือ หนังสือเล่มนี้ระบุว่าค่ายที่ออกชุมชนนี้ เป็นค่ายแรกของชมรมที่จัดตั้งขึ้น รุ่นพี่ของพวกเราออกไปเยี่ยมชุมชน เมื่อกลับมายังได้รายงาน ได้หนังสือหนึ่งเล่มกลับมาด้วย เป็นรายงานการดำเนินงานของค่าย อ่านทั้งเล่มแล้วน่าจะเป็นรายงานประจำปีของชมรมเภสัชชุมชนเสียด้วยซ้ำ มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์และเป็นแนวทางการดำเนินงานของรุ่นหลัง และยังช่วยตรวจสอบได้ว่าการดำเนินงานค่ายเภสัชเพื่อชุมชนในรุ่นหลังนั้นได้ พัฒนาไปกว่ารุ่นพี่ที่ทำไว้เมื่อ 36 ปีก่อนได้หรือไม่ และเมื่ออ่านจบแล้วจะพบว่าปัญหาหลายอย่างที่เคยเกิดขึ้นเมื่อ 36 ปีก่อน ก็ยังคงมีอยู่ในปัจจุบัน เช่น เรื่อง เภสัชกรแขวนป้าย ปัญหาความเชื่อในการใช้ยาฉีดของชาวบ้าน ปัญหาแพทย์กับเภสัชกรในการสั่งจ่ายการขายยา ปัญหาการใช้ยาแก้ปวด การใช้ยาปฏิชีวนะ


หนังสือเล่มนี้ มีเนื้อหาประกอบด้วย

1. บทบาทของเภสัชกรในสายตาของแพทย์คนหนึ่ง
แพทย์คนนี้ คือ นายแพทย์สุรเกียรติ อาชานุภาพ ซึ่งขณะนั้นปฏิบัติงานที่ศูนย์การแพทย์และอนามัยบางปะอิน (2518) ซึ่งก็สะท้อนปัญหาในสมัยนั้นว่า นิสิตนักศักษาบางคนถามว่าจบเภสัชแล้วไปไหน เรียนไปทำไม ไม่เป็นประโยชน์อะไรเลย ทำประโยชน์แก่สังคมได้ไม่เต็มที่ (ปัญหานี้ช่างคล้ายในปัจจุบันเหลือเกิน) สมัยนั้นเภสัชกรร้อยละ 70 เข้าเป็นดีเทลยา และมีรายได้พิเศษจากการแขวนป้าย "การเป็นดีเทลยาไม่ได้ใช้ความรู้โดยตรงหากแต่กลายเป็นธุรกิจที่ต้องรู้จัก เอาใจลูกค้า (ส่วนใหญ่คือแพทย์นั่นเอง)" เพราะเภสัชกรแขวนป้าย จึงทำให้หมอตี๋มีบทบาทมากกว่าเภสัชกร ส่วนเภสัชกรในโรงพยาบาลสมัยนั้น ก็แทบไม่มีคนพูดถึง เพราะไม่ได้รับผิดชอบดูแลรักษาผู้ป่วยโดยตรง แต่ "มีชีวิตในอาณาจักรเล็ก ๆ ของตนเท่านั้น คือ "ห้องยา""

เมื่อประสบปัญหาเรื่องการขาดความรับผิดชอบต่อส่วนรวม จึงเริ่มมีการรณรงค์ให้เลิกการแขวนป้าย (ซึ่งปัจจุบันก็ยังทำอยู่) มีการเสนอว่าให้แพทย์และเภสัชกรเสียสละกันคนละครึ่ง โดยแพทย์ทำหน้าที่ตรวจและสั่งยา ส่วนเภสัชกรเป็นคนขายยาให้ เหมือนประเทศตะวนตก (ซึ่งก็ยังเถียงกันอยู่ในปัจจุบัน)


2. สรุปผลงานค่าย
กิจกรรมออกค่าย ณ จังหวัดกำแพงเพชร
1. รายงานผลงานที่ทำ มักเน้นไปทางงานก่อสร้าง (ตรงตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้จริง ๆ)
2. โครงงานสอน เป็นวิชาพื้นฐานของเด็ก ไม่ลงเนื้อหาเรื่องยา
3. มีกิจกรรมด้านสาธารณสุขระหว่างไปค่าย เช่น การเก็บข้อมูล การจัดอบรมการใช้ยาและป้องกันโรคแก่ชาวบ้าน การมอบตู้ยาประจำหมู่บ้าน การติดต่อหน่วยแพทย์เคลื่อนที่เพื่อมารักษาชาวบ้าน
ปัญหาของการออกค่าย (ครั้งนี้เป็นครั้งแรก) คือ ความฉุกละหุกในการเตรียมงาน การเตรียมอุปกรณ์ไม่พร้อม ผู้สอนไม่มีความรับผิดชอบเพียงพอ ชาวค่ายไม่ได้คำนึงถึงหน้าที่ของตน ไม่ดูแลรักษาพัสดุของค่าย

3. รายงานผลโครงการศึกษาปัญหาเภสัชชุมชนในเมืองหลวง
รายงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาเภสัชกรชุมชนจากร้านขายยาใน กรุงเทพหานคร และจากประชาชนผู้บริโภค ระหว่าง 1 กันยายน – 6 พฤศจิกายน 2517 พบว่า
- ร้านยาเป็นด่านแรกที่ประชาชนเข้ามาใช้บริการมากกว่าร้อยละ 70 แต่ร้านยาที่มีเภสัชกรประจำมีไม่ถึงร้อยละ 1
- ต้องเคร่งครัดและกวดขันให้เภสัชกรปฏิบัติการตามเวลาที่กำหนดไว้
- ต้องมีการเคร่งครัดร้านขายยาแผนปัจจุบันที่ไม่ใช่ยาอันตรายหรือยาควบคุมพิเศษไม่ให้ขายยาได้ทุกประเภท
- ต้องให้มีจำนวนร้านขายยาและสถานที่พอเหมาะกับจำนวนประชาชนที่มาใช้บริการ เพื่อลดปัญหาด้านแข่งขัน ค้ากำไรเกินควรโดยการขายยาต่ำกว่ามาตรฐานแก่ประชาชน

4. สรุปผลแบบสอบถามเรื่องโครงการเสริมความรู้เรื่องยาและโรค
ผลการสรุปแบบสอบถามพบว่า
- ประชาชนไม่คุ้นเคยกับยาสามัญประจำบ้าน คุ้นแต่ยาที่โฆษณาตามที่ต่าง ๆ มากกว่า
- บรรยายเป็นวิชาการมากเกินไป ประชาชนผู้ฟังมีปัญหาเรื่องศัพท์เทคนิค
- โรคทางเดินหายใจควรใช้เวลาอธิบายมากขึ้น เพราะเป็นกันแทบทุกคน
- การแก้ปวดลดไข้ ประชาชนผู้ฟังมีความตระหนักว่ายามีทั้งคุณและโทษ
- ความรู้เรื่องโรค ได้รับความสนใจมาก ควรมีภาพยนตร์มาฉายประกอบคำบรรยาย
- ข้อเสนอในการอบรมครั้งต่อไป เช่น ความรู้เรื่องโรคติดต่อ การปฐมพยาบาล การวางแผนครอบครัว ยาเกี่ยวกับระบบผิวหนัง สิ่งที่สามารถใช้แทนยาได้ในชนบท ยาระบบทางเดินอาหาร อาการของโรคเกี่ยวกับสมอง ยาปฏิชีวนะ

5. สรุปผลงานของฝ่ายสังคมสงเคราะห์ ภช.
ทำหน้าที่บริจาคเสื้อผ้า ยา อาหาร ค่ารักษาพยาบาล ในรายงานเขาบันทึกไว้ว่า “งานฝ่ายสังคมสงเคราะห์ในปีที่แล้วเป็นไปในรูปแบบฉาบฉวย เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ การให้สิ่งของหรือวัตถุนิยมเป็นเรื่องที่ง่ายมากสำหรับผู้ให้และผู้รับ” “งานที่มั่นคงถาวรและเป็นการแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุในแนวทางวิชาชีพเภสัช คือ “การให้ความรู้””

6. สรุปผลการปฏิบัติงาน โครงการเสริมความรู้เรื่องโรคและการศึกษาปัญหาสาธารณสุขของชนบทไทย ณ ศพอ. 5 แห่ง ระหว่างวันที่ 20 มีนาคม – 30 พฤษภาคม 2518
ศพอ. คือ ศูนย์การแพทย์และอนามัย
จากบันทึกรายงานมีประเด็นที่น่าสนใจ คือ บางคนรู้ว่า เภสัชกรถูกสร้างขึ้นในรูปแบบที่สังคมไม่ต้องการและรู้สึกผิดหวังต่อบทบาทของ เภสัชกรที่ไม่สามารถรับใช้มวลชนได้อย่างเต็มภาคภูมิ บางคนไม่รู้วัตถุประสงค์ของการมาฝึกงาน ชาวบ้านเชื่ออย่างฝังใจว่ายาฉีดดีกว่ายากิน นิสิตพูดภาษาท้องถิ่นไม่ได้ มีปัญหาเรื่องกลุ่มอิทธิพลในพื้นที่

7. ประเมินผลโครงการตู้ยาประจำหมู่บ้าน
มีการตั้งตู้ยาประจำหมู่บ้าน รวม 42 แห่ง ในพื้นที่ภาคต่าง ๆ ในสมัยนั้น (ปี 2517-2518) เมื่อประชาชนเจ็บป่วย จะซื้อยาจากบรเวณใกล้เคียงหมู่บ้าน หรือให้หมอเถื่อนรักษาก่อน ถ้าอาการทรุดค่อยพามาโรงพยาบาล แต่การมาโรงพยาบาลการคมนาคมมีปํญหาเรื่องเส้นทาง เสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาก นอกจากนี้พบว่าชาวบ้านติดยาแก้ปวดมาก นิยมรักษาด้วยเวทมนต์ คิดว่ายาฉีดคือยาที่ดีที่สุด ทางชมรมได้มีการติดตามผลการดำเนินงานเป็นระยะ พบว่าหมู่บ้านที่มีตู้ยาประจำหมู่บ้าน มีการส่งข่าวกลับมายังชมรมเป็นระยะ 25 แห่ง ชมรมส่งจดหมายเตือนไป 1 ครั้ง 9 แห่ง ชมรมส่งจดหมายเตือนไป 2 ครั้ง 3 แห่ง ไม่เคยติดต่อมาเลย 5 แห่ง

8. เล็ก ๆ   น้อย ๆ สำหรับชมรมเภสัชเพื่อชุมชน
ศาสตราจารย์ นาวาเอก พิสิทธิ์ สุทธิอารมณ์ ร.น. คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในสมัยนั้น ได้กล่าวถึงความสำเร็จของโครงการ และเป็นโครงการหนึ่งที่คณะได้เล็งเห็นความสำคัญและให้การสนับสนุนตลอดมา เป็นประโยชน์ต่อนิสิต และประเทศชาติเป็นการส่วนรวม หวังว่าคงจะมีการปฏิบัติสืบทอดต่อไปและได้ขยายขอบเขตของงานให้กว้างออกไป โดยร่วมมือกับบุคลากร ๆ ในฝ่ายสาธารณสุขในการศึกษาปัญหาและช่วยกันแก้ไขและให้บริการแก่ประชาชนคนละ ไม้คนละมือ ในภาวะที่บ้านเมืองกำลังต้องการความร่วมมือร่วมใจด้วยกันทุกฝ่าย

9. สรุปผลการสัมมนา ที่ชะอำ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
กิจกรรมนี้เป็นการเตรียมความพร้อมก่อนออกค่าย สังเกตจากวัตถุประสงค์แล้ว ต้องการสร้างถาวรวัตถุ คือ โรงเรียนให้กับหมู่บ้าน ซึ่งเป็นการสื่อสัมพันธ์ให้ประชาชนร่วมมือและรับฟังคำแนะนำด้านสาธารณสุข และต้องการฝึกทักษะการทำงานของชาวค่าย

10. ข้อคิดเห็นในการทำงานของชมรมเภสัชเพื่อชุมชน
อ.สำลี ใจดี อาจารย์ที่ปรึกษาชมรมเภสัชเพื่อชุมชน (14 กันยายน 2518) กล่าวไว้ว่า ชมรมนี้เกิดขึ้นเนื่องจาก ศรัทธาและแรงบันดาลใจจากเหตุการณ์  14 ตุลา 16 ต้องการความร่วมมือร่วมใจ มิต้องการสร้างความแตกแยก

“ชมรมนี้ มีวัตถุประสงค์ให้นิสิตสนใจปัญหาของสังคมที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพของตนเอง ทั้งทางตรงและทางอ้อม ศึกษาติดตาม และเริ่มรับผิดชอบต่อสังคมในฐานะที่เป็นหน่วยหนึ่งของสังคมซึ่งใช้ภาษีอากร ของประชาชนมาร่ำเรียน ดำเนินการโดยเริ่มบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม ด้านการนำความรู้ความสามารถในวิชาชีพมาใช้ เช่น ช่วยเผยแพร่แนะนำความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาให้ถูกต้อง ปลอดภัย ได้ผล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชนบท และสร้างความสำนึกในหน้าที่ให้แก่ตนเองในการมีบทบาทร่วมรับผิดชอบปัญหา สาธารณสุขของชาติ”

“ในฐานะที่ครูได้เห็นการทำงานและให้ความสนับสนุนมาตั้งแต่ชมรมเริ่มก่อ ตั้ง ซึ่งก็ไม่ง่ายนักในการก่อตั้ง แต่การดำเนินงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ต่อไปนั้น จะยากยิ่งกว่า ถ้าผู้ดำเนินงานทุกคนไม่เข้าใจจุดประสงค์อย่างแท้จริงว่าตนเองกำลังทำอะไร กันอยู่ ในกรณีที่มีปัญหาไม่เข้าใจกันก็น่าจะหันมาพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดกันว่า เรากำลังทำอะไร เพื่ออะไร เพื่อให้ได้วิธีการดำเนินงานที่ดีที่สุด อย่าไปยึดมั่นอยู่กับทิฐิและตำแหน่งอะไรทั้งสิ้น เพราะหนทางที่เภสัชกรจะก้าวไปสู่อนาคตข้างหน้าเพื่อรับใช้สังคมนั้นยังมี ปัญหาที่เราทุกคนจะต้องเรียนรู้และช่วยกันหาแนวทางแก้ไขอีกมากมายนัก”

11. โครงการปี 2518-19
ชมรมเภสัชเพื่อชุมชน มีโครงการที่ดำเนินการทำในช่วงปี 2518 – 19 ดังนี้
(1)   โครงการสาธารณสุขเพื่อชนบท เป็นโครงการร่วมระหว่างนิสิต 4 คณะ คือ คณะแพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ และคณะสัตวแพทยศาสตร์ เพื่ออกไปพัฒนาทางด้านสาธารณสุขร่วมกัน
(2)   โครงการเผยแพร่ความรู้เรื่องยาแก่เยาวชน
(3)   โครงการของฝ่ายสังคมสงเคราะห์
(4)   โครงการตู้ยาประจำหมู่บ้าน
(5)   โครงการค่ายอาสาสมัคร
(6)   โครงการเสริมความรู้เรื่องโรคและการศึกษาปัญหาสาธารณสุขของชนบทไทย

อ่านจบแล้ว รู้สึกทึ่งและรู้สึกถึงความยิ่งใหญ่ของชมรมนี้ในอดีตเมื่อช่วงปี พ.ศ.2518 กันหรือไม่ครับ
สิ่งที่ขาดไม่ได้ คือ รายชื่อที่ปรึกษาและอาจารย์ที่ปรึกษาที่ปรากฏในหนังสือเล่มนี้นะครับ

ที่ปรึกษาชมรม
  1. พันโทสามารถ อังศุสิงห์
  2. ศาสตราจารย์ นาวาเอก พิสิทธิ์ สุทธิอารมณ์
  3. พลตำรวจโทกฤช ปัจฉิมสวัสดิ์
  4. นายแพทย์สุรเกียรติ อาชานุภาพ
  5. อาจารย์สำลี ใจดี


อาจารย์ที่ปรึกษาชมรม

  1. อาจารย์จำนงค์ วิสุทธิสุนทร
  2. อาจารย์รพีพล ภโววาท

เนื้อหาในนี้เป็นเนื้อหาอย่างย่อนะครับ ถ้าใจรายละเอียด ให้ติดตามหนังสือชื่อ “เภสัชเพื่อชุมชน” ชมรมเภสัชเพื่อชุมชน คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตามที่กล่าวไว้แล้วข้างต้นครับ

ปรุฬห์ รุจนธำรงค์
บันทึก 6 พฤษภาคม 2554

http://rparun.exteen.com/20110508/entry

วันพฤหัสบดีที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ร่างกฎกระทรวงฉบับใหม่ เกี่ยวกับการขายยาแผนปัจจุบัน

ร่างกฎกระทรวงฉบับใหม่ ตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510 ซึ่งจะวางมาตรการเกี่ยวกับการขายยาแผนปัจจุบัน และจะเป็นแนวทางในการวางระบบ Good Pharmacy Practice (GPP) ในอนาคตของร้านขายยา (ปัจจุบันคาดว่าอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา) ส่วนร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุขวาดวยวิธีปฏิบัติทางเภสัชกรรมชุมชน หรืออาจจะเรียกว่า GPP ที่กล่าวถึงกันนั้นว่าจะมีอะไรออกมาบ้าง ให้ดูไฟล์ สำรองได้ที่ http://www.slideshare.net/rparun/draftgpp) ไฟล์ต้นฉบับดูได้ที่ http://newsser.fda.moph.go.th/advancepharmacy/2009/_file/2012879565/2012879565การศึกษาความเป็นไปได้ของร้านยาในการปฏิบัติตามร่างประกาศ สธ.ว่าด้วย GPP.pdf (link มักมีปัญหา)

กฎกระทรวงการขออนุญาตและการออกใบอนุญาตขายยาแผนปัจจุบัน พ.ศ.2556 (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขลงนาม เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ.2556)  ติดตามได้ที่ http://www.slideshare.net/rparun/ministerialregulation2556

ข้างล่างนี้ คือ ตัวอย่างฉบับร่าง เมื่อ 3 ตุลาคม 2551

----------

ร่างฯ ที่ผ่านที่ประชุม ในวันศุกร์ที่  ๓  ตุลาคม  ๒๕๕๑

บันทึกหลักการและเหตุผล
ประกอบร่างกฎกระทรวงว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขออนุญาต
การออกใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต และการออกใบแทนใบอนุญาต
เกี่ยวกับการขายยาแผนปัจจุบัน
พ.ศ. ....
                  

หลักการ

ปรับปรุงหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขออนุญาต การออกใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต และการออกใบแทนใบอนุญาตเกี่ยวกับการขายยาแผนปัจจุบัน

เหตุผล

เนื่องจากกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๕ (พ.ศ. ๒๕๒๕) ออกตามความในพระราชบัญญัติยา พ.ศ. ๒๕๑๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒๑ (พ.ศ. ๒๕๒๘) ออกตามความในพระราชบัญญัติยา พ.ศ. ๒๕๑๐ ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานาน หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขออนุญาต การออกใบอนุญาต และการออกใบแทนใบอนุญาตเกี่ยวกับการขายยาแผนปัจจุบัน ไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน สมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขดังกล่าว และเพิ่มเติมเงื่อนไขในการต่ออายุใบอนุญาต รวมทั้งกำหนดลักษณะสถานที่และอุปกรณ์ให้เหมาะสมกับวิธีปฏิบัติทางเภสัชกรรมชุมชน เพื่อยกระดับมาตรฐานการให้บริการของสถานที่ขายยาแผนปัจจุบันและคุ้มครองความปลอดภัยของผู้บริโภค  จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้

ร่าง
กฎกระทรวง
ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขออนุญาต การออกใบอนุญาต
การต่ออายุใบอนุญาต และการออกใบแทนใบอนุญาต
เกี่ยวกับการขายยาแผนปัจจุบัน
พ.. ….
                  

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ มาตรา ๑๒ มาตรา ๒๘ มาตรา ๓๐ แห่งพระราชบัญญัติยา พ.ศ. ๒๕๑๐ มาตรา ๑๔ (๗) มาตรา ๑๗ วรรคสอง มาตรา ๒๖ (๑) (๖) และ (๗) มาตรา ๓๙ (๕) และ (๘) มาตรา ๔๑ (๔) มาตรา ๔๒ (๖) แห่งพระราชบัญญัติยา พ.ศ. ๒๕๑๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติยา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๔๐ ทวิ (๕) แห่งพระราชบัญญัติยา พ.. ๒๕๑๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติยา (ฉบับที่ ๕).. ๒๕๓๐ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ มาตรา ๔๓ และมาตรา ๔๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑  ให้ยกเลิก
() กฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๕ (.. ๒๕๒๕) ออกตามความในพระราชบัญญัติยา พ.. ๒๕๑๐
() กฎกระทรวง ฉบับที่ ๒๑ (.ศ. ๒๕๒๘) ออกตามความในพระราชบัญญัติยา พ.. ๒๕๑๐

ข้อ ๒  ในกฎกระทรวงนี้
วิธีปฏิบัติทางเภสัชกรรมชุมชน หมายความว่า ข้อกำหนด มาตรฐาน หรือวิธีการในการให้บริการทางเภสัชกรรมด้านยาในสถานที่ขายยาแผนปัจจุบัน เพื่อให้เกิดความปลอดภัยจากการใช้ยา

ข้อ ๓  ผู้ใดประสงค์จะขออนุญาต
() ขายยาแผนปัจจุบัน ให้ยื่นคำขอพร้อมด้วยหลักฐานตามที่ระบุไว้ในแบบ ข.. ท้ายกฎกระทรวงนี้
(๒) ขายส่งยาแผนปัจจุบัน ให้ยื่นคำขอพร้อมด้วยหลักฐานตามที่ระบุไว้ในแบบ ข.ย. ๑/๒ ท้ายกฎกระทรวงนี้
() ขายยาแผนปัจจุบันเฉพาะยาบรรจุเสร็จที่ไม่ใช่ยาอันตรายหรือยาควบคุมพิเศษ ให้ยื่นคำขอพร้อมด้วยหลักฐานตามที่ระบุไว้ในแบบ ข.. ๒ ท้ายกฎกระทรวงนี้
() ขายยาแผนปัจจุบันเฉพาะยาบรรจุเสร็จสำหรับสัตว์ ให้ยื่นคำขอพร้อมด้วยหลักฐานตามที่ระบุไว้ในแบบ ข.. ๓ ท้ายกฎกระทรวงนี้

ข้อ ๔  ใบอนุญาต
() ขายยาแผนปัจจุบัน ให้ใช้แบบ ข.. ๔ ท้ายกฎกระทรวงนี้
() ขายส่งยาแผนปัจจุบัน ให้ใช้แบบ ข.ย. ๔/๑ ท้ายกฎกระทรวงนี้
() ขายยาแผนปัจจุบันเฉพาะยาบรรจุเสร็จที่ไม่ใช่ยาอันตรายหรือยาควบคุมพิเศษ ให้ใช้แบบ ข.. ๕ ท้ายกฎกระทรวงนี้
() ขายยาแผนปัจจุบันเฉพาะยาบรรจุเสร็จสำหรับสัตว์ ให้ใช้แบบ ข.. ๖ ท้ายกฎกระทรวงนี้

ข้อ ๕  สถานที่ขายยาต้องมีพื้นที่ขาย และให้คำปรึกษาและแนะนำการใช้ยาติดต่อกันไม่น้อยกว่าแปดตารางเมตร โดยสถานที่ต้องมีความมั่นคงแข็งแรง ถูกสุขลักษณะ เหมาะสมต่อการรักษาคุณภาพยา มีแสงสว่างเพียงพอ และมีบริเวณให้คำปรึกษาแนะนำการใช้ยาที่เป็นสัดส่วน ตามลักษณะที่กำหนดในบัญชีแนบท้ายกฎกระทรวง

ข้อ ๖  มีอุปกรณ์ที่ใช้ในการขาย การเก็บและการควบคุม หรือรักษาคุณภาพยา ตามลักษณะและจำนวนที่กำหนดในบัญชีแนบท้ายกฎกระทรวง

ข้อ ๗  ให้ผู้รับอนุญาตขายยาแผนปัจจุบันทุกประเภทปฏิบัติดังต่อไปนี้
() จัดทำป้ายด้วยวัตถุถาวรสีน้ำเงิน ขนาดกว้างและยาวไม่น้อยกว่า ๒๐ x ๗๐ เซนติเมตร และมีข้อความเป็นตัวอักษรไทยสีขาว สูงไม่น้อยกว่า ๓ เซนติเมตร แสดงว่าเป็นสถานที่ขายยาแผนปัจจุบัน หรือสถานที่ขายส่งยาแผนปัจจุบัน หรือ
() จัดทำป้ายวัตถุถาวรสีเขียว ขนาดกว้างและยาวไม่น้อยกว่า
 ๒๐ x ๗๐ เซนติเมตร และมีข้อความเป็นตัวอักษรไทยสีขาว สูงไม่น้อยกว่า ๓ เซนติเมตร แสดงว่าเป็นสถานที่ขายยาแผนปัจจุบันเฉพาะยาบรรจุเสร็จที่ไม่ใช่ยาอันตรายหรือยาควบคุมพิเศษ หรือ
() จัดทำป้ายด้วยวัตถุถาวรสีแดง ขนาดกว้างและยาวไม่น้อยกว่า ๒๐ x ๗๐ เซนติเมตร และมีข้อความเป็นตัวอักษรไทยสีขาว สูงไม่น้อยกว่า ๓ เซนติเมตร แสดงว่าเป็นสถานที่ขายยาแผนปัจจุบันเฉพาะยาบรรจุเสร็จสำหรับสัตว์ หรือ
() จัดทำป้ายด้วยวัตถุถาวรสีน้ำเงิน สีเขียว หรือสีแดง ตามประเภทสถานที่ขายยา ขนาดกว้างและยาวไม่น้อยกว่า ๒๐ x ๕๐ เซนติเมตร และมีข้อความเป็นตัวอักษรไทยสีขาว สูงไม่น้อยกว่า ๓ เซนติเมตร แสดงชื่อตัว ชื่อสกุล และวิทยฐานะของผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการ
() จัดทำป้ายด้วยวัตถุถาวรสีน้ำเงิน สีเขียว หรือสีแดง ตามประเภทสถานที่ขายยา แสดงชื่อตัว ชื่อสกุล และวิทยฐานะของผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการ เลขที่ใบประกอบวิชาชีพหรือใบประกอบโรคศิลปะ รูปถ่ายผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการหน้าเต็ม รูปสี ไม่เกินห้าปี ขนาดอย่างน้อย ๘ x ๑๕ เซนติเมตร และเวลาที่ปฏิบัติการ
() จัดทำรายงานการขายยาตามประเภทที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยากำหนดตามแบบ ข.. ๘ ท้ายกฎกระทรวงนี้ทุกสี่เดือน และให้เสนอต่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ครบสี่เดือน
() จัดทำบัญชีการขายยาควบคุมพิเศษแต่ละอย่างทุกครั้ง โดยแสดงเลขที่หรืออักษรของครั้งที่ผลิต ชื่อและปริมาณยาตลอดจนวัน เดือน ปี ที่ขาย ตามแบบ ข.. ๗ ท้ายกฎกระทรวงนี้ และให้เก็บบัญชีไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามปีนับแต่วันขายเฉพาะสถานที่ขายยาแผนปัจจุบัน (ผู้แทน อ.ย. ขอแก้ไขโดยต้องแก้แบบแนบท้ายให้สอดคล้อง เพราะมุ่งควบคุมการค้าปลีก)
() จัดทำบัญชีการขายยาอันตรายและยาควบคุมพิเศษแต่ละอย่างทุกครั้งที่จำหน่ายตามแบบ ข.. ๗ และแบบ ข.ย. ๗/๑ และให้เก็บบัญชีไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามปีนับแต่วันขาย ในกรณีที่เป็นการขายส่ง หรือขายยาสำหรับสัตว์เฉพาะสถานที่ขายส่งยาแผนปัจจุบัน (ผู้แทน อ.ย. ขอแก้ไขโดยต้องแก้แบบแนบท้ายให้สอดคล้อง เพราะมุ่งควบคุมการค้าส่ง)
 (๙) จัดทำบัญชีการขายยาแต่ละอย่างทุกครั้งที่ขายตามใบสั่งยาของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบโรคศิลปะ หรือผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ โดยแสดงชื่อ อายุ ที่อยู่ของผู้ใช้ยา ชื่อและที่อยู่หรือที่ทำงานของผู้สั่งยา ชื่อและปริมาณยา ตลอดจนวัน เดือน ปี ที่ขายตามแบบ ข.. ๙ ท้ายกฎกระทรวงนี้ และให้เก็บใบสั่งยาไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปีนับแต่วันขาย และให้เก็บบัญชีไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามปีนับแต่วันขาย
(๑๐) จัดทำบัญชีการซื้อยาแต่ละอย่างทุกครั้งโดยแสดงเลขที่หรืออักษรของครั้งที่ผลิต ชื่อผู้ขาย ชื่อและปริมาณยา ตลอดจนวัน เดือน ปีที่ซื้อ ตามแบบ ข.. ๑๐ ท้ายกฎกระทรวงนี้ และให้เก็บบัญชีไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามปีนับแต่วันขาย
(๑๑) ควบคุมและบำรุงรักษาสถานที่ขายยาและอุปกรณ์ให้เป็นไปตามข้อ ๕ และข้อ ๖
(๑๒) ดำเนินการให้เป็นไปตามวิธีปฏิบัติทางเภสัชกรรมชุมชนที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
(ผ.อ. เห็นว่าวิธีปฏิบัติเภสัชกรรมชุมชนฯ เดิมที่ให้รัฐมนตรีเป็นผู้กำหนดวิธีปฏิบัติฯ ควรกำหนดให้เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยากำหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการยาและประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นผู้กำหนด ในร่างข้อ ๗ (๑๒) ข้อ ๙ (๗) ข้อ ๑๔ (๒))

ข้อ ๘  ให้ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการประจำสถานที่ขายยาแผนปัจจุบันทุกประเภทปฏิบัติดังต่อไปนี้
() ส่งคำรับรองของผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการตามแบบ ข.. ๑๑ ท้ายกฎกระทรวงนี้
() ควบคุมการใช้อุปกรณ์ตามข้อ ๖ ให้เป็นไปตามวิธีปฏิบัติทางเภสัชกรรมชุมชนตามที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา

ข้อ ๙  ให้เภสัชกรชั้นหนึ่งประจำสถานที่ขายยาแผนปัจจุบัน หรือสถานที่ขายส่งยาแผนปัจจุบัน ปฏิบัติดังต่อไปนี้
() ควบคุมการทำบัญชียาตามข้อ ๗ (๗) (๘) (๙) และ (๑๐) ให้เป็นไปโดยถูกต้องและลงชื่อกำกับไว้ในบัญชีด้วย
() ควบคุมการส่งรายงานการขายยาตามข้อ ๗ (๖) ให้เป็นไปโดยถูกต้อง และลงชื่อกำกับไว้ในรายงานด้วย
() จัดให้มีข้อความดังต่อไปนี้ในฉลากที่ปิดภาชนะบรรจุยาที่เภสัชกรปรุงขึ้นตามใบสั่งยา คือ ชื่อและที่ตั้งของสถานที่ขายยา เลขที่ใบอนุญาตขายยาแผนปัจจุบันตามประเภทใบอนุญาต ชื่อผู้สั่งยา เลขที่ใบสั่งยา และวัน เดือน ปีที่สั่งยา ชื่อผู้ใช้ วัน เดือน ปีที่ปรุงยา ตลอดจนวิธีใช้ยา และคำเตือนตามความจำเป็น
(๔) ให้คำแนะนำตามสมควรเกี่ยวกับการใช้ยาให้ปลอดภัยตามหลักวิชาและตามมรรยาทแห่งวิชาชีพ
() ควบคุมให้ขายยาควบคุมพิเศษเฉพาะแก่ผู้รับอนุญาตขายยาแผนปัจจุบัน ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ชั้นหนึ่ง หรือเฉพาะตามใบสั่งยาของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม หรือ
ผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ชั้นหนึ่ง แต่ในกรณีมีเหตุจำเป็นฉุกเฉินและเพื่อความปลอดภัย เภสัชกรชั้นหนึ่งประจำสถานที่ขายยาแผนปัจจุบัน หรือสถานที่ขายส่งยาแผนปัจจุบันจะขายยาควบคุมพิเศษโดยไม่ต้องมีใบสั่งยาก็ได้ ทั้งนี้  ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
() ควบคุมให้ขายยาบรรจุเสร็จสำหรับสัตว์ที่เป็นยาควบคุมพิเศษเฉพาะแก่ผู้รับอนุญาตขายยาแผนปัจจุบันซึ่งมีเภสัชกรชั้นหนึ่งเป็นผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการ ผู้รับอนุญาตขายยาแผนปัจจุบันเฉพาะยาบรรจุเสร็จสำหรับสัตว์ซึ่งมีเภสัชกรชั้นหนึ่งหรือผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ชั้นหนึ่งเป็นผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการ หรือแก่ผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ชั้นหนึ่ง หรือเฉพาะตามใบสั่งยาของผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ชั้นหนึ่ง
() ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามวิธีปฏิบัติทางเภสัชกรรมชุมชนที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา

ข้อ ๑๐  ผู้อนุญาตอาจจัดให้หน่วยงานหรือองค์กรวิชาชีพ ทำหน้าที่ตรวจประเมินตามวิธีปฏิบัติทางเภสัชกรรมชุมชนองผู้รับอนุญาตขายยาแผนปัจจุบันตามข้อ ๗ (๑๒) และเภสัชกรชั้นหนึ่งตามข้อ ๙ (๗) เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาออกใบอนุญาตหรือต่ออายุใบอนุญาต (แก้ไขเพื่อความชัดเจน)
หน่วยงานหรือองค์กรวิชาชีพตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาประกาศกำหนด

ข้อ ๑๑  ให้ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการตามมาตรา ๔๑ ควบคุมบัญชีการซื้อยาตามข้อ ๗ (๑๐) เฉพาะยาแผนปัจจุบันซึ่งเป็นยาบรรจุเสร็จที่ไม่ใช่ยาอันตรายหรือยาควบคุมพิเศษ ให้เป็นไปโดยถูกต้องและลงชื่อกำกับไว้ในบัญชีด้วย

ข้อ ๑๒  ให้ผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ชั้นหนึ่งซึ่งเป็นผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการประจำสถานที่ขายยาแผนปัจจุบันเฉพาะยาบรรจุเสร็จสำหรับสัตว์ปฏิบัติดังต่อไปนี้
() ควบคุมการทำบัญชีการขายและการซื้อยาตามข้อ ๗ (๘) และ (๑๐) เฉพาะยาบรรจุเสร็จสำหรับสัตว์ ให้เป็นไปโดยถูกต้อง และลงชื่อกำกับไว้ในบัญชีด้วย
() ควบคุมให้ขายยาบรรจุเสร็จสำหรับสัตว์ที่เป็นยาควบคุมพิเศษเฉพาะแก่ผู้รับอนุญาตขายยาแผนปัจจุบันซึ่งมีเภสัชกรชั้นหนึ่งเป็นผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการ ผู้รับอนุญาตขายยาแผนปัจจุบันเฉพาะยาบรรจุเสร็จสำหรับสัตว์ซึ่งมีเภสัชกรชั้นหนึ่งหรือผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ชั้นหนึ่งเป็นผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการ หรือแก่ผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ชั้นหนึ่ง

ข้อ ๑๓  ผู้รับอนุญาตขายยาแผนปัจจุบันทุกประเภทที่ประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาต ให้ยื่นคำขอตามแบบ ข.. ๑๒ ท้ายกฎกระทรวงนี้
การอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตจะแสดงไว้ในรายการท้ายใบอนุญาตนั้น หรือจะออกใบอนุญาตให้ใหม่ก็ได้

ข้อ ๑๔  ผู้อนุญาตจะพิจารณาไม่ต่ออายุใบอนุญาต เมื่อปรากฏว่า
() ผู้รับอนุญาตขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๑๔
() ไม่ผ่านการตรวจรับรองสถานที่ขายยาแผนปัจจุบันตามวิธีปฏิบัติทางเภสัชกรรมชุมชนตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาประกาศกำหนด ในกรณีที่เป็นสถานที่ขายยาแผนปัจจุบัน
() ผู้รับอนุญาตไม่จัดให้มีเภสัชกรเป็นผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการประจำอยู่ตลอดเวลาทำการ อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๑ และได้รับโทษปรับตามมาตรา ๑๐๓ เกินกว่าสามครั้งภายในระยะเวลาหนึ่งปี ในกรณีที่เป็นสถานที่ขายยาแผนปัจจุบัน
() ผู้รับอนุญาตหรือผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการ ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยยา และได้รับโทษปรับหรือถูกเปรียบเทียบปรับเกินกว่าห้าครั้งภายในระยะเวลาหนึ่งปี
(ที่ประชุมยังไม่ยุติในหลักการร่างข้อ ๑๔ (๓)(๔) ฝ่ายเลขานุการฯ รับปรับความและพิจารณาหลักการ โดยผู้แทนเสนอให้นับหนึ่งปีนับแต่การกระทำความผิดครั้งแรก  )

ข้อ ๑๕  ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตขายยาแผนปัจจุบันทุกประเภทประสงค์จะขอรับใบแทนใบอนุญาต ให้ยื่นคำขอตามแบบ ข.. ๑๓ ท้ายกฎกระทรวงนี้
ใบแทนใบอนุญาตให้ใช้แบบ ข.. ๔ แบบ ข.ย. ๔/๑ แบบ ข.. ๕ หรือแบบ ข.. แล้วแต่กรณี โดยมีคำว่า “ใบแทน กำกับไว้ด้วย และให้มีวัน เดือน ปีที่ออกใบแทน พร้อมทั้งลงชื่อผู้อนุญาต

ข้อ ๑๖  ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตขายยาแผนปัจจุบันทุกประเภทที่ประสงค์จะย้ายสถานที่ขายยาจากสถานที่ซึ่งระบุไว้ในใบอนุญาต ให้ยื่นคำขอพร้อมด้วยหลักฐานตามที่ระบุไว้ในแบบ ข.. ๑๓ ท้ายกฎกระทรวงนี้
การอนุญาตให้ย้ายสถานที่ขายยาตามวรรคหนึ่ง ให้กระทำโดยวิธีสลักหลังใบอนุญาต หรือออกใบอนุญาตให้ใหม่ โดยไม่ต้องเก็บค่าธรรมเนียม

ข้อ ๑๗  ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตขายยาแผนปัจจุบันทุกประเภทที่ประสงค์จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในใบอนุญาตกรณีดังต่อไปนี้ ให้ยื่นคำขอตามแบบ ข.. ๑๔ ท้ายกฎกระทรวงนี้
() การเปลี่ยนผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการ
() การพ้นหน้าที่ของผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการ
() การเพิ่มหรือลดผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการ
() การเปลี่ยนผู้จัดการหรือผู้แทนของนิติบุคคล ในกรณีนิติบุคคลเป็นผู้รับอนุญาต
() การแสดงความจำนงขอดำเนินกิจการแทนผู้รับอนุญาตที่ตาย
() การเพิ่มหรือลดพื้นที่ของสถานที่
() การแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมชื่อสถานที่
() การเพิ่มหรือลดสถานที่เก็บยา
() การย้ายสถานที่เก็บยา
(๑๐) การเปลี่ยนเวลาทำการ
(๑๑) การเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุลของผู้รับอนุญาต ผู้จัดการหรือผู้แทนของนิติบุคคล ในกรณีนิติบุคคลเป็นผู้รับอนุญาต หรือผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการ
(๑๒) การเปลี่ยนเลขหมายประจำสถานที่
(๑๓) การเปลี่ยนชื่อถนน ตำบลหรือแขวง อำเภอหรือเขต หรือจังหวัด
การอนุญาตให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในใบอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้กระทำโดยวิธีสลักหลังใบอนุญาต หรือออกใบอนุญาตให้ใหม่ โดยไม่ต้องเก็บค่าธรรมเนียม

ข้อ ๑๘  การยื่นคำขอตามกฎกระทรวงนี้ ให้ยื่น ณ สถานที่ ดังต่อไปนี้
(๑) กรุงเทพมหานคร ให้ยื่น ณ กองควบคุมยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
(๒) จังหวัดอื่น ให้ยื่น ณ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด หรือ กองควบคุมยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
การยื่นคำขอตามวรรคหนึ่ง อาจยื่นโดยวิธีการอื่นใด ทั้งนี้ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาประกาศกำหนด

ข้อ ๑๙  ใบอนุญาตขายยาแผนปัจจุบันตามข้อ ๓ แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๕ (พ.ศ. ๒๕๒๕) ออกตามความในพระราชบัญญัติยา พ.ศ. ๒๕๑๐
ให้ใช้ได้ต่อไปจนกว่าใบอนุญาตนั้นจะสิ้นอายุ

ข้อ ๒๐  บรรดาคำขออนุญาต คำขอต่ออายุใบอนุญาต คำขอใบแทนใบอนุญาต คำขอย้ายสถานที่ขายยา หรือคำขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการที่ได้รับอนุญาต ที่ได้ยื่นไว้ก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ ให้ถือว่าเป็นคำขอตามกฎกระทรวงนี้โดยอนุโลม ในกรณีที่คำขอที่ยื่นไว้นั้นมีข้อแตกต่างไปจากคำขอตามกฎกระทรวงนี้ ให้ผู้อนุญาตมีอำนาจสั่งให้แก้ไขเพิ่มเติมได้ตามความจำเป็น

ข้อ ๒๑  กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

ข้อ ๒๒  ให้ผู้รับอนุญาตขายยาแผนปัจจุบันทุกประเภทที่ได้รับอนุญาตตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๕ (พ.ศ. ๒๕๒๕) ออกตามความในพระราชบัญญัติยา พ.ศ. ๒๕๑๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒๑ (พ.ศ. ๒๕๒๘) ออกตามความในพระราชบัญญัติยา พ.ศ. ๒๕๑๐ ดำเนินการให้เป็นไปตามข้อ ๕ ข้อ ๖ ข้อ ๗ (๑๒) และข้อ ๑๔ (๒) ภายในระยะเวลาที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด ทั้งนี้ ต้องไม่เกินแปดปีนับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ

ข้อ ๒๓  ให้เภสัชกรชั้นหนึ่งซึ่งเป็นผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการประจำสถานที่ขายยาแผนปัจจุบันที่ได้รับอนุญาตตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๕ (พ.ศ. ๒๕๒๕) ออกตามความในพระราชบัญญัติยา พ.ศ. ๒๕๑๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒๑ (พ.ศ. ๒๕๒๘) ออกตามความในพระราชบัญญัติยา พ.ศ. ๒๕๑๐ ดำเนินการให้เป็นไปตามข้อ ๙ (๗) ภายในระยะเวลาที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด ทั้งนี้ ต้องไม่เกินแปดปีนับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ



ให้ไว้ ณ วันที่                        พ.ศ. ….


รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข


ที่มา: newsser.fda.moph.go.th/.../20101715202901%20ร่างฯกฎกระทรวง(ผ่าน%20สคก.)(1).doc



กฎกระทรวงการขออนุญาตและการออกใบอนุญาตขายยาแผนปัจจุบัน พ.ศ.2556 (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขลงนาม เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ.2556)  ติดตามได้ที่ http://www.slideshare.net/rparun/ministerialregulation2556 

วันอังคารที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

มติคณะรัฐมนตรี 7 พฤษภาคม พ.ศ.2556 เรื่อง ความคืบหน้าเกี่ยวกับกรอบแนวทางการพิจารณาเพื่อการควบคุมและส่งเสริมการปลูกพืชกัญชง (เฮมพ์) เป็นพืชเศรษฐกิจ



                   คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบความคืบหน้าเกี่ยวกับกรอบแนวทางการพิจารณาเพื่อการควบคุมและส่งเสริมการปลูกพืชกัญชง (เฮมพ์)  เป็นพืชเศรษฐกิจ ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ 

สาระสำคัญของเรื่อง

สธ. รายงานว่า

1. ปัจจุบันพืชกัญชงจัดเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135   (พ.ศ. 2539) ซึ่งประกาศฯ กำหนดให้กัญชา (Cannabis) ซึ่งหมายความรวมถึงทุกส่วนของพืชกัญชา (Cannabis sativa L. และ Cannabis indica Auth) และวัตถุหรือสารต่างๆ ที่มีอยู่ในพืชกัญชา เช่น ใบ  ดอก   ยอด ผล ยาง และลำต้น เป็นต้น เป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ดังนั้น พืชกัญชง ซึ่งมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Cannabis sativa L. ssp. sativa จึงจัดเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ด้วย

2. ตามมาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 กำหนดให้การขอรับใบอนุญาตผลิต จำหน่าย นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 จะต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษเป็นรายๆ ไป

3. ในการประชุมคณะกรรมการประสานงานและสนับสนุนงานโครงการหลวง (กปส.) ครั้งที่ 1/2556 เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2556 ซึ่งมีนายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ คณะกรรมการฯ มีความเห็นให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาดำเนินการปรับแก้กฎหมายเพื่อควบคุมและส่งเสริมการปลูกพืชกัญชง (เฮมพ์) เป็นพืชเศรษฐกิจ และรายงานความคืบหน้าต่อคณะรัฐมนตรี

4.   คณะอนุกรรมการพิจารณาหลักเกณฑ์และควบคุมการปลูกกัญชง ในการประชุมครั้งที่ 2/2556 เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2556 และคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษ ในการประชุมครั้งที่ 333-3/2556 เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2556 ได้พิจารณาและมีมติเห็นชอบให้แก้ไขประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135 (พ.ศ. 2539) และจัดทำร่างกฎกระทรวงเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์การอนุญาตและควบคุมการปลูกพืชกัญชง (เฮมพ์) เพื่อส่งเสริมการปลูกพืชกัญชงเป็นพืชเศรษฐกิจ

5. สธ. ได้พิจารณากรอบระยะเวลาการดำเนินงานการออกประกาศฯ และจัดทำร่างกฎกระทรวงฯ ดังนี้
- การแก้ไขประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135 (พ.ศ.2539) ให้แล้วเสร็จภายในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2556
- การจัดทำร่างกฎกระทรวงเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์การอนุญาตและควบคุมการปลูกพืชกัญชง (เฮมพ์) ให้แล้วเสร็จและเสนอคณะรัฐมนตรีภายในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ฉลากยาและเอกสารกำกับยา ส่วนที่ 2-ยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือน




ปรุฬห์ รุจนธำรงค์


            ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 76 (9) แห่งพระราชบัญญัติยา พ.. 2510 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติยา (ฉบับที่ 3) .. 2522 แต่คำเตือนนี้อาจไม่ได้ครอบคลุมทุกผลิตภัณฑ์ยาที่ได้รับการขึ้นทะเบียนตำรับยาในประเทศไทย มีเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่พบปัญหาบ่อยเท่านั้น และคำเตือนนี้เป็นข้อความบังคับที่กฎหมายกำหนด แต่กฎหมายไม่ได้ห้ามหากบริษัทจะเพิ่มคำเตือนมากกว่านั้น แต่ต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามมาตรา 81
                        ยา หมายความว่า ตัวยา ยาปรุงเสร็จ หรือยาบรรจุเสร็จที่มีตัวยาเหล่านั้น

                    ยาใช้ภายนอก หมายความว่า ยาที่มีความมุ่งหมายสำหรับใช้กับผิวหนัง หู ตา จมูก ปาก ทวารหนัก ช่องคลอด หรือท่อปัสสาวะ โดยมีผลในการรักษาเฉพาะที่

                    ยาใช้ภายใน หมายความว่า ยาที่มีความมุ่งหมายสำหรับใช้ภายใน นอกจากที่เป็นยาใช้ภายนอก         


          รายการยาที่ต้องแจ้งเตือน คำเตือนในฉลาก และคำเตือนในเอกสารกำกับยา แสดงได้ดังตาราง   

           
รายการยา
คำเตือนในฉลาก
คำเตือนในเอกสารกำกับยา
(ข้อความที่เพิ่มเติม
จากคำเตือนในฉลาก)
(1) ยาต้านจุลชีพ


(1.1) ยาจำพวกอะมิโนไกลโคไซด์ (Aminoglycosides) สำหรับใช้ภายนอก
ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยานี้
เหมือนฉลาก
(1.2) ยาจำพวกอะมิโนไกลโคไซด์ (Aminoglycosides) สำหรับใช้กับตาหรือหู
1. ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยานี้
2. ยานี้อาจทำให้เกิดความผิดปกติต่อประสาทหู ทำให้หูหนวกหูตึงได้
เหมือนฉลาก
(1.3) ยาจำพวกอะมิโนไกลโคไซด์ (Aminoglycosides) สำหรับใช้ภายใน
1. ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยานี้
2. ยานี้อาจทำให้เกิดความผิดปกติต่อประสาทหู ทำให้หูหนวกหูตึงได้
3. ยานี้มีพิษต่อไต จึงควรใช้อย่างระมัดระวังและลดขนาดยาในผู้ป่วยที่ไตทำงานผิดปกติและเด็ก
4. ไม่ควรใช้ในทารกและหญิงมีครรภ์ หรือระยะให้นมบุตร
เหมือนฉลาก
(1.4) ยาจำพวกบาซิทราซิน (Bacitracin) สำหรับใช้ภายนอก
ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยานี้
เหมือนฉลาก
(1.5) ยาจำพวกคาพรีโอไมซิน (Capreomycin) และวิโอมัยซิน (Viomycin)
1. ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยานี้
2. ยานี้อาจทำให้เกิดความผิดปกติต่อประสาทหู ทำให้หูหนวกหูตึงได้
3. ยานี้อาจทำให้เกิดอันตรายต่อไตได้
เหมือนฉลาก
(1.6) ยาจำพวกเซฟาโลสปอริน (Cephalosporins)
1. ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยานี้
2. ยานี้อาจทำให้เกิดการแพ้และเป็นอันตรายถึงตายได้สำหรับผู้ที่แพ้ยาเพนิซิลลิน อาจแพ้ยานี้ได้ด้วย
3.หากเกิดอาการผื่นแดง ระคายเคืองหรือบวม ให้หยุดใช้ยา และปรึกษาแพทย์
เหมือนฉลาก
(1.7) ยาจำพวกคลอแรมเฟนิคอล (Chloramphenicol) สำหรับใช้ภายนอก
ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยานี้
เหมือนฉลาก
(1.8) ยาจำพวกคลอแรมเฟนิคอล (Chloramphenicol) สำหรับใช้กับตาหรือหู
1. ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยานี้
2. ยานี้อาจทำให้เกิดอันตรายถึงตายได้ ให้ใช้ตามแพทย์สั่งโดยเคร่งครัด
เหมือนฉลาก
(1.9) ยาจำพวกคลอแรมเฟนิคอล (Chloramphenicol) สำหรับใช้ภายใน
1. ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยานี้
2. ห้ามใช้กับเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี ผู้ป่วยด้วยโรคตับ หญิงมีครรภ์ ระยะให้นมบุตร
3. ยานี้อาจทำให้เกิดอันตรายถึงตายได้ ให้ใช้ตามแพทย์สั่งโดยเคร่งครัด
เหมือนฉลาก
(1.10) ยาคลิโอควินอล (Clioquinol) สำหรับใช้ภายใน
ยานี้อาจทำให้เกิดอาการผิดปกติของประสาทตาและประสาทขาได้
เหมือนฉลาก
(1.11) ยาจำพวกไซโคลเซอรีน (Cycloserine)
1. ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยานี้ ผู้มีประวัติของโรคลมชักหรือโรคทางจิตและประสาทที่รุนแรง
2. ยานี้อาจทำให้เกิดอันตรายต่อไต จิตและประสาทได้
3. ควรใช้ด้วยความระมัดระวังในหญิงมีครรภ์ ระยะให้นมบุตร
4. ระหว่างใช้ยานี้ ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
เหมือนฉลาก
(1.12) ยาจำพวกฟลูไซโทซีน (Flucytosine)
1. ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยานี้
2. ยานี้อาจทำให้เกิดอันตรายต่อตับ ไต ไขกระดูกได้
เหมือนฉลาก
(1.13) ยาจำพวกกรดฟูซิดิก (Fusidic acid) และอนุพันธ์ของยาดังกล่าว
1. ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยานี้
2. ยานี้อาจทำให้เกิดอันตรายต่อตับได้
เหมือนฉลาก
(1.14) ยาจำพวกกริซีโอฟูลวิน (Griseofulvin)
1. ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยานี้
2. ยานี้อาจทำให้เกิดอันตรายต่อตับ ไต ได้
เหมือนฉลาก
(1.15) ยาจำพวกคีโทโคนาโซล (Ketoconazole) สำหรับใช้ภายนอก
ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยานี้
เหมือนฉลาก
(1.16) ยาจำพวกคีโทโคนาโซล (Ketoconazole) สำหรับใช้ภายใน
1. ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยานี้
2. ไม่ควรใช้ในหญิงมีครรภ์ ระยะให้นมบุตร
3. ยานี้อาจทำให้เกิดอันตรายต่อตับได้
เหมือนฉลาก
(1.17) ยาจำพวกลินโคไมซิน (Lincomycin) สำหรับใช้ภายนอก
ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยานี้
เหมือนฉลาก
(1.18) ยาจำพวกลินโคไมซิน (Lincomycin) สำหรับใช้ภายใน
1. ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยานี้
2. ควรระมัดระวังการใช้ในผู้ป่วยโรคตับ โรคไต และโรคเกี่ยวกับทางเดินอาหารโดยเฉพาะโรคลำไส้อักเสบ ท้องเดินเรื้อรัง
เหมือนฉลาก
(1.19) ยาจำพวกมะโครไลด์ (Macrolides) สำหรับใช้ภายนอก
ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยานี้
เหมือนฉลาก
(1.20) ยาจำพวกมะโครไลด์ (Macrolides) สำหรับใช้ภายใน
1. ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยานี้
2. ยานี้อาจทำให้เกิดอันตรายต่อตับได้
เหมือนฉลาก
(1.21) ยาจำพวกไมโคนาโซล (Miconazole)
1. ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยานี้
2. ไม่ควรใช้ในหญิงมีครรภ์ ระยะให้นมบุตร
3. ยานี้อาจทำให้มีเลือดออกผิดปกติได้
เหมือนฉลาก
(1.22) ยาจำพวกไนโทรฟูแรนโทอิน (Nitrofurantoin)
1. ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยา
2. ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่มีอาการปัสสาวะน้อย (Oliguria) หรือปัสสาวะไม่ออก (Anuria)
3. ห้ามใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 2 เดือน และในหญิงมีครรภ์
เหมือนฉลาก
(1.23) ยาจำพวกโนโวไบโอซิน (Novobiocin)
1. ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยานี้
2. ยานี้อาจทำให้เกิดอันตรายต่อตับได้
3. ยานี้อาจทำให้เกิดการผิดปกติของเม็ดเลือดได้
เหมือนฉลาก
(1.24) ยาจำพวกนิสทาทิน (Nystatin) สำหรับใช้ภายนอก
ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยานี้
เหมือนฉลาก
(1.25) ยาจำพวกนิสทาทิน (Nystatin) สำหรับใช้ภายใน
1. ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยานี้
2. ยานี้อาจทำให้เกิดอันตรายต่อตับ ไต ได้
เหมือนฉลาก
(1.26) ยาจำพวกเพนิซิลลิน (Penicillins)[1]


   (1.26.1) ยาจำพวกเพนิซิลลิน (Penicillins) ยกเว้น อะมอกซิซิลลิน (Amoxicillin)
1. ห้ามใช้ในผู้ที่เคยแพ้ยานี้
2. ยานี้อาจทำให้เกิดการแพ้และเป็นอันตรายถึงชีวิต
3. หากเกิดอาการผื่นแดง ระคายเคืองหรือบวม ให้หยุดใช้ยาและปรึกษาแพทย์
เหมือนฉลาก
   (1.26.2) ยาอะมอกซิซิลลิน (Amoxicillin)
1. ห้ามใช้ในผู้ที่เคยแพ้ยานี้
2. ยานี้อาจทำให้เกิดการแพ้และเป็นอันตรายถึงชีวิต
3. หากเกิดอาการผื่นแดง ระคายเคืองหรือบวม ให้หยุดใช้ยาและปรึกษาแพทย์
4. หากใช้ยานี้แล้วมีอาการผื่นแดง หรือมีอาการคล้ายเป็นหวัด ให้หยุดยาและรีบปรึกษาแพทย์ทันที
เหมือนฉลากและเพิ่ม
5. เมื่อใช้ยานี้หากมีอาการดังต่อไปนี้ เช่น ไข้ ผื่นแดง ตุ่มน้ำพอง มีการหลุดลอกของผิวหนังและบริเวณเยื่อบุต่าง ๆ เช่น ในช่องปาก ลำคอ จมูก อวัยวะสืบพันธุ์ และเยื่อบุตาอักเสบให้หยุดยาและปรึกษาแพทย์เพราะอาจเป็น Stevens-Johnson syndrome
(1.27) ยาจำพวกโพลิมิกซิน (Polymyxins) สำหรับใช้ภายนอก
ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยานี้
เหมือนฉลาก
(1.28) ยาจำพวกโพลิมิกซิน (Polymyxins) สำหรับใช้ภายใน
1. ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยานี้
2. ยานี้อาจทำให้เกิดอันตรายต่อไต และระบบประสาทได้
เหมือนฉลาก
 (1.29) ยาจำพวกควิโนโลน (Quinolone) และอนุพันธ์ของยาดังกล่าว[2]


  (1.29.1) ยากลุ่มฟลูออโรควิโนโลน (Fluroquinolones) สำหรับรับประทาน
1. ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยานี้ หรือยาในกลุ่มควิโนโลนตัวอื่น ๆ
2. สตรีมีครรภ์และสตรีระยะให้นมบุตรหลีกเลี่ยงการใช้ยานี้
3. หากใช้ยานี้แล้วมีผื่นขึ้น ปวดเมื่อย ปวดกล้ามเนื้อ ปวดเอ็นข้อมือหรือข้อเท้า ให้รีบหยุดยาและปรึกษาแพทย์ทันที
4. ยานี้อาจทำให้เกิดอันตรายต่อตับ ไตได้
เหมือนฉลาก และเพิ่ม
5. ไม่ควรใช้ยานี้ หรือหากจำเป็นให้ใช้ด้วยความระมัดระวังในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งง่ายต่อการเกิดอาการชัก โดยสัมพันธ์กับขนาดยาที่ให้
6. ยานี้อาจทำให้เกิดผื่นแพ้แสงแดด (phototoxicity reaction) หรือผื่นชนิดรุนแรง เช่น Toxic Epidermal Necrolysis, Steven – Johnson syndrome, Erythema Multiforme เป็นต้น
7. ยานี้อาจมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำตาลในเลือด ควรระมัดระวังการใช้ในผู้ป่วยเบาหวาน
8. การใช้ยานี้ร่วมกับ warfarin อาจจะเพิ่มฤทธิ์ของ warfarin”
  (1.29.2) ยาไซโพรฟลอกซาซิน (Ciprofloxacin)
1. ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยานี้ หรือยาในกลุ่มควิโนโลนตัวอื่น ๆ
2. สตรีมีครรภ์และสตรีระยะให้นมบุตรหลีกเลี่ยงการใช้ยานี้
3. หากใช้ยานี้แล้วมีผื่นขึ้น ปวดเมื่อย ปวดกล้ามเนื้อ ปวดเอ็นข้อมือหรือข้อเท้า ให้รีบหยุดยาและปรึกษาแพทย์ทันที
4. ยานี้อาจทำให้เกิดอันตรายต่อตับ ไตได้
เหมือนฉลาก และเพิ่ม
5. ไม่ควรใช้ยานี้ หรือหากจำเป็นให้ใช้ด้วยความระมัดระวังในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งง่ายต่อการเกิดอาการชัก โดยสัมพันธ์กับขนาดยาที่ให้
6. ระมัดระวังการใช้ยานี้ร่วมกับยาที่ถูกเปลี่ยนแปลงผ่านระบบเอนไซม์ cytochrome P450 1A2 เช่น theophilline, methylxanthine, caffeine เพราะอาจจะเกิดอันตรกิริยา (drug interaction) ต่อกันมีผลให้ระดับยาในเลือดสูงขึ้นจนเกิดอันตรายได้
7. อาจพบภาวะความผิดปกติของระบบเลือด รวมทั้งการกดไขกระดูก หากพบควรหยุดยาทันที และการใช้ยานี้ร่วมกับ warfarin อาจจะเพิ่มฤทธิ์ของ warfarin
8. ยานี้อาจทำให้เกิดผื่นแพ้แสงแดด (phototoxicity reaction) หรือผื่นชนิดรุนแรง เช่น Toxic Epidermal Necrolysis, Steven – Johnson syndrome, Erythema Multiforme เป็นต้น
9. ยานี้อาจมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำตาลในเลือด ควรระมัดระวังการใช้ในผู้ป่วยเบาหวาน
  (1.29.3) ยาเลโวฟลอกซาซิน (Levofloxacin)
1. ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยานี้ หรือยาในกลุ่มควิโนโลนตัวอื่น ๆ
2. สตรีมีครรภ์และสตรีระยะให้นมบุตรหลีกเลี่ยงการใช้ยานี้
3. หากใช้ยานี้แล้วมีผื่นขึ้น ปวดเมื่อย ปวดกล้ามเนื้อ ปวดเอ็นข้อมือหรือข้อเท้า ให้รีบหยุดยาและปรึกษาแพทย์ทันที
4. ยานี้อาจทำให้เกิดอันตรายต่อตับ ไตได้
เหมือนฉลาก และเพิ่ม
5. ไม่ควรใช้ยานี้ หรือหากจำเป็นให้ใช้ด้วยความระมัดระวังในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งง่ายต่อการเกิดอาการชัก โดยสัมพันธ์กับขนาดยาที่ให้
6. ยานี้อาจทำให้เกิดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ QT ยาวขึ้นได้ จึงควรระมัดระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะดังกล่าว เช่น ผู้ป่วยสูงอายุ ผู้ป่วยโรคหัวใจ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีอาการหัวใจเต้นผิดปกติ ความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยที่มีระดับโปแตสเซียมในเลือดต่ำกว่าปกติ เป็นต้น
7. หลีกเลี่ยงการใช้ยานี้ร่วมกับยาที่ทำให้คลื่นไฟฟ้าหัวใจ QT ยาวขึ้น เช่น ยากลุ่ม antiarrhythmic class IA (เช่น quinidine, procainamide), class III (เช่น amiodarone), ยา cisapride, ยา erythromycin, ยากลุ่ม antipsychotics, tricyclic antidepressants เป็นต้น
8. ยานี้อาจทำให้เกิดผื่นแพ้แสงแดด (phototoxicity reaction) หรือผื่นชนิดรุนแรง เช่น Toxic Epidermal Necrolysis, Steven – Johnson syndrome, Erythema Multiforme เป็นต้น
9. ยานี้อาจมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำตาลในเลือด ควรระมัดระวังการใช้ในผู้ป่วยเบาหวาน
10. การใช้ยานี้ร่วมกับ warfarin อาจจะเพิ่มฤทธิ์ของ warfarin
  (1.29.4) ยามอกซิฟลอกซาซิน (Moxifloxacin)
1. ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยานี้ หรือยาในกลุ่มควิโนโลนตัวอื่น ๆ
2. สตรีมีครรภ์และสตรีระยะให้นมบุตรหลีกเลี่ยงการใช้ยานี้
3. หากใช้ยานี้แล้วมีผื่นขึ้น ปวดเมื่อย ปวดกล้ามเนื้อ ปวดเอ็นข้อมือหรือข้อเท้า ให้รีบหยุดยาและปรึกษาแพทย์ทันที
4. ยานี้อาจทำให้เกิดอันตรายต่อตับ ไตได้
เหมือนฉลาก และเพิ่ม
5. ไม่ควรใช้ยานี้ หรือหากจำเป็นให้ใช้ด้วย ความระมัดระวังในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งง่ายต่อการเกิดอาการชัก โดยสัมพันธ์กับขนาดยาที่ให้
6. ยานี้อาจทำให้เกิดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ QT ยาวขึ้นได้ จึงควรระมัดระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะดังกล่าว เช่น ผู้ป่วยสูงอายุ ผู้ป่วยโรคหัวใจ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีอาการหัวใจเต้นผิดปกติ ความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยที่มีระดับโปแตสเซียมในเลือดต่ำกว่าปกติ เป็นต้น
7. หลีกเลี่ยงการใช้ยานี้ร่วมกับยาที่ทำให้คลื่นไฟฟ้าหัวใจ QT ยาวขึ้น เช่น ยากลุ่ม antiarrhythmic class IA (เช่น quinidine, procainamide), class III (เช่น amiodarone), ยา cisapride, ยา erythromycin, ยากลุ่ม antipsychotics, tricyclic antidepressants เป็นต้น
8. ยานี้อาจทำให้เกิดผื่นแพ้แสงแดด (phototoxicity reaction) หรือผื่นชนิดรุนแรง เช่น Toxic Epidermal Necrolysis, Steven – Johnson syndrome, Erythema Multiforme เป็นต้น
9. ยานี้อาจมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำตาลในเลือด ควรระมัดระวังการใช้ในผู้ป่วยเบาหวาน
10. การใช้ยานี้ร่วมกับ warfarin อาจจะเพิ่มฤทธิ์ของ warfarin
  (1.29.5) ยากลุ่มฟลูออโรควิโนโลน (Fluoroquinolones) ชนิดหยอดตา
1. ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยานี้ หรือยาในกลุ่มควิโนโลนตัวอื่น ๆ
2. หากใช้ยานี้แล้วมีอาการตาแดง บวมมากขึ้น หรือมีผื่นขึ้น ปวดเมื่อย ปวดกล้ามเนื้อ ปวดเอ็นข้อมือหรือข้อเท้า ให้รีบหยุดยาและปรึกษาแพทย์ทันที
3. ยานี้อาจทำให้เกิดอันตรายต่อตับ ไตได้
เหมือนฉลาก
  (1.29.6) ยากลุ่มฟลูออโรควิโนโลน (Fluoroquinolones) ชนิดหยอดหู
1. ห้ามใช้ในผู้แพ้ยานี้ หรือยาในกลุ่มควิโนโลนตัวอื่น ๆ
2. หากใช้ยานี้แล้วมีผื่นขึ้นที่ตัว มีอาการคัน บวม แดง อักเสบ มีน้ำเหลืองเยิ้ม มีสะเก็ดที่ช่องหู หรือใบหู ให้หยุดยาและปรึกษาแพทย์ทันที

เหมือนฉลาก
  (1.29.7) ยาจำพวกอะโครโซซาซิน (Acrosoxacin) และกรดนาลิดิซิก (Nalidixic acid)
1. ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยานี้
2. ยานี้อาจทำให้เกิดอันตรายต่อตับ ไตได้
3. ขณะที่ใช้ยานี้ ไม่ควรขับขี่ยานยนต์หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล
เหมือนฉลาก
(1.30) ยาจำพวกไรฟาไมซิน (Rifamycins)
1. ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยานี้
2. ยานี้อาจทำให้เกิดอันตรายต่อตับได้
เหมือนฉลาก
(1.31) ยาจำพวกสเปกติโนไมซิน (Spectinomycin)
1. ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยานี้
2. ยานี้อาจทำให้เกิดอันตรายต่อไตได้
เหมือนฉลาก
(1.32) ยาจำพวกซัลโฟนาไมด์ (Sulfonamides) สำหรับใช้ภายนอก[3]


   (1.32.1) ยาจำพวกซัลโฟนาไมด์ (Sulfonamides) สำหรับใช้ภายนอก ยกเว้นซัลฟาไดอะซีน (Sulfadiazine) ซัลฟาดอกซีน (Sulfadoxine) ซัลฟาฟูราโซล (Sulfafurazole) ซัลฟามีธอกซาโซล (Sulfamethoxazol) และซัลฟาซาลาซีน (Sulfasalazine)
ห้ามใช้ในผู้ที่เคยแพ้ยานี้
เหมือนฉลาก
   (1.32.2) ยาซัลฟาไดอะซีน (Sulfadiazine) ยาซัลฟาดอกซีน (Sulfadoxine) ยาซัลฟาฟูราโซล (Sulfafurazole) ยาซัลฟามีธอกซาโซล (Sulfamethoxazol) และยาซัลฟาซาลาซีน (Sulfasalazine) สำหรับใช้ภายนอก
1. ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยาปฏิชีวนะกลุ่มซัลโฟนาไมด์
2. ห้ามใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 2 เดือน
3. ใช้ด้วยความระมัดระวังในผู้ป่วยที่มีภาวะบกพร่องเอนไซม์ G6PD
คำเตือนในเอกสารกำกับยา
4. หากใช้ยาแล้วผู้ป่วยเกิดอาการตัวเขียว เหนื่อยง่าย ให้หยุดยา เนื่องจากอาจเกิดภาวะmethemoglobinemia
เหมือนฉลาก
(1.33) ยาจำพวกซัลโฟนาไมด์ (Sulfonamides) สำหรับใช้ภายใน[4]
1. ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยานี้
2. ยานี้อาจทำให้เกิดอันตรายต่อตับ ไต ได้
3. ห้ามใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 2 เดือน หญิงมีครรภ์ ระยะให้นมบุตร
เหมือนฉลาก
   (1.33.1) ยาจำพวกซัลโฟนาไมด์ (Sulfonamides) สำหรับใช้ภายใน ยกเว้น ซัลฟาไดอะซีน (Sulfadiazine) ซัลฟาดอกซีน (Sulfadoxine) ซัลฟาฟูราโซล (Sulfafurazole) ซัลฟามีธอกซาโซล (Sulfamethoxazol) และซัลฟาซาลาซีน (Sulfasalazine)
1. ห้ามใช้ในผู้ที่เคยแพ้ยานี้
2. ยานี้อาจทำให้เกิดอันตรายต่อตับ ไต ได้
3. ห้ามใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 2 เดือน หญิงมีครรภ์ ระยะให้นมบุตร
เหมือนฉลาก
   (1.33.2) ยาซัลฟาไดอะซีน (Sulfadiazine) ยาซัลฟาดอกซีน (Sulfadoxine) ยาซัลฟาฟูราโซล (Sulfafurazole) ยาซัลฟามีธอกซาโซล (Sulfamethoxazol) และ ยาซัลฟาซาลาซีน (Sulfasalazine) สำหรับใช้ภายใน
1. ห้ามใช้ในผู้ที่เคยแพ้ยานี้
2. ยานี้อาจทำให้เกิดอันตรายต่อตับ ไต ได้
3. ห้ามใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 2 เดือน หญิงมีครรภ์ ระยะให้นมบุตร
4. หากใช้ยานี้แล้วมีอาการผื่นแดง หรือมีอาการคล้ายเป็นหวัด ให้หยุดยาและรีบปรึกษาแพทย์ทันที
เหมือนฉลาก และเพิ่ม
5. เมื่อใช้ยานี้หากมีอาการดังต่อไปนี้ เช่น ไข้ ผื่นแดง ตุ่มน้ำพอง มีการหลุดลอกของผิวหนังและบริเวณเยื่อบุต่าง ๆ เช่น ในช่องปาก ลำคอ จมูก อวัยวะสืบพันธุ์ และเยื่อบุตาอักเสบ ให้หยุดยาและปรึกษาแพทย์เพราะอาจเป็น Stevens-Johnson syndrome
(1.34) ยาจำพวกเตตระไซคลิน (Tetracyclines) สำหรับใช้ภายนอก
ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยานี้
เหมือนฉลาก
(1.35) ยาจำพวกเตตระไซคลิน (Tetracyclines) สำหรับใช้ภายใน
1. ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยานี้
2. ห้ามใช้ในเด็ก หญิงมีครรภ์ หรือ หญิงระยะให้นมบุตร
เหมือนฉลาก
(1.36) ยาจำพวกแวนโคไมซิน (Vancomycin)
1. ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยานี้
2. ในหญิงมีครรภ์ ยานี้อาจเป็นอันตรายต่อประสาทหูของทารกในครรภ์ได้
เหมือนฉลาก
(2) ยาจำพวกแอนติฮีสตามีน (Antihistamines) สำหรับใช้ภายใน[5]


(2.1) ยาแอนติฮีสตามีนทุกชนิด ที่จับอย่างไม่เจาะจงกับ central receptor และ peripheral H1 receptor เว้นแต่ในประกาศนี้จะระบุไว้เป็นอย่างอื่น
1. ยานี้ทำให้ง่วงซึม จึงไม่ควรขับขี่ยานยนต์หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล หรือทำงานที่เสี่ยงต่อการพลัดตกจากที่สูง
2. ไม่ควรรับประทานร่วมกับสุรา หรือสิ่งที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบ
3. ห้ามใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี ผู้ที่กำลังมีอาการหอบหืด โรคต้อหิน ต่อมลูกหมากโตหรือปัสสาวะขัด นอกจากแพทย์สั่ง
4. ระวังการใช้ยานี้ในสตรีมีครรภ์ระยะ 3 เดือนแรกและสตรีให้นมบุตร
เหมือนฉลาก และเพิ่ม
5. ยานี้ทำให้ปากแห้ง ปัสสาวะขัด เสมหะเหนียวข้น ตาพร่า วิงเวียนและสับสนได้
6. เด็กและผู้สูงอายุ จะไวต่อยานี้มากขึ้น ทำให้ง่วงนอน วิงเวียน ประสาทหลอน ปากแห้ง ปัสสาวะคั่ง ความดันโลหิตต่ำ หงุดหงิด นอนไม่หลับ และบางรายอาจมีอาการชักได้ (Paradoxical reaction)
7. ระวังการใช้ยานี้ร่วมกับยาที่มีฤทธิ์กดระบบประสาทส่วนกลาง เช่น ยากลุ่ม Benzodiazepines ยาที่มีฤทธิ์แอนติโคลิเนอร์จิก และยาต้านอาการซึมเศร้า ชนิดต่างๆ
8. ระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และหลอดเลือด ต่อมไทรอยด์ทำงานมากกว่าปกติ ผู้ที่มีประวัติโรคหอบหืด โรคถุงลมโป่งพอง
  (2.1.1) สำหรับยาจำพวกบิวคลิซีน (Buclizine) คาร์บิน็อกซามีน (Carbinoxamine) คลอร์ไซคลิซีน (Chlorcyclizine) ไซคลิซีน (Cyclizine) โฮโมคลอร์ไซคลิซีน (Homochlorcyclizine) ไฮดรอกไซซีน (Hydroxyzine) เมบไฮโดรลีน (Mebhydroline) มีควิทาซีน (Mequitazine) ออกซาโทไมด์ (Oxatomide) ไพพรินไฮดริเนท (Piprinhydrinate) โปรเมทาซีน (Promethazine) ไทรโปรลิดีน (Triprolidine)
1. ยานี้ทำให้ง่วงซึม จึงไม่ควรขับขี่ยานยนต์หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล หรือทำงานที่เสี่ยงต่อการพลัดตกจากที่สูง
2. ไม่ควรรับประทานร่วมกับสุรา หรือสิ่งที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบ
3. ไม่ควรใช้ยานี้ในสตรีมีครรภ์ระยะ 3 เดือนแรก และสตรีให้นมบุตร

เหมือนฉลาก และเพิ่ม
4. ยานี้ทำให้ปากแห้ง ปัสสาวะขัด เสมหะเหนียวข้น ตาพร่า วิงเวียน และสับสนได้
5. เด็กและผู้สูงอายุ จะไวต่อยานี้มากขึ้น ทำให้ง่วงนอน วิงเวียน ประสาทหลอน ปากแห้ง ปัสสาวะคั่ง ความดันโลหิตต่ำ หงุดหงิด นอนไม่หลับ และบางรายอาจมีอาการชักได้ (Paradoxical reaction)
6. ระวังการใช้ยานี้ร่วมกับยาที่มีฤทธิ์กดประสาทส่วนกลางเช่น ยากลุ่ม Benzodiazines ยาที่มีฤทธิ์แอนติโคลิเนอร์จิก และยาต้านอาการซึมเศร้าชนิดต่างๆ
7. ระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด ต่อมไทรอยด์ทำงานมากกว่าปกติ ผู้ที่มีประวัติโรคหอบหืด โรคถุงลมโป่งพอง
   (2.1.2) สำหรับยาจำพวกอะซาทาดีน (Azatadine) บรอมเฟนิรามีน (Brompheniramine) คลอเฟนิรามีน (Chlorpheniramine) เดกซ์คลอเฟนิรามีน (Dexchlorpheniramine) ดอกซีลามีน (Doxylamine)
1. ยานี้ทำให้ง่วงซึม จึงไม่ควรขับขี่ยานยนต์หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล หรือทำงานที่เสี่ยงต่อการพลัดตกจากที่สูง
2. ไม่ควรรับประทานร่วมกับสุรา หรือสิ่งที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบ
3. ห้ามใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี ผู้ที่กำลังมีอาการหอบหืด โรคต้อหิน ต่อมลูกหมากโตหรือปัสสาวะขัด นอกจากแพทย์สั่ง
4. ระวังการใช้ยานี้ในสตรีมีครรภ์ ระยะ 3 เดือนแรก และสตรีที่ให้นมบุตร
เหมือนฉลาก และเพิ่ม
5. ยานี้ทำให้ปากแห้ง ปัสสาวะขัด เสมหะเหนียวข้น ตาพร่า วิงเวียน สับสน และเม็ดเลือดผิดปกติได้
6. เด็กและผู้สูงอายุ จะไวต่อยานี้มากขึ้น ทำให้ง่วงนอน วิงเวียน ประสาทหลอน ปากแห้ง ปัสสาวะคั่ง ความดันโลหิตต่ำ หงุดหงิด นอนไม่หลับและบางรายอาจมีอาการชักได้ (paradoxical reaction)
7. ระวังการใช้ยานี้ร่วมกับยาที่มีฤทธิ์กดระบบประสาทส่วนกลาง เช่น ยากลุ่ม Benzodiazepines ยาที่มีฤทธิ์แอนติโคลิเนอร์จิก และยาต้านอาการซึมเศร้าชนิดต่างๆ
8. ระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด ต่อมไทรอยด์ทำงานมากกว่าปกติ ผู้ที่มีประวัติโรคหอบหืด โรคถุงลมโป่งพอง
  (2.1.3) สำหรับยาจำพวกไดเมนไฮดริเนท (Dimenhydrinate) ไดเฟนไฮดรามีน (Diphenhydramine)
1. ยานี้ทำให้ง่วงซึม จึงไม่ควรขับขี่ยานยนต์หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล หรือทำงานที่เสี่ยงต่อการพลัดตกจากที่สูง
2. ไม่ควรรับประทานร่วมกับสุรา หรือสิ่งที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบ
3. ห้ามใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี ผู้ที่กำลังมีอาการหอบหืด โรคต้อหิน ต่อมลูกหมากโต หรือปัสสาวะขัด นอกจากแพทย์สั่ง
4. ระวังการใช้ยานี้ในสตรีมีครรภ์ระยะ 3 เดือนแรก และสตรีที่ให้นมบุตร
เหมือนฉลาก และเพิ่ม
5. ยานี้ทำให้ปากแห้ง ปัสสาวะขัด เสมหะเหนียวข้น ตาพร่าวิงเวียน และสับสนได้
6. เด็กและผู้สูงอายุ จะไวต่อยานี้มากขึ้น ทำให้ง่วงนอน วิงเวียน ประสาทหลอน ปากแห้ง ปัสสาวะคั่ง ความดันโลหิตต่ำ หงุดหงิด นอนไม่หลับ และบางรายอาจมีอาการชักได้ (paradoxical reaction)
7. ระวังการใช้ยานี้ร่วมกับยาที่มีฤทธิ์กดระบบประสาทส่วนกลาง เช่น ยากลุ่ม Benzodiazepines ยาที่มีฤทธิ์แอนติโคลิเนอร์จิก และยาต้านอาการซึมเศร้าชนิดต่างๆ
8. ระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และหลอดเลือด ต่อมไทรอยด์ทำงานมากกว่าปกติ ผู้ที่มีประวัติโรคหอบหืด โรคถุงลมโป่งพอง
9. ฤทธิ์แก้อาเจียนของยานี้ อาจบดบังอาการพิษที่เกิดจากการได้รับยาบางชนิดเกินขนาด หรืออาจทำให้การวินิจฉัยโรคบางอย่างผิดพลาดได้ เช่น ไส้ติ่งอักเสบ
  (2.1.4) สำหรับยาจำพวกไซโปรเฮปทาดีน (Cyproheptadine)
1. ยานี้ทำให้ง่วงซึม จึงไม่ควรขับขี่ยานยนต์หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล หรือทำงานที่เสี่ยงต่อการพลัดตกจากที่สูง
2. ไม่ควรรับประทานร่วมกับสุรา หรือสิ่งที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบ
3. ห้ามใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี ผู้ที่กำลังมีอาการหอบหืด โรคต้อหิน ต่อมลูกหมากโต หรือปัสสาวะขัด นอกจากแพทย์สั่ง
4. ระวังการใช้ยานี้ในสตรีมีครรภ์ ระยะ 3 เดือนแรก และสตรีที่ให้นมบุตร
5. ห้ามใช้ยานี้ในเด็กติดต่อกันนานเกิน 3 เดือน เพราะอาจกดการเจริญเติบโตได้
เหมือนฉลาก และเพิ่ม
6. ยานี้ทำให้ปากแห้ง ปัสสาวะขัด เสมหะเหนียวข้น ตาพร่า วิงเวียน และสับสนได้
7. เด็กและผู้สูงอายุ จะไวต่อยานี้มากขึ้น ทำให้ง่วงนอน วิงเวียน ประสาทหลอน ปากแห้ง ปัสสาวะคั่ง ความดันโลหิตต่ำ หงุดหงิด นอนไม่หลับและบางรายอาจมีอาการชักได้ (paradoxical reaction)
8. ระวังการใช้ยานี้ร่วมกับยาที่มีฤทธิ์กดระบบประสาทส่วนกลาง เช่น ยากลุ่ม Benzodiazepines ยาที่มีฤทธิ์แอนติโคลิเนอร์จิก และยาต้านอาการซึมเศร้าชนิดต่างๆ
9. ระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด ต่อมไทรอยด์ทำงานมากกว่าปกติ ผู้ที่มีประวัติโรคหอบหืด โรคถุงลมโป่งพอง
10. ยานี้อาจทำให้น้ำหนักเพิ่ม ปวดท้อง ปวดข้อ ตับอักเสบ บวมน้ำ อ่อนเพลีย และเม็ดเลือดผิดปกติได้
  (2.1.5) สำหรับยาจำพวกคีโททิเฟน (Ketotifen)
1. ยานี้ทำให้ง่วงซึม จึงไม่ควรขับขี่ยานยนต์หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล หรือทำงานที่เสี่ยงต่อการพลัดตกจากที่สูง
2. ไม่ควรรับประทานร่วมกับสุรา หรือสิ่งที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบ
3. ไม่ควรใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี นอกจากแพทย์สั่ง
เหมือนฉลาก และเพิ่ม
4. ระวังการใช้ยานี้ร่วมกับยาที่มีฤทธิ์กดระบบประสาทส่วนกลาง เช่น ยากลุ่ม Benzodiazepines
5. ไม่ควรใช้ยานี้ร่วมกับยาลดน้ำตาลในเลือดชนิดรับประทาน เพราะอาจทำให้จำนวน เกล็ดเลือดลดลงและเลือดหยุดช้าได้
6. ยานี้ทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มได้
  (2.1.6) สำหรับยาจำพวกโปรเมทาซีน (Promethazine)
1. ยานี้ทำให้ง่วงซึม จึงไม่ควรขับขี่ยานยนต์หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล หรือทำงานที่เสี่ยงต่อการพลัดตกจากที่สูง
2. ไม่ควรรับประทานร่วมกับสุรา หรือสิ่งที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบ
3. ห้ามใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี ผู้ที่กำลังมีอาการหอบหืด โรคต้อหิน ต่อมลูกหมากโต หรือปัสสาวะขัด นอกจากแพทย์สั่ง
4. ระวังการใช้ยานี้ในสตรีมีครรภ์ระยะ 3 เดือนแรก และสตรีที่ให้นมบุตร
เหมือนฉลาก และเพิ่ม
5. ยานี้ทำให้ปากแห้ง ปัสสาวะขัด เสมหะเหนียวข้น ตาพร่า วิงเวียน สับสน และเม็ดเลือดผิดปกติได้
6. เด็กและผู้สูงอายุ จะไวต่อยานี้มากขึ้น ทำให้ง่วงนอน วิงเวียน ประสาทหลอน ปากแห้ง ปัสสาวะคั่ง ความดันโลหิตต่ำ หงุดหงิด นอนไม่หลับและบางรายอาจมีอาการชักได้ (paradoxical reaction)
7. ระวังการใช้ยานี้ร่วมกับยาที่มีฤทธิ์กดระบบประสาทส่วนกลาง เช่น ยากลุ่ม Benzodiazepines ยาที่มีฤทธิ์แอนติโคลิเนอร์จิก และยาต้านอาการซึมเศร้าชนิดต่างๆ
8. ระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด ต่อมไทรอยด์ทำงานมากกว่าปกติ ผู้ที่มีประวัติโรคหอบหืด โรคถุงลมโป่งพอง
9. ฤทธิ์แก้อาเจียนของยานี้ อาจบดบังอาการพิษที่เกิดจากการได้รับยาบางชนิดเกินขนาด หรืออาจทำให้การวินิจฉัยโรคบางอย่างผิดพลาดได้ เช่น ไส้ติ่งอักเสบ
(2.2) ยาแอนติฮีสตามีนทุกชนิด  ที่จับอย่างเจาะจงกับ peripheral H1 receptor เว้นแต่ในประกาศนี้จะระบุไว้เป็นอย่างอื่น
1. ยานี้อาจทำให้ง่วงซึม จึงไม่ควรขับขี่ยานยนต์ หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล หรือทำงานที่เสี่ยงต่อการพลัดตกจากที่สูง
2. ไม่ควรรับประทานร่วมกับสุรา หรือสิ่งที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบ
3. ระวังการใช้ยานี้ในเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี สตรีมีครรภ์ระยะ 3 เดือนแรก และสตรีที่ให้นมบุตร
เหมือนฉลาก

  (2.2.1) สำหรับยาจำพวกอาคริวาสทีน (Acrivastine)
1. ยานี้ทำให้ง่วงซึม จึงไม่ควรขับขี่ยานยนต์ หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล หรือทำงานที่เสี่ยงต่อการพลัดตกจากที่สูง
2. ไม่ควรรับประทานร่วมกับสุรา หรือสิ่งที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบ
3. ห้ามใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี ผู้ที่กำลังมีอาการหอบหืด โรคต้อหิน ต่อมลูกหมากโต หรือปัสสาวะขัด นอกจากแพทย์สั่ง
4. ระวังการใช้ยานี้ในสตรีมีครรภ์ระยะ 3 เดือนแรก และสตรีที่ให้นมบุตร
เหมือนฉลาก และเพิ่ม
5. ยานี้ทำให้ปากแห้ง ปัสสาวะขัด เสมหะเหนียวข้น ตาพร่า วิงเวียน และสับสนได้
6. เด็กและผู้สูงอายุจะไวต่อยานี้มากขึ้น ทำให้ง่วงนอน วิงเวียน ประสาทหลอน ปากแห้ง ปัสสาวะคั่ง ความดันโลหิตต่ำ หงุดหงิด นอนไม่หลับ และบางรายอาจมีอาการชักได้ (paradoxical reaction)
7. ระวังการใช้ยานี้ร่วมกับยาที่มีฤทธิ์กดระบบประสาทส่วนกลาง เช่น ยากลุ่ม Benzodiazepines ยาที่มีฤทธิ์แอนติโคลิเนอร์จิก และยาต้านอาการซึมเศร้าชนิดต่างๆ
8. ระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด ต่อมไทรอยด์ทำงานมากกว่าปกติ ผู้ที่มีประวัติโรคหอบหืด โรคถุงลมโป่งพอง
9. ฤทธิ์แก้อาเจียนของยานี้ อาจบดบังอาการพิษที่เกิดจากการได้รับยาบางชนิดเกินขนาด หรืออาจทำให้การวินิจฉัยโรคบางอย่างผิดพลาดได้ เช่นไส้ติ่งอักเสบ
   (2.2.2) สำหรับยาจำพวกเซทิไรซีน (Cetirizine)
1. ยานี้อาจทำให้ง่วงซึม จึงไม่ควรขับขี่ยานยนต์ หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล หรือทำงานที่เสี่ยงต่อการพลัดตกจากที่สูง
2. ไม่ควรรับประทานร่วมกับสุรา หรือสิ่งที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบ
3. ไม่ควรใช้ในสตรีมีครรภ์ระยะ 3 เดือนแรก สตรีที่ให้นมบุตร และเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี

เหมือนฉลาก และเพิ่ม
4. ระวังการใช้ยานี้ร่วมกับยาที่มีฤทธิ์กดระบบประสาทส่วนกลาง เช่น  ยากลุ่ม Benzodiazepines หรือยาต้านอาการซึมเศร้าชนิดต่างๆ
5. ระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคตับ หรือโรคไต
6. ยานี้อาจทำให้ตาพร่า สับสน และปัสสาวะขัดได้
   (2.2.3) สำหรับยาจำพวกอีบาสทีน (Ebastine)
1. ยานี้อาจทำให้ง่วงซึม จึงไม่ควรขับขี่ยานยนต์ หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล หรือ ทำงานที่เสี่ยงต่อการพลัดตกจากที่สูง
2. ไม่ควรรับประทานร่วมกับสุรา หรือสิ่งที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบ
3. ระวังการใช้ยานี้ในเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี สตรีมีครรภ์ระยะ 3 เดือนแรก และสตรีที่ให้นมบุตร
4. หากใช้ยานี้แล้วหัวใจเต้นผิดปกติ ให้หยุดและปรึกษาแพทย์

เหมือนฉลาก และเพิ่ม
5. ระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคตับ
6. การใช้ยานี้ร่วมกับยาต้านจุลชีพกลุ่ม Macrolides เช่น erythromycin, clarithromycin หรือยาต้านเชื้อรากลุ่ม Imidazole เช่น ketoconazole,  itraconazole,fluconazole, หรือยากลุ่ม HIV Protease Inhibitors รวมทั้งยาอื่นที่ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ CYP450 เช่น cimetidine,  metronidazole, zafirlukast, ยากลุ่ม SSRIs เป็นต้น จะทำให้ระดับยานี้ในเลือดสูงขึ้นเป็น 2-3 เท่า และมีรายงานการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ QT ยาวขึ้นได้
7. ไม่ควรใช้ยานี้ร่วมกับยาที่ทำให้คลื่นไฟฟ้าหัวใจ QT interval ยาวขึ้นเช่น Calcium Channel Blockers (เช่น bepridil,verapamil), Tricyclic Antidepressant, cisapride, quinidine เป็นต้น
   (2.2.4) สำหรับยาจำพวกลอราทาดีน (Loratadine)
1. ยานี้ทำให้ง่วงได้บ้างในผู้ใช้ยาบางราย ผู้ที่ขับขี่ยานยนต์หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกลหรือทำงานที่เสี่ยงต่อการพลัดตกจากที่สูง ควรทดสอบก่อนว่ารับประทานยานี้แล้วไม่ง่วง
2. ไม่ควรรับประทานร่วมกับสุราหรือสิ่งที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบ
3. ระวังการใช้ยานี้ในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี สตรีมีครรภ์ระยะ 3 เดือนแรก และสตรีที่ให้นมบุตร
4. หากใช้ยานี้แล้วหัวใจเต้นผิดปกติ ให้หยุดยาและปรึกษาแพทย์

เหมือนฉลาก และเพิ่ม
5. ระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคตับ
6. การใช้ยานี้ร่วมกับยาต้านจุลชีพกลุ่ม Macrolides เช่น erythromycin,
clarithromycin หรือยาต้านเชื้อรากลุ่ม Imidazole เช่น ketoconazole, itraconazole,fluconazole, หรือยากลุ่ม HIV Protease Inhibitors รวมทั้งยาอื่นที่ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ CYP450 เช่น cimetidine,  metronidazole,zafirlukast,ยากลุ่ม SSRIs เป็นต้น จะทำให้ระดับยานี้ในเลือดสูงขึ้นเป็น 2-3 เท่า และมีรายงานการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ QT ยาวขึ้นได้
7. ไม่ควรใช้ยานี้ร่วมกับยาที่ทำให้คลื่นไฟฟ้าหัวใจ QT interval ยาวขึ้นเช่น Calcium Channel Blockers (เช่น bepridil,verapamil), Tricyclic Antidepressant, cisapride,quinidine เป็นต้น
(2.2.5) สำหรับยาจำพวกเดสลอราทาดีน (Desloratadine)[6]
1. ยานี้อาจทำให้ง่วงได้บ้างในผู้ใช้ยาบางราย ผู้ที่ขับขี่ยานยนต์หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล หรือทำงานที่เสี่ยงต่อการพลัดตกจากที่สูง ควรทดสอบก่อนว่ารับประทานยานี้แล้วไม่ง่วง
2. ไม่ควรใช้ในสตรีมีครรภ์ระยะ 3 เดือนแรก สตรีให้นมบุตรและเด็กอายุต่ำกว่า 6 เดือน

เหมือนฉลาก และเพิ่ม
3. ระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคไต
4. การใช้ยานี้ร่วมกับยาต้านจุลชีพกลุ่ม Macrolides เช่น erythromycin หรือ ยาต้านเชื้อรากลุ่ม Imidazole เช่น ketoconazole จะทำให้ระดับยานี้ในเลือดสูงขึ้น
   (2.2.6) สำหรับยาจำพวกเฟกโซเฟนาดีน (Fexofenadine)[7]
1. ยานี้อาจทำให้ง่วงได้บ้างในผู้ใช้ยาบางราย ผู้ที่ขับขี่ยานยนต์หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกลหรือทำงานที่เสี่ยงต่อการพลัดตกจากที่สูง ควรทดสอบก่อนว่า รับประทานยานี้แล้วไม่ง่วง
2. ไม่ควรใช้ในสตรีมีครรภ์ระยะ 3 เดือนแรก สตรีที่ให้นมบุตร และเด็กอายุต่ำกว่า 6 เดือน
3. หากใช้ยานี้แล้วหัวใจเต้นผิดปกติ ให้หยุดยาและปรึกษาแพทย์
เหมือนฉลาก และเพิ่ม
4. ระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคไต
5. การใช้ยานี้ร่วมกับยาต้านจุลชีพกลุ่ม Macrolides เช่น erythromycin หรือ ยาต้านเชื้อรากลุ่ม Imidazole เช่น ketoconazole จะทำให้ระดับยานี้ในเลือดสูงขึ้น
(3) ยาแอสไพริน (Aspirin)
ยาแอสไพรินที่ข้อบ่งใช้สำหรับแก้ปวด ลดไข้
1. ห้ามใช้แก้ปวด ลดไข้ในเด็กและวัยรุ่นอายุต่ำกว่า 18 ปี หากไม่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์
2. ห้ามใช้แก้ปวด ลดไข้ในผู้ป่วยที่เป็นไข้หวัดใหญ่ ไข้เลือดออก และอีสุกอีใส
3. ห้ามใช้รักษาอาการปวดเมื่อยเนื่องจากการทำงานหนัก
4. สตรีให้นมบุตรห้ามใช้ยานี้
5. สตรีมีครรภ์หลีกเลี่ยงการใช้ยานี้ หากไม่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์
6. หลีกเลี่ยงการใช้ยานี้ติดต่อกันเป็นเวลานาน เพราะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดเลือดออกในกระเพาะอาหาร อาการหอบหืด ความผิดปกติของตับและไต ยกเว้นแพทย์สั่ง
   โดยให้แสดงคำเตือนข้อ 1 ถึง 3 ในกรอบสีแดงและใช้ตัวอักษรขนาดใหญ่ที่อ่านออกและเห็นได้ชัดเจน

ยาแอสไพรินที่ข้อบ่งใช้อื่น
1 สตรีให้นมบุตรห้ามให้ยานี้
2 สตรีมีครรภ์หลีกเลี่ยงการใช้ยานี้ หากไม่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์
3 หลีกเลี่ยงการใช้ยานี้ติดต่อกันเป็นเวลานานเพราะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดเลือดออกในกระเพาะอาหาร อาการหอบหืด ความผิดปกติของตับและไต ยกเว้นแพทย์สั่ง
เหมือนฉลาก

(4) ยากลุ่ม Conventional NSAIDs[8],[9]


(4.1) ยากลุ่ม Conventional NSAIDs ยกเว้น แอสไพริน (Aspirin), พาราเซตามอล (Paracetamol), ไนมิซุไลด์ (Nimesulide), ฟีนิลบิวตาโซน (Phenylbutazone), มีลอกซิแคม (Meloxicam), ไพรอกซิแคม (Piroxicam), ทีนอกซิแคม (Tenoxicam) และไอบูโพรเฟน (Ibuprofen)
1. ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยานี้ หรือผู้ที่มีอาการหอบหืด ลมพิษ หรือโพรงจมูกอักเสบแบบเฉียบพลันจากการแพ้ยากลุ่มแอสไพริน หรือกลุ่ม NSAIDs
2. สตรีมีครรภ์ไตรมาสสุดท้ายหลีกเลี่ยงการใช้ยานี้นอกจากแพทย์สั่ง
3. ห้ามใช้ในผู้ที่มีเลือดออกในกระเพาะอาหาร หรือสำไส้ หรือมีแผลทะลุ
4. ห้ามใช้ในผู้ที่เป็นโรคตับ โรคไต อย่างรุนแรง
5. ห้ามใช้ในผู้ที่เป็นโรคไข้เลือดออก

เหมือนฉลาก และเพิ่ม
6. ยานี้อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดเลือดออกหรือแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้
7. ยานี้อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดการตีบตันของหลอดเลือดสมองและหลอดเลือดหัวใจโดยเฉพาะ เมื่อใช้ยาในขนาดสูงเป็นเวลานาน
8. ยานี้อาจทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ของภาวะบวมน้ำ จึงควรใช้ยาด้วยความระมัดระวังในผู้ที่เป็นโรคหัวใจ ไตทำงานผิดปกติ
9. ระมัดระวังการใช้ยานี้ในผู้ที่มีความดันโลหิตสูง หรือผู้สูงอายุ
10. ยานี้มีผลต่อการเกาะกลุ่มกันของเกล็ดเลือด จึงควรหลีกเลี่ยงในผู้ที่สงสัยว่าจะเป็นไข้เลือดออก หรือเกล็ดเลือดผิดปกติจากสาเหตุอื่น ๆ
(4.2) ยามีลอกซิแคม (Meloxicam), ยาไพรอกซิแคม (Piroxicam), ยาทีนอกซิแคม (Tenoxicam) และยาไอบูโพรเฟน (Ibuprofen)

1. ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยานี้ หรือผู้ที่มีอาการหอบหืด ลมพิษ หรือโพรงจมูกอักเสบแบบเฉียบพลันจากการแพ้ยากลุ่มแอสไพริน หรือกลุ่ม NSAIDs
2. สตรีมีครรภ์ไตรมาสสุดท้ายหลีกเลี่ยงการใช้ยานี้นอกจากแพทย์สั่ง
3. ห้ามใช้ในผู้ที่มีเลือดออกในกระเพาะอาหาร หรือสำไส้ หรือมีแผลทะลุ
4. ห้ามใช้ในผู้ที่เป็นโรคตับ โรคไต อย่างรุนแรง
5. ห้ามใช้ในผู้ที่เป็นโรคไข้เลือดออก
6. หากใช้ยานี้แล้วมีอาการผื่นแดง หรือมีอาการคล้ายเป็นหวัด ให้หยุดยาและรีบปรึกษาแพทย์ทันที
เหมือนฉลาก และเพิ่ม
7. ยานี้อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดเลือดออกหรือแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้
8. ยานี้อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดการตีบตันของหลอดเลือดสมองและหลอดเลือดหัวใจโดยเฉพาะ เมื่อใช้ยาในขนาดสูงเป็นเวลานาน
9. ยานี้อาจทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ของภาวะบวมน้ำ จึงควรใช้ยาด้วยความระมัดระวังในผู้ที่เป็นโรคหัวใจ ไตทำงานผิดปกติ
10. ระมัดระวังการใช้ยานี้ในผู้ที่มีความดันโลหิตสูง หรือผู้สูงอายุ
11. ยานี้มีผลต่อการเกาะกลุ่มกันของเกล็ดเลือด จึงควรหลีกเลี่ยงในผู้ที่สงสัยว่าจะเป็นไข้เลือดออก หรือเกล็ดเลือดผิดปกติจากสาเหตุอื่น ๆ
12. เมื่อใช้ยานี้หากมีอาการดังต่อไปนี้ เช่น ไข้ ผื่นแดง ตุ่มน้ำพอง มีการหลุดลอกของผิวหนังและบริเวณเยื่อบุต่าง ๆ เช่น ในช่องปาก ลำคอ จมูก อวัยวะสืบพันธุ์ และเยื่อบุตาอักเสบให้หยุดยาและปรึกษาแพทย์เพราะอาจเป็น Stevens-Johnson syndrome
(5) ยาฟีนิลบิวตาโซน (Phenylbutazone)

1. ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยานี้ หรือผู้ที่มีอาการหอบหืด ลมพิษ หรือโพรงจมูกอักเสบแบบเฉียบพลันจากการแพ้ยากลุ่มแอสไพริน หรือกลุ่ม NSAIDs
2. สตรีมีครรภ์ไตรมาสสุดท้ายหลีกเลี่ยงการใช้ยานี้นอกจากแพทย์สั่ง
3. ห้ามใช้ในผู้ที่มีเลือดออกในกระเพาะอาหาร หรือสำไส้ หรือมีแผลทะลุ
4. ห้ามใช้ในผู้ที่เป็นโรคตับ โรคไต อย่างรุนแรง
5. ห้ามใช้ในผู้ที่เป็นโรคไข้เลือดออก
6. ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของไขกระดูก
เหมือนฉลาก และเพิ่ม
7. ยานี้อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดเลือดออกหรือแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้
8. ยานี้อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดการตีบตันของหลอดเลือดสมองและหลอดเลือดหัวใจโดยเฉพาะ เมื่อใช้ยาในขนาดสูงเป็นเวลานาน
9. ยานี้อาจทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ของภาวะบวมน้ำ จึงควรใช้ยาด้วยความระมัดระวังในผู้ที่เป็นโรคหัวใจ ไตทำงานผิดปกติ
10. ระมัดระวังการใช้ยานี้ในผู้ที่มีความดันโลหิตสูง หรือผู้สูงอายุ
11. ยานี้มีผลต่อการเกาะกลุ่มกันของเกล็ดเลือด จึงควรหลีกเลี่ยงในผู้ที่สงสัยว่าจะเป็นไข้เลือดออก หรือเกล็ดเลือดผิดปกติจากสาเหตุอื่น ๆ
(6) ยาจำพวกสงบประสาท (Tranquilizers) สำหรับใช้ภายใน[10]
1. ยานี้อาจทำให้เกิดอาการง่วงซึม จึงไม่ควรขับขี่ยานยนต์หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล
2. การใช้ยานี้อาจทำให้ติดเป็นนิสัยได้ ให้ใช้ตามแพทย์สั่ง
เหมือนฉลาก

(6.1) สำหรับยาสงบประสาทจำพวกไฮดรอกไซซีน (Hydroxyzine)
ให้ใช้คำเตือนเช่นเดียวกับหัวข้อ 2.1.1
เหมือนฉลาก

(6.2) สำหรับยาสงบประสาทจำพวกเบนโซไดอะเซพีน (Benzodiazepines)
ต้องเพิ่มคำเตือนว่า
“3. ยานี้อาจทำให้เกิดการผิดปกติของเม็ดเลือด ตับ และไต ได้
4. ห้ามใช้กับหญิงมีครรภ์ 3 เดือนแรก หรือคาดว่าจะมีครรภ์ เพราะอาจทำให้เด็กในครรภ์พิการได้
เหมือนฉลาก
(6.3) สำหรับยาสงบประสาทจำพวกบิวไทโรฟีโนน (Butyrophenones) ไทบาเมต (Tybamate)
ต้องเพิ่มคำเตือนว่า
“3. ยานี้อาจทำให้เกิดการผิดปกติของเม็ดเลือด ความดันโลหิตต่ำ ตัวเหลือง ความร้อนของร่างกายสูง
เหมือนฉลาก
(6.4) สำหรับยาสงบประสาทจำพวกฟีโนไทอาซีน (Phenothiazines) อะซาฟีโนไทอาซีน(Azaphenothiazines) พิโมไซด์ (Pimozide) โพรไทเพนดิล (Prothipendyl)
ต้องเพิ่มคำเตือนว่า
“3. ยานี้อาจทำให้เกิดความดันโลหิตต่ำ การผิดปกติของเม็ดเลือด ตับ ไต หัวใจ และหลอดเลือด
เหมือนฉลาก
(7) ยาจำพวกระงับประสาท (Sedatives & Hypnotics)
1. ยานี้ทำให้เกิดอาการง่วงซึม จึงไม่ควรขับขี่ยานยนต์ หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล
2. การใช้ยานี้อาจทำให้ติดเป็นนิสัยได้ ให้ใช้ตามแพทย์สั่ง
3. ไม่ควรดื่มสุรา เครื่องดื่ม หรือยาที่มีแอลกอฮอล์
เหมือนฉลาก
(7.1) สำหรับยาระงับประสาทจำพวกบาร์บิทูเรต (Barbiturates) 
ต้องเพิ่มคำเตือนว่า
“4. ยานี้อาจทำให้เกิดความดันโลหิตต่ำ เส้นเลือดส่วนปลายฟุบแฟบ ภาวะการหายใจถูกกด หรือการผิดปกติของตับและไต
เหมือนฉลาก
(7.2) สำหรับยาระงับประสาทจำพวกที่ไม่ใช่บาร์บิทูเรต (Non-barbiturates)
ต้องเพิ่ม คำเตือนว่า
“4. ยานี้อาจทำให้เกิดความดันโลหิตต่ำ ความร้อนในร่างกายลดต่ำ หายใจไม่สะดวก สมองถูกกดอย่างแรง หงุดหงิด การผิดปกติของหัวใจ ตับและไต
เหมือนฉลาก
(8) ยาลดความอ้วนโดยทำให้เบื่ออาหาร (Anorexigenics)[11]
ยานี้อาจทำให้เกิดอาการผิดปกติทางประสาทได้ ควรใช้ตามแพทย์สั่ง
เหมือนฉลาก
(8.1) สำหรับยาจำพวกเฟนฟลูรามีน (Fenfluramine)[12]
1. ห้ามใช้ยานี้ในเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี และสตรีมีครรภ์
2. ยานี้อาจทำให้เกิดอาการผิดปกติทางประสาทได้ ควรใช้ตามแพทย์สั่ง
เหมือนฉลาก
(9) ยาจำพวกรักษาโรคลมบ้าหมู (Antiepileptics)[13],,ม,,,}[14]


(9.1) ยาจำพวกรักษาโรคลมบ้าหมู (Antiepileptics) ยกเว้น โทพิราเมท (Topiramate) คาร์บามาซีพีน (Carbamazepine) ลาโมทริจีน (Lamotrigine), และฟีนีโทอิน (Phenytoin) [15]
1. ยานี้อาจทำให้ง่วงซึม จึงไม่ควรขับขี่ยานยนต์หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล และไม่ควรดื่มสุราหรือสิ่งที่มีแอลกอฮอล์ผสมอยู่ขณะใช้ยานี้
2. ยานี้อาจทำให้เกิดอาการผิดปกติของเม็ดเลือด
3. ห้ามใช้ยานี้ในสตรีมีครรภ์เพราะอาจทำให้ทารกพิการได้
4. ควรระมัดระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคตับ โรคไต
เหมือนฉลาก
(9.2) ยาโทพิราเมท (Topiramate)

1. ยานี้อาจทำให้ง่วงซึม จึงไม่ควรขับขี่ยานยนต์หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร และไม่ควรดื่มสุราหรือสิ่งที่มีแอลกอฮอล์ผสมอยู่ขณะใช้ยานี้
2. ยานี้อาจทำให้เกิดความผิดปกติของเม็ดเลือด
3. ห้ามใช้ยานี้ในสตรีมีครรภ์ เพราะอาจทำให้ทารกพิการได้
4. ควรระมัดระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคตับ โรคไต
5. ยานี้อาจทำให้เกิดภาวะสายตาสั้นเฉียบพลัน (Acute myopia) และโรคต้อหินชนิด Secondary angle closure glaucoma
6. หากใช้ยานี้แล้วมีอาการผิดปกติทางสายตา ได้แก่ มองเห็นไม่ชัด หรือปวดตา ให้หยุดใช้ยาทันทีและปรึกษาแพทย์
7. ควรดื่มน้ำให้มากเพียงพอทุกวัน เพื่อป้องกันการเกิดนิ่วในไต
เหมือนฉลาก
(9.3) ยาคาร์บามาซีพีน (Carbamazepine), ยาลาโมทริจีน (Lamotrigine), และฟีนีโทอิน (Phenytoin)[16]
1. ยานี้อาจทำให้ง่วงซึม จึงไม่ควรขับขี่ยานยนต์หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร และไม่ควรดื่มสุราหรือสิ่งที่มีแอลกอฮอล์ผสมอยู่ขณะใช้ยานี้
2. ยานี้อาจทำให้เกิดความผิดปกติของเม็ดเลือด
3. ห้ามใช้ยานี้ในสตรีมีครรภ์ เพราะอาจทำให้ทารกพิการได้
4. ควรระมัดระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคตับ โรคไต
5. หากใช้ยานี้แล้วมีอาการผื่นแดง หรือมีอาการคล้ายเป็นหวัด ให้หยุดยาและรีบปรึกษาแพทย์ทันที
6. ห้ามใช้ในผู้ที่เคยแพ้ยานี้
เหมือนฉลากและเพิ่ม
7. เมื่อใช้ยานี้หากมีอาการดังต่อไปนี้ เช่น ไข้ ผื่นแดง ตุ่มน้ำพอง มีการหลุดลอกของผิวหนังและบริเวณเยื่อบุต่างๆ เช่น ในช่องปาก ลำคอ จมูก อวัยวะสืบพันธุ์ และเยื่อบุตาอักเสบ ให้หยุดยาและปรึกษาแพทย์เพราะอาจเป็น Stevens-Johnson syndrome
(10) ยาจำพวกอิมิพรามีน (Imipramine)
ห้ามใช้กับหญิงมีครรภ์ 3 เดือนแรก หรือคาดว่าจะมีครรภ์ เพราะอาจทำให้เด็กในครรภ์พิการได้
เหมือนฉลาก
(11) ยาไมแอนเซอริน (Mianserin)
ยานี้อาจกดไขกระดูกทำให้เกิดความผิดปกติของเม็ดเลือดได้
เหมือนฉลาก
(12) ยาคุมกำเนิด[17]
1. หากมีอาการผิดปกติ ให้รีบปรึกษาแพทย์
2. ห้ามใช้กับผู้ป่วยด้วยโรคหลอดเลือดอุดตัน โรคตับ
เหมือนฉลาก
(12.1) สำหรับยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉิน
1. ก่อนใช้ยานี้ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร
2. ไม่ใช้ยานี้สำหรับป้องกันการตั้งครรภ์เป็นประจำ หากใช้ซ้ำหลายครั้งอาจเกิดอันตรายร้ายแรงได้
3. ยานี้ใช้ทำแท้งไม่ได้ผล และไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้
4. หากมีอาการผิดปกติ โดยเฉพาะเมื่อประจำเดือนขาดให้รีบปรึกษาแพทย์
เหมือนฉลาก
(12.2) สำหรับยาคุมกำเนิดชนิดผสมซึ่งประกอบด้วยเอสโตรเจนกับโปรเจสโตเจน
1. ห้ามใช้กับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดอุดตัน และโรคตับ
2. ไม่ควรใช้ในสตรีที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดหลอดเลือดอุดตัน เช่น มีประวัติเป็นโรคหลอดเลือดอักเสบ โรคอ้วน เบาหวาน ความดันโลหิตสูง
3. ระมัดระวังการใช้ในสตรีที่สูบบุหรี่โดยเฉพาะสตรีที่อายุมากกว่า 35 ปี ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยา
4. หากใช้ยานี้แล้วมีอาการผิดปกติให้รีบปรึกษาแพทย์
เหมือนฉลาก
(13) ยาไดเอทิลสติลเบสตรอล (Diethyl Stilbestrol) ไดเอเนสทรอล (Dienestrol) เฮกเซสตรอล (Hexestrol) เบนเซสตรอล (Benzestrol)
1. ห้ามใช้ในหญิงมีครรภ์
2. ยานี้อาจทำให้เกิดผิดปกติของเยื่อเมือกด้านในของช่องคลอด (Vaginal Adenosis) ของบุตรได้
เหมือนฉลาก
(14) ยาจำพวกคอร์ติโคสเตอรอยด์ (Corticosteroids) สำหรับใช้ภายใน
ห้ามใช้กับผู้ป่วยด้วยโรคแผลในกระเพาะอาหาร หรือลำไส้ โรคเบาหวาน วัณโรค โรคติดเชื้อไวรัส
เหมือนฉลาก
(15) ยาคอร์ติโคสเตอรอยด์ (Corticosteroids) สำหรับใช้เฉพาะที่กับตา[18]
1. การใช้ยานี้เป็นเวลานานอาจทำให้เกิด โรคต้อหิน โรคต้อกระจกและติดเชื้อที่กระจกตาดำซึ่งอาจทำให้ตาบอดได้
2. หากใช้ยานี้เป็นเวลา 7 วัน แล้วอาการไม่ดีขึ้นให้ปรึกษาแพทย์
เหมือนฉลาก
(16) ยารักษาโรคเบาหวาน[19]


   (16.1) ยารักษาโรคเบาหวาน ยกเว้นยากลุ่มไธอะโซลิดีนไดโอน (Thiazolidinedione)
ต้องใช้ยานี้ตามแพทย์สั่งเท่านั้น หากมีอาการวิงเวียนจะเป็นลมให้รีบปรึกษาแพทย์
เหมือนฉลาก
   (16.2) ยากลุ่มไธอะโซลิดีนไดโอน (Thiazolidinedione) ยกเว้น ยาโรซิกลิทาโซน (Rosiglitazone)
1. ห้ามใช้ยานี้ในผู้ที่มีหัวใจล้มเหลวในระดับที่รุนแรง (NYHA ในระดับ 3 และ 4)
2. ยานี้อาจทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว หากใช้ยานี้แล้วมีอาการหายใจลำบาก เหนื่อยง่าย น้ำหนักเพิ่มอย่างรวดเร็ว หรือเกิดอาการบวมมากให้รีบปรึกษาแพทย์โดยทันที
3. การใช้ร่วมกับอินซูลินจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะบวมน้ำ และหัวใจล้มเหลวมากขึ้น ต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง
เหมือนฉลาก
   (16.3) ยากลุ่มโรซิกลิทาโซน (Rosiglitazone)[20]
1. ห้ามใช้ยานี้ในผู้ที่มีหัวใจล้มเหลวในระดับที่รุนแรง (NYHA ในระดับ 3 และ 4)
2. ยานี้อาจทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว หากใช้ยานี้แล้วมีอาการหายใจลำบาก เหนื่อยง่าย น้ำหนักเพิ่มอย่างรวดเร็ว หรือเกิดอาการบวมมากให้รีบปรึกษาแพทย์โดยทันที
3. การใช้ร่วมกับอินซูลินจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะบวมน้ำ และหัวใจล้มเหลวมากขึ้น ต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง
4. ไม่แนะนำให้ใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือด
5. มีรายงานว่าเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดในผู้ป่วยที่ได้ยานี้ร่วมกับยาในกลุ่มไนเตรท
เหมือนฉลาก
(17) ยารักษาโรคมะเร็ง (Antineoplastics)
ยานี้อาจทำให้เกิดอันตรายร้ายแรงได้ ต้องใช้ภายใต้การควบคุมของแพทย์เท่านั้น
เหมือนฉลาก
(18) ยาจำพวกสารหนู
หากใช้บ่อย ๆ หรือใช้เป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดอันตรายร้ายแรงได้ ต้องใช้ตามแพทย์สั่ง
เหมือนฉลาก
(19) ยาจำพวกอะโทรพีน (Atropine) ไฮออสซีน (Hyoscine) ไฮออสไซอามีน (Hyoscyamine) สตราโมเนียม (Stramonium)
1. ผู้สูงอายุหรือเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี ควรใช้ตามแพทย์สั่ง
2. ห้ามใช้ในโรคต้อหิน (Glaucoma)
3. หากเกิดอาการชีพจรเต้นเร็ว มึนงง หรือสายตาพร่า ให้หยุดใช้ยา
เหมือนฉลาก
(20) ยาฉีดที่มีเบนซิลแอลกอฮอล์ (Benzyl alcohol) เป็นวัตถุกันเสียผสมอยู่ด้วย
ห้ามใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี
เหมือนฉลาก
(21) กรดบอริก (Boric acid) เกลือของกรดบอริกในรูปของยาผง ยาขี้ผึ้ง ครีม หรือยาทา
ห้ามใช้ยานี้มากเกินไป หรือนานเกินไป เพราะอาจเป็นอันตรายได้
เหมือนฉลาก
(22) ยาทิงเจอร์ฝิ่นการะบูนเกินกว่า 2 มิลลิลิตรต่อขนาดรับประทานหนึ่งมื้อ
ห้ามใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี และคนชรา
เหมือนฉลาก
(23) ซินโคเฟน (cinchophen) และนีโอซินโคเฟน (Neocinchophen)
1. อาจทำให้เกิดอันตรายร้ายแรงต่อตับได้
2. ห้ามใช้กับผู้ป่วยด้วยโรคระบบการหมุนเวียนของโลหิต โรคตับ โรคไต
เหมือนฉลาก
(24) ยาจำพวกไดแอมทาโซล (Diamthazole) สำหรับใช้ภายนอก
1. ห้ามใช้กับเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี
2. ห้ามใช้กับเนื้อเยื่อ (เยื่อเมือก)
เหมือนฉลาก
(25) ยาจำพวกเอเฟดรีน (Ephedrine)
ห้ามใช้กับผู้ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคเบาหวาน หรือโรคของต่อมไทรอยด์ นอกจากแพทย์สั่ง
เหมือนฉลาก
(26) ยาเฮกซิลเรซอร์ซินอล (Hexylresorcinol) เททราคลอเอทิลีน (tetrachlorethylene)
ห้ามเคี้ยวยา หรือทำให้เม็ดยาแตกในปาก
เหมือนฉลาก
(27) ยาจำพวกไอโดอีน (iodine) ไอโอไดด์ (Iodide) สำหรับใช้ภายใน
หากเกิดอาการผื่นแดง ปวดท้อง อาเจียน หายใจไม่สะดวก ให้หยุดใช้ยา และปรึกษาแพทย์
เหมือนฉลาก
(28) ยาถ่าย ยาระบาย
ห้ามใช้เมื่อมีอาการปวดท้องหรือคลื่นไส้อาเจียน
เหมือนฉลาก
(29) ยาโลเพอราไมด์ (Loperamide)[21]
1. ห้ามใช้ในเด็ก และคนชรา
2. หลังจากใช้รักษาโรคท้องร่วงชนิดเฉียบพลันเกิน 48 ชั่วโมงไปแล้ว และอาการไม่ดีขึ้น ให้หยุดยา และปรึกษาแพทย์
เหมือนฉลาก
(30) ยาจำพวกกระตุ้นการเจริญเติบโตของเส้นผม (Hair Growth Stimulant) ซึ่งประกอบด้วยตัวยาสำคัญไมน็อกซิดิล (Minoxidil) สำหรับใช้ภายนอก
1. ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้
2. ยานี้อาจมีผลต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด
3. ผมที่ขึ้นแล้วจะร่วงหลังจากหยุดยา 2-3 เดือน
เหมือนฉลาก
(31) ยาจำพวกสารหนู (Arsenic) ที่ใช้สำหรับสัตว์[22]


(31.1) ยาจำพวกสารหนู (Arsenic) ที่ใช้สำหรับไก่
1. ห้ามใช้กับไก่ระยะออกไข่
2. ให้หยุดยาที่ใช้กับไก่ ไก่งวง ก่อนฆ่า 5 วัน
เหมือนฉลาก
(31.2) ยาจำพวกสารหนู (Arsenic) ที่ใช้สำหรับสุกร
ให้หยุดยาก่อนฆ่า 5 วัน
เหมือนฉลาก
(32) ยาฟิวราลทาโดน (Furaltadone) ที่ใช้สำหรับสัตว์
ห้ามใช้ยานี้กับเป็ด
เหมือนฉลาก
(33) ยาสำหรับควบคุมโรคบิดในสัตว์ (Anticoccidia) ดังต่อไปนี้[23]

เหมือนฉลาก
(33.1) ยาแอมโพรเลียม (Amprolium)


   (33.1.1) ยาแอมโพรเลียม (Amprolium) ที่ใช้สำหรับไก่
ห้ามใช้เป็นยาควบคุมโรคบิดสำหรับไก่ และไก่งวงอายุเกิน 16 สัปดาห์
เหมือนฉลาก
   (33.1.2) ยาแอมโพรเลียม (Amprolium) ที่ใช้สำหรับลูกวัว
ให้หยุดยาก่อนฆ่า 24 ชั่วโมง
เหมือนฉลาก
(33.2) ยาโคลปิโดล (Clopidol)


   (33.2.1) ยาโคลปิโดล (Clopidol) ที่ใช้สำหรับไก่
1. ห้ามใช้เป็นยาควบคุมโรคบิดสำหรับไก่ อายุเกิน 16 สัปดาห์
2. ให้หยุดยาที่ใช้กับไก่ ไก่งวง ก่อนฆ่า 5 วัน
เหมือนฉลาก
   (33.2.2) ยาโคลปิโดล (Clopidol) ที่ใช้สำหรับสุกร
ให้หยุดยาก่อนฆ่า 5 วัน
เหมือนฉลาก
   (33.2.3) ยาโคลปิโดล (Clopidol) ที่ใช้สำหรับโค
ให้หยุดยาก่อนฆ่า 5 วัน
เหมือนฉลาก
(33.3) ยาดีโคควิเนท (Decoquinate)


   (33.3.1) ยาดีโคควิเนท (Decoquinate) ที่ใช้สำหรับไก่
1. ห้ามใช้เป็นยาควบคุมโรคบิดสำหรับไก่ระยะออกไข่
2. ให้หยุดยาก่อนฆ่า 5 วัน
เหมือนฉลาก
   (33.3.2) ยาดีโคควิเนท (Decoquinate) ที่ใช้สำหรับโค
1.ให้ใช้ในโคขุนเท่านั้น
2. ให้หยุดยาก่อนฆ่า 5 วัน
เหมือนฉลาก
(33.4) ยาฟิวราโซลิโดน (Furazolidone) ที่ใช้สำหรับสัตว์ปีก

1. ห้ามใช้เป็นยาควบคุมโรคบิดสำหรับเป็ด นกกระทา ในระยะออกไข่ และไก่ ไก่งวง อายุเกิน 14 สัปดาห์

2. ให้หยุดยาก่อนฆ่า 5 วัน
เหมือนฉลาก
(33.5) ยาลาซาโลซิด (Lasalocid) ที่ให้สำหรับไก่
ให้หยุดยาก่อนฆ่า 3 วัน
เหมือนฉลาก
(33.6) ยาโมเนนซิน (Monensin) ที่ใช้สำหรับไก่
1. ห้ามใช้เป็นยาควบคุมโรคบิดสำหรับไก่ระยะออกไข่
2. ห้ามใช้กับม้าเพราะอาจเป็นอันตรายถึงตายได้
เหมือนฉลาก
(33.7) ยานิคาบาซิน (Nicarbazin) ที่ใช้สำหรับไก่
1. ห้ามใช้เป็นยาควบคุมโรคบิดสำหรับไก่ระยะออกไข่
2. ให้หยุดยาก่อนฆ่า 4 วัน
เหมือนฉลาก
(33.8) ยาโรบีนิดิน (Robenidine) ที่ใช้สำหรับไก่
1. ห้ามใช้เป็นยาควบคุมโรคบิดสำหรับไก่ระยะออกไข่
2. ให้หยุดยาก่อนฆ่า 6 วัน
เหมือนฉลาก
(33.9) ยาซาลิโนไมซิน (Salinomycin) ที่ใช้สำหรับไก่
1. ห้ามใช้เป็นยาควบคุมโรคบิดสำหรับไก่ระยะออกไข่
2.ห้ามใช้กับไก่งวงและม้า เพราะอาจเป็นอันตรายถึงตายได้
เหมือนฉลาก
(33.10) ยาซัลฟาควินอกซาลีน (Sulfaquinoxaline) ที่ใช้สำหรับไก่
1. ห้ามใช้เป็นยาควบคุมโรคบิดสำหรับไก่และไก่งวง ระยะออกไข่
2. ให้หยุดยาที่ใช้กับไก่ ไก่งวง ก่อนฆ่า 10 วัน
เหมือนฉลาก
(33.11) ยาโซอะลีน (Zoalene) ที่ใช้สำหรับไก่
1. ห้ามใช้เป็นยาควบคุมโรคบิดสำหรับไก่ระยะออกไข่
2. ให้หยุดยาที่ใช้กับไก่ ก่อนฆ่า 5 วัน
เหมือนฉลาก
(34) ยาเททราคลอเอทิลีน (Tetrachlorethylene) ที่ใช้สำหรับสัตว์
การใช้ยานี้ต้องระวังอย่าให้เม็ดยาแตกในปาก
เหมือนฉลาก
(35) ยาจำพวกทีโอไฟลิน (Theophylline)[24]
ห้ามใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 6 เดือน
เหมือนฉลาก
(36) ยาที่มีส่วนผสมของ อะนาโบลิก สเตอรอยด์ (anabolic steroid) กับไวตามิน (Vitamins)หรือ anabolic steroid กับไซโปรเฮปทาดีน (Cyproheptadine) หรือ anabolic steroid กับ vitamins และ cyproheptadine[25]
ไม่ควรใช้ต่อเนื่องในผู้ป่วยที่เป็นโรคของต่อมลูกหมาก
เหมือนฉลาก
(37) ยาจำพวกที่ประกอบด้วย Fat-soluble vitamins ดังต่อไปนี้[26]

เหมือนฉลาก
(37.1) ยาที่มีส่วนประกอบของ Fat-soluble vitamins ที่มีสรรพคุณรักษาการขาด   ไวตามิน ยกเว้นที่ใช้ภายนอก
(1) ยานี้อาจสะสมในร่างกายจนทำให้เกิดอันตรายได้ จึงไม่ควรใช้เกินขนาดที่กำหนดไว้ หรือใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน
(2) ให้ใช้ยานี้ตามแพทย์สั่งเท่านั้น
เหมือนฉลาก
(37.2) ยาที่มีส่วนประกอบของ Fat-soluble vitamins นอกเหนือจากข้อ (37.1) ยกเว้นยาที่ใช้ภายนอก
ยานี้อาจสะสมในร่างกายจนทำให้เกิดอันตรายได้ จึงไม่ควรใช้เกินขนาดที่กำหนดไว้ หรือใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน นอกจากแพทย์สั่ง
เหมือนฉลาก
(38) ยากลาฟีนิน (Glafenine) และฟลอคตาฟีนิน (Floctafenine)[27]
1. ยานี้อาจทำให้เกิดอันตรายได้ ให้ใช้ตามแพทย์สั่ง
2. ห้ามใช้ในผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลวอย่างรุนแรง (Severe cardiac failure) และผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดที่ได้รับยา beta-blocker (Ischemic cardiopathy associated with beta - blocker)
เหมือนฉลาก
(39) ยาพาราเซตามอล (Paracetamol)[28]
1. ถ้าใช้ยานี้เกินขนาดที่ระบุไว้บนฉลากหรือเอกสารกำกับยา จะทำให้เป็นพิษต่อตับได้และไม่ควรใช้ยานี้ติดต่อกันเกิน 5 วัน
2. ผู้ที่เป็นโรคตับ โรคไต ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยานี้
เหมือนฉลาก
(40) ยาจำพวกยับยั้งแอนจิโอเทนซิน-คอนเวอร์ติง เอ็นไซม์ (Angiotensin-Converting Enzyme (ACE) Inhibitors)[29]
1. ห้ามใช้ยานี้ในหญิงมีครรภ์
2. ยานี้อาจทำให้เกิดอาการไอได้
3. ถ้าหากมีอาการซึมลง หรือคลื่นไส้ อาเจียน ให้ปรึกษาแพทย์
เหมือนฉลาก และเพิ่ม
4. หากใช้ยานี้แล้วเกิดอาการบวมของใบหน้า ลิ้น กล่องเสียง หรือหายใจลำบาก ให้หยุดยาและรีบปรึกษาแพทย์ทันที
5. ยานี้อาจทำให้เกิดภาวะไตวายได้ ควรใช้ด้วยความระมัดระวัง
6. ยานี้อาจทำให้ระดับโปแตสเซียมในเลือดสูงขึ้น ไม่ควรใช้ในผู้ป่วยที่ได้รับโปแตสเซี่ยมหรือยาขับปัสสาวะชนิดรักษาระดับโปแตสเซียม (Potassium sparing diuretics)
(41) ยาน้ำชนิดรับประทานที่มีเอธิลแอลกอฮอล์ (Ethyl alcohol) ผสมอยู่ด้วย[30]
ยานี้มีแอลกอฮอล์ผสมอยู่……….% ควรใช้ด้วยความระมัดระวัง
เหมือนฉลาก
(42) ยากลุ่มเรตินอยด์ (Retinoid) ที่ใช้ภายนอก[31]
1. ให้ใช้ยานี้ภายใต้การดูแลของแพทย์และเภสัชกรอย่างใกล้ชิด
2. ห้ามใช้ยานี้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน
3. ห้ามใช้ยานี้ในหญิงมีครรภ์เพราะอาจทำให้ทารกพิการได้
เหมือนฉลาก
(43) ยาซีซาไพรด์ (Cisapride)[32]
1. ห้ามใช้ยานี้ในผู้ที่มีประวัติครอบครัวมีภาวะหัวใจเต้นช้าผิดปกติหรือหัวใจเต้นผิดปกติชนิด prolong QT interval        
2. ห้ามใช้ยานี้ร่วมกับยาต้านจุลชีพกลุ่ม macrolide เช่น erythromycin หรือยาต้านเชื้อรากลุ่ม imidazole เช่น ketoconazole หรือยากลุ่ม HIV protease inhibitor ทั้งนี้ เพราะจะทำให้ระดับยานี้ในเลือดสูงขึ้น เสี่ยงต่อการทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะอย่างรุนแรงและหยุดเต้นได้
3. ไม่ควรใช้ยานี้ร่วมกับยาที่ยับยั้งการทำงานของ CYP450 เช่น cimetidine, omeprazole เพราะจะทำให้ระดับยาในเลือดสูงขึ้น เสี่ยงต่อการทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะอย่างรุนแรงและหยุดเต้นได้
 4. ระมัดระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่เป็นโรคตับหรือโรคหัวใจ
 5. หากใช้ยานี้แล้วหัวใจเต้นผิดปกติให้หยุดยาและปรึกษาแพทย์
เหมือนฉลาก
(44) ยากลุ่มเรตินอยด์ (Retinoid) ที่ใช้ภายใน[33]
1. ห้ามใช้ยานี้ในหญิงมีครรภ์ เพราะมีรายงานว่าทำให้ทารกพิการได้
2. ยานี้อาจเป็นสาเหตุให้เกิดอาการซึมเศร้า จิตผิดปกติ และการพยายามฆ่าตัวตาย
3. ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคตับ โรคไต ผู้ที่มีภาวะวิตามินเอสูงเกิน (hypervitaminosis) หรือผู้ที่มีระดับไขมันในเลือดสูง
4. ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่แพ้หรือไวต่อยานี้
5. ควรใช้ยานี้ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคผิวหนังอย่างใกล้ชิด
เหมือนฉลาก
(45) ยาฟลูตาไมด์ (Flutamide)[34]
ยานี้อาจทำให้สมรรถภาพของตับผิดปกติ
เหมือนฉลาก
(46) ยาซิลเดนาฟิล (Sildenafil)[35]

เหมือนฉลาก
(46.1) ยาซิลเดนาฟิล (Sildenafil) สำหรับใช้รักษาอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ
1. ยานี้ไม่ใช่ยากระตุ้นอารมณ์ทางเพศ
2. ห้ามใช้ยานี้ในผู้ที่เป็นโรคหัวใจ ที่ใช้ยาขยายหลอดเลือดกลุ่มไนเตรต เพราะอาจถึงตายได้
3. ห้ามใช้ยานี้ในเด็กและสตรี ผู้ที่เป็นโรคตับ หรือโรคไต
4. ห้ามใช้ยาเกินวันละ 1 ครั้ง
5. ห้ามใช้ยานี้ร่วมกับยารักษาโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศอื่น ๆ
6. หากมีอาการผิดปกติ เช่น ความผิดปกติทางสายตา ปวดกระดูก เจ็บหน้าอก ใจสั่น หัวใจเต้นผิดปกติ เหงื่อออกมาก เหนื่อยเป็นลม ให้รีบพบแพทย์ทันที
เหมือนฉลาก
(46.2) ยาซิลเดนาฟิล (Sildenafil) สำหรับใช้รักษาความดันโลหิตสูงในหลอดเลือดแดงปอด
ให้ใช้เฉพาะผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นความดันโลหิตสูงในหลอดเลือดแดงปอดเท่านั้น โดยให้ข้อความคำเตือนอยู่ในกรอบสีแดงและใช้ตัวอักษรขนาดใหญ่ที่อ่านออกและเห็นได้ชัดเจน
เหมือนฉลาก
(47) ยาเอแทมบูทอล (Ethambutol)[36]
ให้ใช้คำเตือนเช่นเดียวกับหัวข้อ 51.5
เหมือนฉลาก
(48) ยาต้านเชื้อไวรัส HIV กลุ่ม non-nucleoside reverse transcriptase inhibitor[37],[38]


(48.1) ยาต้านเชื้อไวรัส HIV กลุ่ม non-nucleoside reverse transcriptase inhibitor ยกเว้น นีวิราพีน (Nevirapine)
ยานี้อาจเป็นพิษร้ายแรงต่อตับ
เหมือนฉลาก
(48.2) ยานีวิราพีน (Nevirapine)
1. ยานี้อาจเป็นพิษร้ายแรงต่อตับ
2. หากใช้ยานี้แล้วมีอาการผื่นแดง หรือมีอาการคล้ายเป็นหวัด ให้หยุดยาและรีบปรึกษาแพทย์ทันที
3. ห้ามใช้ในผู้ที่เคยแพ้ยานี้
เหมือนฉลาก และเพิ่ม
4. เมื่อใช้ยานี้หากมีอาการดังต่อไปนี้ เช่น ไข้ ผื่นแดง ตุ่มน้ำพอง มีการหลุดลอกของผิวหนังและบริเวณเยื่อบุต่าง ๆ เช่น ในช่องปาก ลำคอ จมูก อวัยวะสืบพันธุ์ และเยื่อบุตาอักเสบ ให้หยุดยาและปรึกษาแพทย์เพราะอาจเป็น Stevens-Johnson syndrome
(49) ม็อกซิเด็กทิน (Moxidectin)[39]
1. ให้ใช้ยานี้ภายใต้คำแนะนำและการกำกับดูแลของสัตวแพทย์ชั้นหนึ่งเท่านั้น
2. ให้ระมัดระวังการใช้ยานี้ในสุนัขตั้งท้อง และสุนัขบางสายพันธุ์ เช่น collie เนื่องจากยังไม่มีข้อมูลด้านความปลอดภัยในสุนัขดังกล่าว
3. สุนัขบางรายอาจเกิดการแพ้ยาอย่างรุนแรง หรือเป็นอันตรายต่อชีวิตได้เจ้าของควรสังเกตอาการของสุนัขหลังจากได้รับยาในช่วง 24 ชั่วโมง หากมีความผิดปกติให้ปรึกษาสัตวแพทย์โดยด่วน
เหมือนฉลาก
(50) ยาลดระดับไขมันในเลือดที่ออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ เอช เอ็ม จี โคเอนไซม์เอ รีดักเทส (HMG-CoA reductase inhibitor)[40], [41]
1. ห้ามใช้ในสตรีมีครรภ์ และสตรีระยะให้นมบุตร
2. ห้ามใช้ในผู้ป่วยโรคตับ
3. หากใช้ยานี้แล้วมีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อน่อง หลังหรือตามตัว ให้หยุดยาและปรึกษาแพทย์
เหมือนฉลาก และเพิ่ม
4. ควรตรวจการทำงานของตับก่อนได้รับยาและหลังได้รับยา 6 และ 12 สัปดาห์ ผู้ที่ได้รับยานี้เป็นประจำควรตรวจทุก 6 เดือน หรือตามคำแนะนำของแพทย์ หากระดับ transaminase สูงกว่า upper normal limit 3 เท่า ให้หยุดยาและปรึกษาแพทย์
5. ระมัดระวังเมื่อใช้ร่วมกับยา digoxin, warfarin เนื่องจากระดับยาเหล่านี้ในเลือดอาจสูงจนเกิดอันตรายได้
6. ความเสี่ยงของการเกิดภาวะกล้ามเนื้อผิดปกติ (myopathy) หรือภาวะกล้ามเนื้อลายสลาย (rhabdomyolysis) จะเพิ่มมากขึ้นเมื่อให้ยากลุ่มนี้กับยาอื่นต่อไปนี้ เช่น ยากลุ่ม azole antifungals เช่น ketoconazole, itraconazole เป็นต้น ยา กลุ่ม macrolides เช่น erythromycin, clarithromycin เป็นต้น ยากลุ่ม HIV protease inhibitors เช่น indinavir ritonavir, nelfinavir, saquinavir เป็นต้น ยา verapamil, ยา diltiazem, ยา gemfibrozil, ยา nicotinic acid, ยา cyclosporine, ยา amiodarone เป็นต้น
7. ความเสี่ยงของการเกิดภาวะกล้ามเนื้อลายสลาย (rhabdomyolysis) จะเพิ่มขึ้นในภาวะเหล่านี้ เช่น การใช้ยาขนาดสูง ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีการทำงานของตับหรือไตบกพร่อง ผู้ที่ติดสุราเรื้อรัง ภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมน (hypothyroidism) เป็นต้น
8. ระมัดระวังการใช้ยานี้ร่วมกับ colchicine โดยเฉพาะผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีการทำงานของไตบกพร่อง เนื่องจากมีความเสี่ยงเกิดภาวะกล้ามเนื้อผิดปกติ (myopathy) หรือภาวะกล้ามเนื้อลายสลาย (rhabdomyolysis)
9. การใช้ยานี้อาจเพิ่มความเสี่ยงทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นได้

สำหรับยา fluvastatin ให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทนในข้อ 6.
6. ความเสี่ยงของการเกิดภาวะกล้ามเนื้อผิดปกติ (myopathy) หรือภาวะกล้ามเนื้อลายสลาย (rhabdomyolysis) จะเพิ่มมากขึ้นเมื่อให้ยากลุ่มนี้กับยาอื่นต่อไปนี้ เช่น ยากลุ่ม azole antifungals เช่น ketoconazole, itraconazole เป็นต้น ยากลุ่ม macrolides เช่น erythromycin, clarithromycin เป็นต้น ยากลุ่ม HIV protease inhibitors เช่น indinavir, ritonavir, nelfinavir, saquinavir เป็นต้น ยา verapamil, ยา diltiazem, ยา gemfibrozil, ยา nicotinic acid, ยา cyclosporine, ยา amiodarone, ยากลุ่ม acid-reducing agents ได้แก่ cimetidine, ranitidine และ omeprazole เป็นต้น
(51) ยาที่ใช้รักษาวัณโรค (Antituberculosis Drugs)[42]


(51.1) ยาไอโซไนอาซิด (Isoniazid)
1. ยานี้ทำให้เกิดอันตรายต่อตับได้ ทำให้มีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน
2. ยานี้อาจทำให้เกิดความผิดปกติของเม็ดเลือดหรือทำให้ปากแห้ง ปัสสาวะคั่ง เนื่องจากการขาดวิตามินบี 6
3. หากเกิดอาการดังกล่าวข้างต้นให้หยุดยาและพบแพทย์ทันที
4. งดดื่มสุรา เพราะผู้ที่ดื่มสุรามีโอกาสเกิดภาวะตับอักเสบจากการใช้ยานี้ได้บ่อยขึ้น
เหมือนฉลาก
(51.2) ยาไรแฟมพิซิน (Rifampicin)[43]
1. ยานี้ทำให้เกิดอันตรายต่อตับได้ ทำให้มีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน
2. ยานี้อาจทำให้เกิดความผิดปกติของการทำงานของไต และอาจทำให้เกิดความผิดปกติของระบบเลือดและระบบอื่นๆ จะทำให้มีจุดเลือดออกตามผิวหนังหรืออาการหายใจหอบได้
3. หากเกิดอาการดังกล่าวข้างต้นให้หยุดยาและพบแพทย์ทันที
4. หากใช้ยานี้แล้วมีอาการผื่นแดง หรือมีอาการคล้ายเป็นหวัด ให้หยุดยาและรีบปรึกษาแพทย์ทันที
5. ห้ามใช้ในผู้ที่เคยแพ้ยานี้
เหมือนฉลาก และเพิ่ม
6. เมื่อใช้ยานี้หากมีอาการดังต่อไปนี้ เช่น ไข้ ผื่นแดง ตุ่มน้ำพอง มีการหลุดลอกของผิวหนังและบริเวณเยื่อบุต่าง ๆ เช่น ในช่องปาก ลำคอ จมูก อวัยวะสืบพันธุ์ และเยื่อบุตาอักเสบให้หยุดยาและปรึกษาแพทย์เพราะอาจเป็น Stevens-Johnson syndrome
(51.3) ยาไพราซินาไมด์ (Pyrazinamide)
1. ยานี้ทำให้เกิดอันตรายต่อตับได้ ทำให้มีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียนและอาจทำให้ปัสสาวะขัด หรือ ปวดข้อ
2. หากเกิดอาการดังกล่าวข้างต้นให้หยุดยาและพบแพทย์ทันที
3. ระมัดระวังการใช้ในผู้ป่วยโรคตับ โรคเกาต์ โรคเบาหวาน และไตวาย
เหมือนฉลาก
(51.4) ยาสเตร็ปโตไมชิน (Streptomycin)
1. ยานี้อาจทำให้เกิดความผิดปกติต่อประสาทหู ทำให้หูหนวก หูตึง เสียงดังในหู วิงเวียน เดินเซ หากเกิดอาการดังกล่าวข้างต้นให้หยุดยานี้และพบแพทย์ทันที
2. ยานี้มีพิษต่อไต จึงควรใช้อย่างระมัดระวังในผู้ที่ไตทำงานผิดปกติ ผู้สูงอายุ และเด็ก
3. ไม่ควรใช้ในสตรีมีครรภ์ระยะ 3 เดือนแรก และสตรีที่ให้นมบุตร
เหมือนฉลาก
(51.5) ยาเอแทมบูทอล (Ethambutol)
1. ยานี้อาจทำให้เกิดความผิดปกติต่อสายตา หากมีความผิดปกติในการมองเห็น ให้หยุดยาและพบแพทย์ทันที
2. ระมัดระวังการใช้ในผู้ที่ไตทำงานผิดปกติ โดยลดขนาดยาลง
เหมือนฉลาก
(52) ยาที่มีนิโคติน (Nicotine) หรือสารประกอบของนิโคตินซึ่งมุ่งหมายที่จะใช้สำหรับช่วยการอดบุหรี่ [44]
1. ยานี้ใช้เฉพาะเพื่อช่วยการเลิกสูบบุหรี่เท่านั้น
2. ก่อนใช้ยานี้ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกร
เหมือนฉลาก และเพิ่ม
3. ยานี้จะใช้ไม่ได้ผลในผู้ที่ใช้ยาไม่ถูกวิธีหรือไม่ตั้งใจจะเลิกสูบบุหรี่
4. หากจำเป็นต้องใช้ยานี้ในสตรีมีครรภ์ สตรีระยะให้นมบุตร ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ ให้ปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยา
(53) ยากลุ่ม Selective COX-2 inhibitors (COXIB) NSAIDs[45]


(53.1) ยากลุ่ม Selective COX-2 inhibitors (COXIB) NSAIDs ยกเว้น เซเรคอกสิบ (Celecoxib), พาเรคอกสิบ (Parecoxib) และ เอทอริคอกสิบ (Etoricoxib)
1. ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยานี้ สตรีมีครรภ์และสตรีระยะให้นมบุตร
2. ห้ามใช้ในผู้ที่ได้รับการผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจในระยะหลังผ่าตัดใหม่ ๆ (immediately postoperative period)
3. ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจ หรือหลอดเลือดสมอง
เหมือนฉลาก และเพิ่ม
4. ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย หรือผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวเลือดคั่ง (congestive heart failure NYHA II-IV)
5. ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่เคยเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน หรือเคยมีภาวะอัมพฤกษ์ อัมพาตอันเกิดจากโรคหลอดเลือดสมอง
6. ระมัดระวังการใช้ยานี้ในผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ เช่น ความดันโลหิตสูง ระดับไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน ผู้สูบบุหรี่ ผู้สูงอายุ เป็นต้น
7. ระมัดระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของตับและไต
(53.2) เซเรคอกสิบ (Celecoxib) และพาเรคอกสิบ (Parecoxib)[46]
1. ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยานี้ สตรีมีครรภ์และสตรีระยะให้นมบุตร
2. ห้ามใช้ในผู้ที่ได้รับการผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจในระยะหลังผ่าตัดใหม่ ๆ (immediately postoperative period)
3. ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจ หรือหลอดเลือดสมอง
4. หากใช้ยานี้แล้วมีอาการผื่นแดง หรือมีอาการคล้ายเป็นหวัด ให้หยุดยาและรีบปรึกษาแพทย์ทันที
5. ห้ามใช้ในผู้ที่เคยแพ้ยานี้และผู้ที่มีประวัติแพ้ยาในกลุ่ม sulfonamide
6. เมื่อใช้ยานี้หากมีอาการดังต่อไปนี้ เช่น ไข้ ผื่นแดง ตุ่มน้ำพอง มีการหลุดลอกของผิวหนังและบริเวณเยื่อบุต่าง ๆ เช่น ในช่องปาก ลำคอ จมูก อวัยวะสืบพันธุ์ และเยื่อบุตาอักเสบ ให้หยุดยาและปรึกษาแพทย์เพราะอาจเป็น Stevens-Johnson syndrome
เหมือนฉลาก และเพิ่ม
7. ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย หรือผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวเลือดคั่ง (congestive heart failure NYHA II-IV)
8. ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่เคยเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน หรือเคยมีภาวะอัมพฤกษ์ อัมพาตอันเกิดจากโรคหลอดเลือดสมอง
9. ระมัดระวังการใช้ยานี้ในผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ เช่น ความดันโลหิตสูง ระดับไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน ผู้สูบบุหรี่ ผู้สูงอายุ เป็นต้น
10. ระมัดระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของตับและไต
(53.3) เอทอริคอกสิบ (Etoricoxib)
1. ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยานี้ สตรีมีครรภ์และสตรีระยะให้นมบุตร
2. ห้ามใช้ในผู้ที่ได้รับการผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจในระยะหลังผ่าตัดใหม่ ๆ (immediately postoperative period)
3. ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจ หรือหลอดเลือดสมอง
4. ห้ามใช้ในผู้ที่มีความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมได้
เหมือนฉลาก และเพิ่ม
5. ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย หรือผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวเลือดคั่ง (congestive heart failure NYHA II-IV)
6. ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่เคยเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน หรือเคยมีภาวะอัมพฤกษ์ อัมพาตอันเกิดจากโรคหลอดเลือดสมอง
7. ระมัดระวังการใช้ยานี้ในผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ เช่น ความดันโลหิตสูง ระดับไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน ผู้สูบบุหรี่ ผู้สูงอายุ เป็นต้น
8. ระมัดระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของตับและไต
(54) น้ำยาแช่เลนส์[47]
1. โปรดใช้ตามที่ระบุในเอกสารกำกับยา หากไม่ปฏิบัติตามอาจก่อให้เกิดการติดเชื้อต่อดวงตาได้
2. หากเกิดการระคายเคือง ตาแดง หรือการมองเห็นผิดปกติ ต้องถอนเลนส์ออกและรีบปรึกษาแพทย์
เหมือนฉลาก
(55) เดกซ์โตรเมธอร์แฟน (Dextromethorphan) ที่เป็นตำรับยาเดี่ยว[48]
ยาเม็ด
            ในยา 1 เม็ด ประกอบด้วยเดกซ์โตรเมธอร์แฟน 15 มิลลิกรัม ให้ใช้ข้อความคำเตือน ดังนี้
ยาเดกซ์โตรเมธอร์แฟนนี้ใช้บรรเทาอาการไอ เมื่อใช้ในขนาดที่ถูกต้องตามที่ระบุไว้ในเอกสารกำกับยา หากใช้ในขนาดสูง (มากกว่า 120 มิลลิกรัมหรือ 8 เม็ดต่อวันในผู้ใหญ่ และมากกว่า 60 มิลลิกรัม หรือ 4 เม็ดต่อวันในเด็ก) จะกดการหายใจ ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต

            ในยา 1 เม็ดประกอบด้วยเดกซ์โตรเมธอร์แฟน 30 มิลลิกรัม ให้ใช้ข้อความคำเตือน ดังนี้
ยาเดกซ์โตรเมธอร์แฟนนี้ใช้บรรเทาอาการไอ เมื่อใช้ในขนาดที่ถูกต้องตามที่ระบุไว้ในเอกสารกำกับยา หากใช้ในขนาดที่สูง (มากกว่า 120 มิลลิกรัมหรือ 4 เม็ดต่อวันในผู้ใหญ่ และมากกว่า 60 มิลลิกรัมหรือ 2 เม็ดต่อวันในเด็ก) จะกดการหายใจ ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต

ยาน้ำ
            ในยา 1 มิลลิลิตร ประกอบด้วยเดกซ์โตรเมธอร์แฟน 5 มิลลิกรัม ให้ใช้ข้อความคำเตือน ดังนี้
ยาเดกซ์โตรเมธอร์แฟนนี้ใช้บรรเทาอาการไอ เมื่อใช้ในขนาดที่ถูกต้องตามที่ระบุไว้ในเอกสารกำกับยา หากใช้ในขนาดที่สูง (มากกว่า 120 มิลลิกรัมหรือ 25 มิลลิลิตร หรือ 5 ช้อนชาต่อวันในผู้ใหญ่ และมากกว่า 60 มิลลิกรัมหรือ 12.5 มิลลิลิตร หรือ 2 ช้อนชาครึ่งต่อวันในเด็ก) จะกดการหายใจ ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต
เหมือนฉลาก
(56) ยากลุ่มฮอร์โมนรักษา (Hormone therapy)[49]


(56.1) ยาสูตรผสมเอสโตรเจน (Estrogen) กับโปรเจสติน (Progestin) ชนิดรับประทาน
1. ต้องปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาและตรวจติดตามเป็นประจำ
2. ไม่ควรใช้ในผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดสมอง หรือมีประวัติหลอดเลือดดำอุดตัน
3. การใช้ยานี้ในระยะยาว (5 ปีหรือนานกว่า) อาจเพิ่มความเสี่ยงหรือความรุนแรงของมะเร็งเต้านม
เหมือนฉลาก และเพิ่ม
4. ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยานี้
5. ไม่ควรใช้ยานี้ ในการป้องกันโรคของระบบหัวใจและหลอดเลือด
6. ควรใช้ยานี้ในขนาดต่ำสุดที่ให้ผลการรักษา และระยะเวลาสั้นที่สุด หากต้องใช้ยาต่อเนื่องควรประเมินถึงประโยชน์และความเสี่ยงของการรักษา รวมทั้งพิจารณาถึงความเสี่ยงต่างๆที่เกิดขึ้น เช่น นิ่วในถุงน้ำดี เป็นต้น
7. ยานี้อาจไม่ควรใช้ในผู้ป่วยที่เป็นโรคตับ
8. ระมัดระวังการใช้ยานี้ในผู้ที่เป็นโรคไต
(56.2) ยาเอสโตรเจน (Estrogen) ชนิดรับประทาน
1. ต้องปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาและตรวจติดตามเป็นประจำ
2. ไม่ควรใช้ในผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง หรือมีประวัติหลอดเลือดดำอุดตัน
3. การใช้ยานี้ในระยะยาวอาจเพิ่มความเสี่ยงหรือความรุนแรงของมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก สตรีที่ยังมีมดลูกอยู่จึงควรใช้โปรเจสตินร่วมด้วย เพื่อลดความเสี่ยงดังกล่าว
เหมือนฉลาก และเพิ่ม
4. ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยานี้
5. ไม่ควรใช้ยานี้ ในการป้องกันโรคของระบบหัวใจและหลอดเลือด
6. ควรใช้ยานี้ในขนาดต่ำสุดที่ให้ผลการรักษา และระยะเวลาสั้นที่สุด หากต้องใช้ยาต่อเนื่องควรประเมินถึงประโยชน์และความเสี่ยงของการรักษา รวมทั้งพิจารณาถึงความเสี่ยงต่างๆที่เกิดขึ้น เช่น มะเร็งรังไข่ นิ่วในถุงน้ำดี เป็นต้น
7. ยานี้อาจไม่ควรใช้ในผู้ป่วยที่เป็นโรคตับ
8. ระมัดระวังการใช้ยานี้ในผู้ที่เป็นโรคไต
(56.3) ยากลุ่มฮอร์โมนรักษาชนิดใช้ภายนอก
1. ต้องปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาและตรวจติดตามเป็นประจำ
2. ไม่ควรใช้ในผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง หรือมีประวัติหลอดเลือดดำอุดตัน
3. การใช้ยานี้ในระยะยาวอาจเพิ่มความเสี่ยงหรือความรุนแรงของมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก สตรีที่ยังมีมดลูกอยู่จึงควรใช้โปรเจสตินร่วมด้วย เพื่อลดความเสี่ยงดังกล่าว
เหมือนฉลาก และเพิ่ม
4. ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยานี้
5. ไม่ควรใช้ยานี้ ในการป้องกันโรคของระบบหัวใจและหลอดเลือด
6. ควรใช้ยานี้ในขนาดต่ำสุดที่ให้ผลการรักษา และระยะเวลาสั้นที่สุด หากต้องใช้ยาต่อเนื่องควรประเมินถึงประโยชน์และความเสี่ยงของการรักษา รวมทั้งพิจารณาถึงความเสี่ยงต่างๆที่เกิดขึ้น เช่น มะเร็งรังไข่ นิ่วในถุงน้ำดี เป็นต้น
7. ระมัดระวังการใช้ยานี้ในผู้ที่เป็นโรคไต
(57) อะซิโพรมาซีน (Acepromazine)[50]
1. ห้ามใช้ในการขนส่งสัตว์เพื่อนำไปฆ่าสำหรับการบริโภค
2. ห้ามใช้ในสัตว์ที่ผลิตน้ำนมเพื่อการบริโภคของมนุษย์
3. ให้ใช้ภายใต้คำแนะนำและการกำกับดูแลของสัตวแพทย์ชั้นหนึ่งเท่านั้น
เหมือนฉลาก
(58) ม็อกซิเด็กทิน (Moxidectin)[51]
1. ให้ใช้ยานี้ภายใต้คำแนะนำและการกำกับดูแลของสัตวแพทย์ชั้นหนึ่งเท่านั้น
2. ให้ระมัดระวังการใช้ยานี้ในสุนัขตั้งท้อง และสุนัขบางสายพันธุ์ เช่น collie เนื่องจากยังไม่มีข้อมูลด้านความปลอดภัยในสุนัขดังกล่าว
3. สุนัขบางรายอาจเกิดการแพ้ยาอย่างรุนแรง หรือเป็นอันตรายต่อชีวิตได้เจ้าของควรสังเกตอาการของสุนัขหลังจากได้รับยาในช่วง 24 ชั่วโมง หากมีความผิดปกติให้ปรึกษาสัตวแพทย์โดยด่วน
เหมือนฉลาก
(59) อัลโลพูรินอล (Allopurinol)[52]
1. หากใช้ยานี้แล้วมีอาการผื่นแดง หรือมีอาการคล้ายเป็นหวัด ให้หยุดยาและรีบปรึกษาแพทย์ทันที
2. ห้ามใช้ในผู้ที่เคยแพ้ยานี้
เหมือนฉลาก และเพิ่ม
3. เมื่อใช้ยานี้หากมีอาการดังต่อไปนี้ เช่น ไข้ ผื่นแดง ตุ่มน้ำพอง มีการหลุดลอกของผิวหนังและบริเวณเยื่อบุต่าง ๆ เช่น ในช่องปาก ลำคอ จมูก อวัยวะสืบพันธุ์ และเยื่อบุตาอักเสบให้หยุดยาและปรึกษาแพทย์เพราะอาจเป็น Stevens-Johnson syndrome
(60) แดปโซน (Dapsone)[53]
1. หากใช้ยานี้แล้วมีอาการผื่นแดง หรือมีอาการคล้ายเป็นหวัด ให้หยุดยาและรีบปรึกษาแพทย์ทันที
2. ห้ามใช้ในผู้ที่เคยแพ้ยานี้
เหมือนฉลาก และเพิ่ม
3. เมื่อใช้ยานี้หากมีอาการดังต่อไปนี้ เช่น ไข้ ผื่นแดง ตุ่มน้ำพอง มีการหลุดลอกของผิวหนังและบริเวณเยื่อบุต่าง ๆ เช่น ในช่องปาก ลำคอ จมูก อวัยวะสืบพันธุ์ และเยื่อบุตาอักเสบให้หยุดยาและปรึกษาแพทย์เพราะอาจเป็น Stevens-Johnson syndrome
(61) ยาสูตรผสมที่มีซัลฟามีธอกซาโซล (Sulfamethoxazol) และไทรมีโธพริม (Trimethoprim) เป็นส่วนประกอบ[54]
1. ห้ามใช้ในผู้ที่เคยแพ้ยานี้
2. ยานี้อาจทำให้เกิดอันตรายต่อตับ ไต ได้
3. ห้ามใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 2 เดือน หญิงมีครรภ์ ระยะให้นมบุตร
4. หากใช้ยานี้แล้วมีอาการผื่นแดง หรือมีอาการคล้ายเป็นหวัด ให้หยุดยาและรีบปรึกษาแพทย์ทันที
เหมือนฉลาก และเพิ่ม
5. เมื่อใช้ยานี้หากมีอาการดังต่อไปนี้ เช่น ไข้ ผื่นแดง ตุ่มน้ำพอง มีการหลุดลอกของผิวหนังและบริเวณเยื่อบุต่าง ๆ เช่น ในช่องปาก ลำคอ จมูก อวัยวะสืบพันธุ์ และเยื่อบุตาอักเสบให้หยุดยาและปรึกษาแพทย์เพราะอาจเป็น Stevens-Johnson syndrome
(62) ยาไนมิซุไลด์ (Nimesulide) ยกเว้นที่เป็นยาใช้ภายนอก[55]
1. ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยานี้ หรือผู้ป่วยที่มีอาการหอบหืด ลมพิษ หรือโพรงจมูกอักเสบแบบเฉียบพลัน จากการแพ้ยากลุ่มแอสไพริน หรือกลุ่ม NSAIDs
2. ห้ามใช้ในสตรีมีครรภ์ไตรมาสสุดท้าย สตรีที่ให้นมบุตรและเด็กอายุต่ำกว่า ๑๒ ปี
3. ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่มีเลือดออกในกระเพาะอาหารหรือลำไส้ หรือมีแผลทะลุในกระเพาะอาหาร เลือดออกในสมอง หรือมี bleeding disorder อื่น ๆ
4. ห้ามใช้ในผู้ที่มีการทำงานของตับผิดปกติ หรือใช้ร่วมกับยาที่มีอันตรายต่อตับ
5. ห้ามใช้ในผู้ที่มีไข้ มีอาการสงสัยว่าจะเป็นโรคไข้เลือดออก หรือมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่
6. ห้ามใช้ยาติดต่อกันเกิน 15 วัน
7. ห้ามใช้ในผู้ที่เป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง หรือดื่มสุรามากเป็นประจำ รวมทั้งผู้ที่ติดสารเสพติด
8. ห้ามใช้ในผู้ที่มีการทำงานของหัวใจหรือไตผิดปกติอย่างรุนแรง
เหมือนฉลาก และเพิ่ม
9. ยานี้อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดเลือดออกหรือแผลในกระเพาะอาหารและสำไส้
10. ยานี้อาจทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ของภาวะบวมน้ำ จึงควรใช้ยาด้วยความระมัดระวังในผู้ป่วยโรคหัวใจ ไตทำงานผิดปกติ ผู้ที่มีความดันโลหิตสูง หรือผู้สูงอายุ
11. ยานี้มีผลต่อการเกาะกลุ่มกันของเกล็ดเลือด จึงควรหลีกเลี่ยงในผู้ป่วยที่สงสัยว่าจะเป็นไข้เลือดออก หรือเกล็ดเลือดผิดปกติจากสาเหตุอื่น ๆ
12. ควรมีการตรวจติดตามการทำงานของตับเป็นระยะ
13. ระหว่างใช้ยา หากมีไข้ และหรืออาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ เช่น ปวดเมื่อยตามตัว รู้สึกไม่สบายหนาวสั่น ให้หยุดยาทันที และปรึกษาแพทย์
14. ระหว่างใช้ยา หากมีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง อ่อนเพลีย หรือปัสสาวะมีสีเข้ม หรือตรวจพบว่าการทำงานของตับผิดปกติ ให้หยุดใช้ยาและปรึกษาแพทย์ทันที เพราะอาจเกิดพิษต่อตับเนื่องจากยา
15. ก่อนใช้ยานี้ หากผู้ป่วยใช้ยากันเลือดเป็นลิ่ม แอสไพริน หรือยากลุ่มซาลิไซเลทอื่น ยาขับปัสสาวะ ลิเธียม เมโธเทรกเซท หรือไซโคลสปอริน ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ
16. เมื่อใช้ยานี้ไม่ควรใช้ยาแก้ปวดอื่นร่วมด้วย



[1] แก้ไขโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องประกาศยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือน ฉบับที่ 47 ประกาศ ณ วันที่ 13 กรกฎาคม 2555, ราชกิจจานุเบกษา 3 กันยายน 2555
[2] แก้ไขโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องประกาศยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือน ฉบับที่ 39 ประกาศ ณ วันที่ 8 กรกฎาคม 2551, ราชกิจจานุเบกษา 25 สิงหาคม 2551
[3] แก้ไขโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องประกาศยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือน ฉบับที่ 47 ประกาศ ณ วันที่ 13 กรกฎาคม 2555, ราชกิจจานุเบกษา 3 กันยายน 2555
[4] แก้ไขโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องประกาศยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือน ฉบับที่ 47 ประกาศ ณ วันที่ 13 กรกฎาคม 2555, ราชกิจจานุเบกษา 3 กันยายน 2555
[5] แก้ไขโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องประกาศยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือน ฉบับที่ 6,11,25 และ 28 (ฉบับที่ 28 ประกาศ ณ วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2546, ราชกิจจานุเบกษา 28 กุมภาพันธ์ 2546)
[6] แก้ไขโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง ยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือน ฉบับที่ 45 ประกาศ ณ วันที่ 26 กรกฎาคม 2553, ราชกิจจานุเบกษา 20 กันยายน 2553 [แก้ไขอายุเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 6 เดือน]
[7] แก้ไขโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง ยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือน ฉบับที่ 48 ประกาศ ณ วันที่ 24 ตุลาคม 2555, ราชกิจจานุเบกษา 25 ธันวาคม 2555 [แก้ไขอายุเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 6 เดือน]
[8] แก้ไขโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง ยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือน ฉบับที่ 42 ประกาศ ณ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2553, ราชกิจจานุเบกษา 2 เมษายน 2553
[9] แก้ไขโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องประกาศยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือน ฉบับที่ 47 ประกาศ ณ วันที่ 13 กรกฎาคม 2555, ราชกิจจานุเบกษา 3 กันยายน 2555
[10] แก้ไขโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง ยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือน ฉบับที่ 25 ประกาศ ณ วันที่ 9 กันยายน 2544, ราชกิจจานุเบกษา 16 ตุลาคม 2544
[11] แก้ไขโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง ยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือน ฉบับที่ 5 ประกาศ ณ วันที่ 21 ธันวาคม 2533, ราชกิจจานุเบกษา 31 มกราคม 2534
[12] fenfluramine  เดิมเป็นยาควบคุมพิเศษ ลำดับที่ 38 ปัจจุบันถูกเพิกถอนทะเบียนตำรับยา เนื่องจากมีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะความผิดปกติของลิ้นหัวใจ (valvular heart disease) บริษัทผู้ผลิตและผู้จำหน่ายยาต้นแบบของยาดังกล่าวได้ประกาศถอนยาดังกล่าวออกจากท้องตลาดทั่วโลกแล้ว (คำสั่งกระทรวงสาธารณสุขที่ 226/2543 เรื่อง เพิกถอนทะเบียนตำรับยา)
[13] แก้ไขโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง ยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือน ฉบับที่ 24 ประกาศ ณ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2544, ราชกิจจานุเบกษา 19 มีนาคม 2544
[14] แก้ไขโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องประกาศยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือน ฉบับที่ 47 ประกาศ ณ วันที่ 13 กรกฎาคม 2555, ราชกิจจานุเบกษา 3 กันยายน 2555
[15] แก้ไขโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องประกาศยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือน ฉบับที่ 51 ประกาศ ณ วันที่ 29 พฤศจิกายน 2555, ราชกิจจานุเบกษา 23 มกราคม 2556 [ตัดฟีโนบาร์บิทอล (Phenobarbital) ออกไป]
[16] แก้ไขโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องประกาศยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือน ฉบับที่ 51 ประกาศ ณ วันที่ 29 พฤศจิกายน 2555, ราชกิจจานุเบกษา 23 มกราคม 2556 [ตัดฟีโนบาร์บิทอล (Phenobarbital) ออกไป]
[17] แก้ไขโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องประกาศยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือน ฉบับที่ 19,20,21และ 31 โดยฉบับที่ 31 ประกาศ ณ วันที่ 26 มีนาคม 2546, ราชกิจจานุเบกษา 11 เมษายน 2546
[18] แก้ไขโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง ยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือน ฉบับที่ 23 ประกาศ ณ วันที่ 11 มกราคม 2544, ราชกิจจานุเบกษา 13 กุมภาพันธ์ 2544
[19] แก้ไขโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง ยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือน ฉบับที่ 46 ประกาศ ณ วันที่ 25 พฤศจิกายน 2553, ราชกิจจานุเบกษา 29 ธันวาคม 2535
[20] เพิกถอนทะเบียนตำรับยาที่มีโรซิกลิทาโซนเป็นส่วนประกอบ เนื่องจากอาจทำให้เกิดความเสี่ยงต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด (คำสั่งกระทรวงสาธารณสุข ที่ 447/2554 เรื่อง เพิกถอนทะเบียนตำรับยา, ราชกิจจานุเบกษา 18 พฤษภาคม 2554)
[21] แก้ไขโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง ยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือน ฉบับที่ 10 ประกาศ ณ วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2535, ราชกิจจานุเบกษา 20 มีนาคม 2535
[22] แก้ไขโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง ยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือน ฉบับที่ 9 ประกาศ ณ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2535, ราชกิจจานุเบกษา 20 มีนาคม 2535
[23] แก้ไขโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องประกาศยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือน ฉบับที่ 4 และฉบับที่ 9 (ฉบับที่ 9 ประกาศ ณ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2535)
[24] เพิ่มเติมโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง ยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือน ฉบับที่ 2 ประกาศ ณ วันที่ 17 พฤษภาคม  2533, ราชกิจจานุเบกษา 10 มิถุนายน 2533
[25] เพิ่มเติมโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง ยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือน ฉบับที่ 3 ประกาศ ณ วันที่ 13 กันยายน  2533, ราชกิจจานุเบกษา 18 ตุลาคม 2533
[26] เพิ่มเติมโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง ยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือน ฉบับที่ 7 ประกาศ ณ วันที่ 26 สิงหาคม 2534, ราชกิจจานุเบกษา 1 ตุลาคม 2534
[27] เพิ่มเติมโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง ยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือน ฉบับที่ 8 ประกาศ ณ วันที่ 29 สิงหาคม 2534, ราชกิจจานุเบกษา 1 ตุลาคม 2534
[28] เพิ่มเติมโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง ยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือน ฉบับที่ 13 ประกาศ ณ วันที่ 3 พฤศจิกายน 2536, ราชกิจจานุเบกษา 15 ธันวาคม 2536
[29] เพิ่มเติมโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง ยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือน ฉบับที่ 14 ประกาศ ณ วันที่ 3 พฤศจิกายน 2536, ราชกิจจานุเบกษา 15 ธันวาคม 2536
[30] เพิ่มเติมโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง ยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือน ฉบับที่ 16 ประกาศ ณ วันที่ 30 มีนาคม 2537, ราชกิจจานุเบกษา 10 พฤษภาคม 2537
[31] เพิ่มเติมโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง ยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือน ฉบับที่ 17 ประกาศ ณ วันที่ 4 เมษายน 2538, ราชกิจจานุเบกษา 4 พฤษภาคม 2538
[32] เพิ่มเติมโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องประกาศยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือน ฉบับที่ 18 แก้ไขโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง ยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือน ฉบับที่ 29 ประกาศ ณ วันที่ 11 กมภาพันธ์ 2546
[33] เพิ่มเติมโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องประกาศยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือน ฉบับที่ 22 และแก้ไขโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง ยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือนฉบับที่ 26 ประกาศ ณ วันที่ 19 ตุลาคม 2544
[34] เพิ่มเติมโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง ยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือน ฉบับที่ 22 ประกาศ ณ วันที่ 4 ธันวาคม 2543, ราชกิจจานุเบกษา 19 ธันวาคม 2543
[35] เพิ่มเติมโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง ยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือน ฉบับที่ 23 ประกาศ ณ วันที่ 11 มกราคม 2544, ราชกิจจานุเบกษา 13 กุมภาพันธ์ 2544 และแก้ไขโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง ยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือน ฉบับที่ 44 ประกาศ ณ วันที่ 12 เมษายน 2553, ราชกิจจานุเบกษา 14 มิถุนายน 2553
[36] เพิ่มเติมโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง ยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือน ฉบับที่ 26 ประกาศ ณ วันที่ 19 ตุลาคม 2544, ราชกิจจานุเบกษา 26 พฤศจิกายน 2544 และแก้ไขโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง ยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือน ฉบับที่ 32 ประกาศ ณ วันที่ 24 เมษายน 2546, ราชกิจจานุเบกษา  16 พฤษภาคม 2546
[37] เพิ่มเติมโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง ยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือน ฉบับที่ 26 ประกาศ ณ วันที่ 19 ตุลาคม 2544, ราชกิจจานุเบกษา 26 พฤศจิกายน 2544
[38] แก้ไขโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องประกาศยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือน ฉบับที่ 47 ประกาศ ณ วันที่ 13 กรกฎาคม 2555, ราชกิจจานุเบกษา 3 กันยายน 2555
[39] แก้ไขโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง ยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือน ฉบับที่ 43 ประกาศ ณ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2553, ราชกิจจานุเบกษา 2 เมษายน 2553
[40] แก้ไขโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง ยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือน ฉบับที่ 34 ประกาศ ณ วันที่ 12 เมษายน 2548, ราชกิจจานุเบกษา 26 สิงหาคม 2548
[41] แก้ไขโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องประกาศยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือน ฉบับที่ 50 ประกาศ ณ วันที่ 21 พฤศจิกายน 2555, ราชกิจจานุเบกษา 7 มกราคม 2556 [แก้ไขรายละเอียดเอกสารกำกับยา]
[42] เพิ่มเติมโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง ยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือน ฉบับที่ 32 ประกาศ ณ วันที่ 24 เมษายน 2546, ราชกิจจานุเบกษา 16 พฤษภาคม 2546
[43] แก้ไขโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องประกาศยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือน ฉบับที่ 47 ประกาศ ณ วันที่ 13 กรกฎาคม 2555, ราชกิจจานุเบกษา 3 กันยายน 2555 [เพิ่มข้อ 4-6]
[44] เพิ่มเติมโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง ยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือน ฉบับที่ 35 ประกาศ ณ วันที่ 6 พฤษภาคม 2548, ราชกิจจานุเบกษา 26 สิงหาคม 2548
[45] แก้ไขโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง ยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือน ฉบับที่ 43 ประกาศ ณ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2553, ราชกิจจานุเบกษา 2 เมษายน 2553
[46] แก้ไขโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องประกาศยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือน ฉบับที่ 47 ประกาศ ณ วันที่ 13 กรกฎาคม 2555, ราชกิจจานุเบกษา 3 กันยายน 2555
[47] เพิ่มเติมโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง ยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือน ฉบับที่ 37 ประกาศ ณ วันที่ 24 เมษายน 2550, ราชกิจจานุเบกษา 13 กรกฎาคม 2550
[48] เพิ่มเติมโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง ยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือน ฉบับที่ 37 ประกาศ ณ วันที่ 24 เมษายน 2550, ราชกิจจานุเบกษา 13 กรกฎาคม 2550
[49] เพิ่มเติมโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง ยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือน ฉบับที่ 40 ณ วันที่ 6 มีนาคม 2552, ราชกิจจานุเบกษา 29 เมษายน 2552
[50] แก้ไขโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องประกาศยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือน ฉบับที่ 41 ประกาศ ณ วันที่ 8 กันยายน 2552, ราชกิจจานุเบกษา 2 เมษายน 2553
[51] แก้ไขโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องประกาศยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือน ฉบับที่ 43 ประกาศ ณ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2553, ราชกิจจานุเบกษา 2 เมษายน 2553
[52] แก้ไขโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องประกาศยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือน ฉบับที่ 47 ประกาศ ณ วันที่ 13 กรกฎาคม 2555, ราชกิจจานุเบกษา 3 กันยายน 2555
[53] แก้ไขโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องประกาศยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือน ฉบับที่ 47 ประกาศ ณ วันที่ 13 กรกฎาคม 2555, ราชกิจจานุเบกษา 3 กันยายน 2555
[54] แก้ไขโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องประกาศยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือน ฉบับที่ 47 ประกาศ ณ วันที่ 13 กรกฎาคม 2555, ราชกิจจานุเบกษา 3 กันยายน 2555
[55] แก้ไขโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องประกาศยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือน ฉบับที่ 49 ประกาศ ณ วันที่ 13 พฤศจิกายน 2555, ราชกิจจานุเบกษา 25 ธันวาคม 2555