วันพุธที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เภสัชกรกับสารต้องห้ามทางการกีฬา ตามพระราชบัญญัติควบคุมการใช้สารต้องห้ามทางการกีฬา พ.ศ. 2555


ภก.ปรุฬห์ รุจนธำรงค์
ปรับปรุงล่าสุด 9 มกราคม 2556

          ร่างพระราชบัญญัติควบคุมการใช้สารต้องห้ามทางการกีฬา พ.ศ. .... เป็นร่างกฎหมายฉบับใหม่ซึ่งถูกบรรจุในวาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2555 อยู่ระหว่างการพิจารณาของวุฒิสภา แต่ปัจจุบัน 9 มกราคม 2556 ประกาศเป็นพระราชบัญญัติควบคุมการใช้สารต้องห้ามทางการกีฬา พ.ศ. 2555 โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาเรียบร้อยแล้ว (ดูรายละเอียดที่ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2556/A/002/10.PDF) มีผลใช้บังคับเมื่อพ้น 120 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
          เหตุผลที่ต้องมีร่างกฎหมายดังกล่าวเนื่องจากองค์กรต่อต้านการใช้สารต้องห้ามของโลก (World Anti-Doping Agency) ซึ่งเป็นองค์กรเอกชนที่องค์กรกีฬานานาชาติยอมรับในมาตรการควบคุมสารต้องห้ามทางการกีฬา ได้ประกาศให้ดำเนินการต่อต้านการใช้สารต้องห้ามทางการกีฬา โดยการสร้างทักษะความพร้อมทางกายภาพและจิตสำนึกทางด้านคุณธรรม จริยธรรม ในการแข่งขันกีฬาด้วยความบริสุทธิ์ยุติธรรม เป็นไปด้วยความเสมอภาคและเป็นธรรมโดยไม่ต้องใช้สารต้องห้าม รวมทั้งให้การคุ้มครองต่อสุขภาพและความปลอดภัยของนักกีฬา เพื่อให้มีมาตรการการควบคุมการใช้สารต้องห้ามที่สอดคล้องกับคำประกาศโคเปนเฮเกนว่าด้วยการต่อต้านสารต้องห้ามทางการกีฬา (Copenhagen Declaration on Anti-Doping in Sport) และส่งเสริมความร่วมมือด้านกีฬากับนานาประเทศ

สารต้องห้ามทางการกีฬา คืออะไร
          พระราชบัญญัตินี้ให้ความหมายของ “สารต้องห้าม” หมายความว่า สารที่นำเข้าสู่ร่างกายแล้วทำให้ได้เปรียบทางการกีฬา ทั้งนี้ตามรายชื่อที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยคำแนะนำของคณะกรรมการควบคุมการใช้สารต้องห้ามทางการกีฬา
          แม้ว่าประกาศรายชื่อสารต้องห้ามจะเป็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต แต่เชื่อว่าจะใช้ข้อความว่า รายชื่อสารต้องห้ามให้เป็นไปตามที่องค์กรต่อต้านการใช้สารต้องห้ามของโลก (World Anti-Doping Agency) กำหนดในปีล่าสุด แต่อาจเพิ่มเติมข้อยกเว้นในสารที่ถูกเพิกถอนทะเบียนผลิตภัณฑ์ ยกเลิกผลิตภัณฑ์ หรือเป็นสารที่อยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายอื่นด้วย (เช่น เป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1, วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ประเภท 2)   
          อย่างไรก็ตามแม้ว่าในแต่ละประเทศจะมีกฎหมายเรื่องสารต้องห้ามทางการกีฬาหรือไม่ก็ตาม ก็ควรทราบรายการสารต้องห้ามทางการกีฬาที่องค์กรต่อต้านการใช้สารต้องห้ามของโลก (World Anti-Doping Agency) กำหนด ซึ่งได้มีการปรับปรุงรายการสารต้องห้ามเป็นประจำ และได้กำหนดรายการสารต้องห้ามทางการกีฬา ค.ศ.2012 มีดังนี้

กลุ่มที่ห้ามใช้ตลอดเวลาทั้งในช่วงการแข่งขันและนอกเวลาการแข่งขัน
          1. Anabolic agents
            1.1 Anabolic Androgenic Steroids ใช้ในการเพิ่มขนาดของกล้ามเนื้อและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ทำให้ผู้ใช้มีความแข็งแรงและมีความอึดในการแข่งขันสูง ผลข้างเคียงของสารกลุ่มนี้ คือ รบกวนสมดุลของฮอร์โมนปกติในร่างกาย เสี่ยงต่อการเกิดโรคตับและหัวใจ การเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก ผู้หญิงมีลักษณะคล้ายผู้ชาย ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแอเวลากล้ามเนื้อหดตัว ทำให้เอ็น กล้ามเนื้อฉีกขาดได้ง่าย เป็นสารที่ห้ามใช้โดยเด็ดขาด สารในกลุ่มนี้ในไทยจัดเป็นยาตามกฎหมายว่าด้วยยา
                      1.1.1 Exogenous Anabolic Androgenic Steroids รายการต่อไปนี้
                   1-androstenediol, 1-androstenedione, bolandiol , bolasterone, boldenone, boldione, calusterone, clostebol, danazol, dehydrochlormethyltestosterone, desoxymethyltestosterone, drostanolone, ethylestrenol, fluoxymesterone, formebolone, furazabol, gestrinone, 4-hydroxytestosterone, mestanolone, mesterolone, metenolone, methandienone, methandriol, methasterone, methyldienolone, methyl-1-testosterone, methylnortestosterone, methyltestosterone, metribolone (methyltrienolone), mibolerone, nandrolone, 19-norandrostenedione, norboletone, norclostebol, norethandrolone, oxabolone, oxandrolone, oxymesterone, oxymetholone, prostanozol,  quinbolone, stanozolol, stenbolone, 1-testosterone, tetrahydrogestrinone, trenbolone และสารอื่นที่มีโครงสร้างหรือให้ผลต่อร่างกายคล้ายคลึงกัน
                        1.1.2 Endogenous Anabolic Androgenic Steroids (สารที่ให้แล้วได้สารเดียวกับสารในร่างกาย) รายการต่อไปนี้    
                        androstenediol, androstenedione, dihydrotestosterone, prasterone, testosterone และสารเมตาบอไลต์ตลอดจนไอโซเมอร์ รวมถึงแต่ไม่จำกัดเพียง
                      5α-androstane-3α,17α-diol; 5α-androstane-3α,17β-diol; 5α-androstane-3β,17α-diol; 5α-androstane-3β,17β-diol; androst-4-ene-3α,17α-diol; androst-4-ene-3α,17β-diol; androst-4-ene-3β,17α-diol; androst-5-ene-3α,17α-diol; androst-5-ene-3α,17β-diol; androst-5-ene-3β,17α-diol; 4-androstenediol (androst-4-ene-3β,17β-diol); 5-androstenedione (androst-5-ene-3,17-dione); epi-dihydrotestosterone; epitestosterone; 3α-hydroxy-5α-androstan-17-one; 3β-hydroxy-5α-androstan-17-one; 7α-hydroxy-DHEA ; 7β-hydroxy-DHEA ; 7-keto-DHEA; 19-norandrosterone; 19-noretiocholanolone.
          1.2 Anabolic agents อื่น รวมถึงแต่ไม่จำกัดเพียง Clenbuterol, selective androgen receptor modulators (SARMs), tibolone, zeranol, zilpaterol.

            2. ฮอร์โมนเปปไทด์ (peptide hormones) สารเร่งการเติบโต (growth factors) และสารอื่นที่เกี่ยวข้อง เป็นสารที่ห้ามใช้โดยเด็ดขาด สารในกลุ่มนี้ในไทยจัดเป็นยาตามกฎหมายว่าด้วยยา
          2.1 สารกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง (Erythropoiesis-Stimulating Agents) เช่น erythropoietin (EPO), darbepoetin (dEPO), hypoxia-inducible factor (HIF) stabilizers, methoxy polyethylene glycol-epoetin beta (CERA), peginesatide (Hematide)
            2.2 Chorionic Gonadotrophin (CG) and Luteinizing Hormone (LH) ในผู้ชาย
            2.3 อินซูลิน (insulins)
          2.4 Corticotrophins;
            2.5 Growth Hormone (GH), Insulin-like Growth Factor-1 (IGF-1), Fibroblast Growth Factors (FGFs), Hepatocyte Growth Factor (HGF), Mechano Growth Factors (MGFs), Platelet-Derived Growth Factor (PDGF), Vascular-Endothelial Growth Factor (VEGF) และสารอื่นที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของกล้ามเนื้อ tendon หรือ ligament, การสังเคราะห์หรือการสลายโปรตีน การสร้างหลอดเลือด, การใช้พลังงาน, regenerative capacity or fibre type switching, และสารอื่นที่มีโครงสร้างหรือให้ผลต่อร่างกายคล้ายคลึงกัน

          3. ยากลุ่ม beta-2 agonist โดยปกติแล้วใช้ในการรักษาโรคหืด ขยายหลอดลม เพราะผลของการขยายหลอดลมนี้เองทำให้รับออกซิเจนได้ดีขึ้น (มีผลต่อการใช้พลังงานของร่างกาย) ยกเว้น ซาลบูทามอล (salbutamol) ขนาดสูงสุด 1,600 มิลลิกรัมตลอด 24 ชั่วโมง, ฟอร์มอทเทอรอล (formoterol) ขนาดสูงสุด 36 ไมโครกรัมตลอด 24 ชั่วโมง และซาลเมเทอรอล (salmeterol) ถ้านักกีฬาเป็นหอบหืดอนุญาตให้ใช้เฉพาะยาพ่นเท่านั้น ห้ามใช้ยารับประทานหรือยาฉีดเด็ดขาด หากตรวจพบ salbutamol ในปัสสาวะเกิน 1,000 นาโนกรัมต่อมิลลิลิตร หรือ formoterol เกิน 30 นาโนกรัมต่อมิลลิลิตร ให้สันนิษฐานว่าไม่ได้ใช้เพื่อประโยชน์ในการรักษา

             4. สารปรับฮอร์โมนและเมตาบอไลต์ เป็นสารที่ห้ามใช้โดยเด็ดขาด สารในกลุ่มนี้ในไทยจัดเป็นยาตามกฎหมายว่าด้วยยา
            4.1 Aromatase inhibitors รวมถึงแต่ไม่จำกัดเพียง aminoglutethimide, anastrozole, androsta-1,4,6-triene-3,17-dione (androstatrienedione), 4-androstene-3,6,17 trione (6-oxo), exemestane, formestane, letrozole, testolactone.
            4.2 Selective estrogen receptor modulators (SERMs) รวมถึงแต่ไม่จำกัดเพียง raloxifene, tamoxifen, toremifene.
            4.3 Other anti-estrogenic substances รวมถึงแต่ไม่จำกัดเพียง clomiphene, cyclofenil, fulvestrant.
            4.4 Agents modifying myostatin function(s) รวมถึงแต่ไม่จำกัดเพียง myostatin inhibitors.
            4.5. Metabolic modulators: Peroxisome Proliferator Activated Receptor δ (PPARδ) agonists (e.g. GW 1516), PPARδ-AMP-activated protein kinase (AMPK) axis agonists (e.g. AICAR)

          5. ยาขับปัสสาวะ (diuretics) ใช้ในการขับน้ำออกจากร่างกาย เพื่อควบคุมน้ำหนักและทำให้เกิดการรบกวนการวิเคราะห์สารต้องห้ามตัวอื่น ผลข้างเคียงของสารกลุ่มนี้ คือ การสูญเสียน้ำ อ่อนเพลีย กล้ามเนื้อเป็นตะคริว เป็นสารที่ห้ามใช้โดยเด็ดขาด สารในกลุ่มนี้ในไทยจัดเป็นยาตามกฎหมายว่าด้วยยา รายการดังต่อไปนี้
            Diuretics, desmopressin, plasma expanders (e.g. glycerol; albumin สำหรับให้ทางหลอดเลือด, dextran, hydroxyethyl starch and mannitol), probenecid; และสารอื่นที่มีให้ผลต่อร่างกายคล้ายคลึงกัน ยกเว้น felypressin ที่ใช้เป็นยาชาเฉพาะที่ในทางทันตกรรม
          ยาขับปัสสาวะให้รวมยาดังต่อไปนี้
            acetazolamide, amiloride, bumetanide, canrenone, chlorthalidone, etacrynic acid, furosemide, indapamide, metolazone, spironolactone, thiazides (e.g. bendroflumethiazide, chlorothiazide, hydrochlorothiazide), triamterene และสารอื่นที่มีโครงสร้างหรือให้ผลต่อร่างกายคล้ายคลึงกัน (ยกเว้น drospirenone, pamabrom and topical dorzolamide and brinzolamide)

กลุ่มที่ห้ามใช้ในช่วงการแข่งขัน
            1. สารกระตุ้น (stimulants) มีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง สำหรับกีฬาที่ต้องการความรวดเร็ว ลดความเหน็ดเหนื่อย เพื่อความกระฉับกระเฉง ว่องไว ปฏิกิริยาตอบสนองอย่างรวดเร็ว ผลข้างเคียงของสารกลุ่มนี้ คือ ความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นเร็วขึ้น หัวใจเต้นผิดปกติ เกิดการก้าวร้าว ไม่อยากอาหาร หลายตัวเป็นสารเสพติดจึงทำให้เกิดอาการติดยาได้ สารพวกนี้ทำให้นักกีฬาอาจใช้ร่างกายเกินขีดจำกัดที่สามารถทนได้ ทำให้อาการบาดเจ็บรุนแรงขึ้น เป็นสารที่ห้ามใช้โดยเด็ดขาด
          1.1 สารกระตุ้นที่ไม่เฉพาะเจาะจง ( Non-Specified Stimulants) มีสารดังรายการต่อไปนี้
          adrafinil, amfepramone, amiphenazole, amphetamine, amphetaminil, benfluorex, benzphetamine, benzylpiperazine, bromantan, clobenzorex, cocaine, cropropamide, crotetamide, dimethylamphetamine, etilamphetamine, famprofazone, fencamine, fenetylline, fenfluramine, fenproporex, furfenorex, mefenorex, mephentermine, mesocarb, methamphetamine(d-), p-methylamphetamine, methylenedioxyamphetamine, methylenedioxymethamphetamine, modafinil, norfenfluramine, phendimetrazine, phenmetrazine, phentermine, 4-phenylpiracetam (carphedon), prenylamine, prolintane
          1.2 สารกระตุ้นที่เฉพาะเจาะจง (Specified Stimulants) หากสารกระตุ้นไม่อยู่ในรายการสารกระตุ้นที่ไม่เฉพาะเจาะจงตาม 1.1 แล้ว ให้ถือว่าอยู่ในกลุ่มนี้ ตัวอย่างเช่น
            adrenaline (ยกเว้นใช้เฉพาะที่ตาหรือจมูกหรือใช้ร่วมกับยาชาตัวอื่น), cathine (จะถูกห้ามเมื่อความเข้มข้นในปัสสาวะมากกว่า 5 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร),  ephedrine และ methylephedrine (จะถูกห้ามเมื่อความเข้มข้นในปัสสาวะมากกว่า 10 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร), etamivan, etilefrine, fenbutrazate, fencamfamin, heptaminol, isometheptene, levmetamfetamine, meclofenoxate, methylhexaneamine (dimethylpentylamine), methylphenidate, nikethamide, norfenefrine, octopamine, oxilofrine, parahydroxyamphetamine, pemoline, pentetrazol, phenpromethamine, propylhexedrine, pseudoephedrine (จะถูกห้ามเมื่อมีความเข้มข้นในปัสสาวะมากกว่า 150 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร),  selegiline, sibutramine (ประเทศไทยอยู่ในสถานะยกเลิกทะเบียนตำรับยา), strychnine,  tuaminoheptane และสารอื่นที่มีโครงสร้างหรือให้ผลต่อร่างกายคล้ายคลึงกัน
          ในปี ค.ศ.2012 สาร bupropion, caffeine (ถูกถอดออกจากรายการในปี ค.ศ.2004), nicotine, phenylephrine, phenylpropanolamine (ในไทยจัดเป็นวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ประเภท 2), pipradol, synephrine ไม่ได้ถูกพิจารณาเป็นสารต้องห้ามทางการกีฬา   

            2. สารเสพติด ใช้สารระงับความเจ็บปวดชนิดเสพติดที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท สำหรับกีฬาที่มีการปะทะเพื่อลดความเจ็บปวดขณะแข่งขัน เป็นสารเสพติดหากไม่ใช้จะมีอาการเจ็บปวดรุนแรงกว่าเดิม เกิดการก้าวร้าว มีปัญหาต่อระบบหายใจ มีอาการติดยา เป็นสารที่ห้ามใช้โดยเด็ดขาด มีรายการดังต่อไปนี้
          buprenorphine ในไทยเป็นวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ประเภท 3, dextromoramide ในไทยเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 2, diamorphine หรือ heroin ในไทยเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1, เฟนทานิลและอนุพันธ์ (fentanyl and its derivatives) ในไทยเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 2, hydromorphone, เมทาโดน (methadone) ในไทยเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 2, มอร์ฟีน (morphine) ในไทยเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 2, oxycodone ในไทยเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 2, oxymorphone ในไทยเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 2, pentazocine, เพทิดีน (pethidine) ในไทยเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 2

            3. สารกลุ่ม Cannabinoids ในธรรมชาติเป็นพวกกัญชา (e.g. cannabis, hashish, marijuana) หรือสารกลุ่ม synthetic delta 9-tetrahydrocannabinol (THC) and cannabimimetics [e.g. “Spice” (containing JWH018, JWH073), HU-210] เป็นสารที่ห้ามใช้เด็ดขาด

          4. กลูโคคอร์ติโคสเตียรอยด์ (glucocorticosteroids) ใช้เพื่อลดการอักเสบโดยใช้ในรูปยาหยอดตา ยาหยอดหู ยาครีมหรือยาพ่น หรือฉีดเข้าข้อ ฉีดเฉพาะที่ ห้ามรับประทานหรือฉีดเข้าเส้นเลือดหรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือให้ทางทวารหนัก

กลุ่มที่ห้ามเฉพาะกีฬาบางประเภท
            1. แอลกอฮอล์ ห้ามในช่วงการแข่งขันในกีฬาบางประเภท โดยจะต้องตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์ทางลมหายใจหรือเลือด ไม่ให้เกิน 0.10 g/L หากดื่มแอลกอฮอล์แล้วห้ามลงแข่งกีฬาดังต่อไปนี้

• Aeronautic (FAI)
• Archery (FITA)
• Automobile (FIA)
• Karate (WKF)
• Motorcycling (FIM)
• Powerboating (UIM)

          2. ยากลุ่ม beta-blockers เป็นสารต้องห้ามในการแข่งขันเฉพาะกีฬาบางประเภท ซึ่งกีฬาประเภทนี้มักเป็นกีฬาพวกที่ต้องใช้สมาธิสูง ลดความตื่นเต้น สารในกลุ่มนี้ในไทยจัดเป็นเป็นยาตามกฎหมายว่าด้วยยา หากกินยานี้แล้วห้ามลงแข่งกีฬาดังต่อไปนี้
• Aeronautic (FAI)
• Archery (FITA) (also prohibited Out-of-Competition)
• Automobile (FIA)
• Billiards (all disciplines) (WCBS)
• Boules (CMSB)
• Bridge (FMB)
• Darts (WDF)
• Golf (IGF)
• Ninepin and Tenpin Bowling (FIQ)
• Powerboating (UIM)
• Shooting (ISSF, IPC) (also prohibited Out-of-Competition)
• Skiing/Snowboarding (FIS) in ski jumping, freestyle aerials/halfpipe and snowboard halfpipe/big air

เภสัชกรอยู่ตรงไหนของกฎหมายฉบับนี้
          เภสัชกรอาจได้รับเลือกเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในคณะกรรมการแพทย์ตามกฎหมายดังกล่าว ซึ่งคณะกรรมการแพทย์นี้จะประกอบด้วยประธานและกรรมการอื่นมีจำนวนรวมกันไม่น้อยกว่า 5 คน แต่ไม่เกิน 7 คน ซึ่งคณะกรรมการควบคุมการใช้สารต้องห้ามทางการกีฬาแต่งตั้งจากผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญในวิชาชีพเวชกรรม และผู้มีความรู้ความชำนาญในวิชาชีพเภสัชกรรม (พระราชบัญญัติควบคุมการใช้สารต้องห้ามทางการกีฬา พ.ศ. 2555 มาตรา 14)
          เภสัชกรต้องทราบหรือให้คำแนะนำแก่นักกีฬาว่าสารใดเป็นสารต้องห้ามสำหรับนักกีฬาประเภทใดบ้าง เนื่องจากนักกีฬาจะไม่สามารถใช้สารต้องห้ามดังกล่าวได้ หากมีการใช้อาจถูกปรับแพ้ หรือห้ามการแข่งขันทั้งในครั้งนี้หรือครั้งต่อไปได้ หากนักกีฬามีโรคประจำตัวจะต้องเปลี่ยนยาที่ใช้หรืออาจะจะต้องเลิกเล่นกีฬาชนิดนั้นไปเล่นกีฬาชนิดอื่นแทน ขณะเดียวกันห้ามนักกีฬาหรือบุคคลซึ่งสนับสนุนการกีฬาซึ่งอาจเป็นบุคลากรทางการแพทย์ซึ่งทำงานให้แก่นักกีฬาหรือทำการรักษานักกีฬาใช้สารต้องห้ามกับนักกีฬา หรือซื้อ ขาย แลกเปลี่ยน ให้ ขนส่ง หรือ ครอบครอง สารต้องห้ามสำหรับนักกีฬาอีกด้วย หากฝ่าฝืนอาจถูกตัดสิทธิเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาหรือเข้าร่วมกิจกรรมการแข่งขันกีฬาภายในระยะเวลาที่กำหนด หรือโทษหนักที่สุด คือ การตัดสิทธิเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาหรือเข้าร่วมกิจกรรมการแข่งขันกีฬาทุกรายการตลอดชีวิต  
          นอกจากนี้สารต้องห้ามบางตัวที่อยู่ในกลุ่มยาเสพติดให้โทษ เช่น ยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 1 ห้ามขาย ห้ามใช้ ห้ามครอบครองเป็นอันขาด ส่วนยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 2 และวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทประเภท 2 เภสัชกรไม่สามารถจำหน่ายในร้านยาได้ แพทย์จะเป็นผู้สั่งจ่ายในสถานพยาบาลเท่านั้น และนักกีฬาเองก็ห้ามใช้โดยไม่มีคำสั่งแพทย์ หากฝ่าฝืนต้องรับโทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษหรือกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท แล้วแต่กรณี

เอกสารอ้างอิง
1. กลุ่มงานบริการ สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. เอกสารประกอบการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติควบคุมการใช้สารต้องห้ามทางการกีฬา พ.ศ. .... (อ.พ.3/2554 สมัยสามัญนิติบัญญัติ). http://library2.parliament.go.th/giventake/content_hr/hr24/apl003-2554.pdf   
2. World Anti-Doping Agency. The 2012 Prohibited List International Standard. http://www.wada-ama.org/Documents/World_Anti-Doping_Program/WADP-Prohibited-list/2012/WADA_Prohibited_List_2012_EN.pdf
3. พระราชบัญญัติควบคุมการใช้สารต้องห้ามทางการกีฬา พ.ศ. 2555. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2556/A/002/10.PDF 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น