phentermine (ภาพจาก http://en.wikipedia.org/wiki/Phentermine)
เฟนเทอร์มีน (phentermine) มีโครงสร้างในกลุ่ม phenethylamine ซึ่งคล้ายกับแอมเฟตามีน (amphetamine) ถูกนำไปใช้ในเรื่องของการลดความอยากอาหาร
สถานะทางกฎหมายของ เฟนเทอร์มีน (phentermine) ในประเทศไทย
ก่อนวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ.2531 ไม่ได้ถูกกำหนดให้เป็นวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและสาท พ.ศ.2518 จึงมีสถานะเป็นยา ตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510
วันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ.2531 ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 51 (พ.ศ.2531) เรื่อง ระบุชื่อและจัดแบ่งประเภทวัตถุออกฤทธิ์ ตามความในพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา กำหนดให้ phentermine ซึ่งมีชื่อทางเคมีว่า alpha, alpha-dimethyl-phenethylamine เป็นวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทในประเภท 4 มีผลใช้บังคับเมื่อพ้น 90 วัน นับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา (27 ตุลาคม พ.ศ.2531)
วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ.2531 วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทในประเภท 4
วันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ.2535 ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 84 (พ.ศ. 2535) เรื่อง เปลี่ยนแปลงประเภทวัตถุออกฤทธิ์ตามความในพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อ จิตและประสาท พ.ศ. 2518 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เปลี่ยนแปลงประเภทของ phentermine จากวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทในประเภท 4 เป็น วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทในประเภท 2 มีผลใช้บังคับเมื่อพ้น 90 วัน นับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา (22 มกราคม พ.ศ.2536)
วันที่ 22 มกราคม พ.ศ.2536 วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทในประเภท 2
วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ.2539 ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 97 (พ.ศ.2539) เรื่อง ระบุชื่อและจัดแบ่งประเภทวัตถุออกฤทธิ์ ตามความในพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา แม้ว่าจะยกเลิกประกาศที่จัดประเภทของวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทก่อนหน้านั้น และจัดประเภทใหม่ ก็ยังกำหนดให้ phentermine เป็น วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทในประเภท 2 มีผลใช้บังคับเมื่อพ้น 60 วัน นับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา นั่นหมายความว่า phentermine ยังคงเป็นวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทในประเภท 2ไม่เปลี่ยนแปลง
สรุป เฟนเทอร์มีน (phentermine) ถูกประกาศเป็น วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทในประเภท 2 ตั้งแต่วันที่ 22 มกราคม พ.ศ.2536
ด้วยเหตุที่เฟนเทอร์มีน (phentermine) ซึ่งเป็นวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทในประเภท 2 ถูกนำมาใช้ในเรื่องการลดความอ้วน ทำให้พบปัญหาทำให้ถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย หากมีการฝ่าฝืน ผู้ขายต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 5 - 20 ปี และปรับตั้งแต่ 100,000 - 400,000 บาท ตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 89 ซึ่งบทลงโทษเรื่องการขายไม่ได้กำหนดให้ลงโทษเพราะการกระทำโดยประมาทหรือโดยไม่รู้ ดังนั้น จึงใช้กับกรณีที่มีการกระทำโดยเจตนาที่จะขายวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทเท่านั้น ตามนัยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59 วรรคแรก และมาตรา 17
ที่มา
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 51) พ.ศ. 2531 เรื่อง ระบุชื่อและจัดแบ่งประเภทวัตถุออกฤทธิ์ตามความในพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518.
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2531/D/123/5643.PDF
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 84 (พ.ศ. 2535) เรื่อง เปลี่ยนแปลงประเภทวัตถุออกฤทธิ์ตามความในพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518. ราชกิจจานุเบกษา 28 กรกฎาคม พ.ศ.2531.
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2535/D/136/11868.PDF
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 97 (พ.ศ.2539) เรื่อง ระบุชื่อและจัดแบ่งประเภทวัตถุออกฤทธิ์ ตามความในพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518. ราชกิจจานุเบกษา 16 สิงหาคม พ.ศ.2539
เราเสนอสินเชื่อจาก€ 100,000.00 ถึง 200,000,00 €ในอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสมและไม่มีการตรวจสอบเครดิตเราเสนอสินเชื่อส่วนบุคคลสินเชื่อรวมหนี้เงินร่วมทุนสินเชื่อธุรกิจสินเชื่อเพื่อการศึกษา ? เรามีอัตราดอกเบี้ยคงที่ 3% !!!
ตอบลบอีเมล: guaranteeloanoffer@outlook.com หรือติดต่อ WhatsApp @ +38972751056