วันอังคารที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

พระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510: 1.5 ฉลากยาและเอกสารกำกับยา

1.5 ฉลากยาและเอกสารกำกับยา

ปรุฬห์ รุจนธำรงค์

นิยามที่เกี่ยวข้อง

            “ฉลาก” หมายความรวมถึง รูป รอยประดิษฐ์ เครื่องหมาย หรือ ข้อความใด ๆ ซึ่งแสดงไว้ที่ภาชนะหรือหีบห่อบรรจุยา
            “เอกสารกำกับยา” หมายความรวมถึง กระดาษหรือวัตถุอื่นใดที่ทำให้ปรากฏความหมายด้วยรูป รอยประดิษฐ์เครื่องหมายหรือข้อความใด ๆ เกี่ยวกับยาที่สอดแทรกหรือรวมไว้กับภาชนะหรือหีบห่อบรรจุยา
            “ยาบรรจุเสร็จ”  หมายความว่า ยาแผนปัจจุบันหรือยาแผนโบราณที่ได้ผลิตขึ้นเสร็จในรูปต่าง ๆ ทางเภสัชกรรม ซึ่งบรรจุในภาชนะหรือหีบห่อที่ปิดหรือผนึกไว้ และมีฉลากครบถ้วนตามพระราชบัญญัตินี้
            “ผลิต”  หมายความว่า ทำ ผสม ปรุง หรือแปรสภาพ และหมายความรวมถึงเปลี่ยนรูปยา แบ่งยาโดยมีเจตนาให้เป็นยาบรรจุเสร็จ ทั้งนี้ จะมีฉลากหรือไม่ก็ตาม

- กรณียาแผนปัจจุบัน ผู้รับอนุญาตผลิตยาแผนปัจจุบัน ต้องจัดให้มีฉลากตามมาตรา 25(3) ผู้รับอนุญาตนำหรือสั่งยาเข้ามาในราชอาณาจักรต้องจัดให้มีฉลากยาตามมาตรา 27(5)  แห่งพระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติยา (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2530 กรณียาแผนโบราณ ผู้รับอนุญาตผลิตยาแผนโบราณ ต้องจัดให้มีฉลากตามมาตรา 57(2) ผู้นำเข้ายาแผนโบราณต้องจัดให้มีฉลากยาตามมาตรา 59(3)

- ผู้รับอนุญาตขายยาแผนปัจจุบันต้องปฏิบัติตามมาตรา 26 (3) ผู้รับอนุญาตขายยาแผนโบราณต้องปฏิบัติตามมาตรา 58(2) แห่งพระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510 ซึ่งแก้ไขเพิ่มติมโดยพระราชบัญญัติยา (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2522 คือ จัดให้ฉลากที่ภาชนะและหีบห่อบรรจุยาตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 25(3) กรณียาแผนปัจจุบัน และมาตรา 57(2) กรณียาแผนโบราณคงมีอยู่ครบถ้วน

- ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการ มีหน้าที่ควบคุมการปฏิบัติเกี่ยวกับฉลากหรือเอกสารกำกับยา ตามมาตรา 38(2), มาตรา 39(2)(5), มาตรา 40 ทวิ(2), มาตรา 41(1), มาตรา 42(2), มาตรา 44(2), มาตรา 68(2), มาตรา 69(1), มาตรา 70(2)(3)

- ฉลากและเอกสารกำกับยา เป็นสิ่งที่ต้องแจ้งรายละเอียดเมื่อมีการขอขึ้นทะเบียนตำรับยา ตามมาตรา 80(5)(6)

- การจัดทำฉลากปลอม อาจเข้าข่ายยาปลอม ตามมาตรา 72(1) ประกอบมาตรา 73

- การจัดทำเอกสารกำกับยาสำหรับประชาชน (ติดตามความคืบหน้าจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา)
 

รายการต้องระบุในฉลากยา

ยาแผนปัจจุบัน

ยาแผนโบราณ

หมายเหตุ

ผลิต

นำเข้า

ขาย

ผลิต

นำเข้า

ขาย

1. ชื่อยา

/

/
 
/

/
 
สำหรับผู้ผลิตแม้ว่าภาชนะบรรจุจะมีขนาดเล็กต้องระบุเสมอ

2. เลขที่หรือรหัสใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับยา

/

/
 
/

/
 
สำหรับผู้ผลิตแม้ว่าภาชนะบรรจุจะมีขนาดเล็กต้องระบุเสมอ

3. ปริมาณของยาที่บรรจุ

/

/
 
/

/
 
 

4. ชื่อและปริมาณหรือความแรงของสารออกฤทธิ์อันเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของยาซึ่งจะต้องตรงตามที่ขึ้นทะเบียนตำรับยา

/

/
    
 

5. เลขที่หรืออักษรแสดงครั้งที่ผลิตหรือวิเคราะห์ยา

/

/

 

/

/

 

ถ้าเป็นการผลิตยาแผนโบราณไม่มีคำว่า หรือวิคราะห์ยา

6. ชื่อผู้ผลิตยาและจังหวัดที่ตั้งสถานที่ผลิตยา

/

/

 

/

/

 

กรณีนำเข้าให้ระบุชื่อเมืองและประเทศที่ตั้งสถานที่ผลิตยาแทนชื่อจังหวัด และให้ระบุชื่อของผู้นำหรือสั่งยาเข้ามาในราชอาณาจักร และจังหวัดที่ตั้งสถานที่นำหรือสั่งยาไว้ด้วย ตามมาตรา 27(3) และมาตรา 59(3)

7. วัน เดือน ปี ที่ผลิตยา

/

/

 

/

/

 

สำหรับผู้ผลิตยาแผนโบราณแม้ว่าภาชนะบรรจุจะมีขนาดเล็กต้องระบุเสมอ

8. วันสิ้นอายุของยา

/

/

 

 

 

 

1. สำหรับผู้ผลิตยาแผนปัจจุบันแม้ว่าภาชนะบรรจุจะมีขนาดเล็กต้องระบุเสมอ

2. ยาที่สิ้นอายุตามที่แสดงไว้ในฉลาก เป็นยาเสื่อมสภาพ ตาม พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 มาตรา 75(1)

3. ยาสามัญประจำบ้านแผนปัจจุบันและแผนโบราณต้องระบุวันหมดอายุเสมอ (ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ยาสามัญประจำบ้านแผนปัจจุบัน ข้อ 3, ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ยาสามัญประจำบ้านแผนปัจจุบัน ข้อ 4 กำหนดให้ยาสามัญประจำบ้านทั้งแผนปัจจุบันและแผนโบราณต้องระบุวันหมดอายุ)

4. ยาแผนปัจจุบันทุกชนิดเป็นยาที่ต้องแจ้งกำหนดสิ้นอายุไว้ในฉลาก (ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ยาที่ต้องแจ้งกำหนดสิ้นอายุไว้ในฉลาก พ.ศ.2543 กำหนดเฉพาะยาแผนปัจจุบันเท่านั้นที่ต้องแสดงวันสิ้นอายุ)

 

9. คำว่า ยาแผนโบราณ ให้เห็นได้ชัด

 

 

 

/

/

 

 

10. คำว่า ยาอันตราย ยาควบคุมพิเศษ แล้วแต่กรณี

/

/

 

 

 

 

อักษรสีแดงเห็นได้ชัด

สำหรับผู้ผลิตยาแผนปัจจุบันแม้ว่าภาชนะบรรจุจะมีขนาดเล็กต้องระบุเสมอ

11. คำว่า ยาใช้ภายนอก หรือ ยาใช้เฉพาะที่ แล้วแต่กรณี

/

/

 

/

/

 

 

12. คำว่า ยาสามัญประจำบ้าน ในกรณีที่เป็นยาสามัญประจำบ้าน

/

/

 

/

/

 

คำว่า ยาสามัญประจำบ้าน ในกรอบสีเขียว มีขนาดตัวอักษรที่สามารถอ่านได้ชัดเจน

13. คำว่า ยาสำหรับสัตว์ ในกรณีที่เป็นยาสำหรับสัตว์

/

/

 

/

/

 

อักษรสีแดงเห็นได้ชัด

 

14. จัดให้มีฉลากที่ภาชนะและหีบห่อบรรจุยาตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 25 (3) กรณีเป็นยาแผนปัจจุบัน หรือมาตรา 57(2) กรณีเป็นยาแผนโบราณ คงมีอยู่ครบถ้วน

 

/

/

 

/

/

กรณีนำเข้าให้ระบุชื่อเมืองและประเทศที่ตั้งสถานที่ผลิตยาแทนชื่อจังหวัด และให้ระบุชื่อของผู้นำหรือสั่งยาเข้ามาในราชอาณาจักร และจังหวัดที่ตั้งสถานที่นำหรือสั่งยาไว้ด้วย ตามมาตรา 27(3) และมาตรา 59(3)

15. ใช้ฉลากและเอกสารกำกับยาตามที่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยาไว้ และข้อความในฉลากและเอกสารกำกับยาต้องอ่านได้ชัดเจน เอกสารกำกับยาถ้าเป็นภาษาต่างประเทศต้องมีคำแปลเป็นภาษาไทยด้วย

/

/

 

/

/

 

 

16. จัดให้มีคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยา สำหรับยาที่รัฐมนตรีประกาศตามมาตรา 76 (9)

/

/

 

 

 

 

กรณีฉลากมีเอกสารกำกับยาอยู่ด้วย คำเตือนการใช้ยาจะแสดงไว้ที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของฉลากหรือเอกสารกำกับยาก็ได้

17. จัดให้มีฉลากที่ภาชนะและหีบห่อบรรจุยาที่ปรุงตามใบสั่งยาของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบัน หรือผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง

 

 

/

 

 

 

 

ตัวอย่างคำเตือนในฉลากและเอกสารกำกับยา ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือน


รายการยา

คำเตือนในฉลาก

คำเตือนในเอกสารกำกับยา

(ข้อความที่เพิ่มเติม

จากคำเตือนในฉลาก)

(1.26.2) ยาอะมอกซิซิลลิน (Amoxicillin)

1. ห้ามใช้ในผู้ที่เคยแพ้ยานี้

2. ยานี้อาจทำให้เกิดการแพ้และเป็นอันตรายถึงชีวิต

3. หากเกิดอาการผื่นแดง ระคายเคืองหรือบวม ให้หยุดใช้ยาและปรึกษาแพทย์

4. หากใช้ยานี้แล้วมีอาการผื่นแดง หรือมีอาการคล้ายเป็นหวัด ให้หยุดยาและรีบปรึกษาแพทย์ทันที

เหมือนฉลากและเพิ่ม

5. เมื่อใช้ยานี้หากมีอาการดังต่อไปนี้ เช่น ไข้ ผื่นแดง ตุ่มน้ำพอง มีการหลุดลอกของผิวหนังและบริเวณเยื่อบุต่าง ๆ เช่น ในช่องปาก ลำคอ จมูก อวัยวะสืบพันธุ์ และเยื่อบุตาอักเสบให้หยุดยาและปรึกษาแพทย์เพราะอาจเป็น Stevens-Johnson syndrome

(1.33) ยาจำพวกซัลโฟนาไมด์ (Sulfonamides) สำหรับใช้ภายใน

1. ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยานี้

2. ยานี้อาจทำให้เกิดอันตรายต่อตับ ไต ได้

3. ห้ามใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 2 เดือน หญิงมีครรภ์ ระยะให้นมบุตร

เหมือนฉลาก

(59) อัลโลพูรินอล (Allopurinol)

1. หากใช้ยานี้แล้วมีอาการผื่นแดง หรือมีอาการคล้ายเป็นหวัด ให้หยุดยาและรีบปรึกษาแพทย์ทันที

2. ห้ามใช้ในผู้ที่เคยแพ้ยานี้

เหมือนฉลาก และเพิ่ม

3. เมื่อใช้ยานี้หากมีอาการดังต่อไปนี้ เช่น ไข้ ผื่นแดง ตุ่มน้ำพอง มีการหลุดลอกของผิวหนังและบริเวณเยื่อบุต่าง ๆ เช่น ในช่องปาก ลำคอ จมูก อวัยวะสืบพันธุ์ และเยื่อบุตาอักเสบให้หยุดยาและปรึกษาแพทย์เพราะอาจเป็น Stevens-Johnson syndrome

ดูเอกสารเพิ่มเติมได้ที่

1 ความคิดเห็น:

  1. เราเสนอสินเชื่อจาก€ 100,000.00 ถึง 200,000,00 €ในอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสมและไม่มีการตรวจสอบเครดิตเราเสนอสินเชื่อส่วนบุคคลสินเชื่อรวมหนี้เงินร่วมทุนสินเชื่อธุรกิจสินเชื่อเพื่อการศึกษา ? เรามีอัตราดอกเบี้ยคงที่ 3% !!!
    อีเมล: guaranteeloanoffer@outlook.com หรือติดต่อ WhatsApp @ +38972751056

    ตอบลบ