ปรุฬห์ รุจนธำรงค์
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข
เรื่อง ยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือน
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 76 (9) แห่งพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติยา (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2522 แต่คำเตือนนี้อาจไม่ได้ครอบคลุมทุกผลิตภัณฑ์ยาที่ได้รับการขึ้นทะเบียนตำรับยาในประเทศไทย
มีเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่พบปัญหาบ่อยเท่านั้น และคำเตือนนี้เป็นข้อความบังคับที่กฎหมายกำหนด
แต่กฎหมายไม่ได้ห้ามหากบริษัทจะเพิ่มคำเตือนมากกว่านั้น
แต่ต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามมาตรา 81
“ยา” หมายความว่า ตัวยา
ยาปรุงเสร็จ หรือยาบรรจุเสร็จที่มีตัวยาเหล่านั้น
“ยาใช้ภายนอก” หมายความว่า
ยาที่มีความมุ่งหมายสำหรับใช้กับผิวหนัง หู ตา จมูก ปาก ทวารหนัก ช่องคลอด
หรือท่อปัสสาวะ โดยมีผลในการรักษาเฉพาะที่
“ยาใช้ภายใน” หมายความว่า
ยาที่มีความมุ่งหมายสำหรับใช้ภายใน นอกจากที่เป็นยาใช้ภายนอก
รายการยาที่ต้องแจ้งเตือน คำเตือนในฉลาก และคำเตือนในเอกสารกำกับยา แสดงได้ดังตาราง
รายการยา
|
คำเตือนในฉลาก
|
คำเตือนในเอกสารกำกับยา
(ข้อความที่เพิ่มเติม
จากคำเตือนในฉลาก)
|
(1)
ยาต้านจุลชีพ
|
||
(1.1) ยาจำพวกอะมิโนไกลโคไซด์ (Aminoglycosides) สำหรับใช้ภายนอก
|
ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยานี้”
|
เหมือนฉลาก
|
(1.2) ยาจำพวกอะมิโนไกลโคไซด์ (Aminoglycosides) สำหรับใช้กับตาหรือหู
|
1. ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยานี้
2. ยานี้อาจทำให้เกิดความผิดปกติต่อประสาทหู
ทำให้หูหนวกหูตึงได้
|
เหมือนฉลาก
|
(1.3) ยาจำพวกอะมิโนไกลโคไซด์ (Aminoglycosides) สำหรับใช้ภายใน
|
1. ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยานี้
2. ยานี้อาจทำให้เกิดความผิดปกติต่อประสาทหู
ทำให้หูหนวกหูตึงได้
3. ยานี้มีพิษต่อไต จึงควรใช้อย่างระมัดระวังและลดขนาดยาในผู้ป่วยที่ไตทำงานผิดปกติและเด็ก
4. ไม่ควรใช้ในทารกและหญิงมีครรภ์ หรือระยะให้นมบุตร
|
เหมือนฉลาก
|
(1.4) ยาจำพวกบาซิทราซิน (Bacitracin) สำหรับใช้ภายนอก
|
ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยานี้
|
เหมือนฉลาก
|
(1.5) ยาจำพวกคาพรีโอไมซิน (Capreomycin) และวิโอมัยซิน (Viomycin)
|
1. ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยานี้
2. ยานี้อาจทำให้เกิดความผิดปกติต่อประสาทหู
ทำให้หูหนวกหูตึงได้
3. ยานี้อาจทำให้เกิดอันตรายต่อไตได้
|
เหมือนฉลาก
|
(1.6) ยาจำพวกเซฟาโลสปอริน (Cephalosporins)
|
1. ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยานี้
2.
ยานี้อาจทำให้เกิดการแพ้และเป็นอันตรายถึงตายได้สำหรับผู้ที่แพ้ยาเพนิซิลลิน
อาจแพ้ยานี้ได้ด้วย
3.หากเกิดอาการผื่นแดง ระคายเคืองหรือบวม ให้หยุดใช้ยา
และปรึกษาแพทย์
|
เหมือนฉลาก
|
(1.7) ยาจำพวกคลอแรมเฟนิคอล (Chloramphenicol) สำหรับใช้ภายนอก
|
ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยานี้
|
เหมือนฉลาก
|
(1.8) ยาจำพวกคลอแรมเฟนิคอล (Chloramphenicol) สำหรับใช้กับตาหรือหู
|
1. ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยานี้
2. ยานี้อาจทำให้เกิดอันตรายถึงตายได้
ให้ใช้ตามแพทย์สั่งโดยเคร่งครัด
|
เหมือนฉลาก
|
(1.9) ยาจำพวกคลอแรมเฟนิคอล (Chloramphenicol) สำหรับใช้ภายใน
|
1. ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยานี้
2. ห้ามใช้กับเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี
ผู้ป่วยด้วยโรคตับ หญิงมีครรภ์ ระยะให้นมบุตร
3. ยานี้อาจทำให้เกิดอันตรายถึงตายได้
ให้ใช้ตามแพทย์สั่งโดยเคร่งครัด
|
เหมือนฉลาก
|
(1.10) ยาคลิโอควินอล (Clioquinol) สำหรับใช้ภายใน
|
ยานี้อาจทำให้เกิดอาการผิดปกติของประสาทตาและประสาทขาได้
|
เหมือนฉลาก
|
(1.11) ยาจำพวกไซโคลเซอรีน (Cycloserine)
|
1. ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยานี้
ผู้มีประวัติของโรคลมชักหรือโรคทางจิตและประสาทที่รุนแรง
2. ยานี้อาจทำให้เกิดอันตรายต่อไต จิตและประสาทได้
3. ควรใช้ด้วยความระมัดระวังในหญิงมีครรภ์ ระยะให้นมบุตร
4. ระหว่างใช้ยานี้ ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
|
เหมือนฉลาก
|
(1.12) ยาจำพวกฟลูไซโทซีน (Flucytosine)
|
1. ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยานี้
2. ยานี้อาจทำให้เกิดอันตรายต่อตับ ไต ไขกระดูกได้
|
เหมือนฉลาก
|
(1.13) ยาจำพวกกรดฟูซิดิก (Fusidic acid) และอนุพันธ์ของยาดังกล่าว
|
1. ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยานี้
2. ยานี้อาจทำให้เกิดอันตรายต่อตับได้
|
เหมือนฉลาก
|
(1.14) ยาจำพวกกริซีโอฟูลวิน (Griseofulvin)
|
1. ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยานี้
2. ยานี้อาจทำให้เกิดอันตรายต่อตับ ไต ได้
|
เหมือนฉลาก
|
(1.15) ยาจำพวกคีโทโคนาโซล (Ketoconazole) สำหรับใช้ภายนอก
|
ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยานี้
|
เหมือนฉลาก
|
(1.16) ยาจำพวกคีโทโคนาโซล (Ketoconazole) สำหรับใช้ภายใน
|
1. ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยานี้
2. ไม่ควรใช้ในหญิงมีครรภ์ ระยะให้นมบุตร
3. ยานี้อาจทำให้เกิดอันตรายต่อตับได้
|
เหมือนฉลาก
|
(1.17) ยาจำพวกลินโคไมซิน (Lincomycin) สำหรับใช้ภายนอก
|
ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยานี้
|
เหมือนฉลาก
|
(1.18) ยาจำพวกลินโคไมซิน (Lincomycin) สำหรับใช้ภายใน
|
1. ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยานี้
2. ควรระมัดระวังการใช้ในผู้ป่วยโรคตับ โรคไต
และโรคเกี่ยวกับทางเดินอาหารโดยเฉพาะโรคลำไส้อักเสบ ท้องเดินเรื้อรัง
|
เหมือนฉลาก
|
(1.19) ยาจำพวกมะโครไลด์ (Macrolides) สำหรับใช้ภายนอก
|
ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยานี้
|
เหมือนฉลาก
|
(1.20) ยาจำพวกมะโครไลด์ (Macrolides) สำหรับใช้ภายใน
|
1. ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยานี้
2. ยานี้อาจทำให้เกิดอันตรายต่อตับได้
|
เหมือนฉลาก
|
(1.21) ยาจำพวกไมโคนาโซล (Miconazole)
|
1. ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยานี้
2. ไม่ควรใช้ในหญิงมีครรภ์ ระยะให้นมบุตร
3. ยานี้อาจทำให้มีเลือดออกผิดปกติได้
|
เหมือนฉลาก
|
(1.22) ยาจำพวกไนโทรฟูแรนโทอิน (Nitrofurantoin)
|
1. ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยา
2. ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่มีอาการปัสสาวะน้อย (Oliguria) หรือปัสสาวะไม่ออก
(Anuria)
3. ห้ามใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 2 เดือน
และในหญิงมีครรภ์
|
เหมือนฉลาก
|
(1.23) ยาจำพวกโนโวไบโอซิน (Novobiocin)
|
1. ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยานี้
2. ยานี้อาจทำให้เกิดอันตรายต่อตับได้
3. ยานี้อาจทำให้เกิดการผิดปกติของเม็ดเลือดได้
|
เหมือนฉลาก
|
(1.24) ยาจำพวกนิสทาทิน (Nystatin) สำหรับใช้ภายนอก
|
ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยานี้
|
เหมือนฉลาก
|
(1.25) ยาจำพวกนิสทาทิน (Nystatin) สำหรับใช้ภายใน
|
1. ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยานี้
2. ยานี้อาจทำให้เกิดอันตรายต่อตับ ไต ได้
|
เหมือนฉลาก
|
(1.26) ยาจำพวกเพนิซิลลิน (Penicillins)[1]
|
||
(1.26.1) ยาจำพวกเพนิซิลลิน (Penicillins) ยกเว้น อะมอกซิซิลลิน (Amoxicillin)
|
1. ห้ามใช้ในผู้ที่เคยแพ้ยานี้
2. ยานี้อาจทำให้เกิดการแพ้และเป็นอันตรายถึงชีวิต
3. หากเกิดอาการผื่นแดง ระคายเคืองหรือบวม
ให้หยุดใช้ยาและปรึกษาแพทย์
|
เหมือนฉลาก
|
(1.26.2) ยาอะมอกซิซิลลิน (Amoxicillin)
|
1. ห้ามใช้ในผู้ที่เคยแพ้ยานี้
2. ยานี้อาจทำให้เกิดการแพ้และเป็นอันตรายถึงชีวิต
3. หากเกิดอาการผื่นแดง ระคายเคืองหรือบวม
ให้หยุดใช้ยาและปรึกษาแพทย์
4. หากใช้ยานี้แล้วมีอาการผื่นแดง
หรือมีอาการคล้ายเป็นหวัด ให้หยุดยาและรีบปรึกษาแพทย์ทันที
|
เหมือนฉลากและเพิ่ม
5. เมื่อใช้ยานี้หากมีอาการดังต่อไปนี้ เช่น ไข้ ผื่นแดง
ตุ่มน้ำพอง มีการหลุดลอกของผิวหนังและบริเวณเยื่อบุต่าง ๆ เช่น ในช่องปาก ลำคอ
จมูก อวัยวะสืบพันธุ์ และเยื่อบุตาอักเสบให้หยุดยาและปรึกษาแพทย์เพราะอาจเป็น Stevens-Johnson
syndrome
|
(1.27) ยาจำพวกโพลิมิกซิน (Polymyxins) สำหรับใช้ภายนอก
|
ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยานี้
|
เหมือนฉลาก
|
(1.28) ยาจำพวกโพลิมิกซิน (Polymyxins) สำหรับใช้ภายใน
|
1. ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยานี้
2. ยานี้อาจทำให้เกิดอันตรายต่อไต และระบบประสาทได้
|
เหมือนฉลาก
|
(1.29) ยาจำพวกควิโนโลน
(Quinolone) และอนุพันธ์ของยาดังกล่าว[2]
|
||
(1.29.1) ยากลุ่มฟลูออโรควิโนโลน
(Fluroquinolones) สำหรับรับประทาน
|
1. ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยานี้ หรือยาในกลุ่มควิโนโลนตัวอื่น
ๆ
2. สตรีมีครรภ์และสตรีระยะให้นมบุตรหลีกเลี่ยงการใช้ยานี้
3. หากใช้ยานี้แล้วมีผื่นขึ้น ปวดเมื่อย ปวดกล้ามเนื้อ
ปวดเอ็นข้อมือหรือข้อเท้า ให้รีบหยุดยาและปรึกษาแพทย์ทันที
4. ยานี้อาจทำให้เกิดอันตรายต่อตับ ไตได้
|
เหมือนฉลาก และเพิ่ม
5. ไม่ควรใช้ยานี้ หรือหากจำเป็นให้ใช้ด้วยความระมัดระวังในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลาง
ซึ่งง่ายต่อการเกิดอาการชัก โดยสัมพันธ์กับขนาดยาที่ให้
6. ยานี้อาจทำให้เกิดผื่นแพ้แสงแดด (phototoxicity
reaction) หรือผื่นชนิดรุนแรง เช่น Toxic Epidermal
Necrolysis, Steven – Johnson syndrome, Erythema Multiforme เป็นต้น
7. ยานี้อาจมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำตาลในเลือด
ควรระมัดระวังการใช้ในผู้ป่วยเบาหวาน
8. การใช้ยานี้ร่วมกับ warfarin อาจจะเพิ่มฤทธิ์ของ
warfarin”
|
(1.29.2) ยาไซโพรฟลอกซาซิน (Ciprofloxacin)
|
1. ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยานี้ หรือยาในกลุ่มควิโนโลนตัวอื่น
ๆ
2. สตรีมีครรภ์และสตรีระยะให้นมบุตรหลีกเลี่ยงการใช้ยานี้
3. หากใช้ยานี้แล้วมีผื่นขึ้น ปวดเมื่อย ปวดกล้ามเนื้อ
ปวดเอ็นข้อมือหรือข้อเท้า ให้รีบหยุดยาและปรึกษาแพทย์ทันที
4. ยานี้อาจทำให้เกิดอันตรายต่อตับ ไตได้
|
เหมือนฉลาก และเพิ่ม
5. ไม่ควรใช้ยานี้
หรือหากจำเป็นให้ใช้ด้วยความระมัดระวังในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลาง
ซึ่งง่ายต่อการเกิดอาการชัก โดยสัมพันธ์กับขนาดยาที่ให้
6.
ระมัดระวังการใช้ยานี้ร่วมกับยาที่ถูกเปลี่ยนแปลงผ่านระบบเอนไซม์ cytochrome
P450 1A2 เช่น theophilline, methylxanthine, caffeine เพราะอาจจะเกิดอันตรกิริยา (drug interaction) ต่อกันมีผลให้ระดับยาในเลือดสูงขึ้นจนเกิดอันตรายได้
7. อาจพบภาวะความผิดปกติของระบบเลือด
รวมทั้งการกดไขกระดูก หากพบควรหยุดยาทันที และการใช้ยานี้ร่วมกับ warfarin
อาจจะเพิ่มฤทธิ์ของ warfarin
8. ยานี้อาจทำให้เกิดผื่นแพ้แสงแดด (phototoxicity
reaction) หรือผื่นชนิดรุนแรง เช่น Toxic Epidermal
Necrolysis, Steven – Johnson syndrome, Erythema Multiforme เป็นต้น
9. ยานี้อาจมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำตาลในเลือด
ควรระมัดระวังการใช้ในผู้ป่วยเบาหวาน
|
(1.29.3) ยาเลโวฟลอกซาซิน (Levofloxacin)
|
1. ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยานี้ หรือยาในกลุ่มควิโนโลนตัวอื่น
ๆ
2. สตรีมีครรภ์และสตรีระยะให้นมบุตรหลีกเลี่ยงการใช้ยานี้
3. หากใช้ยานี้แล้วมีผื่นขึ้น ปวดเมื่อย ปวดกล้ามเนื้อ
ปวดเอ็นข้อมือหรือข้อเท้า ให้รีบหยุดยาและปรึกษาแพทย์ทันที
4. ยานี้อาจทำให้เกิดอันตรายต่อตับ ไตได้
|
เหมือนฉลาก และเพิ่ม
5. ไม่ควรใช้ยานี้
หรือหากจำเป็นให้ใช้ด้วยความระมัดระวังในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลาง
ซึ่งง่ายต่อการเกิดอาการชัก โดยสัมพันธ์กับขนาดยาที่ให้
6. ยานี้อาจทำให้เกิดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ QT ยาวขึ้นได้
จึงควรระมัดระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะดังกล่าว เช่น
ผู้ป่วยสูงอายุ ผู้ป่วยโรคหัวใจ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีอาการหัวใจเต้นผิดปกติ
ความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยที่มีระดับโปแตสเซียมในเลือดต่ำกว่าปกติ เป็นต้น
7. หลีกเลี่ยงการใช้ยานี้ร่วมกับยาที่ทำให้คลื่นไฟฟ้าหัวใจ
QT ยาวขึ้น เช่น ยากลุ่ม antiarrhythmic class IA (เช่น quinidine, procainamide), class III (เช่น amiodarone),
ยา cisapride, ยา erythromycin, ยากลุ่ม antipsychotics, tricyclic antidepressants เป็นต้น
8. ยานี้อาจทำให้เกิดผื่นแพ้แสงแดด (phototoxicity
reaction) หรือผื่นชนิดรุนแรง เช่น Toxic Epidermal
Necrolysis, Steven – Johnson syndrome, Erythema Multiforme เป็นต้น
9. ยานี้อาจมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำตาลในเลือด
ควรระมัดระวังการใช้ในผู้ป่วยเบาหวาน
10. การใช้ยานี้ร่วมกับ warfarin อาจจะเพิ่มฤทธิ์ของ
warfarin
|
(1.29.4) ยามอกซิฟลอกซาซิน (Moxifloxacin)
|
1. ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยานี้ หรือยาในกลุ่มควิโนโลนตัวอื่น
ๆ
2. สตรีมีครรภ์และสตรีระยะให้นมบุตรหลีกเลี่ยงการใช้ยานี้
3. หากใช้ยานี้แล้วมีผื่นขึ้น ปวดเมื่อย ปวดกล้ามเนื้อ
ปวดเอ็นข้อมือหรือข้อเท้า ให้รีบหยุดยาและปรึกษาแพทย์ทันที
4. ยานี้อาจทำให้เกิดอันตรายต่อตับ ไตได้
|
เหมือนฉลาก และเพิ่ม
5. ไม่ควรใช้ยานี้ หรือหากจำเป็นให้ใช้ด้วย
ความระมัดระวังในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลาง
ซึ่งง่ายต่อการเกิดอาการชัก โดยสัมพันธ์กับขนาดยาที่ให้
6. ยานี้อาจทำให้เกิดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ QT ยาวขึ้นได้
จึงควรระมัดระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะดังกล่าว เช่น
ผู้ป่วยสูงอายุ ผู้ป่วยโรคหัวใจ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีอาการหัวใจเต้นผิดปกติ
ความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยที่มีระดับโปแตสเซียมในเลือดต่ำกว่าปกติ เป็นต้น
7. หลีกเลี่ยงการใช้ยานี้ร่วมกับยาที่ทำให้คลื่นไฟฟ้าหัวใจ
QT ยาวขึ้น เช่น ยากลุ่ม antiarrhythmic class IA (เช่น quinidine, procainamide), class III (เช่น amiodarone),
ยา cisapride, ยา erythromycin, ยากลุ่ม antipsychotics, tricyclic antidepressants เป็นต้น
8. ยานี้อาจทำให้เกิดผื่นแพ้แสงแดด (phototoxicity
reaction) หรือผื่นชนิดรุนแรง เช่น Toxic Epidermal
Necrolysis, Steven – Johnson syndrome, Erythema Multiforme เป็นต้น
9. ยานี้อาจมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำตาลในเลือด
ควรระมัดระวังการใช้ในผู้ป่วยเบาหวาน
10. การใช้ยานี้ร่วมกับ warfarin อาจจะเพิ่มฤทธิ์ของ
warfarin
|
(1.29.5) ยากลุ่มฟลูออโรควิโนโลน
(Fluoroquinolones) ชนิดหยอดตา
|
1. ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยานี้ หรือยาในกลุ่มควิโนโลนตัวอื่น
ๆ
2. หากใช้ยานี้แล้วมีอาการตาแดง บวมมากขึ้น
หรือมีผื่นขึ้น ปวดเมื่อย ปวดกล้ามเนื้อ ปวดเอ็นข้อมือหรือข้อเท้า
ให้รีบหยุดยาและปรึกษาแพทย์ทันที
3. ยานี้อาจทำให้เกิดอันตรายต่อตับ ไตได้
|
เหมือนฉลาก
|
(1.29.6) ยากลุ่มฟลูออโรควิโนโลน
(Fluoroquinolones) ชนิดหยอดหู
|
1. ห้ามใช้ในผู้แพ้ยานี้ หรือยาในกลุ่มควิโนโลนตัวอื่น ๆ
2. หากใช้ยานี้แล้วมีผื่นขึ้นที่ตัว มีอาการคัน บวม แดง
อักเสบ มีน้ำเหลืองเยิ้ม มีสะเก็ดที่ช่องหู หรือใบหู
ให้หยุดยาและปรึกษาแพทย์ทันที
|
เหมือนฉลาก
|
(1.29.7) ยาจำพวกอะโครโซซาซิน (Acrosoxacin)
และกรดนาลิดิซิก (Nalidixic acid)
|
1. ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยานี้
2. ยานี้อาจทำให้เกิดอันตรายต่อตับ ไตได้
3. ขณะที่ใช้ยานี้
ไม่ควรขับขี่ยานยนต์หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล
|
เหมือนฉลาก
|
(1.30) ยาจำพวกไรฟาไมซิน (Rifamycins)
|
1. ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยานี้
2. ยานี้อาจทำให้เกิดอันตรายต่อตับได้
|
เหมือนฉลาก
|
(1.31) ยาจำพวกสเปกติโนไมซิน (Spectinomycin)
|
1. ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยานี้
2. ยานี้อาจทำให้เกิดอันตรายต่อไตได้
|
เหมือนฉลาก
|
(1.32) ยาจำพวกซัลโฟนาไมด์ (Sulfonamides) สำหรับใช้ภายนอก[3]
|
||
(1.32.1)
ยาจำพวกซัลโฟนาไมด์ (Sulfonamides) สำหรับใช้ภายนอก
ยกเว้นซัลฟาไดอะซีน (Sulfadiazine) ซัลฟาดอกซีน (Sulfadoxine)
ซัลฟาฟูราโซล (Sulfafurazole) ซัลฟามีธอกซาโซล
(Sulfamethoxazol) และซัลฟาซาลาซีน (Sulfasalazine)
|
ห้ามใช้ในผู้ที่เคยแพ้ยานี้
|
เหมือนฉลาก
|
(1.32.2)
ยาซัลฟาไดอะซีน (Sulfadiazine) ยาซัลฟาดอกซีน (Sulfadoxine)
ยาซัลฟาฟูราโซล (Sulfafurazole) ยาซัลฟามีธอกซาโซล
(Sulfamethoxazol) และยาซัลฟาซาลาซีน (Sulfasalazine)
สำหรับใช้ภายนอก
|
1. ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยาปฏิชีวนะกลุ่มซัลโฟนาไมด์
2. ห้ามใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 2
เดือน
3.
ใช้ด้วยความระมัดระวังในผู้ป่วยที่มีภาวะบกพร่องเอนไซม์ G6PD
คำเตือนในเอกสารกำกับยา
4. หากใช้ยาแล้วผู้ป่วยเกิดอาการตัวเขียว เหนื่อยง่าย
ให้หยุดยา เนื่องจากอาจเกิดภาวะmethemoglobinemia
|
เหมือนฉลาก
|
(1.33) ยาจำพวกซัลโฟนาไมด์ (Sulfonamides) สำหรับใช้ภายใน[4]
|
1. ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยานี้
2. ยานี้อาจทำให้เกิดอันตรายต่อตับ ไต ได้
3. ห้ามใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 2 เดือน
หญิงมีครรภ์ ระยะให้นมบุตร
|
เหมือนฉลาก
|
(1.33.1)
ยาจำพวกซัลโฟนาไมด์ (Sulfonamides) สำหรับใช้ภายใน ยกเว้น
ซัลฟาไดอะซีน (Sulfadiazine) ซัลฟาดอกซีน (Sulfadoxine)
ซัลฟาฟูราโซล (Sulfafurazole) ซัลฟามีธอกซาโซล
(Sulfamethoxazol) และซัลฟาซาลาซีน (Sulfasalazine)
|
1. ห้ามใช้ในผู้ที่เคยแพ้ยานี้
2. ยานี้อาจทำให้เกิดอันตรายต่อตับ ไต ได้
3. ห้ามใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 2
เดือน หญิงมีครรภ์ ระยะให้นมบุตร
|
เหมือนฉลาก
|
(1.33.2)
ยาซัลฟาไดอะซีน (Sulfadiazine) ยาซัลฟาดอกซีน (Sulfadoxine)
ยาซัลฟาฟูราโซล (Sulfafurazole) ยาซัลฟามีธอกซาโซล
(Sulfamethoxazol) และ ยาซัลฟาซาลาซีน (Sulfasalazine)
สำหรับใช้ภายใน
|
1. ห้ามใช้ในผู้ที่เคยแพ้ยานี้
2. ยานี้อาจทำให้เกิดอันตรายต่อตับ ไต ได้
3. ห้ามใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 2 เดือน
หญิงมีครรภ์ ระยะให้นมบุตร
4. หากใช้ยานี้แล้วมีอาการผื่นแดง
หรือมีอาการคล้ายเป็นหวัด ให้หยุดยาและรีบปรึกษาแพทย์ทันที
|
เหมือนฉลาก และเพิ่ม
5. เมื่อใช้ยานี้หากมีอาการดังต่อไปนี้ เช่น ไข้ ผื่นแดง
ตุ่มน้ำพอง มีการหลุดลอกของผิวหนังและบริเวณเยื่อบุต่าง ๆ เช่น ในช่องปาก ลำคอ
จมูก อวัยวะสืบพันธุ์ และเยื่อบุตาอักเสบ ให้หยุดยาและปรึกษาแพทย์เพราะอาจเป็น Stevens-Johnson
syndrome
|
(1.34) ยาจำพวกเตตระไซคลิน (Tetracyclines) สำหรับใช้ภายนอก
|
ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยานี้
|
เหมือนฉลาก
|
(1.35) ยาจำพวกเตตระไซคลิน (Tetracyclines) สำหรับใช้ภายใน
|
1. ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยานี้
2. ห้ามใช้ในเด็ก หญิงมีครรภ์ หรือ หญิงระยะให้นมบุตร
|
เหมือนฉลาก
|
(1.36) ยาจำพวกแวนโคไมซิน (Vancomycin)
|
1. ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยานี้
2. ในหญิงมีครรภ์
ยานี้อาจเป็นอันตรายต่อประสาทหูของทารกในครรภ์ได้
|
เหมือนฉลาก
|
(2.1) ยาแอนติฮีสตามีนทุกชนิด ที่จับอย่างไม่เจาะจงกับ central
receptor
และ peripheral H1
receptor เว้นแต่ในประกาศนี้จะระบุไว้เป็นอย่างอื่น
|
1. ยานี้ทำให้ง่วงซึม
จึงไม่ควรขับขี่ยานยนต์หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล
หรือทำงานที่เสี่ยงต่อการพลัดตกจากที่สูง
2. ไม่ควรรับประทานร่วมกับสุรา
หรือสิ่งที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบ
3. ห้ามใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี
ผู้ที่กำลังมีอาการหอบหืด โรคต้อหิน ต่อมลูกหมากโตหรือปัสสาวะขัด
นอกจากแพทย์สั่ง
4. ระวังการใช้ยานี้ในสตรีมีครรภ์ระยะ 3 เดือนแรกและสตรีให้นมบุตร
|
เหมือนฉลาก และเพิ่ม
5. ยานี้ทำให้ปากแห้ง ปัสสาวะขัด เสมหะเหนียวข้น ตาพร่า
วิงเวียนและสับสนได้
6. เด็กและผู้สูงอายุ จะไวต่อยานี้มากขึ้น ทำให้ง่วงนอน
วิงเวียน ประสาทหลอน ปากแห้ง ปัสสาวะคั่ง ความดันโลหิตต่ำ หงุดหงิด นอนไม่หลับ
และบางรายอาจมีอาการชักได้ (Paradoxical reaction)
7. ระวังการใช้ยานี้ร่วมกับยาที่มีฤทธิ์กดระบบประสาทส่วนกลาง
เช่น ยากลุ่ม Benzodiazepines ยาที่มีฤทธิ์แอนติโคลิเนอร์จิก
และยาต้านอาการซึมเศร้า ชนิดต่างๆ
8. ระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ
และหลอดเลือด ต่อมไทรอยด์ทำงานมากกว่าปกติ ผู้ที่มีประวัติโรคหอบหืด
โรคถุงลมโป่งพอง
|
(2.1.1) สำหรับยาจำพวกบิวคลิซีน
(Buclizine) คาร์บิน็อกซามีน (Carbinoxamine) คลอร์ไซคลิซีน (Chlorcyclizine) ไซคลิซีน (Cyclizine) โฮโมคลอร์ไซคลิซีน
(Homochlorcyclizine) ไฮดรอกไซซีน (Hydroxyzine) เมบไฮโดรลีน (Mebhydroline) มีควิทาซีน (Mequitazine) ออกซาโทไมด์ (Oxatomide) ไพพรินไฮดริเนท (Piprinhydrinate) โปรเมทาซีน (Promethazine) ไทรโปรลิดีน (Triprolidine)
|
1. ยานี้ทำให้ง่วงซึม จึงไม่ควรขับขี่ยานยนต์หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล
หรือทำงานที่เสี่ยงต่อการพลัดตกจากที่สูง
2. ไม่ควรรับประทานร่วมกับสุรา
หรือสิ่งที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบ
3. ไม่ควรใช้ยานี้ในสตรีมีครรภ์ระยะ 3 เดือนแรก และสตรีให้นมบุตร
|
เหมือนฉลาก และเพิ่ม
4. ยานี้ทำให้ปากแห้ง ปัสสาวะขัด เสมหะเหนียวข้น ตาพร่า
วิงเวียน และสับสนได้
5. เด็กและผู้สูงอายุ จะไวต่อยานี้มากขึ้น ทำให้ง่วงนอน
วิงเวียน ประสาทหลอน ปากแห้ง ปัสสาวะคั่ง ความดันโลหิตต่ำ หงุดหงิด นอนไม่หลับ
และบางรายอาจมีอาการชักได้ (Paradoxical reaction)
6. ระวังการใช้ยานี้ร่วมกับยาที่มีฤทธิ์กดประสาทส่วนกลางเช่น
ยากลุ่ม Benzodiazines ยาที่มีฤทธิ์แอนติโคลิเนอร์จิก
และยาต้านอาการซึมเศร้าชนิดต่างๆ
7. ระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง
โรคหัวใจและหลอดเลือด ต่อมไทรอยด์ทำงานมากกว่าปกติ ผู้ที่มีประวัติโรคหอบหืด โรคถุงลมโป่งพอง
|
(2.1.2) สำหรับยาจำพวกอะซาทาดีน
(Azatadine) บรอมเฟนิรามีน (Brompheniramine) คลอเฟนิรามีน (Chlorpheniramine) เดกซ์คลอเฟนิรามีน
(Dexchlorpheniramine) ดอกซีลามีน (Doxylamine)
|
1. ยานี้ทำให้ง่วงซึม
จึงไม่ควรขับขี่ยานยนต์หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล
หรือทำงานที่เสี่ยงต่อการพลัดตกจากที่สูง
2. ไม่ควรรับประทานร่วมกับสุรา หรือสิ่งที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบ
3. ห้ามใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี
ผู้ที่กำลังมีอาการหอบหืด โรคต้อหิน ต่อมลูกหมากโตหรือปัสสาวะขัด
นอกจากแพทย์สั่ง
4. ระวังการใช้ยานี้ในสตรีมีครรภ์ ระยะ 3 เดือนแรก และสตรีที่ให้นมบุตร
|
เหมือนฉลาก และเพิ่ม
5. ยานี้ทำให้ปากแห้ง ปัสสาวะขัด เสมหะเหนียวข้น ตาพร่า
วิงเวียน สับสน และเม็ดเลือดผิดปกติได้
6. เด็กและผู้สูงอายุ จะไวต่อยานี้มากขึ้น ทำให้ง่วงนอน
วิงเวียน ประสาทหลอน ปากแห้ง ปัสสาวะคั่ง ความดันโลหิตต่ำ หงุดหงิด
นอนไม่หลับและบางรายอาจมีอาการชักได้ (paradoxical reaction)
7. ระวังการใช้ยานี้ร่วมกับยาที่มีฤทธิ์กดระบบประสาทส่วนกลาง
เช่น ยากลุ่ม Benzodiazepines ยาที่มีฤทธิ์แอนติโคลิเนอร์จิก
และยาต้านอาการซึมเศร้าชนิดต่างๆ
8. ระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง
โรคหัวใจและหลอดเลือด ต่อมไทรอยด์ทำงานมากกว่าปกติ ผู้ที่มีประวัติโรคหอบหืด
โรคถุงลมโป่งพอง
|
(2.1.3) สำหรับยาจำพวกไดเมนไฮดริเนท
(Dimenhydrinate) ไดเฟนไฮดรามีน
(Diphenhydramine)
|
1. ยานี้ทำให้ง่วงซึม
จึงไม่ควรขับขี่ยานยนต์หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล หรือทำงานที่เสี่ยงต่อการพลัดตกจากที่สูง
2. ไม่ควรรับประทานร่วมกับสุรา
หรือสิ่งที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบ
3. ห้ามใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี
ผู้ที่กำลังมีอาการหอบหืด โรคต้อหิน ต่อมลูกหมากโต หรือปัสสาวะขัด
นอกจากแพทย์สั่ง
4. ระวังการใช้ยานี้ในสตรีมีครรภ์ระยะ 3 เดือนแรก และสตรีที่ให้นมบุตร
|
เหมือนฉลาก และเพิ่ม
5. ยานี้ทำให้ปากแห้ง ปัสสาวะขัด เสมหะเหนียวข้น
ตาพร่าวิงเวียน และสับสนได้
6. เด็กและผู้สูงอายุ จะไวต่อยานี้มากขึ้น ทำให้ง่วงนอน
วิงเวียน ประสาทหลอน ปากแห้ง ปัสสาวะคั่ง ความดันโลหิตต่ำ หงุดหงิด นอนไม่หลับ
และบางรายอาจมีอาการชักได้ (paradoxical reaction)
7. ระวังการใช้ยานี้ร่วมกับยาที่มีฤทธิ์กดระบบประสาทส่วนกลาง
เช่น ยากลุ่ม Benzodiazepines ยาที่มีฤทธิ์แอนติโคลิเนอร์จิก
และยาต้านอาการซึมเศร้าชนิดต่างๆ
8. ระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ
และหลอดเลือด ต่อมไทรอยด์ทำงานมากกว่าปกติ ผู้ที่มีประวัติโรคหอบหืด
โรคถุงลมโป่งพอง
9. ฤทธิ์แก้อาเจียนของยานี้ อาจบดบังอาการพิษที่เกิดจากการได้รับยาบางชนิดเกินขนาด
หรืออาจทำให้การวินิจฉัยโรคบางอย่างผิดพลาดได้ เช่น ไส้ติ่งอักเสบ
|
(2.1.4) สำหรับยาจำพวกไซโปรเฮปทาดีน
(Cyproheptadine)
|
1. ยานี้ทำให้ง่วงซึม
จึงไม่ควรขับขี่ยานยนต์หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล
หรือทำงานที่เสี่ยงต่อการพลัดตกจากที่สูง
2. ไม่ควรรับประทานร่วมกับสุรา
หรือสิ่งที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบ
3. ห้ามใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี
ผู้ที่กำลังมีอาการหอบหืด โรคต้อหิน ต่อมลูกหมากโต หรือปัสสาวะขัด
นอกจากแพทย์สั่ง
4. ระวังการใช้ยานี้ในสตรีมีครรภ์ ระยะ 3 เดือนแรก และสตรีที่ให้นมบุตร
5. ห้ามใช้ยานี้ในเด็กติดต่อกันนานเกิน 3 เดือน เพราะอาจกดการเจริญเติบโตได้
|
เหมือนฉลาก และเพิ่ม
6. ยานี้ทำให้ปากแห้ง ปัสสาวะขัด เสมหะเหนียวข้น ตาพร่า
วิงเวียน และสับสนได้
7. เด็กและผู้สูงอายุ จะไวต่อยานี้มากขึ้น ทำให้ง่วงนอน
วิงเวียน ประสาทหลอน ปากแห้ง ปัสสาวะคั่ง ความดันโลหิตต่ำ หงุดหงิด
นอนไม่หลับและบางรายอาจมีอาการชักได้ (paradoxical reaction)
8. ระวังการใช้ยานี้ร่วมกับยาที่มีฤทธิ์กดระบบประสาทส่วนกลาง
เช่น ยากลุ่ม Benzodiazepines ยาที่มีฤทธิ์แอนติโคลิเนอร์จิก
และยาต้านอาการซึมเศร้าชนิดต่างๆ
9. ระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง
โรคหัวใจและหลอดเลือด ต่อมไทรอยด์ทำงานมากกว่าปกติ ผู้ที่มีประวัติโรคหอบหืด โรคถุงลมโป่งพอง
10. ยานี้อาจทำให้น้ำหนักเพิ่ม ปวดท้อง ปวดข้อ ตับอักเสบ
บวมน้ำ อ่อนเพลีย และเม็ดเลือดผิดปกติได้”
|
(2.1.5) สำหรับยาจำพวกคีโททิเฟน
(Ketotifen)
|
1. ยานี้ทำให้ง่วงซึม
จึงไม่ควรขับขี่ยานยนต์หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล
หรือทำงานที่เสี่ยงต่อการพลัดตกจากที่สูง
2. ไม่ควรรับประทานร่วมกับสุรา
หรือสิ่งที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบ
3. ไม่ควรใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี
นอกจากแพทย์สั่ง
|
เหมือนฉลาก และเพิ่ม
4. ระวังการใช้ยานี้ร่วมกับยาที่มีฤทธิ์กดระบบประสาทส่วนกลาง
เช่น ยากลุ่ม Benzodiazepines
5. ไม่ควรใช้ยานี้ร่วมกับยาลดน้ำตาลในเลือดชนิดรับประทาน
เพราะอาจทำให้จำนวน เกล็ดเลือดลดลงและเลือดหยุดช้าได้
6. ยานี้ทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มได้
|
(2.1.6) สำหรับยาจำพวกโปรเมทาซีน
(Promethazine)
|
1. ยานี้ทำให้ง่วงซึม
จึงไม่ควรขับขี่ยานยนต์หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล
หรือทำงานที่เสี่ยงต่อการพลัดตกจากที่สูง
2. ไม่ควรรับประทานร่วมกับสุรา
หรือสิ่งที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบ
3. ห้ามใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี
ผู้ที่กำลังมีอาการหอบหืด โรคต้อหิน ต่อมลูกหมากโต หรือปัสสาวะขัด
นอกจากแพทย์สั่ง
4. ระวังการใช้ยานี้ในสตรีมีครรภ์ระยะ 3 เดือนแรก และสตรีที่ให้นมบุตร
|
เหมือนฉลาก และเพิ่ม
5. ยานี้ทำให้ปากแห้ง ปัสสาวะขัด เสมหะเหนียวข้น ตาพร่า
วิงเวียน สับสน และเม็ดเลือดผิดปกติได้
6. เด็กและผู้สูงอายุ จะไวต่อยานี้มากขึ้น ทำให้ง่วงนอน
วิงเวียน ประสาทหลอน ปากแห้ง ปัสสาวะคั่ง ความดันโลหิตต่ำ หงุดหงิด
นอนไม่หลับและบางรายอาจมีอาการชักได้ (paradoxical reaction)
7. ระวังการใช้ยานี้ร่วมกับยาที่มีฤทธิ์กดระบบประสาทส่วนกลาง
เช่น ยากลุ่ม Benzodiazepines ยาที่มีฤทธิ์แอนติโคลิเนอร์จิก
และยาต้านอาการซึมเศร้าชนิดต่างๆ
8. ระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง
โรคหัวใจและหลอดเลือด ต่อมไทรอยด์ทำงานมากกว่าปกติ ผู้ที่มีประวัติโรคหอบหืด โรคถุงลมโป่งพอง
9. ฤทธิ์แก้อาเจียนของยานี้ อาจบดบังอาการพิษที่เกิดจากการได้รับยาบางชนิดเกินขนาด
หรืออาจทำให้การวินิจฉัยโรคบางอย่างผิดพลาดได้ เช่น ไส้ติ่งอักเสบ
|
(2.2) ยาแอนติฮีสตามีนทุกชนิด ที่จับอย่างเจาะจงกับ
peripheral H1 receptor เว้นแต่ในประกาศนี้จะระบุไว้เป็นอย่างอื่น
|
1. ยานี้อาจทำให้ง่วงซึม จึงไม่ควรขับขี่ยานยนต์
หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล หรือทำงานที่เสี่ยงต่อการพลัดตกจากที่สูง
2. ไม่ควรรับประทานร่วมกับสุรา หรือสิ่งที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบ
3. ระวังการใช้ยานี้ในเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี สตรีมีครรภ์ระยะ 3 เดือนแรก
และสตรีที่ให้นมบุตร
|
เหมือนฉลาก
|
(2.2.1) สำหรับยาจำพวกอาคริวาสทีน
(Acrivastine)
|
1. ยานี้ทำให้ง่วงซึม จึงไม่ควรขับขี่ยานยนต์
หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล หรือทำงานที่เสี่ยงต่อการพลัดตกจากที่สูง
2. ไม่ควรรับประทานร่วมกับสุรา
หรือสิ่งที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบ
3. ห้ามใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี
ผู้ที่กำลังมีอาการหอบหืด โรคต้อหิน ต่อมลูกหมากโต หรือปัสสาวะขัด
นอกจากแพทย์สั่ง
4. ระวังการใช้ยานี้ในสตรีมีครรภ์ระยะ 3 เดือนแรก และสตรีที่ให้นมบุตร
|
เหมือนฉลาก และเพิ่ม
5. ยานี้ทำให้ปากแห้ง ปัสสาวะขัด เสมหะเหนียวข้น ตาพร่า
วิงเวียน และสับสนได้
6. เด็กและผู้สูงอายุจะไวต่อยานี้มากขึ้น ทำให้ง่วงนอน
วิงเวียน ประสาทหลอน ปากแห้ง ปัสสาวะคั่ง ความดันโลหิตต่ำ หงุดหงิด นอนไม่หลับ
และบางรายอาจมีอาการชักได้ (paradoxical reaction)
7. ระวังการใช้ยานี้ร่วมกับยาที่มีฤทธิ์กดระบบประสาทส่วนกลาง
เช่น ยากลุ่ม Benzodiazepines ยาที่มีฤทธิ์แอนติโคลิเนอร์จิก
และยาต้านอาการซึมเศร้าชนิดต่างๆ
8. ระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง
โรคหัวใจและหลอดเลือด ต่อมไทรอยด์ทำงานมากกว่าปกติ ผู้ที่มีประวัติโรคหอบหืด
โรคถุงลมโป่งพอง
9. ฤทธิ์แก้อาเจียนของยานี้
อาจบดบังอาการพิษที่เกิดจากการได้รับยาบางชนิดเกินขนาด หรืออาจทำให้การวินิจฉัยโรคบางอย่างผิดพลาดได้
เช่นไส้ติ่งอักเสบ
|
(2.2.2) สำหรับยาจำพวกเซทิไรซีน
(Cetirizine)
|
1. ยานี้อาจทำให้ง่วงซึม จึงไม่ควรขับขี่ยานยนต์
หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล หรือทำงานที่เสี่ยงต่อการพลัดตกจากที่สูง
2. ไม่ควรรับประทานร่วมกับสุรา หรือสิ่งที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบ
3. ไม่ควรใช้ในสตรีมีครรภ์ระยะ 3 เดือนแรก
สตรีที่ให้นมบุตร และเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี
|
เหมือนฉลาก และเพิ่ม
4. ระวังการใช้ยานี้ร่วมกับยาที่มีฤทธิ์กดระบบประสาทส่วนกลาง
เช่น ยากลุ่ม Benzodiazepines หรือยาต้านอาการซึมเศร้าชนิดต่างๆ
5. ระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคตับ หรือโรคไต
6. ยานี้อาจทำให้ตาพร่า สับสน และปัสสาวะขัดได้
|
(2.2.3) สำหรับยาจำพวกอีบาสทีน (Ebastine)
|
1. ยานี้อาจทำให้ง่วงซึม จึงไม่ควรขับขี่ยานยนต์
หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล หรือ ทำงานที่เสี่ยงต่อการพลัดตกจากที่สูง
2. ไม่ควรรับประทานร่วมกับสุรา
หรือสิ่งที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบ
3. ระวังการใช้ยานี้ในเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี สตรีมีครรภ์ระยะ 3 เดือนแรก
และสตรีที่ให้นมบุตร
4. หากใช้ยานี้แล้วหัวใจเต้นผิดปกติ ให้หยุดและปรึกษาแพทย์
|
เหมือนฉลาก และเพิ่ม
5. ระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคตับ
6. การใช้ยานี้ร่วมกับยาต้านจุลชีพกลุ่ม Macrolides เช่น erythromycin,
clarithromycin หรือยาต้านเชื้อรากลุ่ม Imidazole เช่น ketoconazole,
itraconazole,fluconazole, หรือยากลุ่ม HIV Protease Inhibitors รวมทั้งยาอื่นที่ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์
CYP450 เช่น cimetidine, metronidazole, zafirlukast, ยากลุ่ม
SSRIs เป็นต้น
จะทำให้ระดับยานี้ในเลือดสูงขึ้นเป็น 2-3 เท่า
และมีรายงานการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ QT ยาวขึ้นได้
7. ไม่ควรใช้ยานี้ร่วมกับยาที่ทำให้คลื่นไฟฟ้าหัวใจ QT
interval ยาวขึ้นเช่น Calcium Channel Blockers (เช่น bepridil,verapamil), Tricyclic Antidepressant, cisapride,
quinidine เป็นต้น
|
(2.2.4) สำหรับยาจำพวกลอราทาดีน (Loratadine)
|
1. ยานี้ทำให้ง่วงได้บ้างในผู้ใช้ยาบางราย
ผู้ที่ขับขี่ยานยนต์หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกลหรือทำงานที่เสี่ยงต่อการพลัดตกจากที่สูง
ควรทดสอบก่อนว่ารับประทานยานี้แล้วไม่ง่วง
2. ไม่ควรรับประทานร่วมกับสุราหรือสิ่งที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบ
3. ระวังการใช้ยานี้ในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี สตรีมีครรภ์ระยะ 3 เดือนแรก
และสตรีที่ให้นมบุตร
4. หากใช้ยานี้แล้วหัวใจเต้นผิดปกติ ให้หยุดยาและปรึกษาแพทย์
|
เหมือนฉลาก และเพิ่ม
5. ระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคตับ
6. การใช้ยานี้ร่วมกับยาต้านจุลชีพกลุ่ม Macrolides เช่น erythromycin,
clarithromycin หรือยาต้านเชื้อรากลุ่ม Imidazole เช่น ketoconazole,
itraconazole,fluconazole, หรือยากลุ่ม HIV Protease
Inhibitors รวมทั้งยาอื่นที่ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์
CYP450 เช่น cimetidine, metronidazole,zafirlukast,ยากลุ่ม
SSRIs เป็นต้น
จะทำให้ระดับยานี้ในเลือดสูงขึ้นเป็น 2-3 เท่า
และมีรายงานการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ QT ยาวขึ้นได้
7. ไม่ควรใช้ยานี้ร่วมกับยาที่ทำให้คลื่นไฟฟ้าหัวใจ QT
interval ยาวขึ้นเช่น Calcium Channel Blockers (เช่น bepridil,verapamil), Tricyclic Antidepressant, cisapride,quinidine
เป็นต้น
|
(2.2.5) สำหรับยาจำพวกเดสลอราทาดีน (Desloratadine)[6]
|
1. ยานี้อาจทำให้ง่วงได้บ้างในผู้ใช้ยาบางราย
ผู้ที่ขับขี่ยานยนต์หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล หรือทำงานที่เสี่ยงต่อการพลัดตกจากที่สูง
ควรทดสอบก่อนว่ารับประทานยานี้แล้วไม่ง่วง
2. ไม่ควรใช้ในสตรีมีครรภ์ระยะ 3
เดือนแรก สตรีให้นมบุตรและเด็กอายุต่ำกว่า 6 เดือน
|
เหมือนฉลาก และเพิ่ม
3. ระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคไต
4. การใช้ยานี้ร่วมกับยาต้านจุลชีพกลุ่ม Macrolides เช่น erythromycin
หรือ ยาต้านเชื้อรากลุ่ม Imidazole เช่น ketoconazole
จะทำให้ระดับยานี้ในเลือดสูงขึ้น”
|
(2.2.6) สำหรับยาจำพวกเฟกโซเฟนาดีน (Fexofenadine)[7]
|
1. ยานี้อาจทำให้ง่วงได้บ้างในผู้ใช้ยาบางราย
ผู้ที่ขับขี่ยานยนต์หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกลหรือทำงานที่เสี่ยงต่อการพลัดตกจากที่สูง
ควรทดสอบก่อนว่า รับประทานยานี้แล้วไม่ง่วง
2. ไม่ควรใช้ในสตรีมีครรภ์ระยะ 3 เดือนแรก
สตรีที่ให้นมบุตร และเด็กอายุต่ำกว่า 6 เดือน
3. หากใช้ยานี้แล้วหัวใจเต้นผิดปกติ
ให้หยุดยาและปรึกษาแพทย์
|
เหมือนฉลาก และเพิ่ม
4. ระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคไต
5. การใช้ยานี้ร่วมกับยาต้านจุลชีพกลุ่ม Macrolides เช่น erythromycin
หรือ ยาต้านเชื้อรากลุ่ม Imidazole เช่น ketoconazole
จะทำให้ระดับยานี้ในเลือดสูงขึ้น
|
(3) ยาแอสไพริน (Aspirin)
|
ยาแอสไพรินที่ข้อบ่งใช้สำหรับแก้ปวด
ลดไข้
1. ห้ามใช้แก้ปวด ลดไข้ในเด็กและวัยรุ่นอายุต่ำกว่า 18
ปี หากไม่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์
2. ห้ามใช้แก้ปวด ลดไข้ในผู้ป่วยที่เป็นไข้หวัดใหญ่
ไข้เลือดออก และอีสุกอีใส
3. ห้ามใช้รักษาอาการปวดเมื่อยเนื่องจากการทำงานหนัก
4. สตรีให้นมบุตรห้ามใช้ยานี้
5. สตรีมีครรภ์หลีกเลี่ยงการใช้ยานี้
หากไม่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์
6. หลีกเลี่ยงการใช้ยานี้ติดต่อกันเป็นเวลานาน เพราะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดเลือดออกในกระเพาะอาหาร
อาการหอบหืด ความผิดปกติของตับและไต ยกเว้นแพทย์สั่ง”
โดยให้แสดงคำเตือนข้อ
1 ถึง 3 ในกรอบสีแดงและใช้ตัวอักษรขนาดใหญ่ที่อ่านออกและเห็นได้ชัดเจน
ยาแอสไพรินที่ข้อบ่งใช้อื่น
1 สตรีให้นมบุตรห้ามให้ยานี้
2 สตรีมีครรภ์หลีกเลี่ยงการใช้ยานี้
หากไม่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์
3 หลีกเลี่ยงการใช้ยานี้ติดต่อกันเป็นเวลานานเพราะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดเลือดออกในกระเพาะอาหาร
อาการหอบหืด ความผิดปกติของตับและไต ยกเว้นแพทย์สั่ง
|
เหมือนฉลาก
|
(4.1) ยากลุ่ม Conventional NSAIDs ยกเว้น แอสไพริน (Aspirin), พาราเซตามอล (Paracetamol),
ไนมิซุไลด์ (Nimesulide), ฟีนิลบิวตาโซน (Phenylbutazone),
มีลอกซิแคม (Meloxicam), ไพรอกซิแคม (Piroxicam),
ทีนอกซิแคม (Tenoxicam) และไอบูโพรเฟน (Ibuprofen)
|
1. ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยานี้ หรือผู้ที่มีอาการหอบหืด ลมพิษ
หรือโพรงจมูกอักเสบแบบเฉียบพลันจากการแพ้ยากลุ่มแอสไพริน หรือกลุ่ม NSAIDs
2.
สตรีมีครรภ์ไตรมาสสุดท้ายหลีกเลี่ยงการใช้ยานี้นอกจากแพทย์สั่ง
3. ห้ามใช้ในผู้ที่มีเลือดออกในกระเพาะอาหาร หรือสำไส้
หรือมีแผลทะลุ
4. ห้ามใช้ในผู้ที่เป็นโรคตับ โรคไต อย่างรุนแรง
5. ห้ามใช้ในผู้ที่เป็นโรคไข้เลือดออก
|
เหมือนฉลาก และเพิ่ม
6.
ยานี้อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดเลือดออกหรือแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้
7.
ยานี้อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดการตีบตันของหลอดเลือดสมองและหลอดเลือดหัวใจโดยเฉพาะ
เมื่อใช้ยาในขนาดสูงเป็นเวลานาน
8. ยานี้อาจทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ของภาวะบวมน้ำ
จึงควรใช้ยาด้วยความระมัดระวังในผู้ที่เป็นโรคหัวใจ ไตทำงานผิดปกติ
9.
ระมัดระวังการใช้ยานี้ในผู้ที่มีความดันโลหิตสูง หรือผู้สูงอายุ
10. ยานี้มีผลต่อการเกาะกลุ่มกันของเกล็ดเลือด
จึงควรหลีกเลี่ยงในผู้ที่สงสัยว่าจะเป็นไข้เลือดออก
หรือเกล็ดเลือดผิดปกติจากสาเหตุอื่น ๆ
|
(4.2) ยามีลอกซิแคม (Meloxicam), ยาไพรอกซิแคม (Piroxicam), ยาทีนอกซิแคม (Tenoxicam)
และยาไอบูโพรเฟน (Ibuprofen)
|
1. ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยานี้ หรือผู้ที่มีอาการหอบหืด
ลมพิษ หรือโพรงจมูกอักเสบแบบเฉียบพลันจากการแพ้ยากลุ่มแอสไพริน หรือกลุ่ม NSAIDs
2.
สตรีมีครรภ์ไตรมาสสุดท้ายหลีกเลี่ยงการใช้ยานี้นอกจากแพทย์สั่ง
3. ห้ามใช้ในผู้ที่มีเลือดออกในกระเพาะอาหาร หรือสำไส้
หรือมีแผลทะลุ
4. ห้ามใช้ในผู้ที่เป็นโรคตับ โรคไต อย่างรุนแรง
5. ห้ามใช้ในผู้ที่เป็นโรคไข้เลือดออก
6. หากใช้ยานี้แล้วมีอาการผื่นแดง
หรือมีอาการคล้ายเป็นหวัด ให้หยุดยาและรีบปรึกษาแพทย์ทันที
|
เหมือนฉลาก และเพิ่ม
7.
ยานี้อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดเลือดออกหรือแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้
8. ยานี้อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดการตีบตันของหลอดเลือดสมองและหลอดเลือดหัวใจโดยเฉพาะ
เมื่อใช้ยาในขนาดสูงเป็นเวลานาน
9. ยานี้อาจทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ของภาวะบวมน้ำ
จึงควรใช้ยาด้วยความระมัดระวังในผู้ที่เป็นโรคหัวใจ ไตทำงานผิดปกติ
10. ระมัดระวังการใช้ยานี้ในผู้ที่มีความดันโลหิตสูง
หรือผู้สูงอายุ
11. ยานี้มีผลต่อการเกาะกลุ่มกันของเกล็ดเลือด
จึงควรหลีกเลี่ยงในผู้ที่สงสัยว่าจะเป็นไข้เลือดออก
หรือเกล็ดเลือดผิดปกติจากสาเหตุอื่น ๆ
12. เมื่อใช้ยานี้หากมีอาการดังต่อไปนี้ เช่น ไข้ ผื่นแดง
ตุ่มน้ำพอง มีการหลุดลอกของผิวหนังและบริเวณเยื่อบุต่าง ๆ เช่น ในช่องปาก ลำคอ
จมูก อวัยวะสืบพันธุ์ และเยื่อบุตาอักเสบให้หยุดยาและปรึกษาแพทย์เพราะอาจเป็น Stevens-Johnson
syndrome
|
(5)
ยาฟีนิลบิวตาโซน (Phenylbutazone)
|
1. ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยานี้ หรือผู้ที่มีอาการหอบหืด ลมพิษ
หรือโพรงจมูกอักเสบแบบเฉียบพลันจากการแพ้ยากลุ่มแอสไพริน หรือกลุ่ม NSAIDs
2.
สตรีมีครรภ์ไตรมาสสุดท้ายหลีกเลี่ยงการใช้ยานี้นอกจากแพทย์สั่ง
3. ห้ามใช้ในผู้ที่มีเลือดออกในกระเพาะอาหาร หรือสำไส้
หรือมีแผลทะลุ
4. ห้ามใช้ในผู้ที่เป็นโรคตับ โรคไต อย่างรุนแรง
5. ห้ามใช้ในผู้ที่เป็นโรคไข้เลือดออก
6. ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของไขกระดูก
|
เหมือนฉลาก และเพิ่ม
7. ยานี้อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดเลือดออกหรือแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้
8.
ยานี้อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดการตีบตันของหลอดเลือดสมองและหลอดเลือดหัวใจโดยเฉพาะ
เมื่อใช้ยาในขนาดสูงเป็นเวลานาน
9. ยานี้อาจทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ของภาวะบวมน้ำ
จึงควรใช้ยาด้วยความระมัดระวังในผู้ที่เป็นโรคหัวใจ ไตทำงานผิดปกติ
10. ระมัดระวังการใช้ยานี้ในผู้ที่มีความดันโลหิตสูง
หรือผู้สูงอายุ
11. ยานี้มีผลต่อการเกาะกลุ่มกันของเกล็ดเลือด
จึงควรหลีกเลี่ยงในผู้ที่สงสัยว่าจะเป็นไข้เลือดออก
หรือเกล็ดเลือดผิดปกติจากสาเหตุอื่น ๆ
|
1. ยานี้อาจทำให้เกิดอาการง่วงซึม
จึงไม่ควรขับขี่ยานยนต์หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล
2. การใช้ยานี้อาจทำให้ติดเป็นนิสัยได้
ให้ใช้ตามแพทย์สั่ง
|
เหมือนฉลาก
|
|
(6.1) สำหรับยาสงบประสาทจำพวกไฮดรอกไซซีน (Hydroxyzine)
|
ให้ใช้คำเตือนเช่นเดียวกับหัวข้อ 2.1.1
|
เหมือนฉลาก
|
(6.2) สำหรับยาสงบประสาทจำพวกเบนโซไดอะเซพีน (Benzodiazepines)
|
ต้องเพิ่มคำเตือนว่า
“3. ยานี้อาจทำให้เกิดการผิดปกติของเม็ดเลือด ตับ และไต
ได้
4. ห้ามใช้กับหญิงมีครรภ์ 3 เดือนแรก
หรือคาดว่าจะมีครรภ์ เพราะอาจทำให้เด็กในครรภ์พิการได้”
|
เหมือนฉลาก
|
(6.3) สำหรับยาสงบประสาทจำพวกบิวไทโรฟีโนน (Butyrophenones) ไทบาเมต (Tybamate)
|
ต้องเพิ่มคำเตือนว่า
“3. ยานี้อาจทำให้เกิดการผิดปกติของเม็ดเลือด
ความดันโลหิตต่ำ ตัวเหลือง ความร้อนของร่างกายสูง”
|
เหมือนฉลาก
|
(6.4) สำหรับยาสงบประสาทจำพวกฟีโนไทอาซีน (Phenothiazines) อะซาฟีโนไทอาซีน(Azaphenothiazines) พิโมไซด์ (Pimozide) โพรไทเพนดิล (Prothipendyl)
|
ต้องเพิ่มคำเตือนว่า
“3. ยานี้อาจทำให้เกิดความดันโลหิตต่ำ
การผิดปกติของเม็ดเลือด ตับ ไต หัวใจ และหลอดเลือด”
|
เหมือนฉลาก
|
(7) ยาจำพวกระงับประสาท (Sedatives & Hypnotics)
|
1. ยานี้ทำให้เกิดอาการง่วงซึม จึงไม่ควรขับขี่ยานยนต์
หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล
2. การใช้ยานี้อาจทำให้ติดเป็นนิสัยได้
ให้ใช้ตามแพทย์สั่ง
3. ไม่ควรดื่มสุรา เครื่องดื่ม หรือยาที่มีแอลกอฮอล์”
|
เหมือนฉลาก
|
(7.1) สำหรับยาระงับประสาทจำพวกบาร์บิทูเรต (Barbiturates)
|
ต้องเพิ่มคำเตือนว่า
“4. ยานี้อาจทำให้เกิดความดันโลหิตต่ำ
เส้นเลือดส่วนปลายฟุบแฟบ ภาวะการหายใจถูกกด หรือการผิดปกติของตับและไต”
|
เหมือนฉลาก
|
(7.2) สำหรับยาระงับประสาทจำพวกที่ไม่ใช่บาร์บิทูเรต (Non-barbiturates)
|
ต้องเพิ่ม คำเตือนว่า
“4. ยานี้อาจทำให้เกิดความดันโลหิตต่ำ
ความร้อนในร่างกายลดต่ำ หายใจไม่สะดวก สมองถูกกดอย่างแรง หงุดหงิด
การผิดปกติของหัวใจ ตับและไต”
|
เหมือนฉลาก
|
(8) ยาลดความอ้วนโดยทำให้เบื่ออาหาร (Anorexigenics)[11]
|
ยานี้อาจทำให้เกิดอาการผิดปกติทางประสาทได้
ควรใช้ตามแพทย์สั่ง
|
เหมือนฉลาก
|
(8.1) สำหรับยาจำพวกเฟนฟลูรามีน (Fenfluramine)[12]
|
1. ห้ามใช้ยานี้ในเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี และสตรีมีครรภ์
2. ยานี้อาจทำให้เกิดอาการผิดปกติทางประสาทได้
ควรใช้ตามแพทย์สั่ง
|
เหมือนฉลาก
|
(9.1)
ยาจำพวกรักษาโรคลมบ้าหมู (Antiepileptics) ยกเว้น
โทพิราเมท (Topiramate) คาร์บามาซีพีน (Carbamazepine)
ลาโมทริจีน (Lamotrigine), และฟีนีโทอิน (Phenytoin) [15]
|
1. ยานี้อาจทำให้ง่วงซึม จึงไม่ควรขับขี่ยานยนต์หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล
และไม่ควรดื่มสุราหรือสิ่งที่มีแอลกอฮอล์ผสมอยู่ขณะใช้ยานี้
2. ยานี้อาจทำให้เกิดอาการผิดปกติของเม็ดเลือด
3. ห้ามใช้ยานี้ในสตรีมีครรภ์เพราะอาจทำให้ทารกพิการได้
4. ควรระมัดระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคตับ โรคไต
|
เหมือนฉลาก
|
(9.2) ยาโทพิราเมท (Topiramate)
|
1. ยานี้อาจทำให้ง่วงซึม
จึงไม่ควรขับขี่ยานยนต์หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร
และไม่ควรดื่มสุราหรือสิ่งที่มีแอลกอฮอล์ผสมอยู่ขณะใช้ยานี้
2. ยานี้อาจทำให้เกิดความผิดปกติของเม็ดเลือด
3. ห้ามใช้ยานี้ในสตรีมีครรภ์ เพราะอาจทำให้ทารกพิการได้
4. ควรระมัดระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคตับ โรคไต
5. ยานี้อาจทำให้เกิดภาวะสายตาสั้นเฉียบพลัน (Acute
myopia) และโรคต้อหินชนิด Secondary angle closure
glaucoma
6. หากใช้ยานี้แล้วมีอาการผิดปกติทางสายตา ได้แก่
มองเห็นไม่ชัด หรือปวดตา ให้หยุดใช้ยาทันทีและปรึกษาแพทย์
7. ควรดื่มน้ำให้มากเพียงพอทุกวัน
เพื่อป้องกันการเกิดนิ่วในไต
|
เหมือนฉลาก
|
(9.3) ยาคาร์บามาซีพีน (Carbamazepine),
ยาลาโมทริจีน (Lamotrigine),
|
1. ยานี้อาจทำให้ง่วงซึม
จึงไม่ควรขับขี่ยานยนต์หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร
และไม่ควรดื่มสุราหรือสิ่งที่มีแอลกอฮอล์ผสมอยู่ขณะใช้ยานี้
2. ยานี้อาจทำให้เกิดความผิดปกติของเม็ดเลือด
3. ห้ามใช้ยานี้ในสตรีมีครรภ์ เพราะอาจทำให้ทารกพิการได้
4. ควรระมัดระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคตับ โรคไต
5. หากใช้ยานี้แล้วมีอาการผื่นแดง หรือมีอาการคล้ายเป็นหวัด
ให้หยุดยาและรีบปรึกษาแพทย์ทันที
6. ห้ามใช้ในผู้ที่เคยแพ้ยานี้
|
เหมือนฉลากและเพิ่ม
7. เมื่อใช้ยานี้หากมีอาการดังต่อไปนี้ เช่น ไข้ ผื่นแดง
ตุ่มน้ำพอง มีการหลุดลอกของผิวหนังและบริเวณเยื่อบุต่างๆ เช่น ในช่องปาก ลำคอ
จมูก อวัยวะสืบพันธุ์ และเยื่อบุตาอักเสบ ให้หยุดยาและปรึกษาแพทย์เพราะอาจเป็น Stevens-Johnson
syndrome
|
(10) ยาจำพวกอิมิพรามีน (Imipramine)
|
ห้ามใช้กับหญิงมีครรภ์ 3 เดือนแรก
หรือคาดว่าจะมีครรภ์ เพราะอาจทำให้เด็กในครรภ์พิการได้
|
เหมือนฉลาก
|
(11) ยาไมแอนเซอริน (Mianserin)
|
ยานี้อาจกดไขกระดูกทำให้เกิดความผิดปกติของเม็ดเลือดได้
|
เหมือนฉลาก
|
(12) ยาคุมกำเนิด[17]
|
1. หากมีอาการผิดปกติ ให้รีบปรึกษาแพทย์
2. ห้ามใช้กับผู้ป่วยด้วยโรคหลอดเลือดอุดตัน โรคตับ
|
เหมือนฉลาก
|
(12.1) สำหรับยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉิน
|
1. ก่อนใช้ยานี้ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร
2. ไม่ใช้ยานี้สำหรับป้องกันการตั้งครรภ์เป็นประจำ
หากใช้ซ้ำหลายครั้งอาจเกิดอันตรายร้ายแรงได้
3. ยานี้ใช้ทำแท้งไม่ได้ผล
และไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้
4. หากมีอาการผิดปกติ โดยเฉพาะเมื่อประจำเดือนขาดให้รีบปรึกษาแพทย์
|
เหมือนฉลาก
|
(12.2) สำหรับยาคุมกำเนิดชนิดผสมซึ่งประกอบด้วยเอสโตรเจนกับโปรเจสโตเจน
|
1. ห้ามใช้กับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดอุดตัน และโรคตับ
2. ไม่ควรใช้ในสตรีที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดหลอดเลือดอุดตัน
เช่น มีประวัติเป็นโรคหลอดเลือดอักเสบ โรคอ้วน เบาหวาน ความดันโลหิตสูง
3. ระมัดระวังการใช้ในสตรีที่สูบบุหรี่โดยเฉพาะสตรีที่อายุมากกว่า
35 ปี ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยา
4. หากใช้ยานี้แล้วมีอาการผิดปกติให้รีบปรึกษาแพทย์
|
เหมือนฉลาก
|
(13) ยาไดเอทิลสติลเบสตรอล (Diethyl Stilbestrol) ไดเอเนสทรอล (Dienestrol) เฮกเซสตรอล (Hexestrol) เบนเซสตรอล (Benzestrol)
|
1. ห้ามใช้ในหญิงมีครรภ์
2. ยานี้อาจทำให้เกิดผิดปกติของเยื่อเมือกด้านในของช่องคลอด
(Vaginal Adenosis) ของบุตรได้
|
เหมือนฉลาก
|
(14) ยาจำพวกคอร์ติโคสเตอรอยด์ (Corticosteroids) สำหรับใช้ภายใน
|
ห้ามใช้กับผู้ป่วยด้วยโรคแผลในกระเพาะอาหาร หรือลำไส้
โรคเบาหวาน วัณโรค โรคติดเชื้อไวรัส
|
เหมือนฉลาก
|
1. การใช้ยานี้เป็นเวลานานอาจทำให้เกิด โรคต้อหิน
โรคต้อกระจกและติดเชื้อที่กระจกตาดำซึ่งอาจทำให้ตาบอดได้
2. หากใช้ยานี้เป็นเวลา 7 วัน
แล้วอาการไม่ดีขึ้นให้ปรึกษาแพทย์
|
เหมือนฉลาก
|
|
(16) ยารักษาโรคเบาหวาน[19]
|
||
(16.1)
ยารักษาโรคเบาหวาน ยกเว้นยากลุ่มไธอะโซลิดีนไดโอน (Thiazolidinedione)
|
ต้องใช้ยานี้ตามแพทย์สั่งเท่านั้น หากมีอาการวิงเวียนจะเป็นลมให้รีบปรึกษาแพทย์
|
เหมือนฉลาก
|
(16.2) ยากลุ่มไธอะโซลิดีนไดโอน (Thiazolidinedione)
ยกเว้น ยาโรซิกลิทาโซน (Rosiglitazone)
|
1. ห้ามใช้ยานี้ในผู้ที่มีหัวใจล้มเหลวในระดับที่รุนแรง (NYHA
ในระดับ 3 และ 4)
2. ยานี้อาจทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว
หากใช้ยานี้แล้วมีอาการหายใจลำบาก เหนื่อยง่าย น้ำหนักเพิ่มอย่างรวดเร็ว
หรือเกิดอาการบวมมากให้รีบปรึกษาแพทย์โดยทันที
3.
การใช้ร่วมกับอินซูลินจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะบวมน้ำ
และหัวใจล้มเหลวมากขึ้น ต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง
|
เหมือนฉลาก
|
(16.3) ยากลุ่มโรซิกลิทาโซน
(Rosiglitazone)[20]
|
1. ห้ามใช้ยานี้ในผู้ที่มีหัวใจล้มเหลวในระดับที่รุนแรง (NYHA
ในระดับ 3 และ 4)
2. ยานี้อาจทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว
หากใช้ยานี้แล้วมีอาการหายใจลำบาก เหนื่อยง่าย น้ำหนักเพิ่มอย่างรวดเร็ว
หรือเกิดอาการบวมมากให้รีบปรึกษาแพทย์โดยทันที
3.
การใช้ร่วมกับอินซูลินจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะบวมน้ำ
และหัวใจล้มเหลวมากขึ้น ต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง
4. ไม่แนะนำให้ใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือด
5.
มีรายงานว่าเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดในผู้ป่วยที่ได้ยานี้ร่วมกับยาในกลุ่มไนเตรท
|
เหมือนฉลาก
|
(17) ยารักษาโรคมะเร็ง (Antineoplastics)
|
ยานี้อาจทำให้เกิดอันตรายร้ายแรงได้
ต้องใช้ภายใต้การควบคุมของแพทย์เท่านั้น
|
เหมือนฉลาก
|
(18) ยาจำพวกสารหนู
|
หากใช้บ่อย ๆ หรือใช้เป็นเวลานาน
อาจทำให้เกิดอันตรายร้ายแรงได้ ต้องใช้ตามแพทย์สั่ง
|
เหมือนฉลาก
|
(19) ยาจำพวกอะโทรพีน (Atropine) ไฮออสซีน (Hyoscine) ไฮออสไซอามีน (Hyoscyamine) สตราโมเนียม (Stramonium)
|
1. ผู้สูงอายุหรือเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี ควรใช้ตามแพทย์สั่ง
2. ห้ามใช้ในโรคต้อหิน (Glaucoma)
3. หากเกิดอาการชีพจรเต้นเร็ว มึนงง หรือสายตาพร่า
ให้หยุดใช้ยา
|
เหมือนฉลาก
|
(20) ยาฉีดที่มีเบนซิลแอลกอฮอล์ (Benzyl alcohol) เป็นวัตถุกันเสียผสมอยู่ด้วย
|
ห้ามใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี
|
เหมือนฉลาก
|
(21) กรดบอริก (Boric acid) เกลือของกรดบอริกในรูปของยาผง
ยาขี้ผึ้ง ครีม หรือยาทา
|
ห้ามใช้ยานี้มากเกินไป หรือนานเกินไป
เพราะอาจเป็นอันตรายได้
|
เหมือนฉลาก
|
(22) ยาทิงเจอร์ฝิ่นการะบูนเกินกว่า 2 มิลลิลิตรต่อขนาดรับประทานหนึ่งมื้อ
|
ห้ามใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี และคนชรา
|
เหมือนฉลาก
|
(23) ซินโคเฟน (cinchophen) และนีโอซินโคเฟน (Neocinchophen)
|
1. อาจทำให้เกิดอันตรายร้ายแรงต่อตับได้
2. ห้ามใช้กับผู้ป่วยด้วยโรคระบบการหมุนเวียนของโลหิต
โรคตับ โรคไต
|
เหมือนฉลาก
|
(24) ยาจำพวกไดแอมทาโซล (Diamthazole) สำหรับใช้ภายนอก
|
1. ห้ามใช้กับเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี
2. ห้ามใช้กับเนื้อเยื่อ (เยื่อเมือก)
|
เหมือนฉลาก
|
(25) ยาจำพวกเอเฟดรีน (Ephedrine)
|
ห้ามใช้กับผู้ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ
โรคเบาหวาน หรือโรคของต่อมไทรอยด์ นอกจากแพทย์สั่ง
|
เหมือนฉลาก
|
(26) ยาเฮกซิลเรซอร์ซินอล (Hexylresorcinol) เททราคลอเอทิลีน (tetrachlorethylene)
|
ห้ามเคี้ยวยา หรือทำให้เม็ดยาแตกในปาก
|
เหมือนฉลาก
|
(27) ยาจำพวกไอโดอีน (iodine) ไอโอไดด์ (Iodide) สำหรับใช้ภายใน
|
หากเกิดอาการผื่นแดง ปวดท้อง อาเจียน หายใจไม่สะดวก ให้หยุดใช้ยา
และปรึกษาแพทย์
|
เหมือนฉลาก
|
(28) ยาถ่าย ยาระบาย
|
ห้ามใช้เมื่อมีอาการปวดท้องหรือคลื่นไส้อาเจียน
|
เหมือนฉลาก
|
(29) ยาโลเพอราไมด์ (Loperamide)[21]
|
1. ห้ามใช้ในเด็ก และคนชรา
2. หลังจากใช้รักษาโรคท้องร่วงชนิดเฉียบพลันเกิน 48
ชั่วโมงไปแล้ว และอาการไม่ดีขึ้น ให้หยุดยา และปรึกษาแพทย์
|
เหมือนฉลาก
|
(30) ยาจำพวกกระตุ้นการเจริญเติบโตของเส้นผม (Hair Growth Stimulant) ซึ่งประกอบด้วยตัวยาสำคัญไมน็อกซิดิล
(Minoxidil) สำหรับใช้ภายนอก
|
1. ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้
2. ยานี้อาจมีผลต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด
3. ผมที่ขึ้นแล้วจะร่วงหลังจากหยุดยา 2-3 เดือน
|
เหมือนฉลาก
|
(31.1) ยาจำพวกสารหนู (Arsenic) ที่ใช้สำหรับไก่
|
1. ห้ามใช้กับไก่ระยะออกไข่
2. ให้หยุดยาที่ใช้กับไก่ ไก่งวง ก่อนฆ่า 5 วัน
|
เหมือนฉลาก
|
(31.2) ยาจำพวกสารหนู (Arsenic) ที่ใช้สำหรับสุกร
|
ให้หยุดยาก่อนฆ่า 5 วัน
|
เหมือนฉลาก
|
(32) ยาฟิวราลทาโดน (Furaltadone) ที่ใช้สำหรับสัตว์
|
ห้ามใช้ยานี้กับเป็ด
|
เหมือนฉลาก
|
เหมือนฉลาก
|
||
(33.1) ยาแอมโพรเลียม (Amprolium)
|
||
(33.1.1) ยาแอมโพรเลียม
(Amprolium) ที่ใช้สำหรับไก่
|
ห้ามใช้เป็นยาควบคุมโรคบิดสำหรับไก่ และไก่งวงอายุเกิน 16 สัปดาห์
|
เหมือนฉลาก
|
(33.1.2) ยาแอมโพรเลียม
(Amprolium) ที่ใช้สำหรับลูกวัว
|
ให้หยุดยาก่อนฆ่า 24 ชั่วโมง
|
เหมือนฉลาก
|
(33.2) ยาโคลปิโดล (Clopidol)
|
||
(33.2.1) ยาโคลปิโดล
(Clopidol) ที่ใช้สำหรับไก่
|
1. ห้ามใช้เป็นยาควบคุมโรคบิดสำหรับไก่ อายุเกิน 16
สัปดาห์
2. ให้หยุดยาที่ใช้กับไก่ ไก่งวง ก่อนฆ่า 5 วัน
|
เหมือนฉลาก
|
(33.2.2) ยาโคลปิโดล
(Clopidol) ที่ใช้สำหรับสุกร
|
ให้หยุดยาก่อนฆ่า 5 วัน
|
เหมือนฉลาก
|
(33.2.3) ยาโคลปิโดล
(Clopidol) ที่ใช้สำหรับโค
|
ให้หยุดยาก่อนฆ่า 5 วัน
|
เหมือนฉลาก
|
(33.3) ยาดีโคควิเนท (Decoquinate)
|
||
(33.3.1) ยาดีโคควิเนท
(Decoquinate) ที่ใช้สำหรับไก่
|
1. ห้ามใช้เป็นยาควบคุมโรคบิดสำหรับไก่ระยะออกไข่
2. ให้หยุดยาก่อนฆ่า 5 วัน
|
เหมือนฉลาก
|
(33.3.2) ยาดีโคควิเนท
(Decoquinate) ที่ใช้สำหรับโค
|
1.ให้ใช้ในโคขุนเท่านั้น
2. ให้หยุดยาก่อนฆ่า 5 วัน
|
เหมือนฉลาก
|
(33.4) ยาฟิวราโซลิโดน (Furazolidone) ที่ใช้สำหรับสัตว์ปีก
|
1. ห้ามใช้เป็นยาควบคุมโรคบิดสำหรับเป็ด นกกระทา ในระยะออกไข่ และไก่ ไก่งวง อายุเกิน 14 สัปดาห์
2. ให้หยุดยาก่อนฆ่า 5 วัน
|
เหมือนฉลาก
|
(33.5) ยาลาซาโลซิด (Lasalocid) ที่ให้สำหรับไก่
|
ให้หยุดยาก่อนฆ่า 3 วัน
|
เหมือนฉลาก
|
(33.6) ยาโมเนนซิน (Monensin) ที่ใช้สำหรับไก่
|
1. ห้ามใช้เป็นยาควบคุมโรคบิดสำหรับไก่ระยะออกไข่
2. ห้ามใช้กับม้าเพราะอาจเป็นอันตรายถึงตายได้
|
เหมือนฉลาก
|
(33.7) ยานิคาบาซิน (Nicarbazin) ที่ใช้สำหรับไก่
|
1. ห้ามใช้เป็นยาควบคุมโรคบิดสำหรับไก่ระยะออกไข่
2. ให้หยุดยาก่อนฆ่า 4 วัน
|
เหมือนฉลาก
|
(33.8) ยาโรบีนิดิน (Robenidine) ที่ใช้สำหรับไก่
|
1. ห้ามใช้เป็นยาควบคุมโรคบิดสำหรับไก่ระยะออกไข่
2. ให้หยุดยาก่อนฆ่า 6 วัน
|
เหมือนฉลาก
|
(33.9) ยาซาลิโนไมซิน (Salinomycin) ที่ใช้สำหรับไก่
|
1. ห้ามใช้เป็นยาควบคุมโรคบิดสำหรับไก่ระยะออกไข่
2.ห้ามใช้กับไก่งวงและม้า เพราะอาจเป็นอันตรายถึงตายได้
|
เหมือนฉลาก
|
(33.10) ยาซัลฟาควินอกซาลีน (Sulfaquinoxaline) ที่ใช้สำหรับไก่
|
1. ห้ามใช้เป็นยาควบคุมโรคบิดสำหรับไก่และไก่งวง
ระยะออกไข่
2. ให้หยุดยาที่ใช้กับไก่ ไก่งวง ก่อนฆ่า 10 วัน
|
เหมือนฉลาก
|
(33.11) ยาโซอะลีน (Zoalene) ที่ใช้สำหรับไก่
|
1. ห้ามใช้เป็นยาควบคุมโรคบิดสำหรับไก่ระยะออกไข่
2. ให้หยุดยาที่ใช้กับไก่ ก่อนฆ่า 5 วัน
|
เหมือนฉลาก
|
(34) ยาเททราคลอเอทิลีน (Tetrachlorethylene) ที่ใช้สำหรับสัตว์
|
การใช้ยานี้ต้องระวังอย่าให้เม็ดยาแตกในปาก
|
เหมือนฉลาก
|
(35) ยาจำพวกทีโอไฟลิน (Theophylline)[24]
|
ห้ามใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 6 เดือน
|
เหมือนฉลาก
|
(36) ยาที่มีส่วนผสมของ อะนาโบลิก สเตอรอยด์ (anabolic steroid) กับไวตามิน (Vitamins)หรือ anabolic
steroid กับไซโปรเฮปทาดีน (Cyproheptadine) หรือ anabolic steroid กับ vitamins และ cyproheptadine[25]
|
ไม่ควรใช้ต่อเนื่องในผู้ป่วยที่เป็นโรคของต่อมลูกหมาก”
|
เหมือนฉลาก
|
เหมือนฉลาก
|
||
(37.1) ยาที่มีส่วนประกอบของ Fat-soluble vitamins
ที่มีสรรพคุณรักษาการขาด
ไวตามิน ยกเว้นที่ใช้ภายนอก
|
(1) ยานี้อาจสะสมในร่างกายจนทำให้เกิดอันตรายได้
จึงไม่ควรใช้เกินขนาดที่กำหนดไว้ หรือใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน
(2) ให้ใช้ยานี้ตามแพทย์สั่งเท่านั้น
|
เหมือนฉลาก
|
(37.2) ยาที่มีส่วนประกอบของ Fat-soluble vitamins
นอกเหนือจากข้อ (37.1) ยกเว้นยาที่ใช้ภายนอก
|
ยานี้อาจสะสมในร่างกายจนทำให้เกิดอันตรายได้
จึงไม่ควรใช้เกินขนาดที่กำหนดไว้ หรือใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน
นอกจากแพทย์สั่ง
|
เหมือนฉลาก
|
1. ยานี้อาจทำให้เกิดอันตรายได้ ให้ใช้ตามแพทย์สั่ง
2. ห้ามใช้ในผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลวอย่างรุนแรง (Severe
cardiac failure) และผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดที่ได้รับยา beta-blocker
(Ischemic cardiopathy associated with beta - blocker)
|
เหมือนฉลาก
|
|
(39) ยาพาราเซตามอล (Paracetamol)[28]
|
1. ถ้าใช้ยานี้เกินขนาดที่ระบุไว้บนฉลากหรือเอกสารกำกับยา
จะทำให้เป็นพิษต่อตับได้และไม่ควรใช้ยานี้ติดต่อกันเกิน 5 วัน
2. ผู้ที่เป็นโรคตับ โรคไต
ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยานี้
|
เหมือนฉลาก
|
(40) ยาจำพวกยับยั้งแอนจิโอเทนซิน-คอนเวอร์ติง เอ็นไซม์
(Angiotensin-Converting Enzyme (ACE) Inhibitors)[29]
|
1. ห้ามใช้ยานี้ในหญิงมีครรภ์
2. ยานี้อาจทำให้เกิดอาการไอได้
3. ถ้าหากมีอาการซึมลง หรือคลื่นไส้ อาเจียน
ให้ปรึกษาแพทย์
|
เหมือนฉลาก และเพิ่ม
4. หากใช้ยานี้แล้วเกิดอาการบวมของใบหน้า ลิ้น กล่องเสียง
หรือหายใจลำบาก ให้หยุดยาและรีบปรึกษาแพทย์ทันที
5. ยานี้อาจทำให้เกิดภาวะไตวายได้
ควรใช้ด้วยความระมัดระวัง
6. ยานี้อาจทำให้ระดับโปแตสเซียมในเลือดสูงขึ้น
ไม่ควรใช้ในผู้ป่วยที่ได้รับโปแตสเซี่ยมหรือยาขับปัสสาวะชนิดรักษาระดับโปแตสเซียม
(Potassium sparing diuretics)
|
ยานี้มีแอลกอฮอล์ผสมอยู่……….% ควรใช้ด้วยความระมัดระวัง
|
เหมือนฉลาก
|
|
1. ให้ใช้ยานี้ภายใต้การดูแลของแพทย์และเภสัชกรอย่างใกล้ชิด
2. ห้ามใช้ยานี้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน
3. ห้ามใช้ยานี้ในหญิงมีครรภ์เพราะอาจทำให้ทารกพิการได้
|
เหมือนฉลาก
|
|
(43) ยาซีซาไพรด์ (Cisapride)[32]
|
1. ห้ามใช้ยานี้ในผู้ที่มีประวัติครอบครัวมีภาวะหัวใจเต้นช้าผิดปกติหรือหัวใจเต้นผิดปกติชนิด
prolong QT interval
2. ห้ามใช้ยานี้ร่วมกับยาต้านจุลชีพกลุ่ม macrolide
เช่น erythromycin หรือยาต้านเชื้อรากลุ่ม imidazole
เช่น ketoconazole หรือยากลุ่ม HIV
protease inhibitor ทั้งนี้ เพราะจะทำให้ระดับยานี้ในเลือดสูงขึ้น
เสี่ยงต่อการทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะอย่างรุนแรงและหยุดเต้นได้
3. ไม่ควรใช้ยานี้ร่วมกับยาที่ยับยั้งการทำงานของ CYP450
เช่น cimetidine, omeprazole เพราะจะทำให้ระดับยาในเลือดสูงขึ้น
เสี่ยงต่อการทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะอย่างรุนแรงและหยุดเต้นได้
4. ระมัดระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่เป็นโรคตับหรือโรคหัวใจ
5. หากใช้ยานี้แล้วหัวใจเต้นผิดปกติให้หยุดยาและปรึกษาแพทย์
|
เหมือนฉลาก
|
1. ห้ามใช้ยานี้ในหญิงมีครรภ์
เพราะมีรายงานว่าทำให้ทารกพิการได้
2. ยานี้อาจเป็นสาเหตุให้เกิดอาการซึมเศร้า จิตผิดปกติ
และการพยายามฆ่าตัวตาย
3. ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคตับ โรคไต
ผู้ที่มีภาวะวิตามินเอสูงเกิน (hypervitaminosis) หรือผู้ที่มีระดับไขมันในเลือดสูง
4. ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่แพ้หรือไวต่อยานี้
5. ควรใช้ยานี้ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคผิวหนังอย่างใกล้ชิด
|
เหมือนฉลาก
|
|
(45) ยาฟลูตาไมด์ (Flutamide)[34]
|
ยานี้อาจทำให้สมรรถภาพของตับผิดปกติ
|
เหมือนฉลาก
|
(46) ยาซิลเดนาฟิล (Sildenafil)[35]
|
เหมือนฉลาก
|
|
(46.1) ยาซิลเดนาฟิล (Sildenafil) สำหรับใช้รักษาอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ
|
1. ยานี้ไม่ใช่ยากระตุ้นอารมณ์ทางเพศ
2. ห้ามใช้ยานี้ในผู้ที่เป็นโรคหัวใจ
ที่ใช้ยาขยายหลอดเลือดกลุ่มไนเตรต เพราะอาจถึงตายได้
3. ห้ามใช้ยานี้ในเด็กและสตรี ผู้ที่เป็นโรคตับ หรือโรคไต
4. ห้ามใช้ยาเกินวันละ 1 ครั้ง
5. ห้ามใช้ยานี้ร่วมกับยารักษาโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศอื่น ๆ
6. หากมีอาการผิดปกติ เช่น ความผิดปกติทางสายตา ปวดกระดูก
เจ็บหน้าอก ใจสั่น หัวใจเต้นผิดปกติ เหงื่อออกมาก เหนื่อยเป็นลม
ให้รีบพบแพทย์ทันที
|
เหมือนฉลาก
|
(46.2) ยาซิลเดนาฟิล (Sildenafil) สำหรับใช้รักษาความดันโลหิตสูงในหลอดเลือดแดงปอด
|
ให้ใช้เฉพาะผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นความดันโลหิตสูงในหลอดเลือดแดงปอดเท่านั้น”
โดยให้ข้อความคำเตือนอยู่ในกรอบสีแดงและใช้ตัวอักษรขนาดใหญ่ที่อ่านออกและเห็นได้ชัดเจน
|
เหมือนฉลาก
|
(47) ยาเอแทมบูทอล (Ethambutol)[36]
|
ให้ใช้คำเตือนเช่นเดียวกับหัวข้อ 51.5
|
เหมือนฉลาก
|
(48.1) ยาต้านเชื้อไวรัส HIV กลุ่ม non-nucleoside reverse transcriptase inhibitor ยกเว้น นีวิราพีน (Nevirapine)
|
ยานี้อาจเป็นพิษร้ายแรงต่อตับ
|
เหมือนฉลาก
|
(48.2) ยานีวิราพีน (Nevirapine)
|
1. ยานี้อาจเป็นพิษร้ายแรงต่อตับ
2. หากใช้ยานี้แล้วมีอาการผื่นแดง
หรือมีอาการคล้ายเป็นหวัด ให้หยุดยาและรีบปรึกษาแพทย์ทันที
3. ห้ามใช้ในผู้ที่เคยแพ้ยานี้
|
เหมือนฉลาก และเพิ่ม
4. เมื่อใช้ยานี้หากมีอาการดังต่อไปนี้ เช่น ไข้ ผื่นแดง
ตุ่มน้ำพอง มีการหลุดลอกของผิวหนังและบริเวณเยื่อบุต่าง ๆ เช่น ในช่องปาก ลำคอ
จมูก อวัยวะสืบพันธุ์ และเยื่อบุตาอักเสบ ให้หยุดยาและปรึกษาแพทย์เพราะอาจเป็น Stevens-Johnson
syndrome
|
1.
ให้ใช้ยานี้ภายใต้คำแนะนำและการกำกับดูแลของสัตวแพทย์ชั้นหนึ่งเท่านั้น
2. ให้ระมัดระวังการใช้ยานี้ในสุนัขตั้งท้อง
และสุนัขบางสายพันธุ์ เช่น collie เนื่องจากยังไม่มีข้อมูลด้านความปลอดภัยในสุนัขดังกล่าว
3. สุนัขบางรายอาจเกิดการแพ้ยาอย่างรุนแรง
หรือเป็นอันตรายต่อชีวิตได้เจ้าของควรสังเกตอาการของสุนัขหลังจากได้รับยาในช่วง
24 ชั่วโมง หากมีความผิดปกติให้ปรึกษาสัตวแพทย์โดยด่วน
|
เหมือนฉลาก
|
|
1. ห้ามใช้ในสตรีมีครรภ์ และสตรีระยะให้นมบุตร
2. ห้ามใช้ในผู้ป่วยโรคตับ
3. หากใช้ยานี้แล้วมีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อน่อง
หลังหรือตามตัว ให้หยุดยาและปรึกษาแพทย์
|
เหมือนฉลาก และเพิ่ม
4. ควรตรวจการทำงานของตับก่อนได้รับยาและหลังได้รับยา 6 และ 12 สัปดาห์
ผู้ที่ได้รับยานี้เป็นประจำควรตรวจทุก 6 เดือน
หรือตามคำแนะนำของแพทย์ หากระดับ transaminase สูงกว่า upper
normal limit 3 เท่า ให้หยุดยาและปรึกษาแพทย์
5. ระมัดระวังเมื่อใช้ร่วมกับยา digoxin, warfarin
เนื่องจากระดับยาเหล่านี้ในเลือดอาจสูงจนเกิดอันตรายได้
6. ความเสี่ยงของการเกิดภาวะกล้ามเนื้อผิดปกติ (myopathy)
หรือภาวะกล้ามเนื้อลายสลาย (rhabdomyolysis) จะเพิ่มมากขึ้นเมื่อให้ยากลุ่มนี้กับยาอื่นต่อไปนี้ เช่น ยากลุ่ม azole
antifungals เช่น ketoconazole, itraconazole เป็นต้น ยา กลุ่ม macrolides เช่น erythromycin,
clarithromycin เป็นต้น ยากลุ่ม HIV protease inhibitors เช่น indinavir ritonavir, nelfinavir, saquinavir เป็นต้น ยา verapamil, ยา diltiazem, ยา gemfibrozil, ยา nicotinic acid, ยา cyclosporine, ยา amiodarone เป็นต้น
7. ความเสี่ยงของการเกิดภาวะกล้ามเนื้อลายสลาย (rhabdomyolysis)
จะเพิ่มขึ้นในภาวะเหล่านี้ เช่น การใช้ยาขนาดสูง ผู้สูงอายุ
ผู้ที่มีการทำงานของตับหรือไตบกพร่อง ผู้ที่ติดสุราเรื้อรัง
ภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมน (hypothyroidism) เป็นต้น
8. ระมัดระวังการใช้ยานี้ร่วมกับ colchicine โดยเฉพาะผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีการทำงานของไตบกพร่อง
เนื่องจากมีความเสี่ยงเกิดภาวะกล้ามเนื้อผิดปกติ (myopathy) หรือภาวะกล้ามเนื้อลายสลาย (rhabdomyolysis)
9.
การใช้ยานี้อาจเพิ่มความเสี่ยงทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นได้
สำหรับยา fluvastatin ให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทนในข้อ
6.
6. ความเสี่ยงของการเกิดภาวะกล้ามเนื้อผิดปกติ (myopathy)
หรือภาวะกล้ามเนื้อลายสลาย (rhabdomyolysis) จะเพิ่มมากขึ้นเมื่อให้ยากลุ่มนี้กับยาอื่นต่อไปนี้ เช่น ยากลุ่ม azole
antifungals เช่น ketoconazole, itraconazole เป็นต้น ยากลุ่ม macrolides เช่น erythromycin,
clarithromycin เป็นต้น ยากลุ่ม HIV protease inhibitors เช่น indinavir, ritonavir, nelfinavir, saquinavir เป็นต้น ยา verapamil, ยา diltiazem, ยา gemfibrozil, ยา nicotinic acid, ยา cyclosporine, ยา amiodarone, ยากลุ่ม acid-reducing agents ได้แก่ cimetidine,
ranitidine และ omeprazole เป็นต้น
|
|
(51) ยาที่ใช้รักษาวัณโรค (Antituberculosis Drugs)[42]
|
||
(51.1) ยาไอโซไนอาซิด (Isoniazid)
|
1. ยานี้ทำให้เกิดอันตรายต่อตับได้ ทำให้มีอาการตัวเหลือง
ตาเหลือง เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน
2. ยานี้อาจทำให้เกิดความผิดปกติของเม็ดเลือดหรือทำให้ปากแห้ง
ปัสสาวะคั่ง เนื่องจากการขาดวิตามินบี 6
3. หากเกิดอาการดังกล่าวข้างต้นให้หยุดยาและพบแพทย์ทันที
4. งดดื่มสุรา
เพราะผู้ที่ดื่มสุรามีโอกาสเกิดภาวะตับอักเสบจากการใช้ยานี้ได้บ่อยขึ้น
|
เหมือนฉลาก
|
(51.2) ยาไรแฟมพิซิน (Rifampicin)[43]
|
1. ยานี้ทำให้เกิดอันตรายต่อตับได้ ทำให้มีอาการตัวเหลือง
ตาเหลือง เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน
2. ยานี้อาจทำให้เกิดความผิดปกติของการทำงานของไต
และอาจทำให้เกิดความผิดปกติของระบบเลือดและระบบอื่นๆ
จะทำให้มีจุดเลือดออกตามผิวหนังหรืออาการหายใจหอบได้
3. หากเกิดอาการดังกล่าวข้างต้นให้หยุดยาและพบแพทย์ทันที
4. หากใช้ยานี้แล้วมีอาการผื่นแดง หรือมีอาการคล้ายเป็นหวัด
ให้หยุดยาและรีบปรึกษาแพทย์ทันที
5. ห้ามใช้ในผู้ที่เคยแพ้ยานี้
|
เหมือนฉลาก และเพิ่ม
6. เมื่อใช้ยานี้หากมีอาการดังต่อไปนี้ เช่น ไข้ ผื่นแดง
ตุ่มน้ำพอง มีการหลุดลอกของผิวหนังและบริเวณเยื่อบุต่าง ๆ เช่น ในช่องปาก ลำคอ
จมูก อวัยวะสืบพันธุ์ และเยื่อบุตาอักเสบให้หยุดยาและปรึกษาแพทย์เพราะอาจเป็น Stevens-Johnson
syndrome
|
(51.3) ยาไพราซินาไมด์ (Pyrazinamide)
|
1. ยานี้ทำให้เกิดอันตรายต่อตับได้ ทำให้มีอาการตัวเหลือง
ตาเหลือง เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียนและอาจทำให้ปัสสาวะขัด หรือ ปวดข้อ
2. หากเกิดอาการดังกล่าวข้างต้นให้หยุดยาและพบแพทย์ทันที
3. ระมัดระวังการใช้ในผู้ป่วยโรคตับ โรคเกาต์ โรคเบาหวาน
และไตวาย
|
เหมือนฉลาก
|
(51.4) ยาสเตร็ปโตไมชิน (Streptomycin)
|
1. ยานี้อาจทำให้เกิดความผิดปกติต่อประสาทหู ทำให้หูหนวก
หูตึง เสียงดังในหู วิงเวียน เดินเซ หากเกิดอาการดังกล่าวข้างต้นให้หยุดยานี้และพบแพทย์ทันที
2. ยานี้มีพิษต่อไต
จึงควรใช้อย่างระมัดระวังในผู้ที่ไตทำงานผิดปกติ ผู้สูงอายุ และเด็ก
3. ไม่ควรใช้ในสตรีมีครรภ์ระยะ 3 เดือนแรก
และสตรีที่ให้นมบุตร
|
เหมือนฉลาก
|
(51.5) ยาเอแทมบูทอล (Ethambutol)
|
1. ยานี้อาจทำให้เกิดความผิดปกติต่อสายตา
หากมีความผิดปกติในการมองเห็น ให้หยุดยาและพบแพทย์ทันที
2. ระมัดระวังการใช้ในผู้ที่ไตทำงานผิดปกติ โดยลดขนาดยาลง
|
เหมือนฉลาก
|
(52) ยาที่มีนิโคติน (Nicotine) หรือสารประกอบของนิโคตินซึ่งมุ่งหมายที่จะใช้สำหรับช่วยการอดบุหรี่
[44]
|
1. ยานี้ใช้เฉพาะเพื่อช่วยการเลิกสูบบุหรี่เท่านั้น
2. ก่อนใช้ยานี้ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกร
|
เหมือนฉลาก และเพิ่ม
3. ยานี้จะใช้ไม่ได้ผลในผู้ที่ใช้ยาไม่ถูกวิธีหรือไม่ตั้งใจจะเลิกสูบบุหรี่
4. หากจำเป็นต้องใช้ยานี้ในสตรีมีครรภ์ สตรีระยะให้นมบุตร
ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ ให้ปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยา
|
(53.1) ยากลุ่ม Selective COX-2 inhibitors (COXIB) NSAIDs ยกเว้น
เซเรคอกสิบ (Celecoxib), พาเรคอกสิบ (Parecoxib) และ เอทอริคอกสิบ (Etoricoxib)
|
1. ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยานี้ สตรีมีครรภ์และสตรีระยะให้นมบุตร
2.
ห้ามใช้ในผู้ที่ได้รับการผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจในระยะหลังผ่าตัดใหม่ ๆ (immediately postoperative period)
3. ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจ
หรือหลอดเลือดสมอง
|
เหมือนฉลาก และเพิ่ม
4. ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย
หรือผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวเลือดคั่ง (congestive heart failure
NYHA II-IV)
5.
ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่เคยเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน หรือเคยมีภาวะอัมพฤกษ์
อัมพาตอันเกิดจากโรคหลอดเลือดสมอง
6. ระมัดระวังการใช้ยานี้ในผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ
เช่น ความดันโลหิตสูง ระดับไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน ผู้สูบบุหรี่ ผู้สูงอายุ
เป็นต้น
7.
ระมัดระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของตับและไต
|
(53.2) เซเรคอกสิบ (Celecoxib) และพาเรคอกสิบ (Parecoxib)[46]
|
1. ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยานี้ สตรีมีครรภ์และสตรีระยะให้นมบุตร
2.
ห้ามใช้ในผู้ที่ได้รับการผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจในระยะหลังผ่าตัดใหม่ ๆ (immediately postoperative period)
3. ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจ
หรือหลอดเลือดสมอง
4. หากใช้ยานี้แล้วมีอาการผื่นแดง หรือมีอาการคล้ายเป็นหวัด
ให้หยุดยาและรีบปรึกษาแพทย์ทันที
5.
ห้ามใช้ในผู้ที่เคยแพ้ยานี้และผู้ที่มีประวัติแพ้ยาในกลุ่ม sulfonamide
6. เมื่อใช้ยานี้หากมีอาการดังต่อไปนี้ เช่น ไข้ ผื่นแดง
ตุ่มน้ำพอง มีการหลุดลอกของผิวหนังและบริเวณเยื่อบุต่าง ๆ เช่น ในช่องปาก ลำคอ
จมูก อวัยวะสืบพันธุ์ และเยื่อบุตาอักเสบ ให้หยุดยาและปรึกษาแพทย์เพราะอาจเป็น Stevens-Johnson
syndrome
|
เหมือนฉลาก และเพิ่ม
7. ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย
หรือผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวเลือดคั่ง (congestive heart failure
NYHA II-IV)
8. ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่เคยเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน
หรือเคยมีภาวะอัมพฤกษ์ อัมพาตอันเกิดจากโรคหลอดเลือดสมอง
9.
ระมัดระวังการใช้ยานี้ในผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ เช่น
ความดันโลหิตสูง ระดับไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน ผู้สูบบุหรี่ ผู้สูงอายุ
เป็นต้น
10. ระมัดระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของตับและไต
|
(53.3) เอทอริคอกสิบ (Etoricoxib)
|
1. ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยานี้
สตรีมีครรภ์และสตรีระยะให้นมบุตร
2.
ห้ามใช้ในผู้ที่ได้รับการผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจในระยะหลังผ่าตัดใหม่ ๆ (immediately postoperative period)
3. ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจ
หรือหลอดเลือดสมอง
4. ห้ามใช้ในผู้ที่มีความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมได้
|
เหมือนฉลาก และเพิ่ม
5. ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย
หรือผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวเลือดคั่ง (congestive heart failure
NYHA II-IV)
6.
ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่เคยเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน หรือเคยมีภาวะอัมพฤกษ์
อัมพาตอันเกิดจากโรคหลอดเลือดสมอง
7. ระมัดระวังการใช้ยานี้ในผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ
เช่น ความดันโลหิตสูง ระดับไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน ผู้สูบบุหรี่ ผู้สูงอายุ
เป็นต้น
8.
ระมัดระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของตับและไต
|
(54) น้ำยาแช่เลนส์[47]
|
1. โปรดใช้ตามที่ระบุในเอกสารกำกับยา
หากไม่ปฏิบัติตามอาจก่อให้เกิดการติดเชื้อต่อดวงตาได้
2. หากเกิดการระคายเคือง ตาแดง หรือการมองเห็นผิดปกติ ต้องถอนเลนส์ออกและรีบปรึกษาแพทย์
|
เหมือนฉลาก
|
(55) เดกซ์โตรเมธอร์แฟน (Dextromethorphan) ที่เป็นตำรับยาเดี่ยว[48]
|
ยาเม็ด
ในยา 1
เม็ด ประกอบด้วยเดกซ์โตรเมธอร์แฟน 15 มิลลิกรัม
ให้ใช้ข้อความคำเตือน ดังนี้
“ยาเดกซ์โตรเมธอร์แฟนนี้ใช้บรรเทาอาการไอ
เมื่อใช้ในขนาดที่ถูกต้องตามที่ระบุไว้ในเอกสารกำกับยา หากใช้ในขนาดสูง (มากกว่า 120 มิลลิกรัมหรือ 8 เม็ดต่อวันในผู้ใหญ่ และมากกว่า 60 มิลลิกรัม หรือ
4 เม็ดต่อวันในเด็ก) จะกดการหายใจ
ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต”
ในยา 1
เม็ดประกอบด้วยเดกซ์โตรเมธอร์แฟน 30 มิลลิกรัม
ให้ใช้ข้อความคำเตือน ดังนี้
“ยาเดกซ์โตรเมธอร์แฟนนี้ใช้บรรเทาอาการไอ
เมื่อใช้ในขนาดที่ถูกต้องตามที่ระบุไว้ในเอกสารกำกับยา หากใช้ในขนาดที่สูง (มากกว่า 120 มิลลิกรัมหรือ 4 เม็ดต่อวันในผู้ใหญ่ และมากกว่า 60 มิลลิกรัมหรือ 2
เม็ดต่อวันในเด็ก) จะกดการหายใจ
ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต”
ยาน้ำ
ในยา 1
มิลลิลิตร ประกอบด้วยเดกซ์โตรเมธอร์แฟน 5 มิลลิกรัม
ให้ใช้ข้อความคำเตือน ดังนี้
“ยาเดกซ์โตรเมธอร์แฟนนี้ใช้บรรเทาอาการไอ
เมื่อใช้ในขนาดที่ถูกต้องตามที่ระบุไว้ในเอกสารกำกับยา หากใช้ในขนาดที่สูง (มากกว่า 120 มิลลิกรัมหรือ 25 มิลลิลิตร หรือ 5 ช้อนชาต่อวันในผู้ใหญ่
และมากกว่า 60 มิลลิกรัมหรือ 12.5 มิลลิลิตร
หรือ 2 ช้อนชาครึ่งต่อวันในเด็ก) จะกดการหายใจ
ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต”
|
เหมือนฉลาก
|
(56.1) ยาสูตรผสมเอสโตรเจน (Estrogen) กับโปรเจสติน (Progestin) ชนิดรับประทาน
|
1. ต้องปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาและตรวจติดตามเป็นประจำ
2. ไม่ควรใช้ในผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดสมอง
หรือมีประวัติหลอดเลือดดำอุดตัน
3. การใช้ยานี้ในระยะยาว (5 ปีหรือนานกว่า)
อาจเพิ่มความเสี่ยงหรือความรุนแรงของมะเร็งเต้านม
|
เหมือนฉลาก และเพิ่ม
4. ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยานี้
5. ไม่ควรใช้ยานี้
ในการป้องกันโรคของระบบหัวใจและหลอดเลือด
6. ควรใช้ยานี้ในขนาดต่ำสุดที่ให้ผลการรักษา
และระยะเวลาสั้นที่สุด
หากต้องใช้ยาต่อเนื่องควรประเมินถึงประโยชน์และความเสี่ยงของการรักษา
รวมทั้งพิจารณาถึงความเสี่ยงต่างๆที่เกิดขึ้น เช่น นิ่วในถุงน้ำดี เป็นต้น
7. ยานี้อาจไม่ควรใช้ในผู้ป่วยที่เป็นโรคตับ
8. ระมัดระวังการใช้ยานี้ในผู้ที่เป็นโรคไต
|
(56.2) ยาเอสโตรเจน (Estrogen) ชนิดรับประทาน
|
1. ต้องปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาและตรวจติดตามเป็นประจำ
2. ไม่ควรใช้ในผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง
หรือมีประวัติหลอดเลือดดำอุดตัน
3.
การใช้ยานี้ในระยะยาวอาจเพิ่มความเสี่ยงหรือความรุนแรงของมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก
สตรีที่ยังมีมดลูกอยู่จึงควรใช้โปรเจสตินร่วมด้วย เพื่อลดความเสี่ยงดังกล่าว
|
เหมือนฉลาก และเพิ่ม
4. ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยานี้
5. ไม่ควรใช้ยานี้
ในการป้องกันโรคของระบบหัวใจและหลอดเลือด
6. ควรใช้ยานี้ในขนาดต่ำสุดที่ให้ผลการรักษา
และระยะเวลาสั้นที่สุด
หากต้องใช้ยาต่อเนื่องควรประเมินถึงประโยชน์และความเสี่ยงของการรักษา
รวมทั้งพิจารณาถึงความเสี่ยงต่างๆที่เกิดขึ้น เช่น มะเร็งรังไข่ นิ่วในถุงน้ำดี
เป็นต้น
7. ยานี้อาจไม่ควรใช้ในผู้ป่วยที่เป็นโรคตับ
8. ระมัดระวังการใช้ยานี้ในผู้ที่เป็นโรคไต
|
(56.3) ยากลุ่มฮอร์โมนรักษาชนิดใช้ภายนอก
|
1. ต้องปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาและตรวจติดตามเป็นประจำ
2. ไม่ควรใช้ในผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง
หรือมีประวัติหลอดเลือดดำอุดตัน
3.
การใช้ยานี้ในระยะยาวอาจเพิ่มความเสี่ยงหรือความรุนแรงของมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก
สตรีที่ยังมีมดลูกอยู่จึงควรใช้โปรเจสตินร่วมด้วย เพื่อลดความเสี่ยงดังกล่าว
|
เหมือนฉลาก และเพิ่ม
4. ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยานี้
5. ไม่ควรใช้ยานี้ ในการป้องกันโรคของระบบหัวใจและหลอดเลือด
6. ควรใช้ยานี้ในขนาดต่ำสุดที่ให้ผลการรักษา
และระยะเวลาสั้นที่สุด
หากต้องใช้ยาต่อเนื่องควรประเมินถึงประโยชน์และความเสี่ยงของการรักษา
รวมทั้งพิจารณาถึงความเสี่ยงต่างๆที่เกิดขึ้น เช่น มะเร็งรังไข่ นิ่วในถุงน้ำดี
เป็นต้น
7. ระมัดระวังการใช้ยานี้ในผู้ที่เป็นโรคไต
|
1. ห้ามใช้ในการขนส่งสัตว์เพื่อนำไปฆ่าสำหรับการบริโภค
2. ห้ามใช้ในสัตว์ที่ผลิตน้ำนมเพื่อการบริโภคของมนุษย์
3.
ให้ใช้ภายใต้คำแนะนำและการกำกับดูแลของสัตวแพทย์ชั้นหนึ่งเท่านั้น
|
เหมือนฉลาก
|
|
1.
ให้ใช้ยานี้ภายใต้คำแนะนำและการกำกับดูแลของสัตวแพทย์ชั้นหนึ่งเท่านั้น
2. ให้ระมัดระวังการใช้ยานี้ในสุนัขตั้งท้อง
และสุนัขบางสายพันธุ์ เช่น collie เนื่องจากยังไม่มีข้อมูลด้านความปลอดภัยในสุนัขดังกล่าว
3. สุนัขบางรายอาจเกิดการแพ้ยาอย่างรุนแรง
หรือเป็นอันตรายต่อชีวิตได้เจ้าของควรสังเกตอาการของสุนัขหลังจากได้รับยาในช่วง 24 ชั่วโมง หากมีความผิดปกติให้ปรึกษาสัตวแพทย์โดยด่วน
|
เหมือนฉลาก
|
|
(59) อัลโลพูรินอล (Allopurinol)[52]
|
1. หากใช้ยานี้แล้วมีอาการผื่นแดง
หรือมีอาการคล้ายเป็นหวัด ให้หยุดยาและรีบปรึกษาแพทย์ทันที
2. ห้ามใช้ในผู้ที่เคยแพ้ยานี้
|
เหมือนฉลาก และเพิ่ม
3. เมื่อใช้ยานี้หากมีอาการดังต่อไปนี้ เช่น ไข้ ผื่นแดง
ตุ่มน้ำพอง มีการหลุดลอกของผิวหนังและบริเวณเยื่อบุต่าง ๆ เช่น ในช่องปาก ลำคอ
จมูก อวัยวะสืบพันธุ์ และเยื่อบุตาอักเสบให้หยุดยาและปรึกษาแพทย์เพราะอาจเป็น Stevens-Johnson
syndrome
|
1. หากใช้ยานี้แล้วมีอาการผื่นแดง
หรือมีอาการคล้ายเป็นหวัด ให้หยุดยาและรีบปรึกษาแพทย์ทันที
2. ห้ามใช้ในผู้ที่เคยแพ้ยานี้
|
เหมือนฉลาก และเพิ่ม
3. เมื่อใช้ยานี้หากมีอาการดังต่อไปนี้ เช่น ไข้ ผื่นแดง ตุ่มน้ำพอง
มีการหลุดลอกของผิวหนังและบริเวณเยื่อบุต่าง ๆ เช่น ในช่องปาก ลำคอ จมูก
อวัยวะสืบพันธุ์ และเยื่อบุตาอักเสบให้หยุดยาและปรึกษาแพทย์เพราะอาจเป็น Stevens-Johnson
syndrome
|
|
(61) ยาสูตรผสมที่มีซัลฟามีธอกซาโซล (Sulfamethoxazol) และไทรมีโธพริม (Trimethoprim) เป็นส่วนประกอบ[54]
|
1. ห้ามใช้ในผู้ที่เคยแพ้ยานี้
2. ยานี้อาจทำให้เกิดอันตรายต่อตับ ไต ได้
3. ห้ามใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 2
เดือน หญิงมีครรภ์ ระยะให้นมบุตร
4. หากใช้ยานี้แล้วมีอาการผื่นแดง
หรือมีอาการคล้ายเป็นหวัด ให้หยุดยาและรีบปรึกษาแพทย์ทันที
|
เหมือนฉลาก และเพิ่ม
5. เมื่อใช้ยานี้หากมีอาการดังต่อไปนี้ เช่น ไข้ ผื่นแดง
ตุ่มน้ำพอง มีการหลุดลอกของผิวหนังและบริเวณเยื่อบุต่าง ๆ เช่น ในช่องปาก ลำคอ
จมูก อวัยวะสืบพันธุ์ และเยื่อบุตาอักเสบให้หยุดยาและปรึกษาแพทย์เพราะอาจเป็น Stevens-Johnson
syndrome
|
1. ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยานี้ หรือผู้ป่วยที่มีอาการหอบหืด
ลมพิษ หรือโพรงจมูกอักเสบแบบเฉียบพลัน จากการแพ้ยากลุ่มแอสไพริน หรือกลุ่ม NSAIDs
2. ห้ามใช้ในสตรีมีครรภ์ไตรมาสสุดท้าย
สตรีที่ให้นมบุตรและเด็กอายุต่ำกว่า ๑๒ ปี
3. ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่มีเลือดออกในกระเพาะอาหารหรือลำไส้
หรือมีแผลทะลุในกระเพาะอาหาร เลือดออกในสมอง หรือมี bleeding disorder อื่น ๆ
4. ห้ามใช้ในผู้ที่มีการทำงานของตับผิดปกติ
หรือใช้ร่วมกับยาที่มีอันตรายต่อตับ
5. ห้ามใช้ในผู้ที่มีไข้ มีอาการสงสัยว่าจะเป็นโรคไข้เลือดออก
หรือมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่
6. ห้ามใช้ยาติดต่อกันเกิน 15 วัน
7. ห้ามใช้ในผู้ที่เป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง
หรือดื่มสุรามากเป็นประจำ รวมทั้งผู้ที่ติดสารเสพติด
8.
ห้ามใช้ในผู้ที่มีการทำงานของหัวใจหรือไตผิดปกติอย่างรุนแรง
|
เหมือนฉลาก และเพิ่ม
9. ยานี้อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดเลือดออกหรือแผลในกระเพาะอาหารและสำไส้
10. ยานี้อาจทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ของภาวะบวมน้ำ
จึงควรใช้ยาด้วยความระมัดระวังในผู้ป่วยโรคหัวใจ ไตทำงานผิดปกติ
ผู้ที่มีความดันโลหิตสูง หรือผู้สูงอายุ
11. ยานี้มีผลต่อการเกาะกลุ่มกันของเกล็ดเลือด
จึงควรหลีกเลี่ยงในผู้ป่วยที่สงสัยว่าจะเป็นไข้เลือดออก
หรือเกล็ดเลือดผิดปกติจากสาเหตุอื่น ๆ
12. ควรมีการตรวจติดตามการทำงานของตับเป็นระยะ
13. ระหว่างใช้ยา หากมีไข้ และหรืออาการคล้ายไข้หวัดใหญ่
เช่น ปวดเมื่อยตามตัว รู้สึกไม่สบายหนาวสั่น ให้หยุดยาทันที และปรึกษาแพทย์
14. ระหว่างใช้ยา หากมีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน
ปวดท้อง อ่อนเพลีย หรือปัสสาวะมีสีเข้ม หรือตรวจพบว่าการทำงานของตับผิดปกติ
ให้หยุดใช้ยาและปรึกษาแพทย์ทันที เพราะอาจเกิดพิษต่อตับเนื่องจากยา
15. ก่อนใช้ยานี้ หากผู้ป่วยใช้ยากันเลือดเป็นลิ่ม แอสไพริน
หรือยากลุ่มซาลิไซเลทอื่น ยาขับปัสสาวะ ลิเธียม เมโธเทรกเซท หรือไซโคลสปอริน
ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ
16. เมื่อใช้ยานี้ไม่ควรใช้ยาแก้ปวดอื่นร่วมด้วย
|
[1] แก้ไขโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องประกาศยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือน
ฉบับที่ 47 ประกาศ ณ วันที่ 13 กรกฎาคม
2555, ราชกิจจานุเบกษา 3 กันยายน 2555
[2] แก้ไขโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องประกาศยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือน
ฉบับที่ 39 ประกาศ ณ วันที่ 8 กรกฎาคม
2551, ราชกิจจานุเบกษา 25 สิงหาคม 2551
[3] แก้ไขโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องประกาศยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือน
ฉบับที่ 47 ประกาศ ณ วันที่ 13 กรกฎาคม
2555, ราชกิจจานุเบกษา 3 กันยายน 2555
[4] แก้ไขโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องประกาศยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือน
ฉบับที่ 47 ประกาศ ณ วันที่ 13 กรกฎาคม
2555, ราชกิจจานุเบกษา 3 กันยายน 2555
[5] แก้ไขโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องประกาศยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือน
ฉบับที่ 6,11,25 และ 28 (ฉบับที่ 28
ประกาศ ณ วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2546, ราชกิจจานุเบกษา 28 กุมภาพันธ์ 2546)
[6] แก้ไขโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง
ยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือน
ฉบับที่ 45 ประกาศ ณ วันที่ 26 กรกฎาคม
2553, ราชกิจจานุเบกษา 20 กันยายน 2553
[แก้ไขอายุเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี
เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 6 เดือน]
[7] แก้ไขโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง
ยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือน
ฉบับที่ 48 ประกาศ ณ วันที่ 24 ตุลาคม 2555,
ราชกิจจานุเบกษา 25 ธันวาคม 2555 [แก้ไขอายุเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 6
เดือน]
[8] แก้ไขโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง
ยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือน
ฉบับที่ 42 ประกาศ ณ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2553,
ราชกิจจานุเบกษา 2 เมษายน 2553
[9] แก้ไขโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องประกาศยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือน
ฉบับที่ 47 ประกาศ ณ วันที่ 13 กรกฎาคม
2555, ราชกิจจานุเบกษา 3 กันยายน 2555
[10] แก้ไขโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง
ยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือน
ฉบับที่ 25 ประกาศ ณ วันที่ 9 กันยายน
2544, ราชกิจจานุเบกษา 16 ตุลาคม 2544
[11] แก้ไขโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง
ยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือน
ฉบับที่ 5 ประกาศ ณ วันที่ 21 ธันวาคม
2533, ราชกิจจานุเบกษา 31 มกราคม 2534
[12] fenfluramine เดิมเป็นยาควบคุมพิเศษ ลำดับที่ 38 ปัจจุบันถูกเพิกถอนทะเบียนตำรับยา
เนื่องจากมีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะความผิดปกติของลิ้นหัวใจ (valvular
heart disease)
บริษัทผู้ผลิตและผู้จำหน่ายยาต้นแบบของยาดังกล่าวได้ประกาศถอนยาดังกล่าวออกจากท้องตลาดทั่วโลกแล้ว
(คำสั่งกระทรวงสาธารณสุขที่ 226/2543 เรื่อง เพิกถอนทะเบียนตำรับยา)
[13] แก้ไขโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง
ยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือน
ฉบับที่ 24 ประกาศ ณ วันที่ 14 กุมภาพันธ์
2544, ราชกิจจานุเบกษา 19 มีนาคม 2544
[14] แก้ไขโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องประกาศยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือน
ฉบับที่ 47 ประกาศ ณ วันที่ 13 กรกฎาคม
2555, ราชกิจจานุเบกษา 3 กันยายน 2555
[15] แก้ไขโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องประกาศยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือน
ฉบับที่ 51 ประกาศ ณ วันที่ 29 พฤศจิกายน
2555, ราชกิจจานุเบกษา 23 มกราคม 2556
[ตัดฟีโนบาร์บิทอล (Phenobarbital) ออกไป]
[16] แก้ไขโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องประกาศยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือน
ฉบับที่ 51 ประกาศ ณ วันที่ 29 พฤศจิกายน
2555, ราชกิจจานุเบกษา 23 มกราคม 2556
[ตัดฟีโนบาร์บิทอล (Phenobarbital) ออกไป]
[17] แก้ไขโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องประกาศยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือน
ฉบับที่ 19,20,21และ 31 โดยฉบับที่ 31
ประกาศ ณ วันที่ 26 มีนาคม 2546, ราชกิจจานุเบกษา 11 เมษายน 2546
[18] แก้ไขโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง
ยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือน
ฉบับที่ 23 ประกาศ ณ วันที่ 11 มกราคม
2544, ราชกิจจานุเบกษา 13 กุมภาพันธ์ 2544
[19] แก้ไขโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง
ยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือน
ฉบับที่ 46 ประกาศ ณ วันที่ 25 พฤศจิกายน
2553, ราชกิจจานุเบกษา 29 ธันวาคม 2535
[20] เพิกถอนทะเบียนตำรับยาที่มีโรซิกลิทาโซนเป็นส่วนประกอบ
เนื่องจากอาจทำให้เกิดความเสี่ยงต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด (คำสั่งกระทรวงสาธารณสุข
ที่ 447/2554 เรื่อง เพิกถอนทะเบียนตำรับยา, ราชกิจจานุเบกษา
18 พฤษภาคม 2554)
[21] แก้ไขโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง
ยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือน
ฉบับที่ 10 ประกาศ ณ วันที่ 10 กุมภาพันธ์
2535, ราชกิจจานุเบกษา 20 มีนาคม 2535
[22] แก้ไขโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง
ยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือน
ฉบับที่ 9 ประกาศ ณ วันที่ 2 กุมภาพันธ์
2535, ราชกิจจานุเบกษา 20 มีนาคม 2535
[23] แก้ไขโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องประกาศยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือน
ฉบับที่ 4 และฉบับที่ 9 (ฉบับที่ 9
ประกาศ ณ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2535)
[24] เพิ่มเติมโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง
ยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือน
ฉบับที่ 2 ประกาศ ณ วันที่ 17 พฤษภาคม 2533, ราชกิจจานุเบกษา 10
มิถุนายน 2533
[25] เพิ่มเติมโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง
ยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือน
ฉบับที่ 3 ประกาศ ณ วันที่ 13 กันยายน 2533, ราชกิจจานุเบกษา 18 ตุลาคม
2533
[26] เพิ่มเติมโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง
ยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือน
ฉบับที่ 7 ประกาศ ณ วันที่ 26 สิงหาคม
2534, ราชกิจจานุเบกษา 1 ตุลาคม 2534
[27] เพิ่มเติมโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง
ยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือน
ฉบับที่ 8 ประกาศ ณ วันที่ 29 สิงหาคม
2534, ราชกิจจานุเบกษา 1 ตุลาคม 2534
[28] เพิ่มเติมโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง
ยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือน
ฉบับที่ 13 ประกาศ ณ วันที่ 3 พฤศจิกายน
2536, ราชกิจจานุเบกษา 15 ธันวาคม 2536
[29] เพิ่มเติมโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง
ยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือน
ฉบับที่ 14 ประกาศ ณ วันที่ 3 พฤศจิกายน
2536, ราชกิจจานุเบกษา 15 ธันวาคม 2536
[30] เพิ่มเติมโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง
ยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือน
ฉบับที่ 16 ประกาศ ณ วันที่ 30 มีนาคม
2537, ราชกิจจานุเบกษา 10 พฤษภาคม 2537
[31] เพิ่มเติมโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง
ยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือน
ฉบับที่ 17 ประกาศ ณ วันที่ 4 เมษายน
2538, ราชกิจจานุเบกษา 4 พฤษภาคม 2538
[32] เพิ่มเติมโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องประกาศยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือน
ฉบับที่ 18 แก้ไขโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง
ยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือน
ฉบับที่ 29 ประกาศ ณ วันที่ 11 กมภาพันธ์
2546
[33] เพิ่มเติมโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องประกาศยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือน
ฉบับที่ 22 และแก้ไขโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง
ยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือนฉบับที่
26 ประกาศ ณ วันที่ 19 ตุลาคม 2544
[34] เพิ่มเติมโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง
ยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือน
ฉบับที่ 22 ประกาศ ณ วันที่ 4 ธันวาคม
2543, ราชกิจจานุเบกษา 19 ธันวาคม 2543
[35] เพิ่มเติมโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง
ยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือน
ฉบับที่ 23 ประกาศ ณ วันที่ 11 มกราคม
2544, ราชกิจจานุเบกษา 13 กุมภาพันธ์ 2544
และแก้ไขโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง ยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือน
ฉบับที่ 44 ประกาศ ณ วันที่ 12 เมษายน
2553, ราชกิจจานุเบกษา 14 มิถุนายน 2553
[36] เพิ่มเติมโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง
ยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือน
ฉบับที่ 26 ประกาศ ณ วันที่ 19 ตุลาคม 2544, ราชกิจจานุเบกษา
26 พฤศจิกายน 2544 และแก้ไขโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง
ยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือน
ฉบับที่ 32 ประกาศ ณ วันที่ 24 เมษายน
2546, ราชกิจจานุเบกษา
16 พฤษภาคม 2546
[37] เพิ่มเติมโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง
ยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือน
ฉบับที่ 26 ประกาศ ณ วันที่ 19 ตุลาคม
2544, ราชกิจจานุเบกษา 26 พฤศจิกายน
2544
[38] แก้ไขโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องประกาศยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือน
ฉบับที่ 47 ประกาศ ณ วันที่ 13 กรกฎาคม
2555, ราชกิจจานุเบกษา 3 กันยายน 2555
[39] แก้ไขโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง
ยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือน
ฉบับที่ 43 ประกาศ ณ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2553,
ราชกิจจานุเบกษา 2 เมษายน 2553
[40] แก้ไขโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง
ยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือน
ฉบับที่ 34 ประกาศ ณ วันที่ 12 เมษายน
2548, ราชกิจจานุเบกษา 26 สิงหาคม 2548
[41] แก้ไขโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องประกาศยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือน
ฉบับที่ 50 ประกาศ ณ วันที่ 21 พฤศจิกายน
2555, ราชกิจจานุเบกษา 7 มกราคม 2556
[แก้ไขรายละเอียดเอกสารกำกับยา]
[42] เพิ่มเติมโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง
ยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือน
ฉบับที่ 32 ประกาศ ณ วันที่ 24 เมษายน
2546, ราชกิจจานุเบกษา 16 พฤษภาคม 2546
[43] แก้ไขโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องประกาศยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือน
ฉบับที่ 47 ประกาศ ณ วันที่ 13 กรกฎาคม
2555, ราชกิจจานุเบกษา 3 กันยายน 2555
[เพิ่มข้อ 4-6]
[44] เพิ่มเติมโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง
ยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือน
ฉบับที่ 35 ประกาศ ณ วันที่ 6 พฤษภาคม
2548, ราชกิจจานุเบกษา 26 สิงหาคม 2548
[45] แก้ไขโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง
ยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือน
ฉบับที่ 43 ประกาศ ณ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2553, ราชกิจจานุเบกษา 2 เมษายน 2553
[46] แก้ไขโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องประกาศยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือน
ฉบับที่ 47 ประกาศ ณ วันที่ 13 กรกฎาคม
2555, ราชกิจจานุเบกษา 3 กันยายน 2555
[47] เพิ่มเติมโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง
ยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือน
ฉบับที่ 37 ประกาศ ณ วันที่ 24 เมษายน
2550, ราชกิจจานุเบกษา 13 กรกฎาคม 2550
[48] เพิ่มเติมโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง
ยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือน
ฉบับที่ 37 ประกาศ ณ วันที่ 24 เมษายน
2550, ราชกิจจานุเบกษา 13 กรกฎาคม 2550
[49] เพิ่มเติมโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง ยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือน
ฉบับที่ 40 ณ วันที่ 6 มีนาคม 2552, ราชกิจจานุเบกษา 29 เมษายน 2552
[50] แก้ไขโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องประกาศยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือน
ฉบับที่ 41 ประกาศ ณ วันที่ 8 กันยายน 2552,
ราชกิจจานุเบกษา 2 เมษายน 2553
[51] แก้ไขโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องประกาศยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือน
ฉบับที่ 43 ประกาศ ณ วันที่ 2 กุมภาพันธ์
2553, ราชกิจจานุเบกษา 2 เมษายน 2553
[52] แก้ไขโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องประกาศยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือน
ฉบับที่ 47 ประกาศ ณ วันที่ 13 กรกฎาคม
2555, ราชกิจจานุเบกษา 3 กันยายน 2555
[53] แก้ไขโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องประกาศยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือน
ฉบับที่ 47 ประกาศ ณ วันที่ 13 กรกฎาคม
2555, ราชกิจจานุเบกษา 3 กันยายน 2555
[54] แก้ไขโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องประกาศยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือน
ฉบับที่ 47 ประกาศ ณ วันที่ 13 กรกฎาคม
2555, ราชกิจจานุเบกษา 3 กันยายน 2555
[55] แก้ไขโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องประกาศยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือน
ฉบับที่ 49 ประกาศ ณ วันที่ 13 พฤศจิกายน
2555, ราชกิจจานุเบกษา 25 ธันวาคม 2555
I have been on blog Sites for a while now and today I felt like I should share my story because I was a victim too. I had HIV for 6 years and I never thought I would ever get a cure I had and this made it impossible for me to get married to the man I was supposed to get married to even after 2 years of relationship he broke up with me when he found out I was HIV positive. So I got to know about Dr. Itua on Blog Site who treated someone and the person shared a story of how she got cured and let her contact details, I contacted Dr. Itua and he actually confirmed it and I decided to give a try too and use his herbal medicine that was how my burden ended completely. My son will be 2 soon and I am grateful to God and thankful to his medicine too.Dr Itua Can As Well Cure The Following Disease…Alzheimer’s disease,Bechet’s disease,Crohn’s disease,Parkinson's disease,Schizophrenia,Lung Cancer,Breast Cancer,Colo-Rectal Cancer,Blood Cancer,Prostate Cancer,siva.Fatal Familial Insomnia Factor V Leiden Mutation ,Epilepsy Dupuytren's disease,Desmoplastic small-round-cell tumor Diabetes ,Coeliac disease,Creutzfeldt–Jakob disease,Cerebral Amyloid Angiopathy, Ataxia,Arthritis,Amyotrophic Lateral Scoliosis,Fibromyalgia,Fluoroquinolone Toxicity
ตอบลบSyndrome Fibrodysplasia Ossificans ProgresSclerosis,Seizures,Alzheimer's disease,Adrenocortical carcinoma.Asthma,Allergic diseases.Hiv_ Aids,Herpe ,Copd,Glaucoma., Cataracts,Macular degeneration,Cardiovascular disease,Lung disease.Enlarged prostate,Osteoporosis.Alzheimer's disease,
Dementia.Lupus.
,Cushing’s disease,Heart failure,Multiple Sclerosis,Hypertension,Colo_Rectal Cancer,Lyme Disease,Blood Cancer,Brain Cancer,Breast Cancer,Lung Cancer,Kidney Cancer, HIV, Herpes,Hepatitis B, Liver Inflammatory,Diabetes,Fibroid, Get Your Ex Back, If you have (A just reach him on drituaherbalcenter@gmail.com Or Whatsapp Number.+2348149277967)He can also advise you on how to handle some marital's issues. He's a good man.