ขั้นตอนการดำเนินการ
29 ตุลาคม 2553 การประชุมคณะอนุกรรมการศึกษาและเฝ้าระวังอันตรายจากการใช้ยา ครั้งที่ 4/2553 มีมติเสนอคณะกรรมการยาให้เพิกถอนทะเบียนตำรับยาที่มีส่วนประกอบของโรซิกลิตาโซน เนื่องจากมีข้อมูลความเสี่ยงต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด
10 พฤศจิกายน 2553 ออกข่าวตามสื่ิอสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ว่าจะเพิกถอนทะเบียนตำรับยานี้ http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=rpar-observer&month=10-11-2010&group=3&gblog=25
22 ธันวาคม 2553 ประชุมคณะกรรมการยา ครั้งที่ 3/2553 มีมติให้เพิกถอนโรซิกลิตาโซน เนื่องจากอาจทำให้เกิดความเสี่ยงต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด
4 เมษายน 2554 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ลงนามในคำสั่งเพิกถอนทะเบียนตำรับยา ดูร่างได้ที่ http://wwwapp1.fda.moph.go.th/drug/zone_law/files/drug_118.pdf
18 พฤษภาคม 2554 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2554/E/055/125.PDF
ช่วงเวลาระหว่างเดือนมกราคม – มีนาคม 2554 เกิดอะไรขึ้น จึงไม่มีการดำเนินการใดในช่วงนั้น เมื่อไหร่จะประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งจะทำให้กฎหมายมีผลบังคับใช้โดยสมบูรณ์
การคุ้มครองผู้บริโภคเรื่องความปลอดภัยด้านยา ทำได้รวดเร็วจริงหรือ??? กับระยะเวลาที่ยาวนานถึง 6 เดือน (และอาจมากกว่านั้น)
คำถามทิ้งท้าย ทำไมจึงไม่มีขั้นตอนการเพิกถอนทะเบียนตำรับยาไซบูทรามีน (sibutramine) โดยรัฐ (ยานี้มีการนำไปใช้ลดความอ้วน) หรือว่าเจ้าของยารายนี้สมัครใจถอนตัวเองออกจากตลาด แต่เจ้าของยา rosiglitazone ไม่สมัครใจใช่หรือไม่???
หมายเหตุ พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 มาตรา 72(6) ห้ามมิให้ผู้ใดผลิต ขาย หรือนำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งยาที่รัฐมนตรีสั่งเพิกถอนทะเบียนตำรับยา ผู้ฝ่าฝืนต้องได้รับโทษตามมาตรา 120 คือ ผู้ขาย หรือนำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักร ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี และปรับไม่เกินห้าพันบาท (พ.ร.บ.ยาฯ มาตรา 120 ลืมลงโทษผู้ผลิต)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น