Bisphenol A (บิสฟีนอล เอ) หรือ BPA (บีพีเอ) คือ อะไร หรือมีความเป็นมาอย่างไรนั้น เบื้องต้นขอให้ศึกษาจาก Fact Sheet สาร BPA ในขวดนม ซึ่งเป็นเอกสารของสำนักอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (เอกสารวันที่ 20 มิถุนายน 2554) ดูรายละเอียดได้จาก http://newsser.fda.moph.go.th/fast/data_center/ifm_mod/dyn_page/Fact_Sheet__BPA_in_Baby_Bottle.pdf
สาเหตุมีความพยายามยกเลิกการใช้ BPA ในผลิตภัณฑ์ เช่น ผลิตภัณฑ์ขวดนม เนื่องจากมีการศึกษาพบว่าเป็นสารก่อมะเร็ง (แต่เอกสารของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาข้างต้น ยังยืนยันว่าสาร BPA ไม่เป็นสารก่อะเร็ง) นอกจากนี้ยังมีผลกระทบต่อสุขภาพในด้านอื่นและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หลายประเทศมีการประกาศห้ามใช้แล้ว เช่น แคนาดา จีน ประเทศกลุ่มสหภาพยุโรป ส่วนบางประเทศที่ยังไม่ได้ประกาศห้าม แต่ก็ได้มีความพยายามที่จะลดการใช้ BPA หรือเปลี่ยนไปใช้สารอื่นแทน
การดำเนินการในประเทศไทย มีความพยายามให้มีการยกเลิกการใช้สาร BPA ในการผลิตพลาสติกโดยเฉพาะขวดนม แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จ (มีเพียงเรื่องเดียวที่ได้ดำเนินการไปแล้ว คือ การประกาศให้ Bisphenol A หรือ BPA เป็นวัตถุที่ห้ามใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องสำอาง ลำดับที่ 1170) อีกทั้งมีหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ขึ้นอยู่กับว่าหน่วยงานใดจะเริ่มดำเนินการก่อน ดังนี้
1. การผลิต การผลิตขวดนมในระดับอุตสาหกรรม อาจมีการส่งเรื่องให้เป็นความรับผิดชอบของกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งมีพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2535 สามารถกำหนดชนิดและวัตถุดิบที่จะนำมาใช้ในการผลิต นั่นหมายความว่าสามารถห้ามวัตถุบางประเภทมาใช้ในการผลิตได้ (เคยมีประกาศห้ามใช้ CFC ในกระบวนการผลิตมาแล้ว)
2. การขาย ขวดนมที่ผลิตได้อาจมีการส่งเรื่องให้เป็นความรับผิดชอบสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ซึ่งมีพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 มาตรา 36 สามารถสั่งห้ามขายได้ ถ้าทำไม่สำเร็จ ก็กำหนดให้เป็นสินค้าควบคุมฉลากและออกมาตรการด้านฉลาก ตามมาตรา 30-33 (อาจขยายไปยังสินค้าอื่นที่อาจพบ BPA ได้ เช่น ของเล่นเด็ก)
3. การนำมาใช้ อาจส่งให้เป็นหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ซึ่งมีพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 มาตรา 6(6) ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนดคุณภาพหรือมาตรฐานของภาชนะบรรจุและการใชภาชนะบรรจุ ตลอดจนการห้ามใช้วัตถุใดเป็นภาชนะบรรจุอาหารด้วย ซึ่งก็มีประกาศที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 3 ฉบับ คือ ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 117 (พ.ศ. 2532) เรื่อง ขวดนม, ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 92 (พ.ศ. 2528) เรื่อง กำหนดคุณภาพหรือมาตรฐานของภาชนะบรรจุ การใช้ภาชนะบรรจุและการห้ามใช้วัตถุใดเป็นภาชนะบรรจุอาหาร, ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 295) พ.ศ.2548 เรื่อง กำหนดคุณภาพหรือมาตรฐานของภาชนะบรรจุที่ทำจากพลาสติก
นอกจากนี้เรื่องการกำหนดมาตรฐานก็อาจจะส่งให้เป็นหน้าที่ของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมก็ได้ ซึ่งก็เคยกำหนดมาตรฐานภาชนะบรรจุอาหารที่เป็นสแตนเลส, หัวนมยางสำหรับขวดนมมาแล้ว แต่เมื่อ อย.เคยออกมาตรการเกี่ยวกับขวดนมมาแล้ว ดังนั้น ในเรื่องของการนำมาใช้ ควรเริ่มจาก อย.น่าจะเร็วที่สุด
สาเหตุมีความพยายามยกเลิกการใช้ BPA ในผลิตภัณฑ์ เช่น ผลิตภัณฑ์ขวดนม เนื่องจากมีการศึกษาพบว่าเป็นสารก่อมะเร็ง (แต่เอกสารของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาข้างต้น ยังยืนยันว่าสาร BPA ไม่เป็นสารก่อะเร็ง) นอกจากนี้ยังมีผลกระทบต่อสุขภาพในด้านอื่นและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หลายประเทศมีการประกาศห้ามใช้แล้ว เช่น แคนาดา จีน ประเทศกลุ่มสหภาพยุโรป ส่วนบางประเทศที่ยังไม่ได้ประกาศห้าม แต่ก็ได้มีความพยายามที่จะลดการใช้ BPA หรือเปลี่ยนไปใช้สารอื่นแทน
การดำเนินการในประเทศไทย มีความพยายามให้มีการยกเลิกการใช้สาร BPA ในการผลิตพลาสติกโดยเฉพาะขวดนม แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จ (มีเพียงเรื่องเดียวที่ได้ดำเนินการไปแล้ว คือ การประกาศให้ Bisphenol A หรือ BPA เป็นวัตถุที่ห้ามใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องสำอาง ลำดับที่ 1170) อีกทั้งมีหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ขึ้นอยู่กับว่าหน่วยงานใดจะเริ่มดำเนินการก่อน ดังนี้
1. การผลิต การผลิตขวดนมในระดับอุตสาหกรรม อาจมีการส่งเรื่องให้เป็นความรับผิดชอบของกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งมีพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2535 สามารถกำหนดชนิดและวัตถุดิบที่จะนำมาใช้ในการผลิต นั่นหมายความว่าสามารถห้ามวัตถุบางประเภทมาใช้ในการผลิตได้ (เคยมีประกาศห้ามใช้ CFC ในกระบวนการผลิตมาแล้ว)
2. การขาย ขวดนมที่ผลิตได้อาจมีการส่งเรื่องให้เป็นความรับผิดชอบสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ซึ่งมีพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 มาตรา 36 สามารถสั่งห้ามขายได้ ถ้าทำไม่สำเร็จ ก็กำหนดให้เป็นสินค้าควบคุมฉลากและออกมาตรการด้านฉลาก ตามมาตรา 30-33 (อาจขยายไปยังสินค้าอื่นที่อาจพบ BPA ได้ เช่น ของเล่นเด็ก)
3. การนำมาใช้ อาจส่งให้เป็นหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ซึ่งมีพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 มาตรา 6(6) ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนดคุณภาพหรือมาตรฐานของภาชนะบรรจุและการใชภาชนะบรรจุ ตลอดจนการห้ามใช้วัตถุใดเป็นภาชนะบรรจุอาหารด้วย ซึ่งก็มีประกาศที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 3 ฉบับ คือ ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 117 (พ.ศ. 2532) เรื่อง ขวดนม, ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 92 (พ.ศ. 2528) เรื่อง กำหนดคุณภาพหรือมาตรฐานของภาชนะบรรจุ การใช้ภาชนะบรรจุและการห้ามใช้วัตถุใดเป็นภาชนะบรรจุอาหาร, ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 295) พ.ศ.2548 เรื่อง กำหนดคุณภาพหรือมาตรฐานของภาชนะบรรจุที่ทำจากพลาสติก
นอกจากนี้เรื่องการกำหนดมาตรฐานก็อาจจะส่งให้เป็นหน้าที่ของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมก็ได้ ซึ่งก็เคยกำหนดมาตรฐานภาชนะบรรจุอาหารที่เป็นสแตนเลส, หัวนมยางสำหรับขวดนมมาแล้ว แต่เมื่อ อย.เคยออกมาตรการเกี่ยวกับขวดนมมาแล้ว ดังนั้น ในเรื่องของการนำมาใช้ ควรเริ่มจาก อย.น่าจะเร็วที่สุด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น