1.2 ตำรายา
ภก.ปรุฬห์ รุจนธำรงค์
ตำรายาเป็นเอกสารที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510 มาตรา
76(1) ประกาศระบุตำรายา ซึ่งมีทั้ง
ตำรายาแผนปัจจุบัน และตำรายาแผนโบราณ
ปัจจุบันได้มีการประกาศสิ่งที่เป็นตำรายาแล้ว ดังนี้
ที่มา:
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุตำรายา พ.ศ. 2556 (วันบังคับใช้ 10 มิถุนายน พ.ศ.2557)
ผลทางกฎหมายเมื่อมีการประกาศตำรายา
- วัตถุที่อยู่ในตำรายา
เบื้องต้นจะเข้าข่ายนิยามคำว่า “ยา” ตามมาตรา 4 วรรคหนึ่ง
(1)
- หากวัตถุนั้นอยู่ในตำรายาแผนโบราณ
เบื้องต้นจะเข้าข่ายนิยาม “ยาแผนโบราณ” ถ้าปรุงยาแผนโบราณตามตำรายาที่รัฐมนตรีประกาศตามมาตรา
76 (1) โดยผู้ประกอบโรคศิลปะแผนโบราณ
เพื่อขายเฉพาะสำหรับคนไข้ของตนหรือขายปลีก
ตามมาตรา 47(2)
จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องขออนุญาตผลิตยาแผนโบราณ หรือขออนุญาตขายยาแผนโบราณ
ตามมาตรา 46
ฝ่าฝืนต้องระวางโทษตามมาตรา 111 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี
และปรับไม่เกินห้าพันบาท
- ใช้เป็นเกณฑ์อ้างอิงในการขอขึ้นทะเบียนตำรับยา
- การวิเคราะห์ยาแผนปัจจุบัน
เมื่อมีการขอขึ้นทะเบียนตำรับยา สามารถใช้วิธีที่ปรากฏในตำรายาได้
เว้นแต่กรณีที่ใช้วิธีวิเคราะห์นอกตำรายาที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศ จะต้องแจ้งวิธีวิเคราะห์มาตรฐานยาแผนปัจจุบัน
ตามมาตรา 80(4)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น