ภก.ปรุฬห์ รุจนธำรงค์
6 กันยายน 2554
1. ข้อตกลงเบื้องต้น
1.1 ขอให้ศึกษาข้อมูลเบื้องต้นจาก http://rparun.blogspot.com/2011/09/draftdrugact01.html
1.2 วิชาชีพที่เกี่ยวข้อง เช่น แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร พยาบาล กายภาพบำบัด แพทย์แผนไทย แพทย์แผนทางเลือก สัตวแพทย์ (ดูรายละเอียดในข้อ 1.1)
1.3 กฎหมายยาปัจจุบัน คือ พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม และร่างกฎหมายใหม่ คือ ร่าง พ.ร.บ.ยา ฉบับคณะกรรมการกฤษฎีกา และฉบับประชาชน
1.4 กฎหมายวิชาชีพ คือ พระราชบัญญัติวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง กฎหมายสถานพยาบาล คือ พระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ.2541
1.5 ศัพท์และสำนวนที่ใช้ในครั้งนี้อาจจะไม่เป็นทางการมากนัก
2. ตอบคำถามประเด็นยอดนิยม
2.1 การเปิดร้านขายยา
ใครมีเงิน มีคุณสมบัติครบถ้วน ก็เปิดร้านขายยา เปิดสถานบริการเภสัชกรรมก็ได้ แต่ต้องหาเภสัชกรมาประจำให้ได้ตามร่างกฎหมายใหม่ (ดูหน้าที่เภสัชกรที่ http://rparun.blogspot.com/2011/04/blog-post_06.html)
2.2 ผู้ที่ออกใบสั่งยาได้
ผู้ที่ออกใบสั่งยาได้ คือ คนที่ใช้ชื่อว่าหมอ หรือแพทย์เท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นแพทย์ (หมอคน) ทันตแพทย์ (หมอฟัน) สัตวแพทย์(หมอสัตว์) แพทย์แผนไทย หรือแผนต่าง ๆ และเป็นไปตามกฎหมายวิชาชีพนั้น ๆ ส่วนพยาบาล กายภาพบำบัด เภสัชกร ออกใบสั่งยาไม่ได้ เพราะกฎหมายวิชาชีพไม่อนุญาต
2.3 การจ่ายยา
(1) จ่ายสำหรับคนไข้เฉพาะตน จ่ายในการประกอบวิชาชีพตามกฎหมายวิชาชีพนั้น ๆ จ่ายในคลินิกวิชาชีพ ไม่ถือว่าทำเพื่อประโยชน์ทางการค้า จึงไม่ถือเป็นการขาย ไม่ว่าจะเป็นการขายตามนิยามกฎหมายใด ๆ ก็ตาม
(2) จ่ายยาสำหรับคนไข้โดยไม่มีการตรวจโรค ถือเป็นการขาย เพราะมีลักษณะเป็นการทำเพื่อประโยชน์ด้านการค้า ซึ่งต้องระวังคลินิกวิชาชีพทั้งหลายอาจจ่ายยาโดยไม่ตรวจโรคหรืออาการก่อนได้
(3) การจ่ายยาของเภสัชกร ต้องใช้ความรู้ในวิชาชีพ ไม่ได้มุ่งเน้นการค้าเป็นหลัก ร่างฉบับประชาชนเห็นความสำคัญ จึงคิดคำใหม่ให้ คือ "การบริการเภสัชกรรม" แต่ร่างคณะกรรมการกฤษฎีกาไม่ได้คำนึงถึง
2.4 คลินิกวิชาชีพ
(1) ผู้ประกอบวิชาชีพจ่ายยาสำหรับคนไข้เฉพาะรายหรือสัตว์ที่ตนรักษา (ส่วนนี้เป็นเรื่องของกฎหมายยา) ปกติจะผูกกับคลินิกวิชาชีพ (ส่วนนี้เป็นเรื่องกฎหมายสถานพยาบาลกับกฎหมายวิชาชีพ) ให้ไปดูว่ากฎหมายวิชาชีพหรือกฎหมายสถานพยาบาลนั้นให้ทำอะไรได้บ้าง กฎหมายยาจะอนุโลมตามกฎหมายวิชาชีพหรือกฎหมายสถานพยาบาล(2) กฎหมายยาฉบับปัจจุบัน (ดูข้อยกเว้นมาตรา 13, 47 ให้ดี) ไม่ก้าวล่วงไปยังคลินิกวิชาชีพ (โดยเฉพาะคลินิกแพทย์) ยังมียาได้ครอบจักรวาล ตราบที่กฎหมายยาไม่ห้าม ถ้ายังไม่ได้ทำเพื่อประโยชน์ทางการค้า (คือรักษาตามปกติ) ส่วนคลินิกพยาบาล แม้กฎหมายยาปัจจุบันไม่กล่าวถึง ก็สามารถอ้างเรื่องการมียาในครอบครองตามกฎหมายสถานพยาบาลได้ แต่ถ้าทำเพื่อประโยชน์ทางการค้า (เช่น จ่ายยาโดยไม่ตรวจโรค ไม่ตรวจอาการ ไม่มีการวินิจฉัย) ถือเป็นการขาย คลินิกวิชาชีพจะถูกข้อหาขายยาโดยไม่ได้รับอนุญาตทันที ลองพิจารณาจากกฎกระทรวงว่าด้วยชนิดและจำนวนเครื่องมือ เครื่องใช้ ยาและเวชภัณฑ์ หรือยานพาหนะที่จำเป็นประจำสถานพยาบาล พ.ศ. 2545 ซึ่งออกตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541 http://app-thca.krisdika.go.th/Naturesig/CheckSig?whichLaw=law2&folderName=%CA53&lawPath=%CA53-2b-2545-a005) ซึ่งรายการยา ชนิด จำนวน ไม่มีความชัดเจนแต่อย่างใด
(3) ร่างกฎหมายใหม่ พยายามเข้าไปจัดการเรื่องการใช้ยาของคลินิกวิชาชีพ แต่มีความชัดเจนเรื่องการจัดการต่างกัน ร่างฉบับคณะกรรมการกฤษฎีกามองผู้ประกอบวิชาชีพเป็นตัวตั้งว่าปกติจ่ายอะไร แล้วค่อยใส่สถานประกอบการเข้าไป ส่วนร่างฉบับประชาชน มองสถานประกอบการเป็นตัวตั้งว่าจะให้สถานประกอบการนั้นมียาอะไร แล้วค่อยนำผู้ประกอบวิชาชีพใส่ลงไป
สิ่งที่เราต้องทำกันต่อไป คือ คลินิกวิชาชีพควรจะให้มียาอ ะไรได้บ้าง ซึ่งวิชาชีพนั้นเขาต้องมาต่ อสู้ประเด็นนี้แน่นอน เช่น คลินิกการพยาบาลและการผดุงค รรภ์ ยาสำหรับหญิงตั้งครรภ์ควรมี อะไรบ้าง ยาฆ่าเชื้อควรให้ใช้อะไรบ้า ง ดูตัวอย่างกฎกระทรวงตามกฎหมายสถานพยาบาลที่ยอมให้คลินิกวิชาชีพมียาได้ แต่ไม่มีความชัดเจนในเรื่องรายการและจำนวน
อย่างไรก็ตาม เรื่องการขอรายชื่อภาคประชาชน ยังคงต้องการต่อไป เพื่อเสนอกฎหมายภาคประชาชน ให้ท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภาได้เห็นความแตกต่างของกฎหมายทั้งสองฉบับ และมีภาคประชาชน ภาควิชาชีพโดยเฉพาะเภสัชกรเข้าไปปกป้องดูแลความปลอดภัยเรื่องการใช้ยา
เราเสนอสินเชื่อจาก€ 100,000.00 ถึง 200,000,00 €ในอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสมและไม่มีการตรวจสอบเครดิตเราเสนอสินเชื่อส่วนบุคคลสินเชื่อรวมหนี้เงินร่วมทุนสินเชื่อธุรกิจสินเชื่อเพื่อการศึกษา ? เรามีอัตราดอกเบี้ยคงที่ 3% !!!
ตอบลบอีเมล: guaranteeloanoffer@outlook.com หรือติดต่อ WhatsApp @ +38972751056