ภก.ปรุฬห์
รุจนธำรงค์
การโฆษณามีอิทธิพลในการเพิ่มความน่าเชื่อถือ
เพิ่มจำนวนผู้มารับโฆษณาจากผู้ประกอบวิชาชีพ สถานที่ปะกอบธุรกิจ
สถานที่ทำงานของผู้ประกอบวิชาชีพ การควบคุมเรื่องการโฆษณาความรู้ความสามารถของผู้ประกอบวิชาชีพ
สถานที่ประกอบธุรกิจของผู้ประกอบวิชาชีพ ตลอดจนสถานที่ผู้ประกอบวิชาชีพได้ปฏิบัติงาน
หากเป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพมักจะมีวัตถุประสงค์หลักในเรื่องป้องกันการแย่งกันประกอบวิชาชีพโดยป้องกันไม่ให้ผู้ที่มีทุนมากกว่าใช้การโฆษณาเพื่อเรียกผู้รับบริการไปใช้บริการของตนจนทำให้ผู้ประกอบวิชาชีพอื่นไม่สามารถประกอบวิชาชีพได้
เพื่อให้เกิดการกระจายตัวไปรับบริการจากผู้ประกอบวิชาชีพรายอื่น
ทำให้เกิดการแข่งขันอย่างเป็นธรรม และป้องกันการทำลายระบบวิชาชีพในภาพรวม เรื่องการป้องกันโฆษณาโอ้อวดในข้อบังคับว่าด้วยจรรยาบรรณวิชาชีพและตามกฎหมายอื่น
เช่น พระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ.2541 มีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคทั่วไป
ไม่ให้ผู้บริโภคได้รับความไม่เป็นธรรมจากโฆษณาหรือเข้าใจผิดในสาระสำคัญของบริการ
ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพจะโฆษณาได้หรือไม่
โฆษณาได้มากน้อยเพียงใด พิจารณาจากกฎหมายที่เกี่ยวข้องและคดีจรรยาบรรณที่เกิดขึ้นจริง
ดังต่อไปนี้
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
1.
กรณีการประกอบวิชาชีพในสถานประกอบการด้านยา
พระราชบัญญัติยา
พ.ศ.2510 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ไม่มีเรื่องการโฆษณาสถานประกอบการด้านยา (เช่น
ร้านขายยา) กำหนดไว้โดยเฉพาะต้องมีหลักเกณฑ์ในการโฆษณาอย่างไร จึงต้องกลับไปใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค
พ.ศ.2522 มาตรา 22 และมาตรา 23 ในเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภคในด้านการโฆษณา ซึ่งเนื้อหาและวิธีการโฆษณามีดังนี้
1.1
เนื้อหาการโฆษณา การโฆษณาจะต้องไม่ใช้ข้อความที่เป็นการไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภคหรือใช้ข้อความที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคมเป็นส่วนรวม ทั้งนี้ ไม่ว่าข้อความดังกล่าวนั้นจะเป็นข้อความที่เกี่ยวกับแหล่งกำเนิด
สภาพ
คุณภาพ หรือลักษณะของสินค้าหรือบริการ ตลอดจนการส่งมอบ การจัดหา
หรือการใช้สินค้าหรือบริการ
ข้อความดังต่อไปนี้
ถือว่าเป็นข้อความที่เป็นการไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภคหรือเป็นข้อความที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคมเป็นส่วนรวม
(1)
ข้อความที่เป็นเท็จหรือเกินความจริง
ยกเว้นข้อความที่ใช้ในการโฆษณาที่บุคคลทั่วไปสามารถรู้ได้ว่าเป็นข้อความที่ไม่อาจเป็นความจริงได้โดยแน่แท้
(2)
ข้อความที่จะก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการไม่ว่าจะกระทำโดยใช้หรืออ้างอิงรายงานทางวิชาการ
สถิติ หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งอันไม่เป็นความจริงหรือเกินความจริง หรือไม่ก็ตาม
(3)
ข้อความที่เป็นการสนับสนุนโดยตรงหรือโดยอ้อมให้มีการกระทำผิดกฎหมายหรือศีลธรรม
หรือนำไปสู่ความเสื่อมเสียในวัฒนธรรมของชาติ
(4)
ข้อความที่จะทำให้เกิดความแตกแยกหรือเสื่อมเสียความสามัคคีในหมู่ประชาชน
(5)
ข้อความอย่างอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
- ข้อความโฆษณาสินค้าหรือบริการที่อิงกับพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท
หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ (รายละเอียดโปรดดูกฎกระทรวง ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2526) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค
พ.ศ. 2522 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม)
- เรื่องโฆษณาขายยาโดยวิธีแถมพกหรือออกสลากรางวัล ไม่สามารถกระทำได้ตามพระราชบัญญัติยา
พ.ศ.2510 มาตรา 90 (แม้ว่ากฎกระทรวง
ฉบับที่ 3 (พ.ศ.
2526) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค
พ.ศ. 2522 จะอนุญาตเรื่องการโฆษณาสินค้าหรือบริการที่ระบุหรือประกาศว่าผู้ประกอบธุรกิจจัดให้มีการแถมพกหรือรางวัลด้วยการเสี่ยงโชคได้ก็ตาม)
1.2
วิธีการโฆษณา การโฆษณาจะต้องไม่กระทำด้วยวิธีการอันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
ร่างกายหรือจิตใจ หรืออันอาจก่อให้เกิดความรำคาญแก่ผู้บริโภค ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
2.
กรณีการประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาล พระราชบัญญัติสถานพยาบาล
พ.ศ.2541 มาตรา 38
มีมาตรการควบคุมผู้รับอนุญาตหรือผู้ดำเนินการ
(ผู้ดำเนินการตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ.2541 มาตรา 25(1) อาจเป็นได้ทั้งผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์
ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพกายภาพบำบัด
หรือผู้ประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ แต่บุคคลเช่นว่านั้นจะได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ดำเนินการตามประเภทใด
หรือสถานพยาบาลที่ให้บริการทางการแพทย์ใดให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง) โดยห้ามมิให้ผู้รับอนุญาตหรือผู้ดำเนินการโฆษณาหรือประกาศหรือยินยอมให้ผู้อื่นโฆษณาหรือประกาศด้วยประการใด
ๆ ซึ่งชื่อ ที่ตั้งหรือกิจการของสถานพยาบาล หรือคุณวุฒิ
หรือความสามารถของผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาลเพื่อชักชวนให้มีผู้มาขอรับ
บริการจากสถานพยาบาลของตน โดยใช้ข้อความอันเป็นเท็จหรือโอ้อวดเกินความจริง
หรือน่าจะก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับการประกอบกิจการของสถานพยาบาล
จะเห็นว่าผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมไม่สามารถเป็นผู้ดำเนินการในสถานพยาบาลรูปแบบใดได้เลย
จึงไม่เป็นผู้กระทำความผิดกรณีฝ่าฝืนพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ.2541 มาตรา
38 แต่อาจถือว่าเป็นผู้กระทำความผิดตามกฎหมายอื่นได้
นอกจากนี้มีประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2546) เรื่อง หลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขในการโฆษณาสถานพยาบาล ให้นิยาม “การโฆษณาสถานพยาบาล
หมายความว่า การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับสถานพยาบาลทางวิทยุ โทรทัศน์
สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เคเบิลทีวี วิทยุกระจายเสียง เครื่องขยายเสียง
การฉายภาพหรือภาพยนตร์ สิ่งพิมพ์ทุกชนิด เช่น แผ่นพับ ใบปลิว หนังสือ นิตยสาร
วารสาร และสื่ออื่น ๆ รวมถึงแผ่นป้ายโฆษณา วัสดุอื่น ๆ
ที่มีข้อความโฆษณาให้ประชาชนเห็นได้ และให้หมายรวมถึงการกระทำไม่ว่าโดยวิธีการใด ๆ
ให้ประชาชนเห็นหรือทราบ ข้อความ ภาพ เครื่องหมาย หรือรวมถึงการกระทำอย่างใด ๆ
ที่ทำให้บุคคลโดยทั่วไปเข้าใจความหมายเพื่อประโยชน์ของสถานพยาบาล” และกำหนดโฆษณาที่สามารถกระทำได้และไม่สามารถกระทำได้ดังต่อไปนี้
2.1 การโฆษณาสถานพยาบาลที่สามารถกระทำได้ ให้กระทำได้ดังนี้
- การโฆษณาชื่อและที่ตั้ง ถ้ามีการแสดงภาพประกอบ
ให้แสดงได้เฉพาะสถานที่ตั้งอาคารและอาคารสถานพยาบาล
-
การโฆษณาคุณวุฒิ หรือความสามารถของผู้ประกอบวิชาชีพให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบวิชาชีพนั้น
ๆ
- การโฆษณาบริการทางการแพทย์
ให้แจ้งเฉพาะบริการที่มีในสถานพยาบาล วัน เวลา ที่ให้บริการตามที่ได้รับอนุญาต
- การโฆษณาแจ้งอัตราค่ารักษาพยาบาล
หรือค่าบริการที่มีในสถานพยาบาล
- การโฆษณาอัตราค่ารักษาพยาบาลหรือค่าบริการที่มีเงื่อนไขจะต้องแจ้งรายละเอียดของเงื่อนไขไว้ในการโฆษณานั้น
และจะต้องแจ้งเงื่อนไขให้ผู้รับบริการทราบล่วงหน้าก่อนให้บริการ จะต้องกำหนดวันเริ่มต้นและสิ้นสุดของระยะเวลาที่ใช้อัตราค่ารักษาพยาบาลหรือ
ค่าบริการในเรื่องนั้น ๆ ไว้ให้ชัดเจน
- การเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการทางการแพทย์และเผยแพร่ผลงานวิจัย
และให้ระบุคำเตือนไว้ว่ามีความเสี่ยงของการไม่ได้ผลหรืออาจเกิดอันตรายหรือเกิดผลข้างเคียงกับผู้ใช้บริการ
โดยที่ขนาดตัวอักษรต้องเท่ากับตัวอักษรที่โฆษณาและความเร็วของเสียงต้องไม่เร็วไปกว่าเสียงปกติ
- การโฆษณาแจ้งข่าวสาร เช่น แจ้งทำลายเวชระเบียน
แจ้งย้ายสถานที่ แจ้งกิจกรรมในวันสำคัญต่าง ๆ ให้กระทำได้โดยเฉพาะกิจกรรมและวันเวลาที่จัดกิจกรรมนั้น
2.2 โฆษณาสถานพยาบาลที่ไม่สามารถกระทำได้ มีดังต่อไปนี้
- การใช้ข้อความอันเป็นเท็จ หรือข้อความที่ไม่มีมูลความจริงทั้งหมด
หรือเพียงบางส่วน
หรือมีลักษณะเป็นการหลอกลวงหรือปกปิดความจริงหรือทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นจริง
- การใช้ข้อความที่ทำให้บุคคลทั่วไปเข้าใจว่าในสถานพยาบาลมีผู้ประกอบวิชาชีพ
(บุคลากร) เครื่องมือ เครื่องใช้
และอุปกรณ์ทางการแพทย์แต่ข้อเท็จจริงกลับไม่มีให้บริการในสถานพยาบาล
- การใช้สถาบัน หน่วยงาน องค์กร หรือบุคคล
ที่มิได้ผ่านการรับรองจากหน่วยงานของรัฐเพื่อรับรองมาตรฐานสถานพยาบาลของตน
เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากผู้อนุญาต
- การโฆษณาแจ้งบริการโรคที่ไม่มีอยู่ในสาขาที่ผู้ประกอบวิชาชีพมีหนังสืออนุมัติ
หรือวุฒิบัตร
- การอ้างอิงรายงานวิชาการ ผลงานวิจัย สถิติ
หรือยืนยันหรือรับรองข้อเท็จจริงอันใดอันหนึ่งในการโฆษณา
เพื่อแสดงหรือเปรียบเทียบความสามารถในการให้บริการหรือการรักษาพยาบาลโดย
ข้อมูลที่อ้างอิงนั้นมิใช่ข้อมูลข่าวสารของทางราชการ เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากผู้อนุญาต
- การใช้ข้อความหรือรูปภาพ
โอ้อวดเกินจริงหรือข้อความที่กล่าวอ้างหรือบ่งบอกว่าของตนดีกว่า, เหนือกว่า, ดีที่สุด, รายแรก, แห่งแรก รับรองผล 100%
หรือการเปรียบเทียบหรือการใช้ข้อความอื่นใดที่มีความหมายในทำนองเดียวกันมา
ใช้ประกอบข้อความโฆษณาด้วยความประสงค์ที่จะทำให้ผู้รับบริการหรือผู้บริโภค
เข้าใจว่าการบริการของสถานพยาบาลแห่งนั้นมีคุณภาพมาตรฐานที่ดีกว่า เหนือกว่า
หรือสูงกว่าสถานพยาบาลอื่นหรือเกิดความคาดหวังว่าจะได้รับบริการที่ดีกว่า
หรือได้ผลสูงสุด
- การโฆษณากิจการสถานพยาบาลหรือการโฆษณาความรู้ความสามารถ
ความเชี่ยวชาญในการรักษาพยาบาลคุณภาพ
หรือประสิทธิภาพประสิทธิผลของผู้ประกอบวิชาชีพหรือสรรพคุณของเครื่องมือเครื่องใช้ของสถานพยาบาล
หรือกรรมวิธีการรักษา หรือโรคที่ให้การรักษาหรือเปรียบเทียบผลก่อนและหลังการรักษาไปในทำนองให้เข้าใจผิด
โดยไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการที่เป็นมาตรฐานวิชาชีพหรือทำให้ประชาชนเกิดความคาดหวังในสรรพคุณเกินความจริง
- การใช้ชื่อสถานพยาบาล
หรือข้อความที่ทำให้ผู้รับบริการหรือประชาชน อ่าน ฟัง
ดูแล้วเข้าใจผิดหรือหลงเชื่อว่าสถานพยาบาลนั้น มีการประกอบกิจการดังที่โฆษณาซึ่งไม่ตรงกับที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการ
- การโฆษณาด้วยวิธีการอันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
ร่างกาย หรือจิตใจหรือก่อให้เกิดความรำคาญแก่ผู้ใช้บริการหรือประชาชนทั่วไป
- การใช้ภาพหรือเสียงที่ไม่เหมาะสมสร้างความหวาดกลัว
หรือมีลักษณะเป็นการส่อไปในทางลามกอนาจาร หรือมีลักษณะเป็นการกระตุ้น
หรือยั่วยุทางกามารมณ์
- การใช้ภาพหรือเสียงโดยไม่สุภาพหรือโดยการร้องรำทำเพลงหรือแสดงอาการทุกข์ทรมานของผู้ป่วย
-
การโฆษณาที่มีลักษณะที่เป็นการให้ร้าย เสียดสี
หรือทับถมสถานพยาบาลหรือผู้ประกอบวิชาชีพอื่น
-
การโฆษณาที่มีลักษณะอันเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
-
การโฆษณาที่รวมอยู่กับข้อความถวายพระพร
หรือข้อความอย่างอื่นที่อ้างอิงเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท
หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เว้นแต่ชื่อของสถานพยาบาล หรือผู้ประพันธ์บทความดังกล่าว
-
การโฆษณาการให้บริการ “ฟรี”
โดยไม่เรียกเก็บค่าใช่จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น เว้นแต่จะได้รับความเห็นชอบจากผู้อนุญาต
ทั้งนี้ จะต้องกำหนดวัน เวลา
และสถานที่ให้บริการและจะต้องแสดงรายละเอียดว่าจะให้บริการฟรีในเรื่องใดให้ชัดเจน
-
การโฆษณาที่จัดให้มีการแถมพก แลกเปลี่ยน ให้สิทธิประโยชน์ รางวัล หรือการเสี่ยงโชค
จากการเลือกรับบริการทางการแพทย์อย่างใดอย่างหนึ่งจากสถานพยาบาลนั้น
เว้นแต่การให้สิทธิประโยชน์เหล่านั้น
ผู้รับบริการเป็นผู้รับประโยชน์โดยตรงและมาตรฐานการรับบริการทางการแพทย์จะ
ต้องไม่ต่ำกว่ามาตรฐานทั่วไปของสถานพยาบาล การให้สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ
จะต้องระบุเงื่อนไขและรายละเอียดของสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ
ให้ชัดเจนและจะต้องกำหนดวันเริ่มต้นและสิ้นสุดของระยะเวลาที่ให้สิทธิประโยชน์นั้น
ๆ
-
การให้ส่วนลดค่าบริการหรือค่ารักษาพยาบาล เว้นแต่เป็นการให้ส่วนลดเพื่อการอนุเคราะห์บุคคลด้อยโอกาสหรือตามแผนงานของกระทรวงสาธารณสุขหรือที่กระทรวงสาธารณสุขรับรอง
หรือ
เป็นการให้ส่วนลดต่อสมาชิกกลุ่มบุคคลหรือสถาบันหรือองค์กรโดยเป็นการประกาศหรือแจ้งให้ทราบเฉพาะกลุ่มนั้น
ๆ เท่านั้น การให้ส่วนลดจะต้องกำหนดประเภทของบริการให้ชัดเจน
และกำหนดวันเริ่มต้นและสิ้นสุดของระยะเวลาที่ให้ส่วนลดให้ชัดเจน ทั้งนี้
การให้ส่วนลดต้องไม่เกิน 1 ปี กรณีการให้ส่วนลดที่มิได้เกี่ยวกับ
การให้บริการทางการแพทย์ หรือค่ารักษาพยาบาลและมิได้เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการสถานพยาบาล
หากผู้รับบริการหรือผู้บริโภคเป็นผู้รับประโยชน์โดยตรงจะกระทำก็ได้
3.
กรณีการควบคุมผู้ประกอบวิชาชีพโดยกฎหมายวิชาชีพ หากเป็นผู้ประกอบด้านสุขภาพ
จะมีกฎหมายวิชาชีพเฉพาะของตน เช่น ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมหรือแพทย์จะถูกควบคุมโดยมีพระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม
พ.ศ.2525 ซึ่งมีข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม
พ.ศ. 2549 (และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม)
ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมหรือเภสัชกรถูกควบคุมโดยพระราชบัญญัติวิชาชีพเภสัชกรรม
พ.ศ.2537 ซึ่งมีข้อบังคับสภาเภสัชกรรมว่าด้วยจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ. 2538 (และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม) ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมถูกควบคุมโดยพระราชบัญญัติวิชาชีพทันตกรรม
พ.ศ.2537 ซึ่งมีข้อบังคับทันตแพทยสภาว่าด้วยจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพทีนตกรรม พ.ศ.2538
ซึ่งข้อบังคับสภาวิชาชีพนี้มักจะมีเนื้อหาในส่วนการควบคุมเรื่องการโฆษณาที่คล้ายคลึงกัน
เช่น ผู้ประกอบวิชาชีพต้องไม่โฆษณา ใช้
จ้าง หรือยินยอมให้ผู้อื่นโฆษณาการประกอบวิชาชีพ
ความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพของตน หรือหากอนุญาตให้มีการโฆษณาได้จะต้องอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดเท่านั้นในส่วนของการพิจารณาคดีจรรยาบรรณวิชาชีพ ถ้าหากเป็นการโฆษณาสถานประกอบการ เช่น ร้านขายยา สถานพยาบาล หากผู้รับอนุญาตไม่ได้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องแล้วจะไม่สามารถถูกพิจารณาคดีจรรยาบรรณวิชาชีพได้เลย
คดีจรรยาบรรณผู้ประกอบวิชาชีพ
คดีจรรยาบรรณวิชาชีพในที่นี้
เป็นเรื่องที่ผู้ประกอบวิชาชีพถูกตัดสินว่ากระทำผิดข้อบังคับสภาวิชาชีพในเรื่องการโฆษณาของตน
และไม่พอใจในผลการตัดสินจึงได้นำเรื่องเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของศาลปกครอง ตัวอย่างเช่น
แพทย์ ลงรูปภาพเปรียบเทียบดวงตาก่อนและหลังทำศัลยกรรม
พร้อมชื่อ ของสถานพยาบาล ในหนังสือแฟชั่นรีวิว ฉบับที่ 234 เดือนตุลาคม 2545 ซึ่งลักษณะของรูปภาพทำให้เข้าใจว่าหากทำศัลยกรรม
กับสถานพยาบาล ช. คลีนิคแล้ว จะทำให้มีดวงตาสวยงามเช่นที่ปรากฏในรูปภาพ โดยมิได้มีการระบุข้อความเพื่อชี้แจงข้อเท็จจริงแต่อย่างใด
ทั้งที่รูปภาพดังกล่าวนั้นไม่อาจพิสูจน์ได้ว่า เป็นรูปภาพของบุคคลเดียวกัน และการทำศัลยกรรมก็ไม่อาจรับรองผลได้ว่าผู้ทำศัลยกรรมทุกคนจะมีดวงตาสวยงาม
ดังรูปภาพ กรณีจึงถือว่าเป็นการโฆษณาหรือยินยอมให้ผู้อื่นโฆษณาสถานพยาบาลโดยโอ้อวดกิจกรรมของสถานพยาบาลทำให้ประชาชน
เกิดความคาดหวังในสรรพคุณเกินความจริง จึงเป็นการกระทำที่ขัดต่อข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม
พ.ศ. 2526 เรื่อง การปฏิบัติตนเกี่ยวกับสถานพยาบาล โดยเฉพาะข้อ
13 “ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมผู้ทำการเผยแพร่หรือตอบปัญหาทางสื่อมวลชน
ถ้าแสดงตนว่าเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมสามารถแจ้งสถานที่ประกอบวิชาชีพเวชกรรมได้
แต่ต้องไม่เป็นการสื่อไปในทำนองโฆษณาโอ้อวดเกินความเป็นจริง หลอกลวง
หรือทำให้ผู้ป่วยหลงเชื่อมาใช้บริการและในการแจ้งสถานที่ประกอบวิชาชีพเวชกรรมต้องไม่ปรากฏหมายเลขโทรศัพท์ส่วนตัวในที่เดียวกัน”
กรณีนี้แพทยสภาลงโทษว่ากล่าวตักเตือน
ศาลปกครองเห็นว่าเป็นการพิจารณาเรื่องร้องเรียนโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว
(ที่มา: คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด คดีหมายเลขแดงที่ อ.112/2553 วันที่ 6 พฤษภาคม 2553)
ทันตแพทย์ให้สัมภาษณ์แก่ผู้อื่นโดยที่ทราบว่าผู้นั้นเป็นนักข่าวเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพทันตกรรมของตน
การขอสัมภาษณ์ดังกล่าวย่อมคาดหมายได้ว่าผู้ขอสัมภาษณ์ประสงค์ที่จะนำข้อมูลที่ให้สัมภาษณ์ไปใช้เพื่อการเผยแพร่
ต่อมานักข่าวนั้นได้นำข้อมูลที่ได้จากสัมภาษณ์ไปเผยแพร่ในรูปบทความทางหนังสือพิมพ์โดยปรากฏรูปภาพของทันแพทย์พร้อมข้อความบอกชื่อนามสกุลใต้รูปภาพ
และมีคำสัมภาษณ์ที่มีข้อความในลักษณะของการโฆษณาความรู้ความสามารถของทันตแพทย์เพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดที่ได้ทราบข้อความดังกล่าวเกิดความสนใจและยังเป็นการจูงใจเพื่อให้มาใช้บริการของตน
อีกทั้งยังปรากฏรูปภาพของทันตแพทย์กำลังทำฟันแก่ผู้ป่วยและพนักงานนวดกำลัง นวด
พร้อมทีข้อความว่านวดไปทำฟันไป จึงเป็นการแสดงให้ปรากฏเพื่อยืนยันข้อเท็จจริงการให้สัมภาษณ์
การกระทำดังกล่าวถือเป็นการแสดงเจตนาและเป็นการยินยอมให้มีการเผยแพร่ข้อมูลการประกอบวิชาชีพทันตกรรมของผู้ฟ้องคดีให้ปรากฏแก่ประชาชนหรือสาธารณชนทางสื่อมวลชนอย่างชัดเจน
อันเป็นการประพฤติผิดข้อบังคับทันตแพทยสภาว่าด้วยจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพทันตกรรม
พ.ศ. 2538
ข้อ 22 ซึ่งมีข้อความว่า “ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมต้องไม่โฆษณา ใช้ จ้าง
หรือยินยอมให้ผู้อื่นโฆษณาการประกอบวิชาชีพทันตกรรม
ความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมของตน” นอกจากนี้ทันตแพทย์ยังมีเว็บไซต์
www.bangkokdentalspa.com
ที่เป็นช่องทางในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารในการประกอบวิชาชีพของตน แสดงให้เห็นเจตนาได้ว่า
ผู้ฟ้องคดีมีความประสงค์หรือเจตนาที่จะเผยแพร่การประกอบวิชาชีพทันตกรรมของ ตนให้เป็นที่แพร่หลาย
ซึ่งเกินไปกว่าที่กำหนดไว้ในข้อ 25 ของข้อบังคับซึ่งมีข้อความว่า
“ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมอาจแสดงข้อความเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพทันตกรรมของตนที่สำนักงานได้เพียงข้อความเฉพาะเรื่องต่อไปนี้
คือ (1) ชื่อ นามสกุล
และอาจมีคำประกอบชื่อได้เพียงคำว่าทันตแพทย์ หรือทันตแพทย์หญิง อภิไธย ตำแหน่งทางวิชาการ
ฐานันดรศักดิ์ ยศ และบรรดาศักดิ์ เท่านั้น (2) ชื่อปริญญา ประกาศนียบัตร วุฒิบัตรหรือหนังสืออนุมัติ
หรือคุณวุฒิอย่างอื่น ซึ่งตนได้รับมาโดยวิธีการถูกต้องตามกฎเกณฑ์ของทันตแพทยสภาหรือสถาบันนั้นๆ
ที่ทันตแพทยสภารับรอง (3) สาขาของวิชาชีพเวชกรรม (4) เวลาทำการ” อันเป็นการประพฤติผิดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพทันตกรรมตามข้อ
28
ซึ่งมีข้อความว่า “ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมต้องระมัดระวังตามวิสัยที่พึงมี
มิให้การประกอบวิชาชีพทันตกรรมของตนแพร่ออกไปในสื่อมวลชนเป็นไปในทำนองโฆษณาคุณวุฒิ
ความรู้ความสามารถของตนหรือของผู้อื่น”
กรณีนี้ทันตแพทยสภาลงโทษภาคทัณฑ์
ศาลปกครองเห็นว่าดำเนินการเกี่ยวกับการสอบสวนและใช้ดุลพินิจในการลงโทษแก่ผู้ฟ้องคดีให้เป็นไปตามกฎหมายและข้อบังคับทันตแพทยสภาว่าด้วยจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพทันตกรรม
พ.ศ. 2538
แล้ว
แม้ว่าทันตแพทย์จะอ้างว่าการให้ข้อมูลโดยการให้บริการของผู้ฟ้องคดีเป็นข้อมูลความรู้ทั่วไป
และถือเป็นการใช้เสรีภาพในทางวิชาการที่ได้รับการรับรองตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2540
นั้น แต่เป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลปกครองชั้นต้น
และไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือปัญหาเกี่ยวกับประโยชน์สาธารณะ
จึงเป็นกรณีที่ศาลปกครองสูงสุดไม่อาจรับไว้วินิจฉัยได้ตาม ข้อ 101 วรรคสอง แห่งระเบียบของที่ประชุมใหญ่ฯ ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2543
(ที่มา: คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด คดีหมายเลขแดงที่ อ.328/2553 วันที่ 16 พฤศจิกายน 2553)
สัตวแพทย์
แม้ว่าจะไม่ถือว่าเป็นผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ
(สำหรับมนุษย์) แต่มีข้อบังคับจรรยาบรรณวิชาชีพที่คล้ายคลึงกัน
กรณีนี้เป็นเรื่องสัตวแพทย์ได้ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ของตนในวารสาร
พ. ฉบับวันที่ 8 สิงหาคม
2548 โดยไม่ได้ดำเนินการให้นักข่าวของวารสารดังกล่าวนำบทความมา
ตรวจสอบก่อนว่าจะขัดกับการประกอบวิชาชีพของตนหรือไม่ก่อนนำลงตีพิมพ์เพื่อ เผยแพร่ต่อสาธารณชน
ประกอบกับการให้นักข่าวถ่ายภาพเพื่อประกอบบทความขณะที่ผู้ฟ้องคดีสวมเสื้อสัตวแพทย์ที่มีเครื่องหมายของโรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อติดอยู่
แม้จะมีขนาดเล็กที่ไม่อาจสังเกตเห็นได้ แต่เมื่ออ่านประกอบบทความแล้วย่อมทราบได้ว่าเป็นของโรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อ
อันอาจนำไปใช้ในทางโฆษณาการประกอบวิชาชีพของตน จึงเป็นการไม่ระมัดระวังตามวิสัยที่พึงมีเพื่อป้องกันมิให้การประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ของตนแพร่ออกไปในสื่อมวลชนเป็นไปในทำนองเผยแพร่ความรู้ความสามารถของตน
แม้สัตวแพทย์จะอ้างว่าขณะนั้นอยู่ระหว่างปฏิบัติหน้าที่ก็ตาม ก็อยู่ในวิสัยที่จะถอดเพียงเสื้อสัตวแพทย์ที่มีตราสัญลักษณ์ของโรงพยาบาลสัตว์ได้
แต่ไม่ได้ใช้ความระมัดระวังตามวิสัยที่พึงมี
จึงเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับสัตวแพทยสภาว่าด้วยจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพการสัตวแพทย์
พ.ศ. 2546 ข้อ 24 ซึ่งมีข้อความว่า “ผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ต้องระมัดระวังตามวิสัยที่พึงมี
มิให้การประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ของตนแพร่ออกไปในสื่อมวลชนเป็นไปในทำนองโฆษณา
คุณวุฒิ ความรู้ความสามารถของตนหรือของผู้อื่น”
กรณีนี้สัตวแพทยสภาลงโทษว่ากล่าวตักเตือน
ศาลปกครองเห็นว่าเป็นโทษที่เบาที่สุดตามพ.ร.บ. วิชาชีพการสัตวแพทย์ พ.ศ. 2545 มาตรา 45 จึงชอบด้วยกฎหมาย
(ที่มา: คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด คดีหมายเลขแดงที่ อ.265/2554 วันที่ 19 กรกฎาคม
2554)
จากคดีที่ขึ้นศาลปกครอง จะเห็นว่าแพทยสภา ทันตแพทยสภา
สัตวแพทยสภา ได้พิจารณาคดีจรรยาบรรณวิชาชีพของผู้ประกอบวิชาชีพหากมีการโฆษณา การประกอบวิชาชีพของตนแพร่ออกไปในสื่อมวลชนเป็นไปในทำนองโฆษณาคุณวุฒิ
ความรู้ความสามารถของตนหรือของผู้อื่น
หรือมีการแสดงสถานที่ประกอบการหรือสถานที่ทำงานของตน ว่าเป็นการฝ่าฝืนจรรยาบรรณวิชาชีพ
แต่ลงโทษเพียงว่ากล่าวตักเตือนหรือเต็มที่เพียงภาคทัณฑ์เท่านั้น
สกรีนเสื้อยืด ราคาถูก เริ่มต้น 199 บ.
ตอบลบสั่งสกรีนเสื้อยืดไม่มีขั้นต่ำ 1 ตัวเราก็ทำ
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม สกรีนเสื้อยืด
After reading throungh your context ,This has to be one of the best blog I have come across in a while.
ตอบลบThe delivery is almost similar to the the street value of vyvanse
we offer our clients. I gotta bookmark this blog to come back for more amazing content