ข้อบังคับสภาเภสัชกรรม
ว่าด้วยข้อจำกัดและเงื่อนไขในการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ. 2540
---------
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 23 (4) ณ และด้วยความเห็นชอบของสภานายกพิเศษตามมาตรา
27 แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ. 2537
คณะกรรมการสภาเภสัชกรรมออกข้อบังคับสภาเภสัชกรรมว่าด้วยข้อจำกัดและเงื่อนไขในการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม
พ.ศ. 2540 ไวดังต่อไปนี้
เพื่อให้การปฏิบัติของเภสัชกรผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม ในการกระทำหรือปฏิบัติการที่อาจเกี่ยวข้องกับสาขาวิชาชีพอื่น
ๆ เกิดความชัดเจนในขอบเขตการปฏิบัติ จึงได้กำหนดข้อจำกัดในการปฏิบัติเฉพาะสำหรับเภสัชกรและเงื่อนไขในการ ปฏิบัติในการกระทำหรือปฏิบัติการในเรื่องต่าง ๆ ดังกล่าวดังนี้
ข้อ 1 การเตรียมยา
การผลิตยา การประดิษฐ์ยา
1.1 คัดเลือกและกำหนดมาตรฐานคุณลักษณะเฉพาะของเภสัชเคมีภัณฑ์ทั้งที่เป็นตัวยาสำคัญและตัวยาประกอบ
1.2 จัดทำมาตรฐานสำหรับวิธีการปฏิบัติในการผลิตยา
(Standard Operation Procedure)
1.3 พัฒนาสูตรตำรับยา
1.4 ควบคุมตรวจสอบการผลิตยาให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด
ข้อ 2 การเลือกสรรยา
2.1 คัดเลือก ประเมินความน่าเชื่อถือ และเสนอรายละเอียดข้อมูลเกี่ยวกับตำรับยาเพื่อการขึ้นทะเบียนตำรับยา
ในการผลิตหรือนำสั่งเข้ายา
2.2 จัดทำและกำหนดมาตรฐานคุณลักษณะเฉพาะของยาสำหรับการคัดเลือกและจัดหา
2.3 นำเสนอข้อมูลด้านยาที่เกี่ยวข้องกับหลักวิชาการทางเภสัชศาสตร์แก่ผู้ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์สาขาต่าง
ๆ เพื่อการเลือกสั่งใช้ยา
2.4 ต้องให้ข้อมูลด้านยาที่ถูกต้อง เป็นกลางและมีหลักฐานอ้างอิงที่ชัดเจน
เชื่อถือได้และสอดคล้องกับระดับของการประกอบวิชาชีพหรือการประกอบโรคศิลปะของผู้รับข้อมูล
ข้อ 3 การวิเคราะห์ยา
การควบคุมและประกันคุณภาพ
3.1 คัดเลือกและพัฒนาวิธีการตรวจวิเคราะห์ยา ให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน
3.2 รับรองคุณภาพและผลการตรวจวิเคราะห์ยา
3.3 ต้องใช้วิธีการวิเคราะห์ยาที่ถูกต้อง เหมาะสมและมีหลักฐานอ้างอิงที่ชัดเจนเชื่อถือได้
3.4 ต้องตรวจสอบหลักฐานและผลการตรวจวิเคราะห์ว่าเป็นผลจากการปฏิบัติจริง
ที่ถูกต้อง ชัดเจน ก่อนลงนามรับรอง
3.5 ต้องตรวจสอบมาตรฐานและความเที่ยงตรงของเครื่องมืออุปกรณ์ในการตรวจวิเคราะห์ต่าง
ๆ เป็นระยะอย่างต่อเนื่อง
3.6 ต้องจัดเก็บรักษาและส่งมอบยาให้ถูกต้องตามเกณฑ์มาตรฐาน
ข้อ 4 การปรุงยาและจ่ายยาตามใบสั่งยาของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมหรือผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์
4.1 ตรวจสอบความถูกต้องเหมาะสมของยาที่จะจ่าย และส่งมอบยาให้กับผู้ป่วยที่มารับบริการ
4.2 ติดตามและประเมินปัญหา เพื่อวางแผนและประสานงานกับผู้ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์
สาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง ในการแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการใช้ยาของผู้ป่วย
4.3 ให้คำปรึกษาปัญหาด้านยาแก่ผู้ป่วยและประชาชนที่มารับบริการ
4.4 ปรุงยา ผสมยา ตามคำสั่ง (ใบสั่ง) ของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม
ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม หรือผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์
4.5 ให้คำปรึกษาแนะนำและให้ข้อมูลด้านยาแก่บุคลากรทางการแพทย์สาขาต่าง ๆ
4.6 ต้องจัดให้มีเวชภัณฑ์ที่ถูกต้องตามกฎหมายและมีคุณภาพตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตยาไว้บริการ
4.7 ต้องแสดงชื่อยา ความแรง ขนาดการใช้ ที่ชัดเจนทุกครั้งที่มีการจำหน่าย
จ่ายหรือส่งมอบให้กับผู้มาบริการ
4.8 ต้องให้คำแนะนำเกี่ยวกับยาที่จ่ายหรือส่งมอบให้กับผู้มารับบริการ
ในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
1) ชื่อยา
2) ข้อบ่งใช้
3) ขนาดและวิธีการใช้
4) ผลข้างเคียง (Side effect) (ถ้ามี) และอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา
(Adverse Drug Reaction) ที่อาจเกิดขึ้น
5) ข้อควรระวังและข้อควรปฏิบัติในการใช้ยาดังกล่าว
6) การปฏิบัติเมื่อเกิดปัญหาจากการใช้ยาดังกล่าว
4.9 ต้องจัดทำรายงานอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาตามแบบฟอร์มที่กำหนด
4.10 ต้องให้ข้อมูลด้านยาที่ถูกต้อง เป็นกลางและมีหลักฐานอ้างอิงที่ชัดเจน
เชื่อถือได้
4.11 ต้องจดทำบันทึกประวัติการใช้ยาของผู้ป่วย ในกรณีที่พบว่ายาที่ผู้ป่วย
ได้รับอาจก่อให้เกิดปัญหาจากการใช้ยา
ข้อ 5 การปรับปรุงยาและการขายยาตามกฎหมายว่าด้วยยา
5.1 จำหน่าย จ่าย หรือส่งมอบ ยาอันตราย ยาควบคุมพิเศษวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท
ยาเสพติดให้โทษ ด้วยตนเอง
5.2 ให้คำปรึกษาปัญหาด้านยาแก่ผู้ป่ายและประชาชนที่มารับบริการ
5.3 ปรุงยา ผสมยา ตามใบสั่งของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม
หรือผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์,
5.4 ต้องแสดงตนให้สาธารณชนทราบว่าเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม
หรือใส่ชุดปฏิบัติงานตามที่สภาเภสัชกรรมกำหนด
5.5 ต้องปฏิบัติงานในสถานที่ซึ่งเหมาะสมต่อการประกอบวิชาชีพ
5.6 ต้องจัดให้มีเวชภัณฑ์ที่ถูกต้องตามกฎหมายและมีคุณภาพตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตยา
ไว้บริการ
5.7 ต้องเลือกสรรยาที่ถูกต้องเหมาะสมกับสภาวะการเจ็บป่วยของผู้ป่วยหรือประชาชนที่มารับบริการ
เพื่อจำหน่าย จ่ายหรือส่งมอบให้กับผู้มารับบริการ
5.8 ต้องแสดงชื่อยา ความแรง ขนาดการใช้ ที่ชัดเจนทุกครั้งที่มีการจำหน่าย
จ่าย หรือส่งมอบยาให้กับผู้มารับบริการ
5.9 ต้องให้คำแนะนำเกี่ยวกับยาที่จำหน่าย จ่าย หรือส่งมอบให้กับผู้มารับบริการในประเด็นต่าง
ๆ ดังนี้
1) ชื่อยา
2) ข้อบ่งใช้
3) ขนาดและวิธีการใช้
4) ผลข้างเคียง (Side effect) (ถ้ามี) และอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา
(Adverse Drug Reaction) ที่อาจเกิดขึ้น
5) ข้อควรระวังและข้อควรปฏิบัติในการใช้ยาดังกล่าว
6) การปฏิบัติเมื่อเกิดปัญหาจากการใช้ยาดังกล่าว
5.10) ต้องจัดทำรายงานอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาตามแบบฟอร์มที่กำหนด
5.11) ต้องจัดทำบันทึกประวัติการใช้ยาของผู้ป่วย ในกรณีที่พบว่ายาที่ผู้ป่วยได้รับอาจก่อให้เกิดปัญหาจากการใช้ยา
เมื่อเภสัชกรผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม ได้มีการปฏิบัติการตามสาขาวิชาชีพเภสัชกรรมในด้านต่าง
ๆ ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ให้ลงลายมือชื่อพร้อมเลขที่ใบประกอบวิชาชีพที่ชัดเจนเพื่อการตรวจสอบ
และอ้างอิงต่อไป
ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2540
บุญอรรถ สายศร
นายกสภาเภสัชกรรม
ที่มา: ข้อบังคับสภาเภสัชกรรมว่าด้วยข้อจำกัดและเงื่อนไขในการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม
พ.ศ. 2540. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 114 ตอน 26 ง วันที่ 1
เมษายน พ.ศ.2540 หน้า 76
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น