วันอาทิตย์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2558

พระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510: 2.6 กรณีผู้รับอนุญาตถูกพักใช้ใบอนุญาต

ปรุฬห์ รุจนธำรงค์


2.6 กรณีผู้รับอนุญาตถูกพักใช้ใบอนุญาต
          ผู้รับอนุญาตผู้ใดไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้หรือกฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้ เช่น อาจจะเป็นเรื่องผลิตภัณฑ์ การฝ่าฝืนกฎหมายในส่วนของผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการ การโฆษณา หรือเรื่องอื่น ๆ ผู้รับอนุญาตสามารถถูกพักใช้ใบอนุญาตได้ตาม พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 มาตรา 95 ซึ่งมีเส้นทางในการเลือกพักใช้ใบอนุญาตได้ 2 แนวทาง คือ  
           (1) กรณีไม่ฟ้องศาล ผู้อนุญาตต้องเสนอเรื่องให้คณะกรรมการยาพักใช้ใบอนุญาตมีกำหนดครั้งละไม่เกิน 120 วัน
          (2) กรณีฟ้องผู้รับอนุญาตต่อศาล ศาลประทับรับฟ้อง คณะกรรมการกฤษฎีกามีความเห็นตามบันทึกสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่องที่ 1585/2565  ในแนวที่ว่า 
                (2.1) หากผู้อนุญาตโดยคำแนะนำของคณะกรรมการยามีคำสั่งพักใช้ใบอนุญาตแล้ว ต่อมาในระหว่างถูกพักใช้ใบอนุญาต ศาลได้ประทับรับฟ้องก็สามารถพักใช้ใบอนุญาตได้ยาวนานต่อเนื่องไปจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาอันถึงที่สุดได้ 
                (2.2) หากผู้อนุญาตโดยคำแนะนำของคณะกรรมการยามีคำสั่งพักใช้ใบอนุญาตแล้ว ต่อมาพ้นกำหนดระยะเวลาในคำสั่งพักใช้ใบอนุญาต แต่ศาลเพิ่งประทับรับฟ้อง หากผู้อนุญาตเห็นสมควรพักใช้ใบอนุญาตไว้รอคำพิพากษาถึงที่สุด ต้องเสนอเรื่องให้คณะกรรมการยาพิจารณาให้คำแนะนำในการออกคำสั่งพักใช้ใบอนุญาต เพื่อให้คณะกรรมการยาพิจารณาว่ามีความจำเป็นและเหมาะสมหรือไม่ที่จะพักใช้ใบอนุญาตของผู้รับอนุญาตไว้รอคำพิพากาาอันถึงที่สุด ตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 มาตรา 95 วรรคหนึ่งประประกอบกกับมาตรา 10 วรรคสอง
           ผู้รับอนุญาตซึ่งถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตต้องหยุดการผลิตยา การขายยา หรือการนำหรือสั่งยาเข้ามาในราชอาณาจักร แล้วแต่กรณี และระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตนั้นจะขอรับใบอนุญาตใด ๆ ตามพระราชบัญญัตินี้อีกไม่ได้ หากฝ่าฝืนต้องระวางโทษตามมาตรา 125 ทวิ คือ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกินหนึ่ง 10,000 บาท
           ผู้รับอนุญาตซึ่งถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาต มีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขภายใน 30 วันนับแต่วันที่ทราบคำสั่ง รัฐมนตรีมีอำนาจสั่งให้ยกอุทธรณ์หรือให้แก้ไขคำสั่งของผู้อนุญาตในทางที่เป็นคุณแก่ผู้อุทธรณ์ได้ ทั้งนี้ คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด
           การอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่งย่อมไม่เป็นการทุเลาการบังคับตามคำสั่งพักใช้ใบอนุญาตหมายความว่า แม้จะอุทธรณ์คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตอยู่ก็ไม่สามารถประกอบกิจการไปพลางก่อนได้

ข้อสังเกต
           - การถูกพักใช้ใบอนุญาต เท่ากับว่ากิจการที่ได้กระทำลงไประหว่างนั้น คือ กระทำลงไปโดยไม่ได้รับอนุญาต
           - อัตราโทษเท่ากับการผลิตยา ขายยา นำหรือสั่งยาเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งยาแผนปัจจุบันโดยไม่ได้รับอนุญาต  (มาตรา 101) แต่หนักกว่ากรณีที่เป็นการผลิต ขาย นำเข้ายาแผนโบราณโดยไม่ได้รับอนุญาตซึ่งระวางโทษเพียงจำคุกไม่เกินสามปี และปรับไม่เกินห้าพันบาท (มาตรา 111)

1 ความคิดเห็น:

  1. เราเสนอสินเชื่อจาก€ 100,000.00 ถึง 200,000,00 €ในอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสมและไม่มีการตรวจสอบเครดิตเราเสนอสินเชื่อส่วนบุคคลสินเชื่อรวมหนี้เงินร่วมทุนสินเชื่อธุรกิจสินเชื่อเพื่อการศึกษา ? เรามีอัตราดอกเบี้ยคงที่ 3% !!!
    อีเมล: guaranteeloanoffer@outlook.com หรือติดต่อ WhatsApp @ +38972751056

    ตอบลบ