ปรุฬห์ รุจนธำรงค์
ส่วนที่ 7 ผู้บริโภคหรือประชาชน
ผู้บริโภคยังไม่มีบทบาทใน พ.ร.บ.ยา
พ.ศ.2510
เท่าใดนัก และแทบไม่มีหน้าที่รับผิดชอบตนเองเกี่ยวกับการใช้ยาเลย
ซึ่งต่างจากกรณีกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษและวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท
มีภาระหน้าที่ของผู้บริโภคอยู่บ้าง เช่น ห้ามเสพยาเสพติดหรือวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทบางรายการ
ส่วนที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่ของผู้บริโภคหรือประชาชน
ตามพ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 มักผูกติดกับโทษทางอาญา ดังนี้
(1)
ห้ามผลิต ขาย หรือนำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งยาแผนปัจจุบัน
เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาต ตามมาตรา 12
(2)
ห้ามผลิต ขาย หรือนำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักร ซึ่งยาแผนโบราณ
เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาต ตามมาตรา 46
(3)
ห้ามผลิต ขาย หรือนำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักร ได้แก่ ยาปลอม ยาผิดมาตรฐาน
ยาเสื่อมคุณภาพ ยาที่มิได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา ยาที่ทะเบียนตำรับยาถูกยกเลิก
ยาที่รัฐมนตรีสั่งเพิกถอนทะเบียนตำรับยา ตามมาตรา 72
(4)
ห้ามขายยาบรรจุเสร็จหลายขนานโดยจัดเป็นชุดในคราวเดียวกัน
โดยมีเจตนาให้ผู้ซื้อใช้รวมกันเพื่อบำบัด บรรเทา รักษา หรือป้องกันโรค
หรืออาการของโรคใดโรคหนึ่งโดยเฉพาะ ตามมาตรา 75 ทวิ
(ไม่ใช้บังคับแก่เภสัชกรชั้นหนึ่ง ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม
ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม เฉพาะสำหรับคนไข้ของตน ผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์
สำหรับสัตว์ซึ่งตนบำบัด)
(5)
ห้ามฝ่าฝืนเรื่องการโฆษณาขายยาตามมาตรา 88 มาตรา 88 ทวิ มาตรา 89 หรือมาตรา 90
(6)
ให้ความร่วมมือกับพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 91
บางประเทศกฎหมายยาก็มีกำหนดหน้าที่ของผู้บริโภคหรือประชาชน
เช่น ประเทศลาว ซึ่งมีกฎหมายว่าด้วยยาและผลิตภัณฑ์การแพทย์ สปป.ลาว (11 ธันวาคม
ค.ศ.2011) มาตรา 40 กำหนดห้ามมีการกระทำ ดังนี้
1. ห้ามซื้อยาและผลิตภัณฑ์การแพทย์
โดยไม่มีใบสั่งของแพทย์ ในกรณีประเภทยาที่เรียกร้องให้มีใบสั่งแพทย์
2.
ห้ามใช้ยาและผลิตภัณฑ์การแพทย์ตามลำพัง หรือไม่ถูกต้องตามใบสั่งและคำแนะนำของแพทย์
หรือตามฉลาก และอายุตามที่กำหนดไว้
3. ห้ามยุยง ส่งเสริม ให้บุคคลอื่น
นำใช้ยาและผลิตภัณฑ์การแพทย์ที่ขัดกับหลักวิชาการ หรือโดยไม่มีการระบุมติของแพทย์
4.
ห้ามมีการกระทำอื่นที่เป็นการละเมิดระเบียบกฎหมายเกี่ยวกับยาและผลิตภัณฑ์การแพทย์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น