วันอาทิตย์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2558

พระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510: ส่วนที่ 8 ความรับผิดทางกฎหมาย

ปรุฬห์ รุจนธำรงค์

ส่วนที่ 8 ความรับผิดทางกฎหมาย
          กรณีผู้ละเมิดกฎหมายในด้านความรับผิดทางแพ่ง พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ไม่ได้กำหนดไว้โดยเฉพาะเช่นเดียวกับ พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ.2535, พ.ร.บ.เครื่องมือแพทย์ พ.ศ.2551 (แต่ในส่วนพ.ร.บ.ยา ฉบับใหม่ในอนาคตจะมีมาตรการนี้) ความรับผิดทางกฎหมายของ พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 จึงมีเพียงความรับผิดทางอาญา และมาตรการทางปกครอง (เช่น การปรับรายวัน การพักใช้ใบอนุญาต การเพิกถอนใบอนุญาต) ดูหมวด 14 บทกำหนดโทษ
          ในส่วนบทบัญญัติที่มีโทษทางอาญาจะต้องตีความโดยเคร่งครัด กล่าวคือ บุคคลจักต้องรับโทษในทางอาญาต่อเมื่อได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ และโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดนั้น ต้องเป็นโทษที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 จึงต้องพิจารณาเนื้อหาของบทลงโทษให้ดีว่าใช้กับใคร เช่น ใช้กับ “ผู้ใด” “ผู้รับอนุญาต” (ต้องสังเกตอีกว่าเป็นผู้รับอนุญาตประเภทใดด้วย) “ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการ” อีกทั้งการรับโทษอาญาตามกฎหมายนี้ ใช้เฉพาะกับการกระทำโดยเจตนาไม่ใช้กับการกระทำโดยประมาทด้วย หมายความว่า ถ้ากระทำด้วยความประมาทก็ไม่สามารถลงโทษได้ ซึ่งเป็นผลมาจากประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59 วรรคแรกซึ่งบัญญัติว่า “บุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญาก็ต่อเมื่อได้กระทำโดยเจตนา เว้นแต่จะได้กระทำโดยประมาท ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ต้องรับผิดเมื่อได้กระทำโดยประมาท หรือเว้นแต่ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยแจ้งชัดให้ต้องรับผิดแม้ได้กระทำโดยไม่มีเจตนา”. และเนื่องจาก ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 และมาตรา 59 อยู่ในภาค 1 ของประมวลกฎหมายอาญา ดังนั้น จึงให้ใช้ในกรณีแห่งความผิดตามกฎหมายอื่นด้วย เว้นแต่กฎหมายนั้น ๆ จะได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 17 บางกรณีใน พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 แม้ไม่ได้มีเจตนาก็เป็นความผิดได้ เช่น กรณีขาย นำเข้า โดยไม่รู้ว่าเป็นยาปลอม ยาผิดมาตรฐาน ยาเสื่อมคุณภาพ ยาที่ทะเบียนตำรับยาถูกยกเลิก ยาที่ถูกเพิกถอนทะเบียนตำรับยา ก็มีบทลงโทษ



ฐานความผิด
ตัวอย่าง
บทลงโทษ
กรณีที่เกี่ยวข้องกับการผลิต


ผู้ใดผลิตยาแผนปัจจุบันโดยไม่ได้รับอนุญาต ตามมาตรา 12

ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท ตามมาตรา 101

เมื่อมีการลงโทษแล้ว ให้ริบยา เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตยารวมทั้งภาชนะหรือหีบห่อบรรจุยาที่ เกี่ยวเนื่องกับความผิดในคดีให้แก่กระทรวงสาธารณสุขเพื่อทำลายเสียหรือจัดการตามที่เห็นสมควร ตามมาตรา 126
ผู้ใดผลิตยาแผนโบราณโดยไม่ได้รับอนุญาต ตามมาตรา 46

ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 5,000 บาท ตามมาตรา 111

เมื่อมีการลงโทษแล้ว ให้ริบยา เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตยารวมทั้งภาชนะหรือหีบห่อบรรจุยาที่ เกี่ยวเนื่องกับความผิดในคดีให้แก่กระทรวงสาธารณสุขเพื่อทำลายเสียหรือจัดการตามที่เห็นสมควร ตามมาตรา 126
ผู้รับอนุญาตผลิตยาแผนปัจจุบันนอกสถานที่ที่กำหนดไว้ในใบอนุญาต ตามมาตรา 19(1)
การผลิตยานอกพื้นที่โรงงานยาที่ขออนุญาตไว้
ระวางโทษปรับตั้งแต่ 2,000 – 5,000 บาท ตามมาตรา 102
ผู้รับอนุญาตผลิตยาแผนโบราณนอกสถานที่ที่กำหนดไว้ในใบอนุญาต ตามมาตรา 53

ระวางโทษปรับตั้งแต่ 1,000 – 3,000 บาท ตามมาตรา 112

ผู้รับอนุญาตผลิตยาแผนปัจจุบันไม่ตรงตามประเภทใบอนุญาต

ระวางโทษปรับตั้งแต่ 2,000 – 5,000 บาท ตามมาตรา 102
ผู้รับอนุญาตผู้ใดย้ายสถานที่ผลิตยา สถานที่เก็บยาแผนปัจจุบัน โดยไม่ได้รับอนุญาต ตามมาตรา 30

ระวางโทษปรับตั้งแต่ 2,000 – 5,000 บาท ตามมาตรา 102
ผู้รับอนุญาตผู้ใดย้ายสถานที่ผลิตยา สถานที่เก็บยาแผนโบราณ โดยไม่ได้รับอนุญาต ตามมาตรา  62

ระวางโทษปรับตั้งแต่ 1,000 – 3,000 บาท ตามมาตรา 112
ผู้รับอนุญาตผลิตยาแผนปัจจุบันไม่มีเภสัชกรอย่างน้อย 2 คน (หรือมีจำนวนไม่ถึงตามที่กำหนดในกฎกระทรวง) เป็นผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการ และไม่มีเภสัชกรอย่างน้อย 1 คน ประจำอยู่ตลอดเวลาที่เปิดทำการ ตามมาตรา 20

ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ปรับเป็นรายวันอีกวันละ 500 บาทจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง ตามมาตรา 103
ผู้รับอนุญาตผู้ใดผลิตยาภายหลังที่ใบอนุญาตสิ้นอายุแล้วโดยมิได้ยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาต

ระวางโทษปรับเป็นรายวัน วันละ 100 บาท ตลอดเวลาที่ใบอนุญาตขาดอายุ ตามมาตรา 104
ผู้รับอนุญาตผลิตยาแผนปัจจุบันผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 25
ไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการผลิตยาแผนปัจจุบัน พ.ศ. 2546, กฎกระทรวงว่าด้วยการรับรองรุ่นการผลิตยาแผนปัจจุบันที่เป็นยาชีววัตถุ พ.ศ. 2553
ระวางโทษปรับตั้งแต่ 2,000 – 10,000 บาท ตามมาตรา 105
ผู้รับอนุญาตผลิตยาแผนโบราณผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 57
ไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงการขออนุญาตและการออกใบอนุญาตผลิต ขาย นำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งยาแผนโบราณ พ.ศ. 2555
ระวางโทษปรับตั้งแต่ 1,000 – 5,000 บาท ตามมาตรา 114
ผู้รับอนุญาตผลิตยาแผนโบราณใช้กรรมวิธีการผลิตที่ไม่เป็นไปตามกฎกระทรวง ตามมาตรา 54 ทวิ
ไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 25 (พ.ศ. 2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510
ระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท ตามมาตรา 113 ทวิ
ไม่ขอรับใบแทนใบอนุญาตภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหายหรือถูกทำลายในสาระสำคัญของใบอนุญาต กรณีเป็นยาแผนปัจจุบัน ตามมาตรา 28 หรือกรณีเป็นยาแผนโบราณ ตามมาตรา 60

ระวางโทษปรับไม่เกิน1,000 บาท ตามมาตรา 106
ไม่แสดงใบอนุญาตของตนและผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการ ติดไว้ ณ ที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย กรณีเป็นยาแผนปัจจุบัน ตามมาตรา 29 หรือกรณีเป็นยาแผนโบราณ ตามมาตรา 61

ระวางโทษปรับไม่เกิน1,000 บาท ตามมาตรา 106
ผู้รับอนุญาตไม่แจ้งเปลี่ยนตัวผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการให้ผู้อนุญาตทราบภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ไม่มีผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการ กรณีเป็นยาแผนปัจจุบัน ตามมาตรา 33 หรือกรณีเป็นยาแผนโบราณ ตามมาตรา 63

ระวางโทษปรับไม่เกิน1,000 บาท ตามมาตรา 106
ผู้รับอนุญาตผู้ใดไม่แจ้งการเลิกกิจการเป็นหนังสือภายใน 15 วันนับแต่วันเลิกกิจการให้ผู้อนุญาตทราบ กรณีเป็นยาแผนปัจจุบัน ตามมาตรา 35 หรือกรณีเป็นยาแผนโบราณ ตามมาตรา 65

ระวางโทษปรับไม่เกิน1,000 บาท ตามมาตรา 106
ผู้รับอนุญาตผลิตยาแผนปัจจุบันหรือยาแผนโบราณแก้ไขรายการทะเบียนตับยาโดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามมาตรา 81
การแก้ขนาดบรรจุ ฉลาก เอกสารกำกับยา โดยไม่ได้รับอนุญาต
ระวางโทษปรับไม่เกิน1,000 บาท ตามมาตรา 106
ไม่ขอใบแทนใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับยาภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหายหรือถูกทำลาย ตามมาตรา 87

ระวางโทษปรับไม่เกิน1,000 บาท ตามมาตรา 106
ผู้รับอนุญาตผลิตยาแผนปัจจุบันในสถานที่ผลิตยาในระหว่างที่เภสัชกรไม่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ ตามมาตรา 31

ระวางโทษปรับตั้งแต่ 1,000 – 5,000 บาท ตามมาตรา 107
ผู้รับอนุญาตผลิตยาแผนปัจจุบันผู้ใดไม่แจ้งการจัดให้มีผู้ปฏิบัติการแทนผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการตามมาตรา 33 ทวิ

ระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท ตามมาตรา 107 ทวิ
ผู้รับอนุญาตผลิตยาแผนโบราณผู้ใดไม่แจ้งการจัดให้มีผู้ปฏิบัติการแทนผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการตามมาตรา 63 ทวิ

ระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท ตามมาตรา 114 ทวิ
ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการไม่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ หรือไม่ปฏิบัติหน้าที่ในสถานที่ผลิตยาแผนปัจจุบัน ตามมาตรา 38

ระวางโทษปรับตั้งแต่ 1,000 – 5,000 บาท ตามมาตรา 109
ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการไม่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ หรือไม่ปฏิบัติหน้าที่ในสถานที่ผลิตยาแผนโบราณ ตามมาตรา 68

ระวางโทษปรับตั้งแต่ 500 – 2,000 บาท ตามมาตรา 115
ไม่ใช่ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการ ปฏิบัติหน้าที่ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการในสถานที่ผลิตยาแผนปัจจุบัน ตามมาตรา 45

ระวางโทษปรับตั้งแต่ 1,000 – 5,000 บาท ตามมาตรา 110
ไม่ใช่ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการ ปฏิบัติหน้าที่ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการในสถานที่ผลิตยาแผนโบราณ ตามมาตรา 71

ระวางโทษปรับตั้งแต่ 500 – 2,500 บาท ตามมาตรา 116
ผู้ใดผลิตยาปลอม ตามมาตรา 72(1)


หากยาปลอมเป็นยาที่ทำเทียมทั้งหมดหรือแต่บางส่วนว่าเป็นยาแท้ ตาม มาตรา 73(1) หรือเป็นยาที่ผลิตขึ้นไม่ถูกต้องตามมาตรฐานถึงขนาดที่ปริมาณหรือความแรงของสารออกฤทธิ์ขาดหรือเกินกว่าร้อยละยี่สิบจากเกณฑ์ต่ำสุดหรือสูงสุด ซึ่งกำหนดไว้ในตำรับยาที่ขึ้นทะเบียนไว้ ตามมาตรา 73(4) ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปีถึงตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่ 10,000 – 50,000 บาท ตามมาตรา 117 วรรคแรก

หากยาปลอมมีลักษณะที่แสดงชื่อว่าเป็นยาอื่น แสดงเดือนปีที่ยาสิ้นอายุซึ่งไม่ใช่ความจริง ตาม มาตรา 73(2) แสดงชื่อหรือเครื่องหมายการค้าของผู้ผลิตหรือที่ตั้งสถานที่ผลิตยาซึ่งไม่ใช่ความจริง ตาม มาตรา 73(3) แสดงว่าเป็นยาตามตำรับยาที่ขึ้นทะเบียนไว้ซึ่งไม่ใช่ความจริง ตาม มาตรา 73(4) ถ้าผู้ผลิตสามารถพิสูจน์ได้ว่ายานั้นไม่ถึงกับเป็นอันตรายแก่ผู้ใช้ยาต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 20,000 บาท ตามมาตรา 117 วรรคสอง

เมื่อมีการลงโทษแล้ว ให้ริบยา เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตยารวมทั้งภาชนะหรือหีบห่อบรรจุยาที่ เกี่ยวเนื่องกับความผิดในคดีให้แก่กระทรวงสาธารณสุขเพื่อทำลายเสียหรือจัดการตามที่เห็นสมควร ตามมาตรา 126
ผู้ใดผลิตยาผิดมาตรฐาน ตามมาตรา 72(2)

ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 2-5 และปรับตั้งแต่ 4,000 – 20,000 บาท ตามมาตรา 118 วรรคแรก

เมื่อมีการลงโทษแล้ว ให้ริบยา เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตยารวมทั้งภาชนะหรือหีบห่อบรรจุยาที่ เกี่ยวเนื่องกับความผิดในคดีให้แก่กระทรวงสาธารณสุขเพื่อทำลายเสียหรือจัดการตามที่เห็นสมควร ตามมาตรา 126
ผู้ใดผลิตยาที่รัฐมนตรีสั่งเพิกถอนทะเบียนตำรับยา ตามมาตรา 72(6)

ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 2-5 และปรับตั้งแต่ 4,000 – 20,000 บาท ตามมาตรา 118 วรรคแรก

เมื่อมีการลงโทษแล้ว ให้ริบยา เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตยารวมทั้งภาชนะหรือหีบห่อบรรจุยาที่ เกี่ยวเนื่องกับความผิดในคดีให้แก่กระทรวงสาธารณสุขเพื่อทำลายเสียหรือจัดการตามที่เห็นสมควร ตามมาตรา 126
ผู้ใดผลิตยาที่ทะเบียนตำรับยาถูกยกเลิกอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 72(5)

ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 118 วรรคสอง

เมื่อมีการลงโทษแล้ว ให้ริบยา เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตยารวมทั้งภาชนะหรือหีบห่อบรรจุยาที่ เกี่ยวเนื่องกับความผิดในคดีให้แก่กระทรวงสาธารณสุขเพื่อทำลายเสียหรือจัดการตามที่เห็นสมควร ตามมาตรา 126
ผู้รับอนุญาตผลิตไม่ขึ้นทะเบียนตำรับยา ตามมาตรา 79

ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 123
ผู้ใดผลิตยาที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา อันเป็นกี่ฝ่าฝืนมาตรา 72(4)

ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 122

เมื่อมีการลงโทษแล้ว ให้ริบยา เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตยารวมทั้งภาชนะหรือหีบห่อบรรจุยาที่ เกี่ยวเนื่องกับความผิดในคดีให้แก่กระทรวงสาธารณสุขเพื่อทำลายเสียหรือจัดการตามที่เห็นสมควร ตามมาตรา 126
ผู้รับอนุญาตผลิตไม่ส่งรายงานประจำปี ตามมาตรา 85

ระวางโทษปรับตั้งแต่ 1,000 – 5,000 บาท และให้ปรับเป็นรายวันอีกวันละ 100 บาทจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง ตามมาตรา 123 ทวิ
ผู้รับอนุญาตผลิตส่งรายงานประจำปี ตามมาตรา 85 อันเป็นเท็จ

ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 123 ตรี
ผู้ใดขัดขวางหรือไม่ให้ความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติการตามหน้าที่ หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 91

ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 125
ผู้รับอนุญาตผู้ใดดำเนินการในระหว่างที่ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาต ตามมาตรา 95

ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 10,000 บาท ตามมาตรา 125 ทวิ
กรณีที่เกี่ยวข้องกับการขาย


ผู้ใดขายยาแผนปัจจุบันโดยไม่ได้รับอนุญาต ตามมาตรา 12
ร้านชำ หรือร้านสะดวกซื้อ หรือผู้ขายยาตามสื่อต่าง ๆ โดยยาแผนปัจจุบันที่ขายนั้นไม่ใช่ยาสามัญประจำบ้าน
ระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี และปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท ตามมาตรา 101

เมื่อมีการลงโทษแล้ว ให้ริบยา เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตยารวมทั้งภาชนะหรือหีบห่อบรรจุยาที่ เกี่ยวเนื่องกับความผิดในคดีให้แก่กระทรวงสาธารณสุขเพื่อทำลายเสียหรือจัดการตามที่เห็นสมควร ตามมาตรา 126
ผู้ใดขายยาแผนโบราณโดยไม่ได้รับอนุญาต ตามมาตรา 46

ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 5,000 บาท ตามมาตรา 111

เมื่อมีการลงโทษแล้ว ให้ริบยา เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตยารวมทั้งภาชนะหรือหีบห่อบรรจุยาที่ เกี่ยวเนื่องกับความผิดในคดีให้แก่กระทรวงสาธารณสุขเพื่อทำลายเสียหรือจัดการตามที่เห็นสมควร ตามมาตรา 126
ผู้รับอนุญาตขายยาแผนปัจจุบันนอกสถานที่ที่กำหนดไว้ในใบอนุญาต ตามมาตรา 19(1)
ผู้รับอนุญาตขายยาแผนปัจจุบัน (ทุกประเภทใบอนุญาต) นำยาแผนปัจจุบันที่ไม่ใช่ยาสามัญประจำบ้านของตนหรือนำยาจากสถานประกอบการของตนแจกให้กับประชาชนทั่วไป นอกบริเวณสถานประกอบการที่ขออนุญาต
ระวางโทษปรับตั้งแต่ 2,000 – 5,000 บาท ตามมาตรา 102
ผู้รับอนุญาตขายยาแผนโบราณนอกสถานที่ที่กำหนดไว้ในใบอนุญาต ตามมาตรา 53

ระวางโทษปรับตั้งแต่ 1,000 – 3,000 บาท

ผู้รับอนุญาตขายยาแผนปัจจุบันที่เป็นยาอันตรายหรือยาควบคุมพิเศษให้กับผู้รับใบอนุญาตขายยาแผนปัจจุบันบรรจุเสร็จที่ไม่ใช่ยาอันตรายหรือยาควบคุมพิเศษ (ตามมาตรา 15(4)) ตามมาตรา 19(3)
ผู้รับอนุญาตขายยาปฏิชีวนะ (เช่น amoxicillin, ยากลุ่ม NSAIDs ชนิดรับประทาน) หรือขายยาควบคุมพิเศษ (เช่น  ยาสเตอรอยด์ชนิดรับประทาน) ให้กับร้านขายยา ข.ย.2
ระวางโทษปรับตั้งแต่ 2,000 – 5,000 บาท ตามมาตรา 102
ผู้รับอนุญาตย้ายสถานที่ขายยาแผนปัจจุบัน สถานที่เก็บยา โดยไม่ได้รับอนุญาต ตามมาตรา 30

ระวางโทษปรับตั้งแต่ 2,000 – 5,000 บาท ตามมาตรา 102
ผู้รับอนุญาตผู้ใดย้ายสถานที่ขายยา สถานที่เก็บยาแผนโบราณ โดยไม่ได้รับอนุญาต ตามมาตรา  62

ระวางโทษปรับตั้งแต่ 1,000 – 3,000 บาท ตามมาตรา 112
ผู้รับอนุญาตขายยาแผนปัจจุบัน (ร้าน ข.ย.1) ไม่มีเภสัชกรอย่างน้อย 1 คน ประจำอยู่ตลอดเวลาที่เปิดทำการ  ตามมาตรา 21

ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ปรับเป็นรายวันอีกวันละ 500 บาทจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง ตามมาตรา 103
ผู้รับอนุญาตขายส่งยาแผนปัจจุบัน ไม่มีเภสัชกรอย่างน้อย 1 คน ประจำอยู่ตลอดเวลาที่เปิดทำการ ตามมาตรา 21 ทวิ

ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ปรับเป็นรายวันอีกวันละ 500 บาทจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง ตามมาตรา 103
ผู้รับอนุญาตขายยาแผนปัจจุบันเฉพาะยาบรรจุเสร็จที่ไม่ใช่ยาอันตรายหรือยาควบคุมพิเศษ ไม่มีผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการ ประจำอยู่ตลอดเวลาที่เปิดทำการ ตามมาตรา 22

ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ปรับเป็นรายวันอีกวันละ 500 บาทจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง ตามมาตรา 103
ผู้รับอนุญาตขายยาแผนปัจจุบันเฉพาะยาบรรจุเสร็จสำหรับสัตว์ ไม่มีผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการ ประจำอยู่ตลอดเวลาที่เปิดทำการ ตามมาตรา 23

ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ปรับเป็นรายวันอีกวันละ 500 บาทจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง ตามมาตรา 103
ผู้รับอนุญาตขายยาแผนโบราณไม่มีผู้ประกอบโรคศิลปะแผนโบราณ ประจำอยู่ตลอดเวลาที่เปิดทำการ ตามมาตรา 55

ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 2,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ปรับเป็นรายวันอีกวันละ 100 บาท จนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง ตามมาตรา 113
ผู้รับอนุญาตขายยาแผนปัจจุบันทุกประเภทผู้ใดขายยาภายหลังที่ใบอนุญาตสิ้นอายุแล้วโดยมิได้ยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาต

ระวางโทษปรับเป็นรายวัน วันละ 100 บาท ตลอดเวลาที่ใบอนุญาตขาดอายุ ตามมาตรา 104
ผู้รับอนุญาตขายยาแผนปัจจุบัน ไม่ปฏิบัติตามมาตรา 26
ไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงการขออนุญาตและการออกใบอนุญาตขายยาแผนปัจจุบัน พ.ศ. 2556
ระวางโทษปรับตั้งแต่ 2,000 – 10,000 บาท ตามมาตรา 105
ผู้รับอนุญาตขายส่งยาแผนปัจจุบันผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 26 ทวิ

ระวางโทษปรับตั้งแต่ 2,000 – 10,000 บาท ตามมาตรา 105
ผู้รับอนุญาตขายยาแผนโบราณผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 58
ไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงการขออนุญาตและการออกใบอนุญาตผลิต ขาย นำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งยาแผนโบราณ พ.ศ. 2555
ระวางโทษปรับตั้งแต่ 1,000 – 5,000 บาท ตามมาตรา 114
ไม่ขอรับใบแทนใบอนุญาตภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหายหรือถูกทำลายในสาระสำคัญของใบอนุญาต กรณีเป็นยาแผนปัจจุบัน ตามมาตรา 28 หรือกรณีเป็นยาแผนโบราณ ตามมาตรา 60

ระวางโทษปรับไม่เกิน1,000 บาท ตามมาตรา 106
ไม่แสดงใบอนุญาตของตนและผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการ ติดไว้ ณ ที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย กรณีเป็นยาแผนปัจจุบัน ตามมาตรา 29 หรือกรณีเป็นยาแผนโบราณ ตามมาตรา 61

ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน1,000 บาท ตามมาตรา 106
ผู้รับอนุญาตไม่แจ้งเปลี่ยนตัวผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการให้ผู้อนุญาตทราบภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ไม่มีผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการ กรณีเป็นยาแผนปัจจุบัน ตามมาตรา 33 หรือกรณีเป็นยาแผนโบราณ ตามมาตรา 63

ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน1,000 บาท ตามมาตรา 106
ผู้รับอนุญาตผู้ใดไม่แจ้งการเลิกกิจการเป็นหนังสือภายใน 15 วันนับแต่วันเลิกกิจการให้ผู้อนุญาตทราบ กรณีเป็นยาแผนปัจจุบัน ตามมาตรา 35 หรือกรณีเป็นยาแผนโบราณ ตามมาตรา 65

ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน1,000 บาท ตามมาตรา 106
ผู้รับอนุญาตขายยาอันตรายหรือยาควบคุมพิเศษในระหว่างที่เภสัชกรไม่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ ตามมาตรา 32

ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 1,000 – 5,000 บาท ตามมาตรา 107
ผู้รับอนุญาตเกี่ยวกับการขายยาแผนปัจจุบันผู้ใดไม่แจ้งการจัดให้มีผู้ปฏิบัติการแทนผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการตามมาตรา 33 ทวิ

ระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท ตามมาตรา 107 ทวิ
ผู้รับอนุญาตขายยาแผนโบราณผู้ใดไม่แจ้งการจัดให้มีผู้ปฏิบัติการแทนผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการตามมาตรา 63 ทวิ

ระวางโทษปรับไม่เกิน500 บาท ตามมาตรา 114 ทวิ
ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการไม่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ หรือไม่ปฏิบัติหน้าที่ในสถานที่เกี่ยวกับการขายยาแผนปัจจุบัน ตามมาตรา 39 มาตรา 40 มาตรา 40 ทวิ มาตรา 41 มาตรา 42 มาตรา 43 แล้วแต่กรณี

ระวางโทษปรับตั้งแต่หนึ่ง 1,000 – 5,000 บาท ตามมาตรา 109
ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการไม่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ หรือไม่ปฏิบัติหน้าที่ในสถานที่ขายยาแผนโบราณ ตามมาตรา 69

ระวางโทษปรับตั้งแต่หนึ่ง 500 – 2,000 บาท ตามมาตรา 115
ไม่ใช่ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการ ปฏิบัติหน้าที่ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการในสถานที่ขายยาแผนปัจจุบันทุกประเภท ตามมาตรา 45

ระวางโทษปรับตั้งแต่หนึ่ง 1,000 – 5,000 บาท ตามมาตรา 110
ไม่ใช่ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการ ปฏิบัติหน้าที่ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการในสถานที่ขายยาแผนโบราณ ตามมาตรา 71

ระวางโทษปรับตั้งแต่ 500 – 2,500 บาท ตามมาตรา 116
ผู้ใดขายยาปลอมอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 72(1)

ถ้ารู้ว่าเป็นยาปลอม ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1-20 ปี และปรับตั้งแต่ 2,000 – 10,000บาท ตามมาตรา 119 วรรคแรก

ถ้าไม่รู้ว่าเป็นยาปลอม ระวางโทษปรับตั้งแต่ 1,000 – 5,000 บาท ตามมาตรา 119 วรรคสอง

เมื่อมีการลงโทษแล้ว ให้ริบยา เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตยารวมทั้งภาชนะหรือหีบห่อบรรจุยาที่ เกี่ยวเนื่องกับความผิดในคดีให้แก่กระทรวงสาธารณสุขเพื่อทำลายเสียหรือจัดการตามที่เห็นสมควร ตามมาตรา 126
ผู้ใดขายยาผิดมาตรฐาน อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 72(2) หรือยาที่รัฐมนตรีสั่งเพิกถอนทะเบียนตำรับยา อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 72 (6)





ถ้ารู้ว่าเป็นยาผิดมาตรฐานหรือยาที่ถูกเพิกถอนทะเบียนตำรับยาระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 5,000 บาท ตามมาตรา 120 วรรคแรก ถ้าไม่รู้ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาทตามมาตรา 120 วรรคสาม

เมื่อมีการลงโทษแล้ว ให้ริบยา เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตยารวมทั้งภาชนะหรือหีบห่อบรรจุยาที่ เกี่ยวเนื่องกับความผิดในคดีให้แก่กระทรวงสาธารณสุขเพื่อทำลายเสียหรือจัดการตามที่เห็นสมควร ตามมาตรา 126
ผู้ใดขายยาที่ทะเบียนตำรับยาถูกยกเลิก อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 72 (5)


ถ้ารู้ว่าเป็นยาทะเบียนตำรับยาถูกยกเลิกระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 120 วรรคสอง ถ้าไม่รู้ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาทตามมาตรา 120 วรรคสาม

เมื่อมีการลงโทษแล้ว ให้ริบยา เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตยารวมทั้งภาชนะหรือหีบห่อบรรจุยาที่ เกี่ยวเนื่องกับความผิดในคดีให้แก่กระทรวงสาธารณสุขเพื่อทำลายเสียหรือจัดการตามที่เห็นสมควร ตามมาตรา 126
ผู้ใดขายยาเสื่อมคุณภาพ อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 72(3)

ถ้ารู้ว่าเป็นยาเสื่อมคุณภาพระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสามพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 121 วรรคหนึ่ง ถ้าไม่รู้ว่าเป็นยาเสื่อมคุณภาพ ระวางโทษปรับไม่เกิน 3,000 บาท ตามมาตรา 121 วรรคสอง

เมื่อมีการลงโทษแล้ว ให้ริบยา เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตยารวมทั้งภาชนะหรือหีบห่อบรรจุยาที่ เกี่ยวเนื่องกับความผิดในคดีให้แก่กระทรวงสาธารณสุขเพื่อทำลายเสียหรือจัดการตามที่เห็นสมควร ตามมาตรา 126
ผู้ใดขายยาที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 72(4)

ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 122

เมื่อมีการลงโทษแล้ว ให้ริบยา เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตยารวมทั้งภาชนะหรือหีบห่อบรรจุยาที่ เกี่ยวเนื่องกับความผิดในคดีให้แก่กระทรวงสาธารณสุขเพื่อทำลายเสียหรือจัดการตามที่เห็นสมควร ตามมาตรา 126
ผู้ใดซึ่งไม่ใช่เภสัชกร แพทย์ ทันตแพทย์ สัตวแพทย์ ขายยาชุด ตามมาตรา 75 ทวิ
ยาชุดในมาตรา 75 ทวิ ใช้ทั้งยายาแผนโบราณด้วย และผู้ประกอบโรคศิลปะแผนโบราณไม่ได้รับการยกเว้นตามมาตรานี้
ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 122 ทวิ
ผู้ใดขัดขวางหรือไม่ให้ความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติการตามหน้าที่ หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 91

ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 125
ผู้รับอนุญาตผู้ใดดำเนินการในระหว่างที่ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาต ตามมาตรา 95

ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 10,000 บาท ตามมาตรา 125 ทวิ
กรณีที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้า


ผู้ใดนำเข้ายาแผนปัจจุบันโดยไม่ได้รับอนุญาต ตามมาตรา 12

ระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี และปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท ตามมาตรา 101

เมื่อมีการลงโทษแล้ว ให้ริบยา เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตยารวมทั้งภาชนะหรือหีบห่อบรรจุยาที่ เกี่ยวเนื่องกับความผิดในคดีให้แก่กระทรวงสาธารณสุขเพื่อทำลายเสียหรือจัดการตามที่เห็นสมควร ตามมาตรา 126
ผู้ใดนำเข้ายาแผนโบราณโดยไม่ได้รับอนุญาต ตามมาตรา 46

ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 5,000 บาท ตามมาตรา 111

เมื่อมีการลงโทษแล้ว ให้ริบยา เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตยารวมทั้งภาชนะหรือหีบห่อบรรจุยาที่ เกี่ยวเนื่องกับความผิดในคดีให้แก่กระทรวงสาธารณสุขเพื่อทำลายเสียหรือจัดการตามที่เห็นสมควร ตามมาตรา 126
ผู้รับอนุญาตนำเข้ายาแผนปัจจุบันย้ายสถานที่นำเข้ายา สถานที่เก็บยา โดยไม่ได้รับอนุญาต ตามมาตรา 30

ระวางโทษปรับตั้งแต่ 2,000 – 5,000 บาท ตามมาตรา 102
ผู้รับอนุญาตผู้ใดย้ายสถานที่นำเข้ายา สถานที่เก็บยาแผนโบราณ โดยไม่ได้รับอนุญาต ตามมาตรา  62

ระวางโทษปรับตั้งแต่ 1,000 – 3,000 บาท ตามมาตรา 112
ผู้รับอนุญาตนำเข้ายาแผนปัจจุบันไม่มีเภสัชกรอย่างน้อย 1 คน ประจำอยู่ตลอดเวลาที่เปิดทำการ ตามมาตรา 24

ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ปรับเป็นรายวันอีกวันละ 500 บาทจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง ตามมาตรา 103
ผู้รับอนุญาตนำเข้ายาแผนโบราณไม่มีผู้ประกอบโรคศิลปะแผนโบราณ ประจำอยู่ตลอดเวลาที่เปิดทำการ ตามมาตรา 56

ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 2,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ปรับเป็นรายวันอีกวันละ 100 บาท จนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง ตามมาตรา 113
ผู้รับอนุญาตผู้ใดนำเข้ายาภายหลังที่ใบอนุญาตสิ้นอายุแล้วโดยมิได้ยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาต

ระวางโทษปรับเป็นรายวัน วันละ 100 บาท ตลอดเวลาที่ใบอนุญาตขาดอายุ ตามมาตรา 104
ผู้รับอนุญาตนำเข้ายาแผนปัจจุบันผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 27

ระวางโทษปรับตั้งแต่ 2,000 – 10,000 บาท ตามมาตรา 105
ผู้รับอนุญาตนำเข้ายาแผนโบราณผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 59
ไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงการขออนุญาตและการออกใบอนุญาตผลิต ขาย นำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งยาแผนโบราณ พ.ศ. 2555
ระวางโทษปรับตั้งแต่ 1,000 – 5,000 บาท ตามมาตรา 114
นำ สั่งยาแผนปัจจุบันหรือยาแผนโบราณ เข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ผ่านด่านนำเข้าเพื่อตรวจสอบตามที่กำหนด ตามมาตรา 27 ทวิ

ระวางโทษปรับตั้งแต่ 2,000 – 10,000 บาท ตามมาตรา 105 ทวิ
ไม่ขอรับใบแทนใบอนุญาตภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหายหรือถูกทำลายในสาระสำคัญของใบอนุญาต กรณีเป็นยาแผนปัจจุบัน ตามมาตรา 28 หรือกรณีเป็นยาแผนโบราณ ตามมาตรา 60

ระวางโทษปรับไม่เกิน1,000 บาท ตามมาตรา 106
ไม่แสดงใบอนุญาตของตนและผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการ ติดไว้ ณ ที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย กรณีเป็นยาแผนปัจจุบัน ตามมาตรา 29 หรือกรณีเป็นยาแผนโบราณ ตามมาตรา 61

ระวางโทษปรับไม่เกิน1,000 บาท ตามมาตรา 106
ผู้รับอนุญาตไม่แจ้งเปลี่ยนตัวผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการให้ผู้อนุญาตทราบภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ไม่มีผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการ กรณีเป็นยาแผนปัจจุบัน ตามมาตรา 33 หรือกรณีเป็นยาแผนโบราณ ตามมาตรา 63

ระวางโทษปรับไม่เกิน1,000 บาท ตามมาตรา 106
ผู้รับอนุญาตผู้ใดไม่แจ้งการเลิกกิจการเป็นหนังสือภายใน 15 วันนับแต่วันเลิกกิจการให้ผู้อนุญาตทราบ กรณีเป็นยาแผนปัจจุบัน ตามมาตรา 35 หรือกรณีเป็นยาแผนโบราณ ตามมาตรา 65

ระวางโทษปรับไม่เกิน1,000 บาท ตามมาตรา 106
ผู้รับอนุญาตนำเข้ายาแผนปัจจุบันหรือยาแผนโบราณแก้ไขรายการทะเบียนตับยาโดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามมาตรา 81
การแก้ขนาดบรรจุ ฉลาก เอกสารกำกับยา โดยไม่ได้รับอนุญาต
ระวางโทษปรับไม่เกิน1,000 บาท ตามมาตรา 106
ไม่ขอใบแทนใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับยาภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหายหรือถูกทำลาย ตามมาตรา 87

ระวางโทษปรับไม่เกิน1,000 บาท ตามมาตรา 106
ผู้รับอนุญาตผู้ใดไม่แจ้งการจัดให้มีผู้ปฏิบัติการแทนผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการตามมาตรา 33 ทวิ

ระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท ตามมาตรา 107 ทวิ
ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการไม่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ หรือไม่ปฏิบัติหน้าที่ในสถานที่นำเข้าแผนปัจจุบัน ตามมาตรา 44

ระวางโทษปรับตั้งแต่หนึ่ง 1,000 – 5,000 บาท ตามมาตรา 109
ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการไม่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ หรือไม่ปฏิบัติหน้าที่ในสถานที่ผลิตยาแผนโบราณ ตามมาตรา 68

ระวางโทษปรับตั้งแต่หนึ่ง 500 – 2,000 บาท ตามมาตรา 115
ไม่ใช่ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการ ปฏิบัติหน้าที่ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการในสถานที่นำเข้ายาแผนปัจจุบันทุกประเภท ตามมาตรา 45

ระวางโทษปรับตั้งแต่หนึ่ง 1,000 – 5,000 บาท ตามมาตรา 110
ไม่ใช่ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการ ปฏิบัติหน้าที่ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการในสถานที่นำเข้ายาแผนโบราณ ตามมาตรา 71

ระวางโทษปรับตั้งแต่ 500 – 2,500 บาท ตามมาตรา 116
ผู้ใดนำเข้ายาปลอมอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 72(1)

ถ้ารู้ว่าเป็นยาปลอม ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1-20 ปี และปรับตั้งแต่ 2,000 – 10,000บาท ตามมาตรา 119 วรรคแรก

ถ้าไม่รู้ว่าเป็นยาปลอม ระวางโทษปรับตั้งแต่ 1,000 – 5,000 บาท ตามมาตรา 119 วรรคสอง

เมื่อมีการลงโทษแล้ว ให้ริบยา เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตยารวมทั้งภาชนะหรือหีบห่อบรรจุยาที่ เกี่ยวเนื่องกับความผิดในคดีให้แก่กระทรวงสาธารณสุขเพื่อทำลายเสียหรือจัดการตามที่เห็นสมควร ตามมาตรา 126
ผู้ใดนำเข้ายาผิดมาตรฐาน อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 72(2) หรือยาที่รัฐมนตรีสั่งเพิกถอนทะเบียนตำรับยา อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 72 (6)





ถ้ารู้ว่าเป็นยาผิดมาตรฐานหรือยาที่ถูกเพิกถอนทะเบียนตำรับยาระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 5,000 บาท ตามมาตรา 120 วรรคแรก ถ้าไม่รู้ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาทตามมาตรา 120 วรรคสาม

เมื่อมีการลงโทษแล้ว ให้ริบยา เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตยารวมทั้งภาชนะหรือหีบห่อบรรจุยาที่ เกี่ยวเนื่องกับความผิดในคดีให้แก่กระทรวงสาธารณสุขเพื่อทำลายเสียหรือจัดการตามที่เห็นสมควร ตามมาตรา 126
ผู้ใดนำเข้ายาที่ทะเบียนตำรับยาถูกยกเลิก อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 72 (5)


ถ้ารู้ว่าเป็นยาทะเบียนตำรับยาถูกยกเลิกระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 120 วรรคสอง ถ้าไม่รู้ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาทตามมาตรา 120 วรรคสาม

เมื่อมีการลงโทษแล้ว ให้ริบยา เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตยารวมทั้งภาชนะหรือหีบห่อบรรจุยาที่ เกี่ยวเนื่องกับความผิดในคดีให้แก่กระทรวงสาธารณสุขเพื่อทำลายเสียหรือจัดการตามที่เห็นสมควร ตามมาตรา 126
ผู้ใดนำเข้ายาเสื่อมคุณภาพ อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 72(3)

ถ้ารู้ว่าเป็นยาเสื่อมคุณภาพระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสามพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 121 วรรคหนึ่ง ถ้าไม่รู้ว่าเป็นยาเสื่อมคุณภาพ ระวางโทษปรับไม่เกิน 3,000 บาท ตามมาตรา 121 วรรคสอง

เมื่อมีการลงโทษแล้ว ให้ริบยา เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตยารวมทั้งภาชนะหรือหีบห่อบรรจุยาที่ เกี่ยวเนื่องกับความผิดในคดีให้แก่กระทรวงสาธารณสุขเพื่อทำลายเสียหรือจัดการตามที่เห็นสมควร ตามมาตรา 126
ผู้รับอนุญาตนำเข้าไม่ขึ้นทะเบียนตำรับยา ตามมาตรา 79

ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 123
ผู้ใดนำเข้ายาที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา อันเป็นกี่ฝ่าฝืนมาตรา 72(4)

ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 122

เมื่อมีการลงโทษแล้ว ให้ริบยา เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตยารวมทั้งภาชนะหรือหีบห่อบรรจุยาที่ เกี่ยวเนื่องกับความผิดในคดีให้แก่กระทรวงสาธารณสุขเพื่อทำลายเสียหรือจัดการตามที่เห็นสมควร ตามมาตรา 126
ผู้รับอนุญาตนำเข้าไม่ส่งรายงานประจำปี ตามมาตรา 85

ระวางโทษปรับตั้งแต่ 1,000 – 5,000 บาท และให้ปรับเป็นรายวันอีกวันละ 100 บาทจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง ตามมาตรา 123 ทวิ
ผู้รับอนุญาตนำเข้าส่งรายงานประจำปี ตามมาตรา 85 อันเป็นเท็จ

ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 123 ตรี
ผู้ใดขัดขวางหรือไม่ให้ความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติการตามหน้าที่ หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 91

ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 125
ผู้รับอนุญาตผู้ใดดำเนินการในระหว่างที่ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาต ตามมาตรา 95

ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 10,000 บาท
กรณีที่เกี่ยวข้องกับการโฆษณา


ผู้ใดโฆษณาขายยาโดยฝ่าฝืนข้อห้ามและเงื่อนไขเกี่ยวกับเนื้อหาและวิธีการโฆษณา ตามมาตรา 88 มาตรา 88 ทวิ มาตรา 89 มาตรา 90

ระวางโทษปรับไม่เกิน 100,000 บาท ตามมาตรา 124
ผู้ใดฝ่าฝืนคำสั่งให้ระงับการโฆษณาขายยาของเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ซึ่งสั่งตามมาตรา 90 ทวิ

ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ปรับเป็นรายวันอีกวันละ 500 บาท จนกว่าจะปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าว ตามมาตรา 124 ทวิ

          การเปรียบเทียบปรับ
          พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 มาตรา 126 ทวิ ให้ให้เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยาหรือผู้ซึ่ง เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยามอบหมายมีอำนาจเปรียบเทียบปรับได้ในบรรดาความผิดที่มีโทษปรับสถานเดียว
          ในกรณีมีการยึดยา ภาชนะหรือหีบห่อบรรจุยา และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดไว้ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยาหรือผู้ซึ่งเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยามอบ หมายจะเปรียบเทียบปรับได้ต่อเมื่อผู้กระทำความผิดยินยอมให้สิ่งที่ยึดไว้ตก เป็นของกระทรวงสาธารณสุข


          ข้อสังเกต
          - ร้านขายยาแผนปัจจุบันเฉพาะยาบรรจุเสร็จที่ไม่ใช่ยาอันตรายหรือยาควบคุมพิเศษ แม้จะมีขายยาอันตรายหรือยาควบคุมพิเศษ ถือว่าเป็นขายยาที่ไม่ตรงกับประเภทของใบอนุญาตตามมาตรา 19(2) มีบทลงโทษตามมาตรา 102 ซึ่งไม่อยู่ในเงื่อนไขของมาตรา 126 ดังนั้นจึงไม่สามารถริบยาอันตรายหรือยาควบคุมพิเศษได้ (แนวคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1377/2517)






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น