วันเสาร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2558

พระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510: ส่วนที่ 5 การโฆษณาและส่งเสริมการขาย

ปรุฬห์ รุจนธำรงค์

ส่วนที่ 5 การโฆษณาและส่งเสริมการขาย

          การโฆษณาและการส่งเสริมการขายมีผลต่อการทำให้สินค้าของตนเป็นที่รู้จักและสามารถเพิ่มยอดขายสินค้ายาของตนได้ แต่ยาก็เป็นสินค้าที่ต้องใช้อย่างสมเหตุผล เพื่อป้องกันการเกิดอันตรายจากการใช้ยาหรือปัญหาที่จะเกิดขึ้นตามมาจากการใช้ยาเช่นกัน ไม่ว่าปัญหานั้นจะเกี่ยวข้องกับด้านสุขภาพ เช่น ปัญหาเชื้อดื้อยา ปัญหาอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา หรืออาจจะเป็นปัญหาที่เกิดกับสังคม เช่น การใช้ยาเพื่อทำแท้ง หรือการโฆษณาเพื่อหลอกลสงทำให้ต้องสูญเสียทรัพย์สินเงินทองโดยไม่สมควร กฎหมายจึงจำเป็นต้องมีมาตรการบางอย่างเพื่อป้องกันหรือบรรเทาผลกระทบที่จะตามมาขึ้น โดยกำหนดให้มีการควบคุมเนื้อหาตลอดจนวิธีการในการโฆษณาผลิตภัณฑ์ยา
 
  
5.1 เนื้อหาของการโฆษณา
          เนื้อหาของการโฆษณา ต้องไม่ฝ่าฝืน พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 มาตรา 88 ซึ่งสามารถเปรียบเทียบได้ดังนี้

ข้อห้าม
ห้ามเด็ดขาด
ข้อยกเว้น
ฉลากยา
ผู้ประกอบวิชาชีพ
(1) ไม่เป็นการโอ้อวดสรรพคุณยาหรือวัตถุอันเป็นส่วนประกอบของยาว่าสามารถบำบัด บรรเทา รักษาหรือป้องกันโรคหรือความเจ็บป่วยได้อย่างศักดิ์สิทธิ์หรือหายขาด หรือใช้ถ้อยคำอื่นใดที่มีความหมายทำนองเดียวกัน


/
(2) ไม่แสดงสรรพคุณยาอันเป็นเท็จหรือเกินความจริง
/


(3) ไม่ทำให้เข้าใจว่ามีวัตถุใดเป็นตัวยาหรือเป็นส่วนประกอบของยาซึ่งความจริงไม่มีวัตถุหรือส่วนประกอบนั้นในยา หรือมีแต่ไม่เท่าที่ทำให้เข้าใจ
/


(4) ไม่ทำให้เข้าใจว่าเป็นยาทำให้แท้งลูกหรือยาขับระดูอย่างแรง


/
(5) ไม่ทำให้เข้าใจว่าเป็นยาบำรุงกามหรือยาคุมกำเนิด

/
/
(6) ไม่แสดงสรรพคุณยาอันตรายหรือยาควบคุมพิเศษ

/
/
(7) ไม่มีการรับรองหรือยกย่องสรรพคุณยาโดยบุคคลอื่น


/
(8) ไม่แสดงสรรพคุณยาว่าสามารถบำบัด บรรเทา รักษาหรือป้องกันโรค หรืออาการของโรคที่รัฐมนตรีประกาศตามมาตรา 77


/

          ลักษณะของข้อความที่โอ้อวด เช่น ยอด หายขาด ปลอดภัยที่สุด โอกาสดีๆอย่างนี้มีไม่บ่อยนัก พิเศษ หายห่วง เหมาะสมที่สุด ไม่ทำให้เกิดอาการแพ้ วิเศษ เด็ดขาด ไม่ต้องทนรำคาญ ดีเลิศ พิชิตโรคร้าย ทันใจ ไม่มีผลข้างเคียง ศักดิ์สิทธิ์ หมดกังวล เป็นหนึ่งมาตลอด

          ข้อสังเกต เปลี่ยนชื่อจาก “ทันใจ” เป็น “ทัมใจ” ชื่อ “ทันใจ” อาจเป็นการโอ้อวดสรรพคุณยาซึ่งถือว่าฝ่าฝืน พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 มาตรา 88(1) ได้ แต่ถ้าสังเกตที่ตัวอักษร “ม” จะเห็นลักษณะการเขียนให้คล้ายตัวอักษร “น” อยู่
          นอกจากนี้ยังมียาที่ชื่อ “ซอมป่อย” เดิมชื่อว่า “ซ่อมปอด” แต่คำว่า “ซ่อมปอด” นี้อาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญของยาได้ ซึ่งอาจเป็นการแสดงสรรพคุณเกินความจริงตามพ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 มาตรา 88(2) จึงสมควรต้องมีการเปลี่ยนชื่อยา

          โรคหรืออาการของโรคที่ห้ามโฆษณา พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 มาตรา 77 ให้รัฐมนตรีมีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษาระบุโรคหรืออาการของโรคที่ห้ามโฆษณาว่าสามารถใช้บำบัด บรรเทา รักษา หรือป้องกันโรค หรืออาการของโรคนั้นได้ ซึ่งได้มีประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง โรคหรืออาการของโรคที่ห้ามโฆษณายาว่าสามารถบำบัด  บรรเทา รักษาหรือป้องกัน (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 94 ตอนที่ 13 ลงวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2520) กำหนดโรคหรืออาการของโรคที่ห้ามโฆษณา คือ (1) เบาหวาน (2) มะเร็ง (3) อัมพาต (4) วัณโรค (5) โรคเรื้อน (6) โรคหรืออาการโรคของสมอง หัวใจ ปอด ตับ ม้าม ไต
          ข้อสังเกต แม้ว่าโรคเอดส์ จะได้ถูกกำหนดให้เป็นหนึ่งในโรคที่ห้ามโฆษณา แต่ถ้ามียาตัวใดที่โฆษณาว่าสามารถทำให้โรคเอดส์หายขาดได้ อาจเป็นการโอ้อวดสรรพคุณยาหรือวัตถุอันเป็นส่วนประกอบของยาว่าสามารถบำบัด บรรเทา รักษาหรือป้องกันโรคหรือความเจ็บป่วยได้อย่างศักดิ์สิทธิ์หรือหายขาด ซึ่งเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 มาตรา 88(1) หรือถ้ายาที่โฆษณานั้นเป็นยาอันตรายหรือยาควบคุมพิเศษ การโฆษณาว่าสามารถรักษาโรคเอดส์ได้ต่อประชาชนทั่วไปเป็นการแสดงสรรพคุณยาอันตรายหรือยาควบคุมพิเศษ ฝ่าฝืน พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 มาตรา 88(6)



5.2 วิธีการโฆษณา
          พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 ได้วางหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการโฆษณา ดังนี้
           (1) การโฆษณาขายยาทางวิทยุกระจายเสียง เครื่องขยายเสียง วิทยุโทรทัศน์ ทางฉายภาพหรือภาพยนตร์ หรือทางสิ่งพิมพ์จะต้อง ได้รับอนุมัติข้อความ เสียง หรือภาพที่ใช้ในการโฆษณาจากผู้อนุญาต และปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ผู้อนุญาตกำหนด ตามมาตรา 88 ทวิ
           (2) ห้ามโฆษณาขายยาโดยไม่สุภาพ หรือโดยการร้องรำทำเพลง หรือแสดงความทุกข์ทรมานของผู้ป่วย ตามมาตรา 89
           (3) ห้ามใช้วิธีแถมพกหรือออกสลากรางวัล ตามมาตรา 90 คณะกรรมการกฤษฎีกามีความเห็นว่า มาตรา 90 แห่งพระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510 เป็นบทบัญญัติห้ามการโฆษณาโดยวิธีแถมพก  ทั้งนี้ เพื่อคุ้มครองผู้ซื้อยาให้สามารถตัดสินใจเลือกซื้อยาได้ตรงกับความต้องการและความจำเป็นของตน เพราะของแถมพกอาจมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อได้ ผู้ที่จะได้ของแถมพกจึงอาจเป็นผู้บริโภคซึ่งเป็นผู้ป่วย หรือเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะหรือร้านขายยาก็ได้การให้ของนั้นแก่ผู้ซื้อมีขึ้นเนื่องจากการขายยาหรือมีความสัมพันธ์โดยตรงหรือใกล้ชิดกับการขายยาเท่านั้น จึงจะเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 90 นี้ แต่ถ้าการให้ของนั้นเป็นการแจกอย่างแท้จริง คือมิได้มีขึ้นเนื่องจากการขายยาหรือมิได้มีความสัมพันธ์โดยตรงและใกล้ชิดกับการขายยา ก็จะถือว่าเป็นการโฆษณาขายยาโดยวิธีแถมพกอันฝ่าฝืนมาตรา 90 นี้ไม่ได้ การแจกเพราะได้มีการซื้อยาหรือจะมีการซื้อยา หรือมีการแจกโดยเป็นสัดส่วนกับยาที่ขาย เป็นต้นย่อมเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 90 นี้ (บันทึกสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่อง การโฆษณาขายยาโดยวิธีแถมพก เรื่องเสร็จที่ 143/2522)

          นอกจากนี้ยังต้องปฏิบัติตามระเบียบสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ว่าด้วยหลักเกณฑ์การโฆษณาขายยา พ.ศ. 2545 ซึ่งมีส่วนขยายที่เพิ่มจากที่ระบุในพระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510  เช่น แนวการโฆษณาขายยาต้อง
          - ไม่ขัดต่อขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม
          - ไม่ชักชวนให้ผู้บริโภคใช้ยาอย่างพร่ำเพรื่อ หรือทำให้เกิดความเข้าใจว่าที่ความเหมาะสมที่จะใช้บริโภคเป็นประจำ
          - ไม่เป็นการเปรียบเทียบทับถมกับผลิตภัณฑ์อื่น (การแสดงข้อมูลเปรียบเทียบประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ยาของตนกับผลิตภัณฑ์ยาอื่นต้องระมัดระวัง เพราะถือว่าเป็นการฝ่าฝืนเงื่อนไขการโฆษณาได้)  
          - ไม่ทำให้ผู้บริโภคสำคัญผิดว่าเป็นผลิตภัณฑ์ชนิดอื่น เช่น อาหาร เครื่องสำอาง เป็นต้น
          - แสดงข้อเท็จจริงอันเป็นการกระทำผิดกฎหมาย เช่น การขายยาในสถานที่ซึ่งไม่ได้รับอนุญาตขายยา
          - การแสดงสรรพคุณยาต้องไม่เกินไปกว่าข้อความในเอกสารกำกับยาและฉลาก และต้องไม่เป็นการฝ่าฝืนข้อกำหนดดังกล่าวข้างต้นด้วย (ไม่โฆษณาในลักษณะที่เป็น Off-Label Use อาจถือว่าเป็นการโฆษณาโดยไม่ได้รับอนุญาตได้)
          - การโฆษณาขายยาที่ต้องมีฉลากคำเตือนในฉลากตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขให้มีข้อความที่ชัดเจนว่า “อ่านคำเตือนในฉลากก่อนการใช้ยา” หากเป็นสื่อที่มีทั้งภาพและเสียงให้แสดงข้อความคำเตือนอย่างชัดเจนทั้งภาพและเสียง
          - การโฆษณาขายยาแผนโบราณ ให้มีข้อความว่า “เป็นยาแผนโบราณ”
          - หลักเกณฑ์การโฆษณาทางสิ่งของสำหรับแจกหรือของชำร่วย จะต้องไม่เป็นการกระทำควบคู่ไปกับการขายยาหรือมีความสัมพันธ์โดยตรงและใกล้ชิดกับการขายยา
          - ต้องระบุเลขที่ใบอนุญาตโฆษณาขายยาไว้ในสื่อโฆษณาด้วยทุกครั้ง และต้องโฆษณาให้ตรงตามที่ได้รับอนุมัติข้อความ เสียง หรือภาพ นอกจากนั้นต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ได้ระบุไว้ในใบอนุญาตทุกประการ เช่น กรณีที่เป็นใบอนุญาตโฆษณายาทางสื่อทั่วไป (หรือการโฆษณาต่อประชาชนทั่วไป) ในสื่อสิ่งพิมพ์/โทรทัศน์ จะต้องแสดงข้อความว่า “ใบอนุญาตโฆษณา เลขที่ ฆท xxxx /255x ” หรือหากเป็นคำขอโฆษณายาที่กระทำโดยตรงต่อผู้ประโรคศิลปะ ซึ่งในพ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 จำกัดเฉพาะการโฆษณาต่อผู้ประกอบโรคศิลปะ แพทย์ สัตวแพทย์ ในสื่อสิ่งพิมพ์ จะต้องแสดงข้อความว่า “ ใบอนุญาตโฆษณา เลขที่ ฆศ xxxx /255x” พวกสื่อโฆษณาที่เป็นโปสเตอร์ แผ่นพับ แคตตาล็อกซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อโฆษณาขายยาในร้านยา หากไม่ได้รับเลขที่อนุญาตการโฆษณาแล้วถือเป็นการโฆษณาขายยาโดยไม่ได้รับอนุญาตได้

ตัวอย่างการโฆษณายาแผนปัจจุบันบรรจุเสร็จที่ไม่ใช่ยาอันตรายหรือยาควบคุมพิเศษต่อประชาชนทั่วไปทางโทรทัศน์ จะต้องมีเลขที่อนุญาตโฆษณา ซึ่งในกรณีนี้ คือ ฆท 1039/2556

          ศึกษากรณีที่เกี่ยวข้อง เช่น
          - จัดกิจกรรมการโฆษณาและการส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์สุขภาพอย่างไร หลีกเลี่ยงการผิดกฎหมาย ที่ http://rparun.blogspot.com/2014/03/promotion.html
          - ข้อสังเกตการโฆษณายาชื่อการค้า ดีคอลเจน (Decolgen) หรือทิฟฟี่ (Tiffy) ที่ http://rparun.blogspot.com/2011/05/decolgen-tiffy.html

          คำถาม: ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรมต้องรับโทษฐานฝ่าฝืนเรื่องการโฆษณาตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510 หรือไม่ อย่างไร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีมาตรการใดบ้างเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว?






1 ความคิดเห็น:

  1. คุณต้องการสินเชื่อเร่งด่วนหรือไม่? เราเสนอ 2,000 ยูโรถึง 500,000,000 ยูโรสนใจควรติดต่อเราสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม: (georgeanderson.loanfirm255@gmail.com)

    ข้อเสนอเงินกู้.

    Are you looking for an urgent loan? if yes apply now at 2% interest rate. Contact us today via email:(georgeanderson.loanfirm255@gmail.com)

    Urgent loan offer.

    ตอบลบ